“โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้กับ ประเทศ” โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการหลักสูตร HS05การทอผ้าไหมขิดยกดอก เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนอย่างยั่งยืน ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ บทความประจำเดือนธันวาคม 2564 ข้าพเจ้านางสาวจิราพร สมุติรัมย์ ผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชน โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้กับประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร HS05 การทอผ้าไหมขิดยกดอกเพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนอย่างยั่งยืน
เมื่อวันที่21 เดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมาข้าพเจ้าได้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ”การออกแบบลวดลายผ้าไหมขิดยกดอก” โดยการอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากอาจารย์ ดร.สินีนาฏ รามฤทธิ์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผ้าไหมลายขิด มาเป็นวิทยากรให้ความรู้ การอบรมถูกจัดขึ้น ณ ห้องประชุม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านหนองครก ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยการอบรมครั้งนี้อาจารย์ได้ให้ผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมกิจกรรมโดยการออกแบบลวดลายผ้าไหมขิดเองโดยให้กระดาษกราฟที่อาจารย์เตรียมมาโดยให้ออกแบบเกี่ยวกับจุดเด่นหรือเอกลักษณ์ที่ผู้คนเห็นแล้วต้องนึกถึงตำบลของเรา เช่น ตำบลเมืองแฝกก็อาจจะเป็นต้นหญ้าแฝก เป็นต้น
-
เริ่มต้นผ้าทอลายขิด เป็นผ้าพื้นเมืองของภาคอีสาน บางส่วนของภาคเหนือและภาคกลางของไทย นับวาเป็นศิลปพื้นฐานที่สะท้อนให้เห็นภาพ ลักษณะ ลวดลาย และวิวัฒนาการของท้องถิ่นเดิมของไทยที่มีมาแต่โบราณ ชาวอีสานาถือว่าในกระบวบการทอผ้าด้วยกัน แล้วการทอผ้าขิดต้องอาศัยความชำนาญและมีชั้นเชิงทางฝีมือสูงกว่าการทอผ้าอย่างอื่นๆ เพราะทอยากมาก มีเทคนิคการทอที่ซับซ้อนากว่าการทอผ้าธรรมดา เพระต้องใช้เวลาความอดทน และความละเอียด ลออ มีกรรมวิธีที่ยุ่งยาก ทอได้ช้า นอกจากผู้ที่มีความสนใจมีพรสวรรค์เท่านั้น การทอผ้าไหมลายขิด คือ การทอผ้าไหมที่ทอแบบ “เก็บขิด” หรือ “เก็บดอก” เหมือนผ้าที่มีการปักดอกการทอผ้าดอกนี้ชาวอuสานเรียกกันว่า ” การทอผ้าเก็บขิด” ลวดลายของขิดแต่ละลายจะมีรูปแบบที่สวยงามมีความมัน วาว นูน และมีเหลือบ มีชื่อเรียกคล้ายกัน หรืออาจแตกต่างกันไปบ้าง ทั้งนี้เนื่องจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งทำให้รูปแบบและลวดลาย ของผ้าไหมลายขิด ได้พัฒนาประยุกต์ไปจากเดิม จนเกิดลวดลายใหม่ๆขึ้น ปัจจุบันเนื่องจากว่า การผลิตผ้าไหมลายขิด มิใช่เป็นการผลิตเพื่อชุมชนอีกต่อไป หากแต่เป็นการผลิตเพื่อความต้องการของคนต่างถิ่น ต่างวัฒนธรรม ซึ่งมีรสนิยมต่างกันออกไป ปริมาณความต้องการสูงขึ้น ก่อให้เกิดการแสวงหาเทคนิควิธีการใหม่ๆ เพื่อให้การผลิตทำได้ปริมาณมากขึ้น แต่ใช้เวลาน้อยลง ซึ่งจะมีผลกระทบต่อคุณภาพ ของความเป็น ศิลปหัตถกรรมท้องถิ่น อย่างไม่ต้องสงสัย อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับการทอผ้าไหมลายขิดก็ตาม แต่การฟื้นฟูศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านก็มาจากบุคคลภายในชุมชนเองที่พยายามแสวงหาเทคนิควิธีการ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของบุคคลภายนอก เมื่อผนวกเข้ากับนโยบายการสนับสนุนวัฒนธรรมท้องถิ่นของรัฐ ซึ่งในบางแง่มุมได้ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในศิลปหัตถกรรมของชุมชนนั้นๆ จึงส่งผลให้ศิลปหัตถกรรมท้องถิ่น ด้านการทอผ้าไหมลายขิด มีชีวิตชีวาขึ้นมาใหม่ ภายใต้เงื่อนไขของสังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป คนส่วนใหญ่เมื่อพูดถึงการทอผ้าไหม ก็มักจะนึกถึงผ้าไหมมัดหมี่ และถ้าจะพูดถึงลวดลายของผ้า ก็มักจะนึกถึงผ้าฝ้ายลายขิด เท่านั้น และคนส่วนใหญ่ก็มักจะคุ้นเคยกันดีกับชื่อผ้าและแหล่งผลิต เช่น ผ้าไหมแพรวา จ.