“โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้กับประเทศ”

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการหลักสูตร HS05

การทอผ้าไหมขิดยกดอก เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนอย่างยั่งยืน

ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือนธันวาคม 2564

ข้าพเจ้านางสาวพรพรรณ สงคราม ผู้ปฏิบัติงานโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้กับประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประเภทประชาชน ประจำตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร HS05 การทอผ้าไหมขิดยกดอกเพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนอย่างยั่งยืน

ขิดอีสาน (ผ้ายกขิดของภาคอีสาน)

จากการที่ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมอบรมโครงการส่งเสริมการทอผ้าไหมลายขิดยกดอกเพื่อรักษาภูมิปัญญาและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจชุมชน  ณ ห้องประชุม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมืองแฝก  โดยท่านวิทยากร อาจารย์ดร. สินีนาฎ รามฤทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบลายขิด มาบรรยายและให้ความรู้ในการออกแบบลายผ้า การออกแบบลายผ้าเป็นการผสมผสานกัน ระหว่าง เทคนิคการผลิต และ ความคิดสร้างสรรค์ ให้ตรงกับ ความต้องการ ของผู้บริโภค และการออกแบบสิ่งทอ เริ่มต้นจากการพิจารณาวัตถุดิบ อันได้แก่ เส้นใย เส้นด้าย ผ้า และการตกแต่ง การปฏิบัติงานแต่ละขั้นตอน ต้องมีผู้ชำนาญงานแต่ละอย่างช่วยกัน แม้กระทั่ง การจัดจำหน่าย ก็ต้องมี ผู้ชำนาญ อยู่ด้วย เพื่อให้สิ่งทอนั้นๆ เป็นที่ต้องการ ของผู้บริโภค ผ้าแต่ละชนิด มีประโยชน์ใช้สอยแตกต่างกัน ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อ ตาม วัตถุประสงค์ ที่จะนำไปใช้งาน การเลือกซื้อ และพิจารณาทั้ง คุณสมบัติของผ้า ความสวยงาม เหมาะสม กับประโยชน์ใช้สอย และกำลังซื้อ

ข้าพเจ้าได้เรียนรู้การออกแบบลวดลายผ้าไหมและได้เรียนรู้อีกว่าการสร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้าแพรวาของสตรีชาวผู้ไทนั้นเกิดขึ้นด้วยแรงบันดาลใจ จากการสังเกตธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมรอบตัว ผสมผสานกับวิถีการดำเนินชีวิตที่ยึดโยงกับวัฒนธรรม ประเพณีของชาติพันธุ์ผู้ไทอย่างเหนียวแน่น ทั้งนี้แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ลวดลายบน ผืนผ้าแพรวาของสตรีชาวผู้ไทมาจาก 4 แนวคิดด้วยกัน คือ

  1. การสร้างสรรค์ลวดลายด้วยแรงบันดาลใจจากการสังเกตรูปพฤกษา อาทิ ลายดอก มะส้าน ลายดอกบัว ลายดอกช่อต้นสน ลายดอกหมาก ลายช่อดอกไม้ ลายดอกส้มป่อย ลายกาบแบด ลายดอกแก้ว ลายดอกแก้วน้อย ลายผักแว่นขาเข ลายดอกใบบุ่นก้านก่อง ลายกาบแบดตัด ลายดอกจันกิ่ง ลายดอกพันมหา ลายดอกดาวไต่เครือ
  2. การสร้างสรรค์ลวดลายด้วยแรงบันดาลใจจากการสังเกตรูปและพฤติกรรมของ คนและสัตว์ อาทิ ลายตาบ้ง ลายจุ้มตีนหมา ลายนาค ลายคนขี่ช้าง ลายคนขี่ม้า ลายตาบ้ง ลายคน ลายกะปูน้อย ลายงูลอยห้าไม้
  3. การสร้างสรรค์ลวดลายด้วยแรงบันดาลใจจากการสังเกตรูปสิ่งของเครื่องใช้ อาทิ ลายช่อตีนพาน ลายขาเปีย ลายขาเข ลายกง ลายเบ็ด
  4. การสร้างสรรค์ลวดลายด้วยแรงบันดาลใจจากการสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัว อาทิ ลายดาว ลายกระบวน ลายหอผาสาท ลายขอ ลายจะแก

และยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับผ้าลายขิดยกดอกซึ่งผ้ายกขิด เป็นวิธีการทำลวดลายบนผืนผ้าพบได้ทั่วไปในประเทศ ไทย ลวดลายและสัญลักษณ์เหล่านี้ บางลายก็มีชื่อเรียกสืบต่อกันมาหลายชั่วคน บางชื่อก็เป็นภาษาท้องถิ่น ไม่เป็นที่เข้าใจของคนไทยในภาคอื่นๆ เช่น ลายบักจัน บางชื่อก็เรียกกันมาโดยไม่รู้ประวัติ เช่น ลายแมงมุม ลายปลาหมึก ซึ่งแม้แต่ผู้ทอก็อธิบายไม่ได้ว่าทำไมจึงเรียกชื่อนั้น บางลวดลายก็มีผู้ตั้งชื่อให้ใหม่ เช่น ลาย “ขอพระเทพ” เป็นต้น สัญลักษณ์ และลวดลายบางอย่าง ก็เชื่อมโยงกับคติและความเชื่อของคนไทยพื้นบ้าน ที่นับถือสืบต่อกันมาหลายๆ ชั่วอายุคน และยังสามารถเชื่อมโยงกับลวดลายที่ปรากฏอยู่ในศิลปะอื่นๆ เช่น บนจิตรกรรมฝาผนัง และสถาปัตยกรรม หรือบางทีก็มีกล่าวถึงในตำนานพื้นบ้าน และในวรรณคดี เป็นต้น เมื่อทอเสร็จได้มีการนำไปใช้อย่างกว้างขวาง โดยใช้แต่งหน้าหมอน ย่าม ผ้าหลบ ผ้าเช็ด ตุง หัวซิ่น ตีนซิ่น ผ้าห่อคัมภีร์ และผ้าเบี่ยง ต่อมาพัฒนาเป็นผ้าม่าน ผ้าคลุมเตียง ผ้าปูโต๊ะ เเละหมอนอิง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่มีการทอผ้าขิด มากที่สุดเพราะผ้าขิดมีความสัมพันธ์กับประเพณีและความเชื่อในการดำรงชีวิตของท้องถิ่น อาจเรียกได้ว่าผ้าขิดมีสกุลสูงกว่าผ้าทั่วไปเนื่องจากนิยมใช้ในงานทางศาสนา ผ้าขิดทอขึ้นเพื่อใช้ในโอกาสพิเศษเกี่ยวกับพิธีทางศาสนาและงานมงคล มักใช้เป็นผ้ากราบ ผ้าห่อคัมภีร์ นอกจากนี้ยังใช้ทำหมอนขิดเพื่อเป็นของขวัญของกำนัลในโอกาสที่สำคัญ

จากการอบรมในครั้งนี้ ทำให้ข้าพเจ้ามีความสนใจในเรื่องของลายยกขิดของภาคอีสาน ข้าพเจ้าจึงได้นำข้อมูลที่ได้เข้าร่วมอบรม มาค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ตแและนำมาเขียนเป็นบทความประจำเดือนธันวาคม 2564

 

  ผ้าขิด หรือ ผ้าทอลายขิด เป็นผ้าพื้นเมืองของภาคอีสาน และบางส่วนของภาคเหนือและภาคกลางของไทย คำว่า ขิด เป็นภาษาพื้นบ้านอีสาน มาจากคำว่า สะกด หมายถึง การจัดขั้นซ้อนขั้น สะกดขึ้นหรืออาจมาจากคำว่า สะกิด หรืออาจหมายถึง ขจิต ซึ่งเป็นภาษาบาลี ซึ่งหมายความว่า วิจิตร เพราะการทอผ้าขิด ต้องใช้กรรมวิธีที่ซับซ้อน ละเอียด และประณีตเพื่อให้เกิดลวดลายที่สวยงามวิจิตร ซึ่งต้องใช้ความพยายามในการอดทนเป็นหลักจึงจะสามารถทอเป็นผืนผ้าได้ ดังนั้น ผ้าขิดจึงหมายถึง ผ้าที่ทอโดยวิธีใช้ไม้เขี่ย หรือสะกิดช้อนเส้นด้ายยืนขึ้นแล้วสอดเส้นด้ายพุ่งไปตามแนวเส้นยืนที่ถูกงัดช้อนขึ้นนั้นจังหวะของการสอดเส้นพุ่งซึ่งถี่ห่างไม่เท่ากันให้เกิดลวดลายรูปแบบต่างๆ โดยวิธีการเก็บขิดเพื่อสร้างลวดลายในประเทศไทยมี ๓ วิธี คือ
 
     ๑. คัดไม้ขิดโดยไม่มีการเก็บตะกอ วิธีการเก็บขิดแบบนี้เหมาะสำหรับการทอลวดลายที่ไม่ซับซ้อนมาก และต้องการเปลี่ยนลวดลายบ่อย ๆ ไม้ขิดที่เก็บลวดลายจะเรียงกันไปตามลำดับบนเครือเส้นยืนซึ่งอยู่ด้านหลังฟืม
 
