“โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้กับประเทศ”

หลักสูตร HS05 ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือนตุลาคม 2564

      สวัสดีค่ะ ดิฉันนางสาววิลาวรรณ คณะรัมย์ กลุ่ม HS05 ประเภทบัณฑิตจบใหม่ (กพร)

ในช่วงวันที่ 20 กันยายน – 19 ตุลาคม 2564 ดิฉันได้ปฏิบัติงานที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองหงส์

ซึ่งดิฉันได้ปฏิบัติงานทั้งในสำนักงานอำเภอหนองหงส์ ในการปฏิบัติงานในสำนักงานพัฒนาชุมชน ดิฉันมีหน้าที่หลักคือ

1.สนับสนุนการดำเนินงาน สำนักงานพัฒนาอำเภอหนองหงส์

2.รับสมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

3.จัดทำฐานข้อมูล และจัดทำทะเบียนข้อมูลการจัดเตรียมเอกสารในสำนักงานพัฒนาชุมชน,

4.ทำเอกสารใบสำคัญรับเงินข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) รวมทั้งหมด 103 คน

5.คีย์บันทึกข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช. 2ค) ได้รับมอบหมายทำตำบลห้วยหิน 19 หมู่บ้าน
ตำบลไทยสามัคคี 4 หมู่บ้าน รวมทั้งสิ้น 23 หมู่บ้าน
ความหมายของของข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช. 2ค) คือ ข้อมูลระดับหมู่บ้านที่แสดงสภาพทั่วไปของหมู่บ้าน สภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ระดับการศึกษา การมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งของชุมชน สุขภาพและอนามัย สภาพแรงงาน และยาเสพติด ซึ่งดำเนินการจัดเก็บทุกหมู่บ้านในเขตชนบทเป็นประจำทุก 2 ปี ทำให้ทราบว่าประชาชนในหมู่บ้านต่าง ๆ มีคุณภาพชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างไร แต่ละหมู่บ้านมีปัญหาในเรื่องใดบ้าง(ตัวชี้วัดใดบ้าง)ที่ควรได้รับการแก้ไข นอกจากนี้ยังสามารถจัดระดับการพัฒนาของหมู่บ้านได้เป็น 3 ระดับ คือ
1.หมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 1 (ล้าหลัง)
2.หมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 2 (ปานกลาง)
3.หมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 3 (ก้าวหน้า)
หลักการข้อมูล กชช.2ค เป็นข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้าน ที่ทำให้สามารถรู้สภาพปัญหาของหมู่บ้านซึ่งจะนำไปสู่การวางแผนแก้ไขปัญหาให้แก่ ่หมู่บ้านและตำบล ของอบต./สภาตำบล หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง หรือกลุ่ม/องค์กรประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้มีคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นข้อมูล กชช.2ค เป็นข้อมูลที่ต้องดำเนินการจัดเก็บทุกสองปี ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2530 โดยการตรวจสอบ ข้อมูลที่มีอยู่แล้วของหน่วยงานที่รับผิดชอบ และสัมภาษณ์จากกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน และผู้รู้ของแต่ละหมู่บ้าน เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการวางแผนพัฒนาตำบล แผนพัฒนาอำเภอ/กิ่งอำเภอ และแผนพัฒนาจังหวัด
วัตถุประสงค์
