1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS05 - ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ
  4. “โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้กับประเทศ”หลักสูตร HS05 เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนอย่างยั่งยืน” บทความนักพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ประจำเดือนธันวาคม 2564

“โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้กับประเทศ”หลักสูตร HS05 เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนอย่างยั่งยืน” บทความนักพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ประจำเดือนธันวาคม 2564

โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้กับประเทศหลักสูตร HS05

เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนอย่างยั่งยืน

บทความนักพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ประจำเดือนธันวาคม 2564

  1. ดิฉันได้รับมอบหมายในการรับและออกเลขหนังสือราชการต่าง ๆ ผ่านระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งดิฉันได้รับมอบหมายให้ออกเลขหนังสือราชการเป็นหลักจะลงรับและออกเลขหนังสือราชการเป็นประจำทุกวัน จันทร์-ศุกร์ การออกเลขส่งเอกสารก่อนที่จะส่งเอกสารทุกครั้งต้องออกเลขก่อน เพื่อให้ทราบว่าเลขนี้ คือเรื่องอะไร ส่งมาจากที่ใด วันที่เท่าไหร่ เลขด่วนที่สุดหรือเลขธรรมดา ถึงจะส่งเอกสารได้ ส่วนการรับเลขหนังสือราชการ คือจัดพิมพ์เอกสารออกมาก่อน แล้วลงรับในระบบก่อน ซึ่งในระบบจะมีเลขที่ลงรับ ชื่อเรื่อง วันที่รับเลขให้เรียบร้อยแล้ว จึงส่งให้หัวหน้าพิจารณาแล้วก็ส่งรายงานให้นายอำเภอทราบเป็นลำดับต่อไป

ภาพประกอบการปฏิบัติงาน

   

  1. ดิฉันได้รับมอบหมายในการตัดแต่งรูปภาพผ้าไทย ซึ่งเลือกทำในโปรแกรม Photoshop เพราะดิฉันมีความถนัดในโปรแกรมนี้ เพื่อที่จะออกแบบและแต่งรูปรายงานข่าวประชาสัมพันธ์ผ้าไทยให้สวยงามเพื่อเชิญชวน ข้าราชการ กลุ่มผู้นำ กลุ่มสตรี และพี่น้องประชาชนชาวอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ทุกท่าน รวมสวมใส่ผ้าไทย (สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน) ตามมติ ครม.จังหวัด อย่างน้อยให้ใส่ผ้าไทยสัปดาห์ละ 2 วัน เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาและส่งเสริมกลุ่มอาชีพให้มีรายได้ และได้รับมอบหมายให้ดูแลเว็บไชต์ ช่อง Youtube และ Facebook ของสำนักงาน ซึ่งดิฉันรับผิดชอบในส่วนของเรื่องผ้าไทย และการตัดต่อวิดีโอทั้งหมดของสำนักงาน การรายงานข่าวผ้าไทยมีผลต่อคะแนน คือ 1 ข่าว เท่ากับ 1 คะแนน ซึ่งในเดือนตุลาคมนี้ (1-16) ดิฉันได้รายงานข่าวประชาสัมพันธ์ในเดือนนี้ เนื่องด้วยมีงานเร่งหลายงานทำให้ไม่มีเวลาในการทำข่าวประชาสัมพันธ์ ได้มากนัก ซึ่งเดือนนี้มี 3 ข่าว ได้แก่ นางสาวปกิตตา นิคพยัคฆ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ นางพัชรี สุขบัติ พัฒนาการอำเภอหนองหงส์ และนางสุจิตรจา วิเชียร นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ ซึ่งดิฉันจะยกตัวอย่างการนำเสนอ ดังนี้

ตัวอย่างที่ 1 – วันที่ 25 พฤศจิกายน 2564 จังหวัดบุรีรัมย์ – พช.หนองหงส์  โครงการสืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน นางสาวปกิตตา นิลพยัคฆ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ ประชาสัมพันธ์การสวมใส่ผ้าไทยเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญา ตามพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เพื่อสืบสานอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย
ข่าวโดย : สพอ.หนองหงส์
ภาพ  : นักพัฒนาดิจิทัล (นพร.)

