“โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้กับประเทศ”

หลักสูตร HS05 การทอผ้าไหมขิดยกดอก เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนอย่างยั่งยืน

ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

♦◊♦♦◊♦♦◊♦♦◊♦♦◊♦♦◊♦♦◊♦♦◊♦♦◊♦♦◊♦♦◊♦♦◊♦♦◊♦♦◊♦♦◊♦♦◊♦♦◊♦♦◊♦♦◊♦♦◊♦♦◊♦

สวัสดีครับ กระผมนายพงศธร ประสีระเตสัง ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ปฏิบัติงานประจำตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร HS05 : การทอผ้าไหมขิดยกดอก เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนอย่างยั่งยืน ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) บัดนี้กระผมขออนุญาตรายงานการปฏิบัติงานประจำเดือน สิงหาคม 2564 นี้ ให้ทราบโดยทั่วกัน

เมื่อวันที่ 18 เดือน กรกฎาคม 2564 กระผมได้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ ประจำเดือนสิงหาคม ณ อาคาร 25 ชั้น 2 ห้องประชุมมนุษย์สังคมวัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เรื่อง การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมลายขิดยกดอกและการทำตลาดออนไลน์ โดยได้รับเกียรติจาก ว่าที่ร้อยตรีอานนท์ ด่านดอน รองผู้จัดการบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นวิทยากรในการอบรมโครงการครั้งนี้ และมีทีมผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลเมืองแฝกเป็นผู้รับการอบรม

การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมลายขิดยกดอกและการทำตลาดออนไลน์ นี้ ทางวิทยากรได้แนะนำวิธีการนำเสนอตัวสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่มีผ้าไหมลายขิดยกดอกเป็นสินค้าหลัก โดยให้ทีมผู้ปฏิบัติงานออกความคิดเห็นและเสนอแนะการแปรรูปผ้าไหมลายขิดยกดอกเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ และมีการตั้งตัวอย่างของกลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจน โดยมีการแบ่งกลุ่มเพื่อร่วมกันแสดงความคิดเห็นออกเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน คือ

กลุ่มที่ 1 เป้าหมายคือคณาจารย์ภายในมหาวิทยาลัยหรือครูในสถานศึกษา ได้ยกกระเป๋าผ้าสำหรับใส่เอกสารหรือเป้สะพาย โดยการนำเอาลายขอผ้าไหมขิดยกดอกมาตัดเย็บประดับใส่กับกระเป๋าผ้าหรือเป้สะพายเพื่อให้มีความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และวางระดับราคาอยู่ที่ 399 – 599 บาท ตามขนาดของผลิตภัณฑ์

กลุ่มที่ 2 เป้าหมายคือ ผู้ว่าราชการจังหวัด โดยมีแนวคิดเชิงนโยบายสำหรับหน่วยงานราชการ เช่น การแต่งกายประจำวันหรือการแต่งกายเนื่องในโอกาสสำคัญต่าง ๆ แนวคิดนี้ครอบคลุมหน่วยงานราชการและบุคลากรของรัฐทั้งหมด และได้เสนอเป็นเสื้อที่ออกแบบให้มีลวดลายเฉพาะ คุณสมบัติของไหมที่นำมาผลิตก็มีความนุ่มและมีสีสันสวยงามที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวอยู่แล้ว และมีการดีไซน์ให้สามารถสวมใส่ได้ทั้งชายและหญิง การคิดเชิงนโยบายนี้จะสามารถนำไปใช้กับหน่วยงานราชการต่าง ๆ ได้ เนื่องจากการแต่งกายของข้าราชการแต่ละหน่วยงานนั้นได้มีการกำหนดเป็นระเบียบข้อบังคับไว้อยู่แล้ว เช่น วันจันทร์และวันอังคารแต่งกายด้วยชุดข้าราชการ วันพุธแต่งกายด้วยชุดวอร์มหรือชุดกีฬา วันพฤหัสบดีและวันศุกร์แต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองหรือชุดที่กำหนดไว้ สำหรับราคานั้นอยู่ที่ประมาณ 3,000 บาท