1.เพื่อใช้ข้อมูล กชช.2คเป็นเครื่องมือในการสำรวจสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนในแต่ละหมู่บ้านทั่วประเทศ สำหรับการวางแผน แก้ไขปัญหา และพัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชาชน การกำหนดนโยบา
แนวทางปฏิบัติ การอนุมัติโครงการและการติดตามประเมินผลการ พัฒนาชนบทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่ม/องค์กรประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2.เพื่อใช้ข้อมูล กชช.2ค ในส่วนที่มีการจัดระดับการพัฒนาของหมู่บ้าน ในการพัฒนาของ อบต./สภาตำบล อำเภอ/กิ่งอำเภอ และจังหวัดกำหนดพื้นที่เป้าหมายพื้นที่การจัดเก็บจัดเก็บข้อมูลทุกหมู่บ้านในเขตชนบททั่วทั้งประเทศ ดังนี้
1) หมู่บ้านที่มีพื้นที่ทั้งหมดอยู่ในเขตชนบท (นอกเขตเทศบาล)
2 )หมู่บ้านที่มีพื้นที่อยู่ในเขตและนอกเขตเทศบาล (ยกเว้นเฉพาะหมู่บ้านที่มีพื้นที่ทั้งหมู่ตั้งอยู่ในเขต เทศบาล)ระยะเวลาการจัดเก็บข้อมูล กชช.2ค จัดเก็บทุก 2 ปี
การนำข้อมูล กชช.2ค ไปใช้ประโยชน์ เมื่อดำเนินการจัดเก็บ บันทึก และประมวลผลข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช.2ค) ในทุกหมู่บ้านเสร็จ เรียบร้อยแล้ว จะสามารถเรียกใช้ข้อมูลจากระบบรายงานผลได้หลายรูปแบบ ดังนี้
1.สรุปข้อมูล กชช.2ค (แบบย่อ) ระดับหมู่บ้าน จะทำให้ทราบข้อมูลทุกด้านของหมู่บ้าน เฉพาะเรื่องที่สำคัญๆ จำนวน 5 หน้า (จากแบบสอบถามทั้งหมด 50 หน้า) ทำให้ทราบภาพรวมของหมู่บ้านว่ามีศักยภาพในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างไร สามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้หรือไม่ อย่างไร
2.ผลการวิเคราะห์ตัวชี้วัดระดับหมู่บ้าน จะทำให้ทราบว่าหมู่บ้านมีปัญหาในด้านต่าง ๆ ตามเครื่องชี้วัด เรื่องใดบ้างที่มีปัญหามาก (1 คะแนน) หรือมีปัญหาปานกลาง (2 คะแนน) หรือมีปัญหาน้อย/ไม่มีปัญหา (3 คะแนน)รวมทั้งทราบระดับการพัฒนาของหมู่บ้าน ด้วยว่าเป็นหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับใด (เร่งรัดพัฒนาอันดับ 1 อันดับ 2 หรืออันดับ 3)ซึ่งจะช่วยให้วางแผนแก้ไขปัญหา ได้ตามสภาพความเป็นจริงและความต้องการ
3.เกณฑ์ชี้วัดระดับการพัฒนาของหมู่บ้าน จะทำให้ทราบว่าแต่ละหมู่บ้านของตำบลได้คะแนนเท่าใด (1 คะแนน 2 คะแนน หรือ 3 คะแนน) ในแต่ละตัวชี้วัด และระดับการพัฒนาของแต่ละหมู่บ้านเป็นระดับใด (เร่งรัดพัฒนาอันดับ1 อันดับ 2 หรืออันดับ 3)
4.ตัวชี้วัดที่เป็นปัญหามากของแต่ละตำบล อำเภอ / กิ่งอำเภอ จังหวัด ภาคและภาพรวม ทั้งประเทศ จะทำให้ทราบว่าปัญหาใด (ตัวชี้วัดใด) ที่เป็นปัญหามากสำหรับหมู่บ้านส่วนใหญ่(เรียงลำดับจาก มากไปหาน้อย) ซึ่งจะทำให้ อบต. / สภาตำบล อำเภอ / กิ่งอำเภอ จังหวัดและส่วนกลาง ทราบว่ามีปัญหาทั้งหมดกี่เรื่อง กี่หมู่บ้าน และสามารถแก้ไขปัญหาที่หมู่บ้านส่วนใหญ่มีอยู่ได้อย่างถูกต้องตรงกับความต้องการของประชาชน
5.ผลการวิเคราะห์ตัวชี้วัดในแต่ละด้านของแต่ละตำบล อำเภอ / กิ่งอำเภอ จังหวัด ภาคและภาพรวมทั้งประเทศ จะทำให้ทราบว่าแต่ละตำบล อำเภอ / กิ่งอำเภอ จังหวัด ภาค และทั่วประเทศในแต่ละตัวชี้วัดได้ 1 คะแนน (มีปัญหามาก) ได้ 2 คะแนน (มีปัญหาปานกลาง) หรือได้ 3 คะแนน (มีปัญหาน้อย/ไม่มีปัญหา) กี่หมู่บ้าน ซึ่งจะทำให้สามารถวางแผนแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาหมู่บ้านในทุกระดับให้เจริญก้าวหน้า ยิ่งขึ้นในทุกระดับ