ภาพประกอบการปฏิบัติงานทำรายงานข่าวประชาสัมพันธ์ผ้าไทย

ตัวอย่างที่ 2 วันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 จังหวัดบุรีรัมย์ – พช.หนองหงส์  โครงการสืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน คณะครูจากโรงเรียนห้วยหินพิทยาคม และนางสาวปกิตตา นิลพยัคฆ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ ประชาสัมพันธ์การสวมใส่ผ้าไทยเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญา ตามพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เพื่อสืบสานอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย
ข่าวโดย : สพอ.หนองหงส์
ภาพ  : นักพัฒนาดิจิทัล (นพร.)

ภาพประกอบการปฏิบัติงานทำรายงานข่าวประชาสัมพันธ์ผ้าไทย

ตัวอย่างที่ 3  วันที่ 27 พฤศจิกายน 2564 จังหวัดบุรีรัมย์ – พช.หนองหงส์  โครงการสืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน นางพัชรี สุขบัติ พัฒนาการอำเภอหนองหงส์ นางสาวปกิตตา นิลพยัคฆ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และผู้นำชุมชนบ้านไทรออ ตำบลเสาเดียว อำเภอหนองหงส์ ประชาสัมพันธ์การสวมใส่ผ้าไทยเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญา ตามพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เพื่อสืบสานอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย
ข่าวโดย : สพอ.หนองหงส์
ภาพ  : นักพัฒนาดิจิทัล (นพร.)

ภาพประกอบการปฏิบัติงานทำรายงานข่าวประชาสัมพันธ์ผ้าไทย

ตัวอย่างที่ 4  วันที่ 28 พฤศจิกายน 2564 จังหวัดบุรีรัมย์ – พช.หนองหงส์  โครงการสืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน นางสุจิตรจา วิเชียร นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ ประชาสัมพันธ์การสวมใส่ผ้าไทยเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญา ตามพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เพื่อสืบสานอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย
ข่าวโดย : สพอ.หนองหงส์
ภาพ  : นักพัฒนาดิจิทัล (นพร.)

ภาพประกอบการปฏิบัติงานทำรายงานข่าวประชาสัมพันธ์ผ้าไทย

ตัวอย่างที่ 5  วันที่ 1 ธันวาคม 2564 จังหวัดบุรีรัมย์ – พช.หนองหงส์  โครงการสืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน นางพัชรี สุขบัติ พัฒนาการอำเภอหนองหงส์ นางสาวปกิตตา นิลพยัคฆ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และครัวเรือนต้นแบบนางสุนีย์ นารินทร์ ม. 8 ต.ห้วยหิน อ.หนองหงส์ ประชาสัมพันธ์การสวมใส่ผ้าไทยเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญา ตามพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เพื่อสืบสานอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย
ข่าวโดย : สพอ.หนองหงส์
ภาพ  : นักพัฒนาดิจิทัล (นพร.)

ภาพประกอบการปฏิบัติงานทำรายงานข่าวประชาสัมพันธ์ผ้าไทย

ตัวอย่างที่ 5  วันที่ 2 ธันวาคม 2564 จังหวัดบุรีรัมย์ – พช.หนองหงส์  โครงการสืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน นางพัชรี สุขบัติ พัฒนาการอำเภอหนองหงส์ พร้อมด้วยนางสาวปกิตตา นิลพยัคฆ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และนางสุจิตรจา วิเชียร นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ ประชาสัมพันธ์การสวมใส่ผ้าไทยเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญา ตามพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เพื่อสืบสานอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย
ข่าวโดย : สพอ.หนองหงส์
ภาพ  : นักพัฒนาดิจิทัล (นพร.)

ภาพประกอบการปฏิบัติงานทำรายงานข่าวประชาสัมพันธ์ผ้าไทย

ตัวอย่างที่ 5 วันที่ 3 ธันวาคม 2564 จังหวัดบุรีรัมย์ – พช.หนองหงส์  โครงการสืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน นางพัชรี สุขบัติ พัฒนาการอำเภอหนองหงส์ นางสาวปกิตตา นิลพยัคฆ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และครัวเรือนต้นแบบนางสาวจิรดาณัท บัวสอน ต.เสาเดียว อ.หนองหงส์ ประชาสัมพันธ์การสวมใส่ผ้าไทยเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญา ตามพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เพื่อสืบสานอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย
ข่าวโดย : สพอ.หนองหงส์
ภาพ  : นักพัฒนาดิจิทัล (นพร.)

