การปฏิบัติงานนักพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
ประจำเดือน กรกฎาคม 2564

หน่วยงานราชการทุกกระทรวง ทุกกรม ทุกสำนัก ทุกหน่วยงาน ต่างก็จัดตั้งขึ้นมาเพื่ออำนวยความความสะดวก และรับใช้ประชาชนในด้านต่าง ๆ การได้ทำงานราชการก็เปรียบเสมือนเราได้ตอบแทนคุณของแผ่นดินประเทศชาติที่เราได้อยู่ได้อาศัยเกิดมานั่นเอง มหากุศลที่เราได้สร้างจากการตั้งใจจริงปฏิบัติหน้าที่ จะส่งผลอำนวยอวยชัยให้เราทำงานได้อย่างราบรื่น เป็นปกติสุข ทำงานได้อย่างมีความสุข การทำงานราชการนั้นจะทำให้เราเกิดปกติสุขเปรี่ยมไปด้วยความภาคภูมิใจ

ข้าพเจ้านางสาวบุญทิวา บุตะเคียน ได้มีโอกาสเข้ามาช่วยทำงานราชการในอำเภอหนองหงส์ ซึ่งทำงานในนามของมหาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (กพร) และถูกส่งมาทำงานในอำเภอหนองหงส์ผ่านพัฒนากรจังหวัดในตำแต่งนักพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (นพร) การปฎิบัติงานส่วนที่แรก เป็นส่วนของการนำเข้าข้อมูล เป็นการปฎิบัติงานอยู่ในที่ว่าการอำเภอ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองหงส์ ซึ่งส่วนมากจะเป็นงานที่เกี่ยวกับเอกสาร ซึ่งข้าพเจ้ามีหน้าที่หลัก ๆ คือ

1) การรับและออกเลขหนังสือราชการต่าง ๆ ผ่านระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งดิฉันได้รับมอบหมายให้ออกเลขหนังสือราชการเป็นหลักจะลงรับและออกเลขหนังสือราชการเป็นประจำทุกวัน จันทร์-ศุกร์ การออกเลขส่งเอกสารก่อนที่จะส่งเอกสารทุกครั้งต้องออกเลขก่อน เพื่อให้ทราบว่าเลขนี้ คือเรื่องอะไร ส่งมาจากที่ใด วันที่เท่าไหร่ เลขด่วนที่สุดหรือเลขธรรมดา ถึงจะส่งเอกสารได้ ส่วนการรับเลขหนังสือราชการ คือจัดพิมพ์เอกสารออกมาก่อน แล้วลงรับในระบบก่อน ซึ่งในระบบจะมีเลขที่ลงรับ ชื่อเรื่อง วันที่รับเลขให้ เสร็จแล้ว จึงส่งให้หัวหน้าพิจารณาแล้วก็ส่งรายงานให้นายอำเภอทราบเป็นลำดับต่อไป

2) แก้ไขเอกสารบันทึกข้อความ รายงานขอซื้อวัสดุโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคกหนองนาโมเดล” ทั้งหมด 97 แปลง

3) ตัดต่อวิดีโอรายงานข่าวลง Youtube ซึ่งดิฉันจะตัดต่อในโปรแกรม CapCut Photoshop และแต่งรูปภาพผ้าไทย ก็ทำในโปรแกรม Photoshop เพื่อรายงานข่าวประชาสัมพันธ์การสวมใส่ผ้าไทย เชิญชวนพี่น้อง ข้าราชการ กลุ่มสตรี และพี่น้องประชาชนชาวอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ทุกท่าน รวมสวมใส่ผ้าไทย (สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน) ตามมติ ครม. อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 วัน เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาและส่งเสริมกลุ่มอาชีพให้มีรายได้ โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองหงส์

4) แก้ไขเอกสารใบส่งมอบงาน ใบตรวจรับพัสดุประจำเดือนให้นักพัฒนาตำบลต้นแบบ (นพต.) ทั้งหมด 14 คน