6.รายชื่อหมู่บ้านที่มีปัญหามาก ในแต่ละตัวชี้วัดของแต่ละตำบล อำเภอ / กิ่งอำเภอ และจังหวัด จะทำให้ทราบว่าแต่ละตัวชี้วัด (ในแต่ละปัญหา) ของตำบอำเภอ/กิ่งอำเภอ และจังหวัด มีหมู่บ้านในที่มีปัญหามาก ซึ่งควรได้รับการแก้ไขปัญหา และพัฒนาให้ดีขึ้น
7.รายชื่อหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 1 (ล้าหลัง) ของแต่ละตำบล อำเภอ / กิ่งอำเภอ และจังหวัดจะทำให้ทราบรายชื่อหมู่บ้านเป้าหมายที่ควรได้รับการวางแผนแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นลำดับแรก
8.ระดับการพัฒนาหมู่บ้านของแต่ละตำบล อำเภอ / กิ่งอำเภอ จังหวัด ภาคและภาพรวม ทั้งประเทศ จะทำให้ทราบว่าแต่ละตำบล อำเภอ / กิ่งอำเภอ จังหวัด ภาค และภาพรวมทั้งประเทศ มีหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 1 (ล้าหลัง) อันดับ 2 (ปานกลาง) หรืออันดับ 3 (ก้าวหน้า) กี่หมู่บ้าน ซึ่งจะช่วยให้ อบต. / สภาตำบล อำเภอ / กิ่งอำเภอ จังหวัด และส่วนกลาง กำหนดทิศทางในการพัฒนาพื้นที่เป้าหมายได้อย่างเหมาะสม
9.ผลการวิเคราะห์ตัวชี้วัดระดับตำบล ระดับอำเภอ จังหวัด ภาค และภาพรวมทั้งประเทศจะทำให้ทราบว่าในแต่ละตำบล อำเภอ / กิ่งอำเภอ จังหวัด ภาค และภาพรวมทั้งประเทศ มีปัญหามาก (1 คะแนน) มีปัญหาปานกลาง (2 คะแนน) และมีปัญหาน้อย/ไม่มีปัญหา (3 คะแนน) ในแต่ละตัวชี้วัด กี่หมู่บ้าน ซึ่งจะช่วยให้ อบต. / สภาตำบล อำเภอ / กิ่งอำเภอ จังหวัด และส่วนกลาง สามารถวางแผนแก้ไขปัญหาในแต่ละเรื่อง (ตัวชี้วัด) ได้อย่างครอบคลุมทุกหมู่บ้าน เช่น เรื่องน้ำเพื่อการเกษตรของระดับอำเภอ มีปัญหามาก 70 หมู่บ้าน (70.0%) มีปัญหาปานกลาง 20 หมู่บ้าน (20.%)และมีปัญหาน้อย/ไม่มีปัญหา 10 หมู่บ้าน (10.0%) ซึ่งจะทำให้เห็นภาพรวมด้านน้ำเพื่อการเกษตร ของอำเภอว่ามีปัญหาระดับใดมากน้อยแค่ไหน เป็นต้น
10.รายงานผลข้อมูลเฉพาะเรื่องที่เลือกในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ / กิ่งอำเภอ จังหวัด ภาคและภาพรวม ทั้งประเทศ จะทำให้ทราบข้อมูลในเรื่องต่าง ๆ ตามแบบสอบถาม เฉพาะเรื่องที่เราต้องการทราบเท่านั้น เช่น ต้องการทราบว่าในตำบล มีกี่ครัวเรือน กี่คน มีครัวเรือนทำนากี่ครัวเรือน เป็นต้น
11.เปรียบเทียบข้อมูลของแต่ละหมู่บ้านเฉพาะที่เลือก จะทำให้ทราบว่าแต่ละหมู่บ้านของตำบล มีข้อมูลในด้านต่าง ๆ ที่เราต้องการทราบเป็นอย่างไรบ้าง เช่น ต้องการเปรียบเทียบเรื่องจำนวนครัวเรือน เพศชาย เพศหญิง เป็นต้น
12.ข้อมูลตามแบบสอบถามทั้งหมดของแต่ละหมู่บ้าน จะทำให้ทราบว่าหมู่บ้านมีข้อมูลในแบบสอบถามทุกข้อทุกด้านเป็นอย่างไรซึ่งทำให้ทราบสภาพ ของหมู่บ้านว่ามีศักยภาพในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างไร นอกจากนั้นยังสามารถใช้ตรวจสอบกับเล่มแบบสอบถามต้นฉบับ ได้ด้วยว่า บันทึกเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ได้