กลุ่มที่ 3 เป้าหมายคือ นักท่องเที่ยว โดยตั้งกลุ่มเป้าหมายเฉพาะนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมและมาซื้อของที่ระลึกภายในสนาม Chang Stadium และได้กำหนดราคาไว้ที่ 590 – 1090 บาท ตามขนาดของการทอลายขิด โดยจะทำเป็นผ้าพันคอมีการออกแบบลวดลายและองค์ประกอบของลายในผ้าพันคอโดยใช้วิธีการขิดให้เป็นลายต่าง ๆ แบบเดียวกับผ้าพันคอที่เป็นของที่ระลึกของสโมสรบุรีรัมย์ยูไนเต็ด เช่น การขิดลายปราสาท การขิดลายสายฟ้า และการขิดลายโลโก้สโมสรบุรีรัมย์ยูไนเต็ด เป็นต้น อย่างไรก็ตามการที่จะขิดลวดลายต่าง ๆ ออกมาได้นั้นต้องได้รับอนุญาตจากสโมสรฯ ก่อน เนื่องจากมีลิขสิทธิ์ แต่ถ้าหากสามารถทำได้จริงก็จะเป็นผลดีต่อผู้ที่ประกอบอาชีพผ้าไหมลายขิดยกดอกเป็นอย่างมาก

กลุ่มที่ 4 เป้าหมายคือ ผู้ที่เข้ามาใช้บริการห้องพักหรือมาประชุมสัมมนาโครงการต่าง ๆ ที่โรงแรมพนมพิมานในมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยจะทำเป็นพวงกุญแจและแมส กำหนดราคาไว้ที่ 250 บาท โดยจะนำผ้าลายขิดยกดอกมาผลิตเป็นแมสหรือหน้ากากอนามัยมีช่องสำหรับใส่แผ่นกรองอากาศ สำหรับพวงกุญแจจะนำชิ้นส่วนจากการทอผ้าลายขิดยกดอกมาทำเป็นรูปทรงต่าง ๆ หรือตัดเอาเฉพาะลายที่เป็นเอกลักษณ์แล้วเอามาเย็บเข้าด้วยกันให้เป็นพวงกุญแจ

ขั้นตอนสุดท้ายของการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ วิทยากรผู้ให้ความรู้ได้สรุปถึงโอกาสและความเป็นไปได้ของการนำเอาผ้าไหมลายขิดยกดอกมาแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด เพื่อที่จะก่อให้เกิดอาชีพและรายได้ที่มีความมั่นคงแก่คนในท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักและเป็นที่ต้องการในท้องตลาดเพิ่มมากขึ้น

วันที่ 31 เดือน กรกฎาคม 2564 เวลา 09.00 – 12.00 น. กระผมได้เข้าร่วมการอบรมผ่านระบบออนไลน์ เรื่อง การป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโควิด 19 ได้รับเกียรติจาก อาจารย์กนิษฐา จอดนอก อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นผู้บรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้ารับการอบรม โดยกระผมจะเขียนบทความอ้างอิงจากเนื้อหาที่ได้รับการอบรม ดังต่อไปนี้

ไวรัสโคโรนา (Coronavirus) เป็นไวรัสที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่มีสารพันธุกรรมเป็นอาร์เอ็นเอ และมีเปลือกหุ้มด้านนอกที่ประกอบด้วยโปรตีนคลุมด้วยกลุ่มคาร์โบไฮเดรทเป็นปุ่มๆ (spikes) ยื่นออกไปจากอนุภาคไวรัส ทำให้เมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จะเห็นเป็นเหมือนมงกุฎล้อมรอบ ซึ่งในภาษาลาติน Corona แปลว่า Crown หรือ มงกุฎ จึงเป็นที่มาของชื่อเชื้อไวรัสในกลุ่มนี้นั่นเอง โดยไวรัสโคโรนาถูกพบครั้งแรกในปี 1960 แต่ยังไม่ทราบแหล่งที่มาอย่างชัดเจนว่ามาจากที่ใด แต่ก็เป็นไวรัสที่สามารถติดเชื้อได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ โดยก่อให้เกิดโรคทั้งระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร ซึ่งก่อนหน้านี้มีการค้นพบไวรัสสายพันธุ์นี้แล้วทั้งหมด 6 สายพันธุ์ ส่วนสายพันธุ์ที่กำลังแพร่ระบาดหนักทั่วโลกอยู่ตอนนี้เป็นสายพันธุ์ที่ยังไม่เคยมีมาก่อน คือ สายพันธุ์ที่ 7 จึงถูกเรียกว่าเป็น “ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่” (Novel coronavirus 2019, 2019-nCoV)และในภายหลังจึงถูกตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า “โควิด-19” (Covid-19)

