โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)

“โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้กับประเทศ”

หลักสูตร HS05 การทอผ้าไหมขิดยกดอก เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนอย่างยั่งยืน

ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

ข้าพเจ้า นางสาวเจนจิรา โจนประโคน ผู้ปฏิบัติงานประเภทนักศึกษา ปฏิบัติงานประจำตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร HS05 : การทอผ้าไหมขิดยกดอก เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนอย่างยั่งยืน โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้กับประเทศ การปฏิบัติงานประจำเดือน สิงหาคม 2564

วันที่ 18 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ ณ อาคาร 25 ชั้น 2 ห้องประชุมมนุษย์และสังคมวัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในหัวข้อเรื่อง การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมลายขิดยกดอก และการทำการตลอด Online โดยได้รับเกียรติจาก ว่าที่ร้อยตรี อานนท์ ด่านดอน รองผู้จัดการบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มาเป็นวิทยาการถ่ายทอดความรู้ในการจัดการอบรมครั้งนี้ ในการจัดการอบรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมลายขิดยกดอก และการทำการตลอด Online ท่านวิทยาการได้มีการแนะนำวิธีการในกระบวนการคิด วิเคราะห์ ที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมลายขิดยกดอกเป็นที่น่าสนใจ และมีความหลากหลาย โดยให้ทีมผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลเมืองแฝกระดมความคิดและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมลายขิดยกดอกให้มีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จากนั้นจึงมีการแบ่งกลุ่มผู้ปฏิบัติงานออกเป็น 4 กลุ่ม เพื่อให้แต่ละกลุ่มจุดประกายความคิด และเสนอแนวคิดที่แตกต่างกัน เมื่อมีการแบ่งกลุ่มแล้ว ท่านวิทยากรจึงได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายให้แต่ละกลุ่มว่า ถ้ามีกลุ่มเป้าหมายประเภทนี้อยากจะนำเสนอผลิตภัณฑ์อะไรที่สามารถสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ของกลุ่มตัวเอง ดังนี้

กลุ่มที่ 1 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ คณาจารย์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สำหรับกลุ่มนี้ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์เป็น กระเป๋าผ้าสำหรับใส่เอกสาร โดยมีการนำเอาลวดลายของผ้าไหมขิดยกดอกมาตัดเย็บลงบนกระเป๋าผ้า เพื่อให้มีความสวยงาม โดดเด่น และมีเอกลักษณ์ ซึ่งกระเป๋าผ้านี้สามารถใช้ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง และมีการตั้งราคาขายอยู่ที่ใบละ 399-599 บาท ราคาอาจเพิ่มตามลวดลายที่มียากง่ายของการจัดทำ

กลุ่มที่ 2 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด สำหรับกลุ่มนี้มีแนวคิดในการนำเสนอผลิตภัณฑ์คือ เสื้อที่มีการออกแบบให้มีความโดดเด่น และมีการนำผ้าไหมลายขิดยกดอกมาชูความสวยงาม ความมีเอกลักษณ์ สามารถสวมใส่ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ซึ่งจะแนะนำเป็นชุดประจำวันหรือการแต่งการเนื่องในโอกาสสำคัญ เนื่องจากหน่วยงานราชการจะมีระเบียบข้อบังคับในการแต่งกายประจำวัน อีกทั้งหลายๆ จังหวัดยังมีการรณรงค์ให้มีการแต่งกายชุดพื้นถิ่นหรือชุดพื้นเมือง นี่จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทีความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายนี้ ราคาขายอยู่ที่ประมาณ 3,000 บาท

กลุ่มที่ 3 นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวและซื้อของที่ระลึกภายในสนาม Chang Arena  สำหรับกลุ่มนี้ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์คือ ผ้าพันคอ โดยมีการออกแบบให้มีความสวยงามตาลวดลายของขิดยกดอกให้เป็นลวดลายต่าง ๆ ลักษณะคล้าย ๆ กับผ้าพันคอของที่ระลึกทั่วไป แต่จะแตกต่างที่เนื้อผ้า ลวดลาย และเอกลักษณ์ สามารถใช้ได้ทุกเพศทุกวัย และยังสามารถใช้ได้ทุกโอกาส ราคาขายอยู่ที่ 590-1090 บาท