6.ดิฉันได้รับมอบหมายให้ทำข่าวประชาสัมพันธ์ คือจัดทำข่าวประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการทำงานในสำนักงานพัฒนาชุมชน และ งานลงพื้นที่ กิจกรรมต่าง ๆ ในสำนักงานพัฒนาชุมชนเพื่อทำข่าวรายงานให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ได้รับทราบว่าภารกิจในแต่ละวันของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองหงส์    เมื่อจัดทำข่าวแต่ละวันเสร็จแล้วต้องส่งเข้าไลน์ โพสต์ลง Face book  และดูแลเว็บไซต์ของสำนักงานให้เป็นปัจจุบัน

ตัวอย่างข่าวประชาสัมพันธ์ในเดือนตุลาคมที่ดิฉันได้ทำทั้งสิ้น 15 ข่าว มีดังนี้
1.เรื่องประชุมโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการสร้างความโปร่งใส
และป้องกันการทุจริประพฤติมิชอบ
ตัวอย่างข่าวประชาสัมพันธ์ – วันที่ 29 กันยายน 2564 เวลา 09.00 น.
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองหงส์จัดประชุมโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการสร้างความโปร่งใสและป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 50 คน ประกอบไปด้วย ผู้นำชุมชน ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช) คณะกรรมการพัฒนาสตรี (กพสอ.) โดยมี นายปริญญา อดกลั้น และนางสาวรุ่งทิวา โอดรัมย์ เป็นวิทยากรให้ความรู้ในครั้งนี้

2.ประชุมประชุมกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

ตัวอย่างข่าวประชาสัมพันธ์ – วันที่ 29 กันยายน 2564 เวลา 10.30 น.
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองหงส์จัดประชุมกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยมี นายอนุชา เรืองอมรวิวัฒน์ นายอำเภอหนองหงส์ เป็นประธาน
ในการนี้ได้มีสมาชิกกลุ่มพัฒนาบทบาทสตรีและกลุ่มอาชีพเข้าร่วมทั้งสิ้น 30 คนโดยได้มีการซักซ้อมแนวทางการขับเคลื่อนการทำงานกองทุนพัฒนาบทบาสตรีให้มีการบริหารเงินทุนและเงินกู้ของสมาชิกให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และสร้างอาชีพให้เกิดรายได้อย่างยั่งยืน


3.สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองหงส์ ติดตามสนับสนุนกลุ่มทอผ้าไหมบ้านนายาวนาอุดม ตำบลเสาเดียว
ตัวอย่างข่าวประชาสัมพันธ์ – วันที่ 4 ตุลาคม 2564 เวลา 10.30 น.
นางพัชรี สุขบัติ พัฒนาการอำเภอหนองหงส์ พร้อมด้วยนางสาวปกิตตา นิลพยัคฆ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ ลงพื้นที่ติดตาสนับสนุนกลุ่มทอผ้าบ้านนายาวและบ้านนาอุดม ตำบลเสาเดียว อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์

4.ติดตามสนับสนุนการปลูกผัก

ตัวอย่างข่าวประชาสัมพันธ์ – วันที่ 4 ตุลาคม 2564 เวลา 13.30 น.
วันที่ 4 ตุลาคม 2564 นางพัชรี สุขบัติ พัฒนาการอำเภอหนองหงส์ พร้อมด้วยนางสาวปกิตตา นิลพยัคฆ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ ลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนการปลูกผัก น้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระขนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี สู่แผนปฏิบัติการ ๙๐ วัน ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ณ ตำบลเสาเดียว อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์