เชื้อโควิด-19 ที่มีการระบาดแพร่หลายในประเทศไทย

สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย เราพบผู้ติดเชื้อรายแรกเป็นนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2563 ซึ่งในช่วงแรกจะพบการติดเชื้อเฉพาะผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ จากนั้นจึงค่อยเกิดการแพร่ระบาดในประเทศขึ้น โดยสายพันธุ์ดั้งเดิมที่แพร่ระบาดในช่วงปี 2563 คือสายพันธุ์ A.6 ก่อนที่จะพบสายพันธุ์ B.1.36.16 ที่มาจากประเทศเมียนมาร์ ซึ่งระบาดในประเทศไทยเมื่อต้นปี 2564 และปัจจุบันยังพบการระบาดของสายพันธุ์อื่นๆ อีก 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่

1.สายพันธุ์อังกฤษ (B.1.1.7)พบครั้งแรกที่เมืองเคนต์ ของอังกฤษ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2563

2.สายพันธุ์แอฟริกาใต้ (501Y.V2 หรือ B.1.351) พบครั้งแรกในอ่าวเนลสันแมนเดลา เมือง
อีสเทิร์นเคป ของแอฟริกาใต้ เมื่อเดือนตุลาคม 2563

3.สายพันธุ์อินเดีย (B.1.617.1 และ B.1.617.2) พบครั้งแรกในประเทศอินเดีย ก่อนที่จะมีการกระจายไปในหลายประเทศ

โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า เบต้า อัลฟ่า คืออะไร

องค์การอนามัยโลก (WHO) มีการเปลี่ยนชื่อในการเรียกสายพันธุ์โควิด-19 จากชื่อประเทศที่พบเชื้อครั้งแรกเป็นระบบตัวอักษรภาษากรีกแทน เพื่อลดการตีตราประเทศนั้นๆ ว่าเป็นต้นตอของการระบาดเชื้อโควิด-19 โดยมีการบัญญัติชื่อเรียกสายพันธุ์โควิดใหม่ ดังนี้

-สายพันธุ์อัลฟ่า (Alpha) ใช้เรียกแทนสายพันอังกฤษ (B.1.1.7)

-สายพันธุ์เดลต้า (Delta) ใช้เรียกแทนสายพันธุ์อินเดีย (B.1.617.1 และ B.1.617.2)

-สายพันธุ์เบตา (Beta) ใช้เรียกแทนสายพันธุ์แอฟริกาใต้ (501Y.V2 หรือ B.1.351)

-สายพันธุ์แกมมา (Gamma) ใช้เรียกแทนสายพันธุ์บราซิล (P.1)

กักตัวอย่างไรให้ปลอดภัยต่อทุกคน

โดยหลักแล้วการกักตัวจำเป็นจะต้องแยกห่างจากสังคมและคนใกล้ชิด อย่างไรก็ตามข้อจำกัดการใช้ชีวิตของแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน โดยเฉพาะกับคนที่อยู่อาศัยร่วมกับอีกหลายชีวิตในบ้าน เกิดเป็นคำถามว่าแล้วแบบนี้ต้องปฏิบัติตัวอย่างไรดีจึงจะลดความเสี่ยงให้กับผู้ร่วมอาศัยและคนในครอบครัวให้ได้มากที่สุด

สำหรับผู้ที่กังวลใจ ทางด้านกรมควบคุมโรค และ สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) ก็ได้มีการแนะนำวิธีการกักตัว 14 วันร่วมกับผู้อื่นเอาไว้สำหรับเป็นข้อมูลแก่ประชาชน สามารถใช้เป็นแนวทางเบื้องต้นได้เลยทันทีสำหรับผู้ที่กำลังมีเหตุต้องเฝ้าระวัง

