โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)
“โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้กับประเทศ”
หลักสูตร HS05 การทอผ้าไหมขิดยกดอก เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนอย่างยั่งยืน
ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
ข้าพเจ้านางสาวอรอนงค์ วิไลฤทธิ์ กลุ่มHS05 ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตรการทอผ้าไหมยกขิดดอก
เนื่องจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้เข้าร่วมโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ จึงได้จัดทำการอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อเรื่อง “กิจกรรมส่งเสริมให้ความรู้เพื่อการปฏิบัติตนอย่างถูกหลักสุขภาวะตามนโยบาย 6 อ. สำหรับการหนุนเสริมคุณภาพชีวิตด้วยการดูแลสุขภาพคนในตำบล” เพื่อเมืองแฝกแจ่มใส อนามัยดี มีน้ำใจ พัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชน โดยข้าพเจ้าและเหล่าผู้ปฏิบัติงานรวมทั้งอาจารย์ผู้ควบคุมดูแลประจำตำบลเมืองแฝก ได้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวโดยออกพื้นที่ไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมืองเเฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2564 โดยวัตถุประสงค์หลักของการจัดกิจกรรมนี้ขึ้นมาคือ เพื่อให้ตัวผู้ปฏิบัติงานทราบถึงการดูแลสุขอนามัยขั้นพื้นฐานของตัวเอง เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ในการเป็นการเฝ้าระวังป้องกันตนเองจาก โควิด -19 ในเวลาที่ต้องลงพื้นที่ในส่วนต่างๆ
กิจกรรมในครั้งนี้ ได้มีการเชิญบุคลากรทางการแพทย์ประจำโรงพยาบาลประจำตำบลเมืองแฝกคุณณัชชา ก่อเกียรตินพคุณ มาเป็นวิทยากรเพื่อให้ความรู้ในหัวข้อเรื่องสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ)
สุขอนามัยพื้นฐาน ได้แก่ รากฐานการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง เพื่อการมีสุขภาพกายที่แข็งแรงและสุขภาพจิตที่ดี ทั้งนี้เพื่อเป็นรากฐานในการใช้ชีวิตประจำวันของคนไทยทุกอายุตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ ซึ่งแนะนำโดยกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ สุขบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งมี 10 ข้อ และแนะนำโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งมี 6 อ.
สุขบัญญัติแห่งชาติ เป็นนโยบายส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับประชาชน เน้นการปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพขั้นพื้นฐานให้เกิดขึ้นในเด็กและเยาวชน โดยนำแนวทางของสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ มาประยุกต์ใช้ สุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ข้อ มีดังต่อไปนี้
- การดูแลรักษาร่างกาย และของใช้ให้สะอาด
การอาบน้ำสะอาดทุกวัน วันละ 1 ครั้ง การสระผมอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง การตัดเล็บมือเล็บเท้าให้สั้นยู่เสมอ การใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ไม่อับชื้น และให้อบอุ่นพียงพอ จัดเก็บของใช้ให้เป็นระเบียบ
- รักษาฟันให้แข็งแรง และแปรงฟันทุกวันอย่างถูกต้อง
การแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า และก่อนนอน การเลือกใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรค์ ใช้ไหมขัดฟันในการทำความสะอาดฟัน การหลีกเลี่ยงการอมลูกอม หรือรับประทานขนมหวาน เหนียว การตรวจสุขภาพในช่องปากปี ละ 1 ครั้ง ห้ามใช้ฟันกัด ขบของแข็ง
- ล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหาร และหลังการขับถ่าย
มือเป็นอวัยวะสำคัญที่เราใช้สัมผัสผู้อื่น ใช้จับสัมผัสสิ่งของต่าง ๆ มากที่สุด จึงเสมือนเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเชื้อโรคจากภายนอกเข้าสู่ตัวเรา และเชื้อโรคจากร่างกายเราไปสู่ผู้อื่นได้ในเวลาเดียวกัน การหมั่นล้างมือด้วยสบู่จึงเป็นวิธีการง่าย ๆ ที่ทั้งสะดวก ประหยัด สามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ โดยต้องล้างมือให้ถูกหลักวิธีการล้างมือทั้ง 7 ขั้นตอนและควรล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้ง ก่อนและหลังการปรุงอาหาร และก่อนกินอาหาร ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งหลังการขับถ่าย การล้างมือต้องไม่ต่ำกว่า 20 วินาที แล้วจึงล้างออกจะช่วยป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ตัวเราได้ดียิ่งขึ้น
- กินอาหารสุกสะอาด ปราศจากสารอันตราย และหลีกเลี่ยงอาหารรสจัดสีฉูดฉาด
การเลือกซื้ออาหารสด สะอาด ปลอดสารพิษ โดยคำนึงถึงประโยชน์ ปลอดภัย ประหยัด ปรุงอาหารที่ถูกสุขลักษณะและใช้เครื่องปรุงที่ถูกต้องโดยคำนึงถึงคุณค่า กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และกินให้ถูกหลักโภชนาการทุกวัน ควรรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ และใช้ช้อนกลางในการกินอาหารร่วมกัน ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ หรืออาหารรสจัด ของหมักดอง หรืออาหารใส่สีฉูดฉาด ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