5.เข้าร่วมกิจกรรม โคก หนอง นา โมเดลสวนนาย่า Nayagarden ศาสตร์พระราชา
โคก หนอง นา โมเดล สวนเกษตรผสมผสาน สร้างแหล่งอาหารยั่งยืน

ตัวอย่างข่าวประชาสัมพันธ์ – วันที่ 1 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00 น.
นางพัชรี สุขบัติ พัฒนาการอำเภอหนองหงส์ มอบหมายให้นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) เข้าร่วมกิจกรรมโคก หนอง นา โมเดล ศาสตร์พระราชา โคก หนอง นา โมเดล สวนเกษตรผสมผสาน สร้างแหล่งอาหารยั่งยืน ณ บ้านสระบัว ตำบลสระบัว อำเภอแคนดง บุรีรัมย์ ในกิจกรรมมีวิทยากรมาให้ความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับโคกหนองนาโมเดล และมีกิจกรรมเข้าฐานเรียนรู้ ฐานฟาร์มไก่อารมณดี ฐานการทำน้ำหมักชีวภาพ ฐานทำเตาถ่าน ฐานทำปุ๋ยหมัก

6.ติดตามสนับสนุนครัวเรือนตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล

ตัวอย่างข่าวประชาสัมพันธ์ – วันที่ 6 ตุลาคม 2564 เวลา14.00 น.
นางพัชรี สุขบัติ พัฒนาการอำเภอหนองหงส์ มอบหมายให้ นางสาวปกิตตา นิลพยัคฆ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) ลงติดดตามสนับสนุนครัวเรือนโคกหนองนาโมเดล
ในการนี้ได้ลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนครัวเรือนต้นแบบตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล (งบเงินกู้)
แปลงนายคำพูน พรฆัง ตำบลห้วยหิน อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์

7.กลุ่มพัฒนาบทบาสตรี ทำแหนมหมู แหนมกระดูก
ตัวอย่างข่าวประชาสัมพันธ์ – วันที่ 6 ตุลาคม 2564 เวลา09.00 น.
นางพัชรี สุขบัติ พัฒนาการอำเภอหนองหงส์ มอบหมายให้นางสาวปกิตตา นิลพยัคฆ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และรัฐบาลดิจิทัล (นพร.)ลงพื้นที่สนับสนุนกลุ่มบทบาทสตรี
ตำบลห้วยหิน อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์
ในการนี้ลงพื้นที่ทำแหนมหมู แหนมกระดูก โดยมีกลุ่มพัฒนาบทบาทสตรีเข้าร่วมกิจกรรมรวมทั้งสิ้น 50 คน วัตถุประสงค์กิจกรรมในครั้งนี้เพื่อให้เกิดความรู้ และสร้างเป็นอาชีพให้มีรายได้ โดยในกิจกรรมมีวิทยากรมาให้ความรู้และสอนวิธีการทำแหนมหมูแหนมกระดูกให้กับกลุ่มพัฒนาบทบาสตรีในครั้งนี้ด้วย

8.ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร
ตัวอย่างข่าวประชาสัมพันธ์ – วันที่ 6 ตุลาคม 2564 เวลา13.00 น.
นางสาวปกิตตา นิลพยัคฆ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ ลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนการปลูกผักสวนครัว เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้  น้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระขนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี สู่แผนปฏิบัติการ ๙๐ วัน ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ณ ตำบลห้วยหิน อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์


9.ติดตามสนับสนุนครัวเรือนตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล
ตัวอย่างข่าวประชาสัมพันธ์ – วันที่ 6 ตุลาคม 2564 เวลา15.00 น.
นางพัชรี สุขบัติ พัฒนาการอำเภอหนองหงส์ มอบหมายให้ นางสาวปกิตตา นิลพยัคฆ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) ลงติดตามสนับสนุนครัวเรือนโคกหนองนาโมเดล
ในการนี้ได้ลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนครัวเรือนต้นแบบตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล (งบเงินกู้) แปลงนายสุบัน จำปามูล ตำบลห้วยหิน อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์