ภาพประกอบการปฏิบัติงานทำรายงานข่าวประชาสัมพันธ์ผ้าไทย

  1. แก้ไขเอกสารรายงานช่างทำเอกสารรายงานช่างจัดทำรูปแนบท้ายการตรวจรับแปลง (ก่อน ระหว่าง และหลังกาดำเนินงาน) ทำเอกสารรายงานช่าง (รูปแนบท้ายการตรวจรับแปลง) ตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคกหนองนาโมเดล” เพื่อส่งไปยังสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ (ศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์) เพื่อที่จะเบิกเงินให้กับผู้รับจ้างแปลง
  2. ศึกษาวิธีการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโควิด-19 ซึ่งในตอนนี้ดิฉันก็ได้รับวัคซีนครบ 3 เข็ม เรียบร้อยแล้ว แต่ดิฉันก็จะดูแลตัวเองและระวังตัวเองให้ปลอดภัยเหมือนเดิม หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล เหนื่อยหอบ เจ็บคอ หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ ระมัดระวังการสัมผัสพื้นผิวที่ไม่สะอาด และอาจมีเชื้อโรคเกาะอยู่ รวมถึงสิ่งที่มีคนจับบ่อยครั้ง เช่น ที่จับบน BTS, MRT, Airport Link ที่เปิด-ปิดประตูในรถ กลอนประตูต่าง ๆ ก๊อกน้ำ ราวบันได ฯลฯ เมื่อจับแล้วอย่าเอามือสัมผัสหน้า

และ 6. สนับสนุนงานอื่นๆ ภายในสำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอหนองหงส์

การปฏิบัติงานในส่วนที่ 2 เป็นส่วนของการสนับสนุนการดำเนินงาน การลงพื้นที่สนับสนุนการดำเนินงานต่างๆ เช่น การลงพื้นที่ต้นแบบพัฒนาคุณภาพชีวิตประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” การเอามื้อสามัคคี การลงพื้นที่ประสานการตรวจรับแปลงพื้นที่ การสนับสนุนกลุ่มอาชีพ การเสริมความมั่งคงทางอาหาร เป็นต้น การลงพื้นที่ในเดือนธันวาคมในเขตพื้นที่อำเภอหนองหงส์ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ต้องติดตามข่าวสารและสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มีความปลอดภัยต่อสุขภาพต่อผู้ปฏิบัติงานและบุคคลใกล้ชิด ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงที่จะมีโอกาสได้รับเชื้อหรือสัมผัสเชื้อจากการลงพื้นที่ปฏิบัติงานโดยไม่รู้ตัว และเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อส่วนรวมและการวางแผนการปฏิบัติงานในขั้นตอนต่อไป ต้องระหวังเป็นพิเศษและเว้นระยะห่าง และทำให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดต่อส่วนรวม และกิจกรรมที่ดิฉันได้เข้าร่วมและรับผิดชอบในเดือนนี้ได้แก่

  1. วันที่ 1-18 ธันวาคม 2564 ลงพื้นที่สนับสนุนการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฏีใหม่ประยุกต์ สู่ โคก หนอง นา โมเดล ลงพื้นที่ปักหมุด จับพิกัดแปลงใหม่ ณ แปลงโคกหนองนาพัฒนาชุมชนแปลงของ นายใส ชุดพิมาย ตำบลไทยสามัคคี อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งดิฉันได้ลงพื้นที่ ช่วยประสานงาน และรับหน้าที่เป็นคนเก็บภาพบรรยากาศ ในการทำกิจกรรมต่างๆ ในครั้งนี้ด้วย

ภาพประกอบการปฏิบัติงาน

  1. ลงพื้นที่สนับสนุนการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฏีใหม่ประยุกต์ สู่ โคก หนอง นา โมเดล การเอามื้อสามัคคี ณ แปลงโคกหนองนาพัฒนาชุมชน นายสากล โตสกุล หมู่ที่ 14 ตำบลสระแก้ว อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งดิฉันได้ลงพื้นที่ ช่วยประสานงาน และรับหน้าที่เป็นคนเก็บภาพบรรยากาศ ในการทำกิจกรรมต่างๆ ในครั้งนี้ด้วย

ภาพประกอบการลงพื้นที่ปฏิบัติงาน

 