- งดสูบบุหรี่ สุรา สารเสพติด การพนัน และการสำส่อนทางเพศ
ควรงดสูบบุหรี่ ควรงดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่เสพสารเสพติด งดเล่นการพนัน งดการสำส่อนทางเพศหากจะมีเพศสัมพันธ์ควรรู้จักป้องกันตนเองอย่างถูกวิธี เช่น การสวมถุงยางอนามัย
- สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น
ทุกคนในครอบครัวช่วยกันทำงานบ้าน ปรึกษาหารือ และแสดงความคิดเห็นร่วมกัน เผื่อแผ่น้ำใจให้กันและกัน ทำบุญ และได้ทำกิจกรรมสนุกสนานร่วมกันเป็นการสร้างความอบอุ่นภายในครอบครัว
- ป้องกันอุบัติเหตุด้วยความไม่ประมาท
ระมัดระวังเพื่อป้องกันอุบัติเหตุภายในบ้าน เช่น ไฟฟ้า เตาแก๊ส ของมีคม จุดธูปเทียนบูชาพระ เป็นต้น การรู้จักระมัดระวังเพื่อป้องกันอุบัติภัยในที่สาธารณะ เช่น ปฏิบัติตามกฎแห่ง ความปลอดภัย จากการจราจรทางบก ทางน้ำ หลีกเลี่ยงการชุมนุมห้อมล้อมในขณะเกิดอุบัติเหตุ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอและตรวจสุขภาพประจำปี
ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ออกกำลังกายและเล่นกีฬาให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย วัย และควรตรวจสุขภาพประจำปีอย่างต่อเนื่อง
- ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ
พักผ่อน และนอนหลับให้เพียงพอ จัดสิ่งแวดล้อมทั้งในบ้าน ที่ทำงานให้น่าอยู่ หรือจัดสิ่งแวดล้อมให้ สะอาดและสะดวก มองโลกในแง่ดี ให้อภัย และยอมรับในข้อบกพร่องของคนอื่นและตัวเอง เมื่อมีปัญหาไม่สบายใจควรหาทางผ่อนคลาย
- มีสำนึกต่อส่วนรวม ร่วมสร้างสรรค์สังคม
มีการกำจัดขยะในบ้าน และทิ้งขยะไว้ในที่รองรับ หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุอุปกรณ์ ที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เช่น โฟม พลาสติก มีส้วมและใช้ส้วมที่ถูกสุขลักษณะ มีการกำจัดน้ำทิ้งในครัวเรือน และโรงเรียนที่ถูกต้อง ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม เช่น ชุมชน ป่า น้ำ สัตว์ป่า เป็นต้น
หลัก 6 อ ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
6 อ. คือกุญแจเปิดประตูสู่สุขภาพดี มีดังนี้
1.อาหาร กินอาหารโดยยึดหลักการกินให้หลากหลายชนิดมากที่สุด ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารประเภทไขมันและแป้งในปริมาณมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดโรคอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ ความดันโลหิตสูง และเบาหวานได้ ควรเน้นอาหารประเภทผักผลไม้ให้มากขึ้น
- ออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายครั้งละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง อย่างสม่ำเสมอ
3.อารมณ์ อารมณ์มีความสัมพันธ์กับสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์มีผลต่อร่างกาย อารมณ์ดีส่งผลดีต่อสุขภาพ เช่น เมื่อมีความสุข ร่างกายจะหลั่งสารเอนโดฟีน ส่งผลให้ร่างกายต้องตื่นตัวกระชุ่มกระชวย ผ่อนคลายการทำงานของสมองจะดี หายป่วยเร็วขึ้น อายุยืนมากขึ้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าอารมณ์ไม่ดีจะส่งผลทำลายสุขภาพทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลง กินอาหารได้น้อย นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ หงุดหงิด ก้าวร้าว ความดันโลหิตสูง ดังนั้น การรู้จักควบคุมอารมณ์อย่างเหมาะสม มีผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจทำให้การดำรงชีวิตประจำวันมีความสุข
4.อนามัยสิ่งแวดล้อม สภาพแวดล้อมในบ้านที่ดีเอื้อต่อการมีสุขภาพดีของคนในครอบครัว ขณะเดียวกันก็ควรสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในชุมชนด้วย
5.อโรคยา หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีไขมันสูง ลดการกินอาหารรสจัด ไม่กินอาหารที่สุก ๆดิบๆ หรืออาหารที่มีสารปนเปื้อน การจัดการกับความเครียด โดยทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ การคาดเข็มขัดนิรภัยขณะขับรถยนต์ สวมหมวกกันน็อกขณะขับขี่มอเตอร์ไซค์
6.อบายมุข งดเว้นบุหรี่ สุรา ยาเสพติด การพนัน และการสำส่อนทางเพศ ซึ่งเป็นภัยร้ายแรงที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพกายและจิตใจ
ข้าพเจ้าคิดว่า ถ้าเราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ข้อ และ หลัก 6 อ.ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ตลอดไปได้ด้วยตนเอง จะสามารถป้องกันการเจ็บป่ายที่เกิดขึ้นได้ นอกจากการมีสุขภาพกายที่ดีแล้วยังต้องมีสุขภาพจิตที่ดี และหากเรามีภูมิคุ้มกันขั้นพื้นฐานที่ดีแล้วร่างกายจะเสมือนมีเกราะป้องกันอีกขั้นหนึ่ง
วิดีโอการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม
อ้างอิง
สุขบัญญัติแห่งชาติ- http://www.hed.go.th/slidePicture/83
สุขบัญญัติแห่งชาติ- https://www.crhospital.org/home/data_center/file/.pdf
สุขบัญญัติแห่งชาติ- http://km.citu.tu.ac.th/km/wp-content/uploads/2013/06/health.pdf
หลัก 6 อ.- http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2654.0