     ๒. เก็บขิดเป็นตะกอลอย การเก็บขิดวิธีนี้ ต้องผ่านการคัดไม้ขิดแบบแรกเสียก่อน เสร็จแล้วใช้ด้ายเก็บลายตามไม้ขิดที่คัดไว้ทุกเส้น เรียกว่า เก็บตะกอลอย วิธีนี้สะดวกกว่าวิธีแรกคือไม่ต้องเก็บ ขิดทุกครั้งในเวลาทอ แต่ใช้วิธียกตะกอลอยไล่ไปแต่ละไม้จนครบ วิธีการนี้ทำให้ทอลวดลายซ้ำ ๆ กันได้ โดยไม่ต้องเก็บลายใหม่ทุก ๆ ครั้งเหมือนวิธีแรก แต่ถ้ามีจำนวนตะกอมาก ๆ ก็ไม่เหมาะสมกับวิธีการนี้เช่นกัน
 
     ๓. เก็บตะกอแนวตั้ง การเก็บตะกอแนวตั้ง พัฒนาจากแบบการเก็บขิดดั้งเดิมให้ทอได้สะดวกรวดเร็วขึ้นสามารถทำลวดลายที่ซับซ้อนและมีจำนวนตะกอมากๆได้
 สำหรับผ้าทอลายขิดของอีสานตามที่ได้ทอกันมาตั้งแต่สมัยดั้งเดิมในอดีตจนถึงปัจจุบันนี้ สามารถแบ่งกลุ่มแม่ลายผ้าทอลายขิด ได้เป็น ๔ ประเภท คือ ขิดลายสัตว์ ขิดลายพันธุ์ไม้ ขิดลายสิ่งของเครื่องใช้ และขิดลายเบ็ดเตล็ด ส่วนประเภทของผ้าลายขิดที่ทอมี ๓ ประเภท ได้แก่ ๑.ผ้าลายขิดพื้นสีเดียว คือในผ้าผืนเดียวกันนั้นจะมีเพียงลายเดียว และสีเดียวตลอดทั้งผืน ๒.ผ้าลายขิดมีเชิง คือ ทอแบบประเภทที่ ๑ แล้วมาเพิ่มเชิงผ้าในผืนเดียวกันด้วยการทอลวดลายอื่นเข้าไป ส่วนมากจะเป็นสีเดียวกัน ๓.ผ้าขิด-หมี่ คือการทอผ้าลายขิดผสมกับผ้ามัดหมี่ทอสลับกันเป็นช่วงๆในผ้าผืนเดียวกันนั้น สีของผ้ามักจะเป็นสีเดียวกันแต่เล่นระดับของสีเข้ม-อ่อน สลับกันไปเป็นช่วงๆ บางทีมีสีอื่นๆ สลับลงไปด้วย แต่มักอยู่ในเฉดที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งชาวอีสานได้กำหนดการใช้ผ้าขิดลายต่างๆตามโอกาสที่เหมาะสม อาทิ ในงานบวช ใช้ลายขิดตะเภาหลงเกา และ ลายดอกจิก ในงานบุญ ใช้ลายขิดช้าง ในงานสงกรานต์ ใช้ลายขิดดอกจัน ไหว้ผู้ใหญ่ ใช้ลายขิดกาบแก้วใหญ่ และลายขิดดอกแก้ว ใช้ในครัวเรือน คือ ลายขิดแมงงอด ลายขิดงูเหลือม ลายขิดแมงเงา และลายขิดประแจบ่ไข ใช้ในห้องรับแขก คือ ลายขิดขอ เป็นต้น
 