  1. ลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กลุ่มอาชีพชุมชนการท้อผ้าไหม ณ หมู่ที่ 12 ตำบลห้วยหิน อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นโครงการที่ช่วยส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองหงส์ เพื่ออนุรักษ์ผ้าไทย เพื่อเสริมให้ครัวเรือนมีรายได้ ดิฉันได้ลงพื้นที่ไปกับ นางสาวปกิตตา นิลพยัคฆ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ (พก.) ซึ่งดิฉันช่วยประสานงาน และรับหน้าที่เป็นคนเก็บภาพบรรยากาศ ในการทำกิจกรรม ในครั้งนี้ด้วย

ภาพประกอบการปฏิบัติงาน

  1. ลงพื้นที่สนับสนุนการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฏีใหม่ประยุกต์ สู่ โคก หนอง นา โมเดล ลงพื้นที่จับพิกัดแปลงใหม่ แปลงโคกหนองนาพัฒนาชุมชนแปลงของ นายมารวย มานะพิมพ์ หมู่ที่ 11 ตำบลเสาเดียว อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งดิฉันได้ลงพื้นที่จับพิกัดแปลง ช่วยประสานงาน และรับหน้าที่เป็นคนเก็บภาพบรรยากาศ ในการทำกิจกรรมต่างๆ ในครั้งนี้ด้วย

ภาพประกอบการปฏิบัติงาน

 “โครงการโคก หนอง นา โมเดล เป็นการสร้าง ความมั่นคง ในแหล่งทำกินด้านการเกษตร เลี้ยงสัตว์ สู้กับภัยแล้ง การพัฒนาดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ ให้ลับมาอุดมสมบูรณ์ โดยปรับปรุงพื้นที่รองรับ ฝนธรรมชาติ และการเชื่อมโยงวงจรชีวิต พืช สัตว์ ให้เดินทางร่วมกันได้ ปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่ ได้เริ่มเข้ามาเรียนรู้และยอมรับว่าหลักการพัฒนานี้เปิดกว้าง ไม่ได้เจาะจงเฉพาะด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการพัฒนาการเกษตรหรือเกษตรกรแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่เป็นเรื่องของความพอเพียง ความพอดี เป็นเรื่องวิวัฒนาการของการนำปรัชญาไปใช้กับสิ่งใดๆ ตั้งแต่ระดับที่ย่อยที่สุด คือ ระดับของตัวบุคคล ครอบครัว การเป็นอยู่ของชุมชนไปจนถึงการประกอบอาชีพของประชาชนและการทำธุรกิจของภาคเอกชน การบริหารจัดการหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ภูมิภาคและระดับประเทศ เมื่อปี 2561 กรมพัฒนาที่ดิน มีแบบมาตรฐาน โคก หนอง นา โมเดล จำนวนประมาณ 40 แบบไว้แจกจ่ายประชาชน ทั้ง 40 แบบ เป็นโมเดลต้นแบบสำหรับที่ดินขนาดแบบ 3 ไร่ 5 ไร่ หรือ 10-15 ไร่ ที่เป็นโมเดลพื้นที่ขนาดเล็ก โครงการโคกหนองนา ยังจัดสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับกลุ่มนักโทษเด็ดขาดที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษ ตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2563  จำนวน 39,084 ราย ในเรือนจำ 137 แห่ง ตามหนังสือกรมการพัฒนาชุมชน ด่วนที่สุด ที่ มท 0409.2/ว 2251 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2563 เรื่อง การประสานความร่วมมือโครงการ “โคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง กรมราชทัณฑ์” ตามแผนบูรณาการให้ความช่วยเหลือผู้พ้นโทษที่ผ่านการอบรม โครงการพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “โคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง กรมราชทัณฑ์”  วัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ผู้พ้นโทษได้นำความรู้ที่ใช้ในการอบรมไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพภายหลังการพ้นโทษ และสนับสนุนให้ผู้พ้นโทษ เข้าถึงภารกิจขั้นพื้นฐานของรัฐ หรือบริการสาธารณะ นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายเพิ่มคือ กลุ่มเกษตรกร บัณฑิตจบใหม่ ผู้ว่างงาน กลุ่มแรงงานที่อพยพกลับท้องถิ่นและชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ ในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)”

อื่นๆ

เมนู