กลุ่มที่ 4 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ที่เข้ามาใช้บริการห้องพักหรือประชุมสัมมนาต่างๆ ในโรงแรมพนมพิมาน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สำหรับกลุ่มนี้ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์คือ พวงกุญแจและหน้ากากอนามัยจากผ้าไหมลายขิดยกอก สำหรับพวงกุญแจจะมีการนำชิ้นส่วนจากผ้าไหมลายขิดยกดอกมาทำเป็นรูปทรงนกกระเรียน ซึ่งเป็นสัตว์ที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดบุรีรัมย์ ส่วนหน้ากากอนามัยจำมีการทำช่องสำหรับใส่แผ่นกรองอากาศ และมีลวดลายของผ้าไหมลายขิดยกดอกอยู่บนตัวหน้ากากอนามัย ซึ่งแสดงถึงเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจน ราขายอยู่ที่ 250 ขึ้นไป

สำหรับลำดับตอนสุดท้ายของการอบรมเชิงปฏิบัติการ ท่านวิทยากรได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบ การตั้งราคา และกลุ่มเป้าหมายคือใคร รวมถึงโอกาสและความเป็นไปได้ของผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นในการนำผ้าไหมลายขิดยกดอกมาแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปบอกต่อแก่ชุมชน และสามารถพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ผ้าไหมลายขิดยกดอก เพื่อสร้างให้เกิดรายได้ที่มีความมั่นคงแก่คนในชุมชนอย่างยั่งยืน

วันที่ 31 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09.00 – 12.00 น. ข้าพเจ้าได้เข้ารับการอบรมในหัวข้อเรื่อง การป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโควิด-19 โดยการจัดอบรมครั้งนี้เป็นการจัดอบรมทางระบบออนไลน์ ผ่าน Google Meet ซึ่งได้รับเกียรติจาก อาจารย์กนิษฐา จอดนอก อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นผู้บรรยายถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เข้าอบรมในครั้งนี้ ซึ่งมีเนื้อหาในการอบรมดังต่อไปนี้

 

  1. เชื้อก่อโรค : เชื้อไวรัสโคโรน่า (CoVs) เป็นไวรัสชนิดอาร์เอ็นเอสายเดี่ยว (single stranded RNA virus) ใน Family Coronaviridae มีรายงานการพบเชื้อมาตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1965 โดยสามารถติดเชื้อได้ทั้งในคน และสัตว์ เช่น หนู ไก่ วัว ควาย สุนัข แมว กระต่าย และสุกร ประกอบด้วยชนิดย่อยหลายชนิดและทำให้มีอาการแสดงในระบบต่างๆ เช่น ระบบทางเดินหายใจ (รวมถึงโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือซาร์ส; SARS CoV)ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท หรือระบบอื่นๆ
  2. ระบาดวิทยาของเชื้อ : เชื้อไวรัสโคโรน่า (CoVs) พบได้ทั่วโลก โดยในเขตอบอุ่น (temperate climates) มักพบเชื้อโคโรนาไวรัสในช่วงฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิ การติดเชื้อโคโรนาไวรัสอาจทำให้เกิดอาการในระบบทางเดินหายใจส่วนบนได้ถึงร้อยละ 35 และสัดส่วนของโรคไข้หวัดที่เกิดจากเชื้อโคโรนาไวรัสอาจสูงถึงร้อยละ 15 อาจการติดเชื้อพบได้ในทุกลุ่มอายุ แต่พบมากในเด็ก อาจพบมีการติดเชื้อซ้ำได้ เนื่องจากระดับ
    ภูมิคุ้มกันจะลดลงอย่างรวดเร็วภายหลังการติดเชื้อ สำหรับการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือ
    ซาร์ส (SARS CoV) พบการระบาดปี พ.ศ. 2546 โดยพบเริ่มจากประเทศจีนแล้วแพร่กระจายไปทั่วโลกพบรายงานผู้ป่วยโรคซาร์สทั้งสิ้นมากกว่า 8,000 ราย และเสียชีวิตมากกว่า 750 ราย
  3. ลักษณะโรค : การติดเชื้อไวรัสโคโรน่าในระบบทางเดินหายใจ (Respiratory Coronaviruses) อาจทำให้เกิดอาการ ไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ มีน้ำมูก เจ็บคอ ไอ โดยในทารกที่มีอาการรุนแรง อาจมีลักษณะของปอดอักเสบ (Pneumonia) หรือ หลอดลมฝอยอักเสบ (Bronchiolitis) ในเด็กโตอาจมีอาการของหอบหืด
    (Asthma) ส่วนในผู้ใหญ่ อาจพบลักษณะปอดอักเสบ (Pneumonia) หลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic
    bronchitis) หรือการกลับเป็นซ้ำของโรคหอบหืดได้ และอาจทำให้เกิดอาการรุนแรงได้มากในผู้สูงอายุ
    หรือผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยพบการติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการได้ในทุกอายุ และหากแสดงอาการ
    มักพบร่วมกับการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจอื่นๆ เช่น Rhinovirus, Adenovirus หรือเชื้ออื่นๆ
    – การติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome;
    SAR CoV) จะพบมีอาการไข้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หรืออาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ แล้วมีอาการไอ และ
    หอบเหนื่อยอย่างรวดเร็ว ซึ่งอัตราตายจะสูงขึ้นในผู้ป่วยสูงอายุ หรือมีโรคประจำตัว