14 วิธีกักตัว 14 วัน ให้ปลอดภัยต่อทุกคน

  1. แยกตนเองออกจากครอบครัว
  2. เว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร
  3. สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
  4. หากไอหรือจามใช้ทิชชูหรือกระดาษชำระ แยกทิ้งให้เหมาะสม
  5. ปวดหัว/มีไข้ ทานยาพาราเซตามอล ทุก 4 – 6 ชั่วโมง
  6. หมั่นล้างมือหรือใช้เจลล้างมือทุกครั้งเมื่อสัมผัสสิ่งของต่าง ๆ
  7. ดื่มน้ำ 1.5 – 2 ลิตรต่อวัน
  8. ไม่ออกไปพบปะผู้คนในช่วงกักตัว
  9. ไม่ทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
  10. ควรใช้ห้องน้ำหลังคนอื่น และเช็คทำความสะอาดทุกครั้งด้วยแอลกอฮอล์
  11. เปิดหน้าต่างเพื่อให้อากาศถ่ายเท
  12. พักผ่อนให้เพียงพอจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วขึ้น
  13. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  14. หากิจกรรมทำงานในบ้าน เพื่อความคลายความกังวล

เสี่ยงแค่ไหนจึงต้องกักตัว

บางคนอาจกำลังสงสัยว่าแบบไหนเราจึงจะต้องกักตัว 14 วัน ทั้งนี้กรมควบคุมโรคได้มีการออกมาตรการประเมินเบื้องต้นไว้สำหรับประเมินตนเองว่าเราอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงใด แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

กลุ่มที่ 1 ผู้สัมผัสความเสี่ยงสูง คือผู้ที่เจอกับผู้ติดเชื้อ มีการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย เช่น ผู้เรียน/ผู้อาศัย/ทำงาน ในห้องเดียวกัน มีการพูดคุยกันในระยะ 1 เมตร นานกว่า 5 นาที มีแนวโน้มถูกไอจามจากผู้ติดเชื้อโดยไม่มีการป้องกัน รวมถึงอยู่ในพื้นที่ปิด ไม่มีอากาศถ่ายเทร่วมกับผู้ป่วย

กลุ่มที่ 2 ผู้สัมผัส กับ ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง คือผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้สัมผัสเสี่ยงสูง (กลุ่มที่ 1) เบื้องต้นถือว่ามีความเสี่ยงต่ำ

กลุ่มที่ 3 ผู้ใกล้ชิด กับ ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ คือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้สัมผัสความเสี่ยงต่ำ (วงที่ 2) หรืออยู่ในสถานที่เดียวกับผู้ติดเชื้อ แต่ไม่ได้มีกิจกรรมใดๆ ร่วมกัน และไม่ได้มีการพบปะหรือสัมผัสกัน จึงจัดเป็นผู้ไม่มีความเสี่ยง

จากการประเมินดังกล่าว ผู้อยู่ในกลุ่มที่ 1 จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเชื้อทันที หากไม่พบเชื้อ ยังต้องกักตนเอง 14 วัน และสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หรือหากพบว่าติดเชื้อ ผู้ที่อยู่กลุ่มที่ 2 ก็จะต้องดำเนินการเช่นเดียวกันคือไปตรวจหาเชื้อ หากไม่พบก็จะต้องกักตัวเอง 14 วัน เช่นเดียวกัน(ที่มา : กรมควบคุมโรค และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.))

 

โรค Covid-19 กลัวอะไร (ที่มา : https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/โรค-Covid-19-กลัวอะไร)

– ควรมีการทำความสะอาดสถานที่ อุปกรณ์ เครื่องใช้ที่มีผู้สัมผัสจำนวนมาก เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได โต๊ะอาหาร ด้วยแอลกอฮอล์ 70% อย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง

– ความร้อน อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสขึ้นไปสามารถฆ่าเชื้อโคโรน่าไวรัส SARS-CoV-2 ได้ แต่การรับประทานน้ำร้อน หรืออาบน้ำร้อนไม่ได้ช่วยลดจำนวนเชื้อโรคแต่อย่างใด

– การเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายและทานอาหารที่มีประโยชน์  ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำ  สามารถช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับโรค Covid-19 ได้

ไวรัสที่รู้จักกันในชื่อ SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรค Covid-19 มีผู้ติดเชื้อเกือบทุกประเทศทั่วโลก  เราทุกคนจึงต้องทราบวิธีที่จะป้องกันตัวเองจากเชื้อไวรัสร้ายนี้  โดยการทำความรู้จักว่าไวรัสตัวนี้จะถูกทำลายหรือลดจำนวนลงได้จากอะไรบ้าง