      การทอผ้าขิดนับว่าเป็นศิลปะพื้นบ้านที่สะท้อนให้เห็นภาพวิถีชีวิต วัฒนธรรม และวิวัฒนาการท้องถิ่นเดิมของไทยที่มีมาแต่โบราณ ที่สื่อสารผ่านลายผ้าโดยการสร้างสรรค์ขึ้นเป็นลวดลายต่างๆซึ่งชาวอีสานถือว่าในกระบวนการทอผ้านั้น การทอผ้าขิดต้องอาศัยความชำนาญและชั้นเชิงทางฝีมือสูงกว่าการทอผ้าอย่างอื่น ๆ เพราะทอยากมากและมีเทคนิคการทอที่ซับซ้อนมากกว่าการทอผ้าธรรมดา เพราะต้องใช้ทั้งเวลา ความอดทน และความละเอียดลออ มีกรรมวิธีที่ยุ่งยากและผู้ทอต้องมีประสบการณ์และพรสวรรค์ในการทอ จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญเฉพาะท้องถิ่น อีกทั้งเป็นการสืบสานมรดกภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษได้สืบทอดต่อๆกันมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าปัจจุบันอาจจะมีเทคโนโลยีมาช่วยในการผลิตคิดค้นลวดลายผ้า เพื่อวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์แต่ก็ยังคงต้องอนุรักษ์รากเหง้าที่บรรพบุรุษได้สืบสานมาจนเป็นเอกลัษณ์บนแผ่นดินที่ราบสูงนี้ ผ้าขิดสำหรับชาวอีสานถือเป็นผ้าชั้นสูง ที่นิยมนำมาเป็นของกำนัลให้ผู้ใหญ่ในการทอดกฐิน งานบุญ งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ ใช้ห่อคัมภีร์ใบลาน ใช้เป็นผ้าคลุมหัวนาคในงานบวช นอกจากนี้ผ้าขิดนิยมใช้ทำ หมอน ผ้าห่ม ผ้าปูนอน ปูอาสนะ ผ้าล้อหัวช้าง ผ้าคลุมไหล่ ซึ่งมีทอกันทั่วไปในภาคอีสาน และบางจังหวัดในภาคเหนือและภาคกลาง เช่น อุทัยธานี สุพรรณบุรี ชัยนาท พิจิตร น่าน ในบางแห่งมีการทอขิดผสมจก เพื่อให้เกิดลวดลายและสีสันที่วิจิตรกว่าขิดธรรมดา ได้แก่ ผ้าขิดผสมจกจาก อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี สำหรับแหล่งทอผ้าขิดที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางของภาคอีสาน คือ จังหวัดอำนาจเจริญ และ จังหวัดยโสธร
ที่มา: www.dpu.ac.th/dpurdi/upload/public/
การออกแบบลวดลายกราฟิกจากแรงบันดาลใจลายขิดอีสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลายขิด ภูมิปัญญาผ้าทอของอีสาน และ
เพื่อออกแบบลวดลายกราฟิก ผลการศึกษาพบว่า ลายขิดสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือลายหลัก เป็นลายดอกใหญ่ หรือดอกลายผ้า
และ ลายรอง เป็นลายดอกเล็ก ใช้สาหรับตกแต่ง ลายขิดถือว่าเป็นลวดลายที่มีเอกลักษณ์และสวยงาม โดยผู้สร้างสรรค์ได้ออกแบบ
ลวดลายกราฟิกที่ได้แรงบัลดาลใจจากลายขิด4ลายได้แก่ลายหลัก3ลายคือลายแบดแข้วหมาอุ้มดอกซ่าน ลายดอกซ้อยอุ้มดอกซ่าน
และลายดอกแก้ว ลายรอง คือลายดอกดาว โดยผู้สร้างสรรค์ได้ออกแบบลวดลายกราฟิกด้วยเทคนิคการตัดทอนจากลวดลายเดิม
ให้มีความเรียบง่าย และนำลวดลายมาประกอบกันให้เกิดลวดลายใหม่ ทั้งนี้ลวดลายกราฟิกรูปแบบใหม่ สามารถต่อยอดในการสร้าง
ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้และยังช่วยส่งเสริมและอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นถิ่นได้อีกด้วย
กระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน
การออกแบบลวดลายกราฟิก จากแรงบันดาลใจลายขิดอีสาน มีกระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน ดังนี้
1. ศึกษารูปแบบลายขิดของชาวภูไทอีสาน เพื่อนนำมาวิเคราะห์หาแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน ทั้งนี้จากการศึกษา พบ
ว่าลายขิดสามารถแบ่งออกเป็น 2กลุ่ม คือลายหลักเป็นลายดอกใหญ่ หรือดอกลายผ้าและลายรอง เป็นลายดอกเล็กใช้สำหรับตกแต่ง
ผู้สร้างสรรค์จึงหาความเหมาะสมในการคัดเลือกลายขิดที่มีความเหมาะสมในการสร้างสรรค์ผลงานมา4 ลายได้แก่ลายหลัก3ลายคือ
ลายแบดแข้วหมาอุ้มดอกซ่าน ลายดอกซ้อยอุ้มดอกซ่าน และลายดอกแก้ว ลายรอง คือลายดอกดาว ดังนี้
1.1 ลายหลัก 3 ลาย ได้แก่
– ลายขิดดอกแก้ว เป็นลายที่ได้แรงบันดาลใจมาจากดอกแก้ว ซึ่งแสดงถึงความดีและความสดชื่น
– ลายขิดแบดแข้วหมาอุ้มดอกซ่าน เป็นลวดลายที่ได้แรงบัลดาลใจจากธรรมชาติสุนัขเปรียบเสมือนตัวแทนของ
ความซื่อสัตย์ดอกไม้แทนความสดชื่นและความเจริญรุ่งเรือง
– ลายขิดดอกซ้อยอุ้มดอกซ่าน เป็นลายที่ได้แรงบันดาลใจจากดอกไม้ที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรือง

 

อื่นๆ

เมนู