กาฬสินธุ์ ผ้าลายน้ำไหล จังหวัดแพร่ ผ้าตีนจก จ.สุโขทัย เป็นต้น ผ้าไหมลายขิด ไม่ค่อยมีคนรู้จักว่า คือ ผ้าไหมอะไร และมีแหล่งผลิตอยู่ที่ไหน เนื่องจากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจศึกษาและอนุรักษ์ไว้ ก่อนที่จะสูญหายไปในที่สุด ลวดลายและกรรมวิธีการทอ ลักษณะเฉพาะของผ้าทอลายขิด สังเกตดูได้จากลายซ้ำของเส้นพุ่งที่ขึ้นเป็นแนวสีเดียวกันตลอด อาจจะเหมือนกันทั้งผืนหรือไม่เหมือนกันทั้งผืนก็ได้ แต่ต้องมีลายซ้ำที่มีจุดจบแต่ละช่วงของลายเห็นได้ชัด
ผ้าทอลายขิดอีสาน ตามที่ได้ทอกันมาตั้งแต่สมัยดั้งเดิมในอดีต จนถึงปัจจุบันนี้ อาจแบ่งกลุ่มแม่ลายผ้าทอลายขิด ได้เป็น 4 ประเภท คือ ขิดลายสัตว์ ขิดลายพันธุ์ไม้ ขิดลายสิ่งของเครื่องใช้ และขิดลายเบ็ดเตล็ด กรรมวิธีในการทอผ้าไหมลายขิด
วิธีทอผ้าเก็บขิดหรือเก็บดอก นี้ ชาวพื้นเมือง เรียกว่า ” การทอผ้าเก็บขิด ” การทอผ้าขิดเก็บดอกเช่นนี้ ต้องมีไม้ค้ำอันหนึ่งกว้างประมาณ 4 นิ้ว ยาวขนาด 2 ศอก เป็นไม้บาง ๆ และมีไม้ขนาดเล็ก ๆ เป็นไม้สอดใช้สำหรับเก็บขิดให้เป็นลายต่าง ๆ ในบางครั้งก็อาจใช้ไม้เก็บขิดนี้ 30-40 อันก็มี แล้วแต่ความยากง่ายของลาย ฉะนั้นถ้าหากว่าใช้ไม้เก็บขิดจำนวนมากจะทำให้ทอได้ช้ามาก เพราะต้องเก็บดอกทีละเส้น ๆ จนหมดตามลวดลายที่กำหนดไว้ วิธีการเก็บขิดเพื่อสร้างลวดลายในประเทศไทยมี 3 วิธี คือ
1. คัดไม้ขิดโดยไม่มีการเก็บตะกอ วิธีการเก็บขิดแบบนี้เหมาะสำหรับการทอลวดลายที่ไม่ซับซ้อนมาก และต้องการเปลี่ยนลวดลายบ่อย ๆ ไม้ขิดที่เก็บลวดลายจะเรียงกันไปตามลำดับบนเครือเส้นยืนซึ่งอยู่ด้านหลังฟืม
2. เก็บขิดเป็นตะกอลอย การเก็บขิดวิธีนี้ ต้องผ่านการคัดไม้ขิดแบบแรกเสียก่อน เสร็จแล้วใช้ด้ายเก็บลายตามไม้ขิดที่คัดไว้ทุกเส้น เรียกว่า เก็บตะกอลอย วิธีนี้สะดวกกว่าวิธีแรกคือไม่ต้องเก็บ ขิดทุกครั้งในเวลาทอ แต่ใช้วิธียกตะกอลอยไล่ไปแต่ละไม้จนครบ วิธีการนี้ทำให้ทอลวดลายซ้ำ ๆ กันได้ โดยไม่ต้องเก็บลายใหม่ทุก ๆ ครั้งเหมือนวิธีแรก แต่ถ้ามีจำนวนตะกอมาก ๆ ก็ไม่เหมาะสมกับวิธีการนี้เช่นกัน
3. เก็บตะกอแนวตั้ง การเก็บตะกอแนวตั้ง พัฒนาจากแบบการเก็บขิดดั้งเดิมให้ทอได้สะดวกรวดเร็วขึ้นสามารถทำลวดลายที่ซับซ้อนและมีจำนวนตะกอมากๆได้
ผ้าขิดส่วนใหญ่ใช้เส้นใยฝ้ายมากกว่าเส้นใยไหม โดยทอเป็นผ้าขิดสำหรับใช้สอย เป็นหมอนผ้าห่ม ผ้าปูที่นอน ผ้าคลุมไหล่ ผ้าห่อคัมภีร์ และผ้าม่าน นอกจากนี้ยังมีการทอทอผ้าลายขิดด้วยฟืมหน้าแคบ เพื่อใช้เป็นหัวซิ่นและตีนซิ่นอีกด้วยโดยลักษณะลวดลายและการใช้สอยจะแตกต่างไปตามเอกลักษณ์ของกลุ่มวัฒนธรรม ประเภทของผ้าไหมขิด
ประเภทของผ้าไหมลายขิดที่ทอ มีหลายประเภท ได้แก่ 1. ผ้าไหมลายขิดพื้นสีเดียว คือ ในผ้าผืนเดียวกันนั้นจะมีเพียงลายเดียว และสีเดียวตลอดทั้งผืน 2. ผ้าไหมลายขิดมีเชิง คือ ทอแบบประเภทที่ 1 แล้วมาเพิ่มเชิงผ้าในผืนเดียวกันด้วยการทอลวดลายอื่นเข้าไป ส่วนมากจะเป็นสีเดียวกัน 3. ผ้าไหมขิด-หมี่ คือ การทอผ้าไหมลายขิด ผสม กับผ้าไหมมัดหมี่ทอสลับกันเป็นช่วง ๆ ในผ้าผืนเดียวกันนั้น สีของผ้ามักจะเป็นสีเดียวกัน แต่เล่นระดับของ สีเข้ม-อ่อน สลับกันไปเป็นช่วง ๆ บางทีมีสีอื่น ๆ สลับลงไปด้วย แต่มักอยู่ในเฉดที่ใกล้เคียงกัน
วีดีโอประกอบการปฏิบัติงาน
- อ้างอิง1:http://119.46.166.126/self_all/selfaccess9/m3/718/history_lesson3/more_lesson3/item3_14.php 2:https://qsds.go.th/silkcotton/k_26.php