  1. เอทิล แอลกอฮอล์

เอทิล แอลกอฮอล์  (ethanol) ที่ความเข้มข้นอย่างน้อย 70%  สามารถฆ่าเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ SARS-CoV-2 ได้  ควรมีการทำความสะอาดสถานที่ อุปกรณ์ เครื่องใช้ที่มีผู้สัมผัสจำนวนมาก เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได โต๊ะอาหารด้วยแอลกอฮอล์ 70% อย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง สำหรับเครื่องใช้อื่น ๆ เช่น ผ้าห่ม ผ้าปูเตียง เครื่องครัว จาน ชาม ช้อน ซ้อม แก้วน้ำ ใหทำความสะอาดด้วยน้ำยาทำความสะอาด

  1. สารประกอบคลอรีน

สารประกอบคลอรีน  ที่ใช้ตามบ้านคือ โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (sodium hypochlorite) หรือน้ำยาฟอกขาวหรือคลอรีนน้ำ ซึ่งใช้เป็นสารฆ่าเชื้อได้ มีชื่อการค้าหลายยี่ห้อเช่น ไฮเตอร์ (Haiter), คลอร็อกซ์(Clorox)  ส่วนมากเป็นชนิดเข้มข้น  ถ้าจะนำมาใช้ต้องเจือจางให้มีความเข้มข้นของโซเดียมไฮโปคลอไรท์ เท่ากับ 0.5% โดยปริมาตร  ซึ่งเป็นความเข้มข้นที่สามารถฆ่าเชื้อโคโรน่าไวรัสได้

ตัวอย่างการผสมเพื่อให้ได้ความเข้มข้น 0.5 %   เช่น ไฮเตอร์ และ คลอร็อกซ์ มีสารโซเดียมไฮโปคลอไรท์ที่ฆ่าเชื้อได้ อยู่ 6%  เจือจางโดยอาจใช้ 1 ส่วนผสมกับน้ำ 11 ส่วน ก็จะได้ความเข้มข้นโดยประมาณ 0.5%

  1. น้ำยาฆ่าเชื้อ

น้ำยาฆ่าเชื้อเดทตอล  มีขาย 2 ชนิด คือ Dettol Hygiene Multi-Use Disinfectant  และ  Dettol Antiseptic Disinfectant ซึ่งมีสารออกฤทธิ์ที่แตกต่างกัน Dettol Hygiene Multi-Use Disinfectant มีสารออกฤทธิ์เป็น alkyl dimethyl benzoyl ammonium chloride เข้มข้น 2.4% ฆ่าเขื้อโรคได้ แต่ไม่สามารถใช้กับผิวหนัง Dettol Antiseptic Disinfectant มีสารออกฤทธิ์เป็น chloroxylenol เข้มข้น 4.8% (สังเกตโดยการดูที่ขวดจะมีมงกุฎสีฟ้าบนฉลาก) ซึ่งใช้ได้กับผิวหนัง ถ้าจะใช้ทำความสะอาดพื้นผิว ให้เจือจางในอัตราส่วนน้ำยา 1 ส่วน ผสมน้ำ 39 ส่วน ถ้าใช้กับผิวหนัง ต้องเจือจางลงให้เหมาะสม เช่น ใช้ล้างบาดแผล ให้เจือจางน้ำยาในอัตราส่วน 1:20 หรือถ้าใช้เพื่ออนามัยของร่างกาย ให้เจือจาง 1:40

National Environmental Agency (NEA) ของประเทศสิงคโปร์ มีการศึกษาเกี่ยวกับสารฆ่าเชื้อที่สามารถใช้กับ Coronavirus สายพันธุ์ที่เคยมีก่อนหน้าไว้หลายชนิด แต่เนื่องจากเชื้อ SARS-CoV-2 เป็นเชื้อสายพันธุ์ใหม่ จึงยังไม่มีข้อมูลการศึกษา ข้อมูลต่างๆ จึงเป็นข้อมูลที่ได้จากการศึกษากับ Coronavirus ที่เคยมีรายงานไว้เท่านั้น ตามตาราง

ตาราง :  สารฆ่าเชื้อ และความเข้มข้นที่สามารถฆ่าเชื้อ Coronavirus ได้ (% โดยปริมาตร v/v)

น้ำยาฆ่าเชื้อ ความเข้มข้น
Accelerated hydrogen peroxide 0.5 %
Benzalkonium chloride (Alkyl dimethyl benzyl ammonium chloride) 0.05 %
Chloroxylenol 0.12 %
Ethyl alcohol 70 %
Iodine in iodophor 50 ppm
Isopropanol 50 %
Povidone iodine 1 % iodine
Sodium hypochlorite 0.05 – 0.5 %
Sodium chloride 0.23 %
  1. ความร้อน