10.ติดตามสนับสนุนครัวเรือนตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล
ตัวอย่างข่าวประชาสัมพันธ์ – วันที่ 6 ตุลาคม 2564 เวลา15.30 น.
นางพัชรี สุขบัติ พัฒนาการอำเภอหนองหงส์ มอบหมายให้ นางสาวปกิตตา นิลพยัคฆ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) ลงติดตามสนับสนุนครัวเรือนโคกหนองนาโมเดล
ในการนี้ได้ลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนครัวเรือนต้นแบบตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล (งบเงินกู้) แปลงนายนราธิป เพชรเสนา ตำบลห้วยหิน อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์


11.“ให้กำลังใจครัวเรือนโคกหนองนาโมเดลประสบปัญหาน้ำท่วม”
ตัวอย่างข่าวประชาสัมพันธ์ – วันที่ 12 ตุลาคม 2564 เวลา 11.00 น. นางพัชรี สุขบัติ พัฒนาการอำเภอหนองหงส์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองหงส์ ประกอบด้วย นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) นักพัฒนารัฐบาลดิจิทัล(นพร.)
ติดตามให้สนับสนุนการดำเนินงาน ครัวเรือนต้นแบบโคกหนองนาโมเดล บ้านไทยสามัคคี หมู่ที่ 1 และ 14 ตำบลไทยสามัคคี อำเภอหนองหงส์ ร่วมกับ นายชุติไชย เสาเวียง กำนันตำบลไทยสามัคคี ในการติดตามในครั้งนี้ได้ให้คำแนะนำการแก้ไขปัญหาภาวะน้ำท่วมแก่ครัวเรือนต้นแบบ และคนในชุมชน

  1. “พช.สืบสาน อนุรักษ์ผ้าไทย ให้ชุมชนมีรายได้”
    ตัวอย่างข่าวประชาสัมพันธ์ – วันที่ 12 ตุลาคม 2564 เวลา 10.00 น.
    นางพัชรี สุขบัติ พัฒนาการอำเภอหนองหงส์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองหงส์ ติดตามสนับสนุนให้คำแนะนำแก่สมาชิกกลุ่มทอผ้าไหม บ้านไทยสามัคคี หมู่ที่ 1 ตำบลไทยสามัคคี พัฒนาลายผ้า และทอผ้าลาย “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตนราชกัญญา” หรือ “ลายเจ้าหญิง” ซึ่งกลุ่มทอผ้าไหมบ้านไทยสามัคคี กำลังผลิตผ้าไหมเพื่อจำหน่ายให้แก่ สำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อตัดเย็บกระเป๋าผ้าจำหน่ายเพื่อสมทบเงินทุนช่วยเหลือผู้ยากไร้ ของสำนักงานกาชาดจังหวัดบุรีรัมย์
  2. “ปลูกพืช ปลูกผัก สร้างความมั่นคงทางอาหาร”
    ตัวอย่างข่าวประชาสัมพันธ์ – วันที่ 12 ตุลาคม 2564 เวลา 13.30 น.
    นางพัชรี สุขบัติ พัฒนาการอำเภอหนองหงส์ พร้อมด้วย ปลัดอำเภอ ติดตามสนับสนุน การส่งเสริมการน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระขนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตราชสุดาสยามบรมราชกุมารี สู่แผนปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ระยะที่ 2
    โดยออกเยี่ยมครัวเรือนนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) และสมาชิกกลุ่มสตรี หมู่ที่ 12 ตำบลเมืองฝ้าย
    อำเภอหนองหงส์ ซึ่งครัวเรือนมีกิจกรรมปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อรับประทานและขายเป็นรายได้ และปลูกไม้ประดับเพื่อความสวยงาม และตอนนี้มีความนิยมไม้มงคล ครัวเรือนได้จึงได้เพาะไม่มงคลจำหน่าย
    มีรายได้เพิ่มขึ้นอีกเดือนละ 3,000 บาท
  3. “พัฒนาชุมชนจับมือกลุ่มสตรีเดินหน้าสร้างอาชีพ”
    ตัวอย่างข่าวประชาสัมพันธ์ – วันที่ 14 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00 น.
    นางพัชรี สุขบัติ พัฒนาการอำเภอหนองหงส์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองหงส์ และคณะกรรมการพัฒนาสตรีอำเภอหนองหงส์ ฝึกอบรมอาชีพทำน้ำพริก และกล้วยฉาบ ให้กับสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบลสระแก้ว และตำบลหนองชัยศรี ในการนี้ได้รับเกียรติจาก นายอนุชา เรืองอมรวิวัฒน์ นายอำเภอหนองหงส์ เป็นประธาน และมอบแนวทางในการพัฒนากลุ่มแก่สมาชิกกลุ่มสตรี ซึ่งในวันนี้กลุ่มอาชีพ ได้ฝึกการทำอาชีพ ทำน้ำพริกกากหมู น้ำพริกเผากากหมู กล้วยฉาบ กล้วยอบเนย และกล้วยเบรกแตก มีสมาชิกกลุ่มสตรีเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ จำนวน 2 จุด ๆ ละ 50 คน