5) แก้ไขเอกสารกำหนดราคากลางโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล”

6) แก้ไขเอกสารรายงานช่าง และ ทำเอกสารแนบรูปภาพ ส่งเบิก (ก่อน ระหว่าง และหลังกาดำเนินงาน) และนอกจากนี้ วันที่ 14 กรกฎาคม นายสถาพร ศรีนาม ผอ.กลุ่มยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน พร้อมด้วยนักวิชาการพัฒนาชุมชนและเจ้าหน้าที่พัสดุสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ได้มาติดตามและสนับสนุนการดำเนินงานโครงการตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน ปี 2564 และสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองหงส์ สร้างสุข สร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากรเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเกิด นางสาวจารุวรรณ เอี่ยมสะอาด นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน และในวันที่ 15 กรกฎาคม นายณธีพัฒน์ ภวินรัตน์โชติกร นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ นายภคินท์ ไทยทองหลางนักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน สุนันทา สุขล้อม นักพัฒนาธุรกิจชุมชน บมจ.ประชารัฐรักสามัคคีบุรีรัมย์ (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด ติดตามและสนับสนุนการดำเนินงานโครงการตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน ปี 2564

ส่วนที่ 2 เป็นส่วนของการสนับสนุนการดำเนินงาน การลงพื้นที่สนับสนุนการดำเนินงานต่างๆ เช่น การลงพื้นที่ต้นแบบพัฒนาคุณภาพชีวิตประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” การเอามื้อสามัคคี การลงพื้นที่ประสานการตรวจรับแปลงพื้นที่ การสนับสนุนกลุ่มอาชีพ การเสริมความมั่งคงทางอาหาร การลงพื้นที่ในเดือนกรกฎาคมนี้ ได้ลงพื้นที่ในเขตอำเภอหนองหงส์  ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ ที่ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมและรับผิดชอบได้แก่

1.การลงพื้นที่เอามื้อสามัคคี ตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล ตำบลห้วยหิน อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ในการนี้ นายอนุชา เรืองอมรวิวัฒน์ นายอำเภอหนองหงส์ พร้อมด้วย นางสาวสุนันทา ละเอียด ปลัดอาวุโส นางพัชรี สุขบัติ พัฒนาการอำเภอหนองหงส์ กำนันดวงพร แหวนเพชร กำนันตำบลห้วยหิน นางสุจิตรจา วิเชียร นางสาวปกิตตา นิลพยัคฆ์ และ นายทอน ทองพา นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ นักพัฒนาพื้นที่ตำบลต้นแบบ(นพต) นักพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (นพร) และครัวเรือนต้นแบบ โดยกิจกรรมเอามื้อสามัคคี มีกิจกรรมการปลูกต้นไม้ ห่มฟาง และสุดท้ายรวมรับประทานอาหารรวมกัน รวมทั้งสินประมาณ 38 คน

2.จิตอาสาเตรียมพื้นที่ โคก หนอง นา โมเดล หลังที่ว่าการอำเภอหนองหงส์ การลงพื้นที่จัดกิจกรรม โดยนายอนุชา เรืองอมรวิวัฒน์ นายอำเภอหนองหงส์ พร้อมด้วยนางสาวสุนันทา ละเอียด ปลัดอาวุโส ปลัดอำเภอ ผู้นำชุมชน ผู้นำอาสาพัฒนาชุม ผู้นำท้องถิ่น และผู้นำ อช. ซึ่งนางพัชรี สุขบัติ พัฒนาการอำเภอหนองหงส์ นางสุจิตรจา วิเชียร นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ นางสาวปกิตตา นิลพยัคฆ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ นางสาววิลาวรรณ คณะรัมย์ และดิฉันนางสาวบุญทิวา บุตะเคียน นักพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (นพร.) ได้ทำโรงทานทำน้ำแข็งใสให้ผู้ทำจิตอาสา ได้รับประทาน