ความร้อน อุณหภูมิ  60 องศาเซลเซียสขึ้นไปสามารถฆ่าเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ SARS-CoV-2 ได้  ควรรับประทานอาหารปรุงสุก  รวมถึงการซักผ้าด้วยระบบน้ำร้อน 60-90 องศาเซลเซียส เพื่อช่วยลดการปนเปื้อนของเชื้อโรค  แต่การรับประทานน้ำร้อน หรืออาบน้ำร้อนไม่ได้ช่วยลดจำนวนเชื้อโรคแต่อย่างใด

  1. การล้างมือบ่อยๆ

การล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ นานอย่างน้อย 20 วินาที จะช่วยลดจำนวนเชื้อไวรัสลงได้

  1. ภูมิคุ้มกันที่ดีของร่างกาย

จะสังเกตได้ว่า อัตราการเสียชีวิตจากโรค Covid-19 มักเกิดในผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมาจากการที่ผู้สูงอายุมีภูมิคุ้มกันที่ลดลง   การเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ  ออกกำลังกาย และทานอาหารที่มีประโยชน์  พร้อมทั้งปฏิบัติตัวตามคำแนะนำ  ก็สามารถช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรคได้

เปรียบเทียบประสิทธิภาพวัคซีน Covid-19

วัคซีนโควิด-19 ต่างชนิด ต่างยี่ห้อ สามารถฉีดสลับกันได้หรือไม่

ขณะนี้องค์การอนามัยโลกยังไม่มีคำแนะนำอย่างเป็นทางการให้ฉีดวัคซีนสลับชนิด ทั้งนี้ หน่วยงานสาธารณสุขของแต่ละประเทศสามารถพิจารณาตามผลการศึกษา ซึ่งประเทศไทยมีการศึกษาโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย (ไบโอเทค) พบว่า การฉีดวัคซีน Sinovacเป็นเข็มที่ 1 และฉีดวัคซีน Astra Zeneca เป็นเข็มที่ 2 สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสให้อยู่ในระดับที่สูงได้เร็วมากขึ้น โดยสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีใกล้เคียงกับ Astra Zeneca 2 เข็ม ซึ่งคาดว่าจะมีผลดีต่อการป้องกันไวรัสสายพันธุ์เดลตา และไม่พบอาการข้างเคียงรุนแรงภายหลังได้รับวัคซีน ดังนั้นจึงสามารถให้ฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มที่ 1 ด้วยวัคซีน Sinovac เป็นเข็มที่ 1 และฉีดวัคซีน Astra Zeneca เป็นเข็มที่ 2 โดยมีระยะห่างระหว่างเข็ม 3 – 4 สัปดาห์ ซึ่งสามารถสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสให้อยู่ในระดับที่สูง ใกล้เคียงกับผู้ที่ได้รับวัคซีน Astra Zeneca จำนวน 2 เข็ม

ไขข้อสงสัยของการฉีดวัคซีนโควิด-19

ถาม ในกรณีที่ผู้รับวัคซีน Sinovac ครั้งที่ 1 มีอาการชาแขนขา หรืออ่อนแรงด้านที่ฉีดวัคซีน สามารถรับวัคซีน Sinovac ในครั้งที่สองได้หรือไม่

ตอบ อาการชาอ่อนแรง หรืออาการคล้ายอาการระบบประสาทอื่นๆ ที่เป็นอาการชั่วคราว ไม่มีพยาธิสภาพเกิดขึ้นและหายเป็นปกติ อาการเหล่านี้ไม่เป็นข้อห้ามในการฉีดวัคซีนเดิมเข็มที่ 2 แต่หากมีอาการรุนแรงและกังวลควรเปลี่ยนชนิดของวัคซีนในเข็มที่ 2

ถาม ถ้าฉีดวัคซีนแล้วพบว่าตั้งครรภ์จะทำอย่างไร

ตอบ ไม่ต้องยุติการตั้งครรภ์ เมื่อพบว่าตั้งครรภ์ภายหลังฉีดวัคซีน เพราะการศึกษาบ่งชี้ว่า วัคซีนไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ หรือการตั้งครรภ์ ควรฉีดวัคซีนโควิด-19 ครั้งที่ 2 ได้ หลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์เป็นต้นไป

อื่นๆ

เมนู