“โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้กับประเทศ”

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการหลักสูตร HS05

การทอผ้าไหมขิดยกดอก เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนอย่างยั่งยืน

ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือนธันวาคม 2564

ข้าพเจ้านางสาววรัญญา แทนไธสง ผู้ปฏิบัติงานโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้กับประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ประจำตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร HS05 การทอผ้าไหมขิดยกดอกเพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนอย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมอบรมโครงการส่งเสริมการทอผ้าไหมลายขิดยกดอกเพื่อรักษาภูมิปัญญาและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจชุมชน  ณ ห้องประชุม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมืองแฝก  โดยท่านวิทยากร อาจารย์ดร. สินีนาฎ รามฤทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบลายขิด มาบรรยายและให้ความรู้ในการออกแบบลายผ้า

ขิด เป็นวิธีการทำลวดลายบนผืนผ้าพบได้ทั่วไปในประเทศ ไทย มีการใช้อย่างกว้างขวาง โดยใช้แต่งหน้าหมอน ย่าม ผ้าหลบ ผ้าเช็ด ตุง หัวซิ่น ตีนซิ่น ผ้าห่อคัมภีร์ และผ้าเบี่ยง ต่อมาพัฒนาเป็นผ้าม่าน ผ้าคลุมเตียง ผ้าปูโต๊ะ เเละหมอนอิง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่มีการทอผ้าขิดมากที่สุดเพราะผ้าขิดมีความสัมพันธ์กับประเพณีและความเชื่อในการดำรงชีวิตของท้องถิ่น อาจเรียกได้ว่าผ้าขิดมีสกุลสูงกว่าผ้าทั่วไปเนื่องจากนิยมใช้ในงานทางศาสนา ผ้าขิดทอขึ้นเพื่อใช้ในโอกาสพิเศษเกี่ยวกับพิธีทางศาสนาและงานมงคล มักใช้เป็นผ้ากราบ ผ้าห่อคัมภีร์ นอกจากนี้ยังใช้ทำหมอนขิดเพื่อเป็นของขวัญของกำนัลในโอกาสที่สำคัญ รองลงมาจะใช้ทำผ้าคลุมไหล่และผ้าโพกผมเป็นของขวัญของกำนัลให้แก่กันด้วยว่าเป็นของดีเเละมีคุณค่า เนื่องจากสร้างด้วยศรัทธาในศาสนาจึงมักใช้เส้นฝ้ายในการทอผ้าขิดเพราะไม่ปรารถนาจะฆ่าตัวไหมในรังเพื่อมาทำเส้นไหมทอผ้า

 

ผ้าขิดเป็นผ้าที่ทอขึ้นและสร้างลายด้วยวิธีการที่เรียกว่า “ขิด” ที่มาจากคำว่า “สะกิด” หมายถึงการงัดซ้อนขึ้นหรือสะกิดซ้อนขึ้นเพื่อทำลวดลาย การทอผ้าขิดเป็นการสร้างลวดลายบนผืนผ้าด้วยการเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษเข้าไปเหมือนการจก แต่ลายขิดทำติดต่อกันตลอดหน้ากว้างของผืนผ้า จนนำไปสู่ความหลากลายของลายทอ ทั้งประเภท จำนวน และขนาดของลายที่ประกอบไปด้วยลายเรขาคณิต ลายประดิษฐ์ ลายที่เกี่ยวกับศาสนา ลายจากดอกไม้ใบไม้ตามธรรมชาติ ลายรูปสัตว์ต่าง ๆ ลายเครื่องมือเครื่องใช้ ซึ่งลายเหล่านี้สะท้อนถึงภูมิปัญญาและขนบธรรมเนียมของท้องถิ่น เช่น ลวดลายบนผืนผ้าแพรวาของสตรีชาวผู้ไท

การสร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้าแพรวาของสตรีชาวผู้ไทนั้นเกิดขึ้นด้วยแรงบันดาลใจ จากการสังเกตธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมรอบตัว ผสมผสานกับวิถีการดำเนินชีวิตที่ยึดโยงกับวัฒนธรรม ประเพณีของชาติพันธุ์ผู้ไทอย่างเหนียวแน่น ทั้งนี้แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ลวดลายบน ผืนผ้าแพรวาของสตรีชาวผู้ไทมาจาก 4 แนวคิดด้วยกัน คือ

  1. การสร้างสรรค์ลวดลายด้วยแรงบันดาลใจจากการสังเกตรูปพฤกษา อาทิ ลายดอก มะส้าน ลายดอกบัว ลายดอกช่อต้นสน ลายดอกหมาก ลายช่อดอกไม้ ลายดอกส้มป่อย ลายกาบแบด ลายดอกแก้ว ลายดอกแก้วน้อย ลายผักแว่นขาเข ลายดอกใบบุ่นก้านก่อง ลายกาบแบดตัด ลายดอกจันกิ่ง ลายดอกพันมหา ลายดอกดาวไต่เครือ
  2. การสร้างสรรค์ลวดลายด้วยแรงบันดาลใจจากการสังเกตรูปและพฤติกรรมของ คนและสัตว์ อาทิ ลายตาบ้ง ลายจุ้มตีนหมา ลายนาค ลายคนขี่ช้าง ลายคนขี่ม้า ลายตาบ้ง ขาแข ลายคน ลายกะปูน้อย ลายงูลอยห้าไม้
  3. การสร้างสรรค์ลวดลายด้วยแรงบันดาลใจจากการสังเกตรูปสิ่งของเครื่องใช้ อาทิ ลายช่อตีนพาน ลายขาเปีย ลายขาเข ลายกง ลายเบ็ด
  4. การสร้างสรรค์ลวดลายด้วยแรงบันดาลใจจากการสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัว อาทิ ลายดาว ลายกระบวน ลายหอผาสาท ลายขอ ลายจะแก

ตัวอย่างภาพสเกตซ์กลุ่มแม่ลายผ้าแพรวาโบราณที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์

  • ภาพสเกตซ์กลุ่มแม่ลายผ้าแพรวาโบราณที่เกิดจากความคิด สร้างสรรค์และแรงบันดาลใจจากการสังเกตรูปพฤกษา
  • ภาพสเกตซ์กลุ่มแม่ลายผ้าไหมแพรวาโบราณที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ และแรงบันดาลใจจากการสังเกตรูปและพฤติกรรมของคนและสัตว์

  • ภาพสเกตซ์กลุ่มแม่ลายผ้าแพรวาโบราณที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ และแรงบันดาลใจจากการสังเกตรูปสิ่งของเครื่องใช้

ด้วยลวดลายที่หลากหลาย การทอที่ประณีตและสวยงามนี้เองทำให้ผ้าไหมชนิดนี้จึงมีราคาสูงทางโครงการจึงพยายามอย่างยิ่งในการที่จะอนุรักษ์และสืบทอด ภูมิปัญญาด้านการทอผ้าไหมลายขิดยกดอก โดยเฉพะอย่างยิ่งการส่งเสริมให้เยาวชนได้เรียนรู้วิธีการจากแม่หรือญาติผู้ใหญ่ที่เป็นช่างฝีมือทอผ้าพัฒนาสู่อาชีพเพื่อสร้างรายได้เสริมแก่ครอบครัวและชุมชนควบคู่รายได้หลักที่มาจากการทำอาชีพเกษตรกรรม

อื่นๆ

เมนู