3.ลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนการดำเนินงานครัวเรือน โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล กรมการพัฒนาชุมชน แปลงนายจันดี โคกสีนอก บ้านศรีสง่า หมู่ที่ 4 ตำบลไทยสามัคคี อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์

4.ลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนการดำเนินงานของ ผอ.กองช่าง และลงพื้นที่ติดตามครัวเรือน โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา กรมการพัฒนาชุมชน”

5.ลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนการดำเนินงานครัวเรือน โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล แปลงนายจันดี โคกสีนอก บ้านศรีสง่า หมู่ที่ 4 ตำบลไทยสามัคคี อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์

6.วันที่ 12 กรกฎาคม 2564 พัฒนาการอำเภอหนองหงส์ พร้อมด้วย นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และนักพัฒนาดิจิลทัล (นพร.) ลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนตลาดประชารัฐยิ้มได้ ณ ถนนหน้าที่ว่าการอำเภอหนองหงส์ ซึ่งได้เปิดให้ผู้ประกอบการที่ผ่านการฉีดวัคซีนมาจำหน่าย วัน จันทร์ พุธ ศุกร์ ของสัปดาห์ คณะกรรมการตลาดได้ดำเนินการตามมาตรการคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่ออย่างเคร่งครัด

7.ลงพื้นที่สนับสนุนกลุ่มสัมมาชีพ (การทำแหนม) โดยนางสาวปกิตตา นิลพยัคฆ์ นายทอน ทองพา นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ นางสาววิลาวรรณ คณะรัมย์ และดิฉันนางสาวบุญทิวา บุตะเคียนนักพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (นพร.) ซึ่งมีวิทยากรมาให้ความรู้ และสอนวิธีการทำแหนมให้กับกลุ่มสัมมาชีพในครั้งนี้และดิฉันก็ได้มีส่วนรวมในการเก็บภาพถ่าย วิดีโอ และยังเป็นลูกมือในการช่วยทำแหนมหมูในครั้งนี้ด้วย ณ บ้านเพชรสมบูรณ์ หมู่ที่ 19 ตำบลห้วยหิน อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ วันที่ 15 กรกฎาคม 2564

โครงการโคก หนอง นา โมเดล เป็นการสร้าง ความมั่นคง ในแหล่งทำกินด้านการเกษตร เลี้ยงสัตว์ สู้กับภัยแล้ง การพัฒนาดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ ให้ลับมาอุดมสมบูรณ์ โดยปรับปรุงพื้นที่รองรับ ฝนธรรมชาติ และการเชื่อมโยงวงจรชีวิต พืช สัตว์ ให้เดินทางร่วมกันได้ ปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่ ได้เริ่มเข้ามาเรียนรู้และยอมรับว่าหลักการพัฒนานี้เปิดกว้าง ไม่ได้เจาะจงเฉพาะด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการพัฒนาการเกษตรหรือเกษตรกรแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่เป็นเรื่องของความพอเพียง ความพอดี เป็นเรื่องวิวัฒนาการของการนำปรัชญาไปใช้กับสิ่งใดๆ ตั้งแต่ระดับที่ย่อยที่สุด คือ ระดับของตัวบุคคล ครอบครัว การเป็นอยู่ของชุมชนไปจนถึงการประกอบอาชีพของประชาชนและการทำธุรกิจของภาคเอกชน การบริหารจัดการหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ภูมิภาคและระดับประเทศ เมื่อปี 2561 กรมพัฒนาที่ดิน มีแบบมาตรฐาน โคก หนอง นา โมเดล จำนวนประมาณ 40 แบบไว้แจกจ่ายประชาชน ทั้ง 40 แบบ เป็นโมเดลต้นแบบสำหรับที่ดินขนาดแบบ 3 ไร่ 5 ไร่ หรือ 10-15 ไร่ ที่เป็นโมเดลพื้นที่ขนาดเล็ก โครงการโคกหนองนา ยังจัดสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับกลุ่มนักโทษเด็ดขาดที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษ ตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2563  จำนวน 39,084 ราย ในเรือนจำ 137 แห่ง ตามหนังสือกรมการพัฒนาชุมชน ด่วนที่สุด ที่ มท 0409.2/ว 2251 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2563 เรื่อง การประสานความร่วมมือโครงการ “โคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง กรมราชทัณฑ์” ตามแผนบูรณาการให้ความช่วยเหลือผู้พ้นโทษที่ผ่านการอบรม โครงการพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “โคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง กรมราชทัณฑ์”  วัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ผู้พ้นโทษได้นำความรู้ที่ใช้ในการอบรมไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพภายหลังการพ้นโทษ และสนับสนุนให้ผู้พ้นโทษ เข้าถึงภารกิจขั้นพื้นฐานของรัฐ หรือบริการสาธารณะ นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายเพิ่มคือ กลุ่มเกษตรกร บัณฑิตจบใหม่ ผู้ว่างงาน กลุ่มแรงงานที่อพยพกลับท้องถิ่นและชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ ในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)