“ร่วมกิจกรรมจิตอาสา” เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร
ตัวอย่างข่าวประชาสัมพันธ์ – นางพัชรี สุขบัติ พัฒนาการอำเภอหนองหงส์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองหงส์ ประกอบด้วย นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) นักพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (นพร.) ร่วมกิจกรรมจิตอาสา เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร โดยร่วมกิจกรรมตัดหญ้า เก็บวัชพืช ในแปลงโคก หนอง นา โมเดล ที่ว่าการอำเภอหนองหงส์ โดยในการนี้ นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ ได้รับมอบหมายให้ทำ คิวอาร์โค๊ต ต้นในแปลงโคกหนองนาโมเดลด้วย เพื่อเป็นการอนุรักษณ์พันธุ์ไม้ประจำถิ่น และส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับประชาชนในพื้นที่อำเภอหนองหงส์ และผู้สนใจเข้ามาศึกษาหาความรู้

ในส่วนของการลงพื้นที่ประจำเดือนตุลาคมมีดังนี้

วันที่ 6 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00 น.
ดิฉันได้ลงพื้นที่ทำกิจกรรมทำแหนมหมู แหนมกระดูก ณ ตำบลห้วยหิน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองหงส์ และกลุ่มพัฒนาบทบาสตรีตำบลห้วยหิน ในกิจกรรม มีวิทยากรมาให้ความรู้และสอนการทำแหนมหมู แหนมกระดูกให้กับกลุ่มพัฒนาบทบาสตรีตำบลห้วยหินในครั้งนี้

วันที่ 6 ตุลาคม 2564 เวลา 14.00 น.
ดิฉันลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนครัวเรือนตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล แปลงนายคำพูน พรฆัง แปลงนายสุบัน จำปามูล
และแปลงนายนราธิป เพชรเสนา ตำบลห้วยหิน อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองหงส์

                                                                                                                                                                

วันที่ 14 ตุลาคม 2564
ดิฉันได้ลงพื้นที่ทำกิจกรรม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองหงส์ และคณะกรรมการพัฒนาสตรีอำเภอหนองหงส์ ฝึกอบรมอาชีพทำน้ำพริก และกล้วยฉาบ ให้กับสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบลสระแก้ว และตำบลหนองชัย โดยได้มีวิทยากรมาให้ความรู้และได้ฝึกการทำอาชีพ ทำน้ำพริกกากหมู น้ำพริกเผากากหมู กล้วยฉาบ กล้วยอบเนย และกล้วยเบรกแตก

กล่าวโดยสรุป การปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม 2564 ในสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองหงส์ ส่วนมากจะเน้นจัดทำฐานข้อมูล คีย์บันทึกข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช. 2ค)  นอกจากนี้ก็จะเป็นส่วนของการลงพื้นที่  ไปร่วมกิจกรรมและชมการสาธิตทำแหนมกระดูก ทำกล้วยฉาบและสนับสนุนการดำเนินงานในสำนักงานพัฒนาอำเภอหนองหงส์จัดทำเอกสารที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งดิฉันได้เรียนรู้และได้รับประสบการณ์การทำงานที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

 

 

อื่นๆ

เมนู