♥ภาพประกอบการปฏิบัติงาน และการลงพื้นที่ต่างๆ♥

1.ภาพการปฏิบัติงาน ภายในอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์

1.1 การตัดต่อวิดีโอรายงานข่าวประชาสัมพันธ์ ลง Youtube ของสำนักงาน

๑.๒ รูปภาพตัวอย่างการแต่งรูปภาพผ้าไทยคราวๆ เพื่อที่จะรายงานข่าวประชาสัมพันธ์เชิญชวนสวมใส่ผ้าไทย

 

2.การลงพื้นที่จัดกิจกรรมเอามื้อสามัคคี ตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล ตำบลห้วยหิน อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์

3.กิจกรรมจิตอาสาเตรียมพื้นที่ โคก หนอง นา โมเดล ณ หลังที่ว่าการอำเภอหนองหงส์ โดยนายอนุชา เรืองอมรวิวัฒน์ นายอำเภอหนองหงส์ พร้อมด้วยนางสาวสุนันทา ละเอียด ปลัดอาวุโส ปลัดอำเภอ ผู้นำชุมชน ผู้นำอาสาพัฒนาชุม ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ และผู้นำ อช. ซึ่งในการนี้ สำนักงานพัฒนาชุมชนได้ทำโรงทานทำน้ำแข็งใสให้ได้รับประทาน

4.ลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนการดำเนินงานครัวเรือน โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล กรมการพัฒนาชุมชน แปลงนายจันดี โคกสีนอก ตั้งอยู่บ้านศรีสง่า หมู่ที่ 4 และ ลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนการดำเนินงานของ ผอ.กองช่าง และนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) ตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล ในการนี้ได้ลงพื้นที่ติดตามครัวเรือน โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา กรมการพัฒนาชุมชน”

5.ลงพื้นที่ร่วมบริจาคผลไม้ อาหารให้กับบุคลากรทาการแพทย์และผู้ปฏิบัติหน้าที่ในกิจกรรมบริจาคเลือดสภากาชาติไทย ณ โรงเรียนหนองหงส์พิทยาคมและฉีดวัคซีน ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอหนองหงส์

6.ลงพื้นที่ติดตามสนับสนุน ตลาดประชารัฐยิ้มได้ อำเภอหนองหงส์ ณ ถนนหน้าที่ว่าการอำเภอ ซึ่งขณะนี้ได้เปิดให้ผู้ประกอบการ ที่ผ่านการฉีดวัคซีนมาจำหน่าย ทุกวัน จันทร์ พุธ ศุกร์ ของสัปดาห์ และคณะกรรมการตลาดได้ดำเนินการตามมาตรการคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่ออย่างเคร่งครัด

 7.ลงพื้นที่สนับสนุนกลุ่มสัมมาชีพกลุ่มทำแหนม

 

อื่นๆ

เมนู