– การติดเชื้อโคโรน่าไวรัสในระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal Coronaviruses) มักพบบ่อยในเด็กแรกเกิด และทารกอายุน้อยกว่า 1 ปี หรืออาจพบในผู้ใหญ่ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยพบเชื้อได้แม้ผู้ป่วยไม่แสดงอาการ และไม่มีฤดูกาลการเกิดโรคที่แน่นอน

  1. ระยะฟักตัวของโรค : โดยเฉลี่ยประมาณ 2 วัน (อาจมีระยะฟักตัวนานถึง 3 – 4 วัน) สำหรับโรคซาร์สอาจใช้ระยะฟักตัว 4 – 7 วัน (อาจนานถึง 10 – 14 วัน)
  2. วิธีการแพร่โรค : แพร่กระจายเชื้อจากการสัมผัส (Contact) กับสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ หรือแพร่กระจายเชื้อจากฝอยละอองน้ำมูก น้ำลาย (Droplet) จากผู้ป่วยที่มีเชื้อโดยการ ไอ หรือจาม
  3. การป้องกัน :

– หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล เหนื่อยหอบ เจ็บคอ

– หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง

– สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ

– ระมัดระวังการสัมผัสพื้นผิวที่ไม่สะอาด และอาจมีเชื้อโรคเกาะอยู่ รวมถึงสิ่งที่มีคนจับบ่อยครั้ง เช่น ที่จับบน BTS, MRT, Airport Link ที่เปิด-ปิดประตูในรถ กลอนประตูต่าง ๆ ก๊อกน้ำ ราวบันได ฯลฯ เมื่อจับแล้วอย่าเอามือสัมผัสหน้า และข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ กระเป๋า ฯลฯ

– ล้างมือให้สม่ำเสมอด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลอย่างน้อย 20 วินาที ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ไม่ต่ำกว่า 70% (ไม่ผสมน้ำ)

– งดจับตา จมูก ปากขณะที่ไม่ได้ล้างมือ

– หลีกเลี่ยงการใกล้ชิด สัมผัสสัตว์ต่าง ๆ โดยที่ไม่มีการป้องกัน

– รับประทานอาหารสุก สะอาด ใช้ช้อนกลาง ไม่ทานอาหารที่ทำจากสัตว์หายาก

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับ การดำรงอยู่ ของ เชื้อไวรัสโควิด 19 ที่มีโอกาสอยู่บนพื้นต่างๆ โดยได้อ้างอิงจาก นพ.พิเชษฐ์ บัญญัติ แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่า

  • เชื้อไวรัสโควิด 19 ที่อยู่ในละอองฝอยน้ำมูก น้ำเสมหะ น้ำลาย น้ำตา จะอยู่รอดในอากาศได้เพียง 5 นาที
  • เชื้อไวรัสโควิด 19 มีชีวิตอยู่ในน้ำได้นาน 4 วัน
  • เชื้อไวรัสโควิด 19 มีชีวิตอยู่ บริเวณ พื้น โต๊ะ ลูกบิดประตู ได้นาน 7-8 ชั่วโมง
  • เชื้อไวรัสโควิด 19 อยู่ในผ้าหรือกระดาษทิชชู่ได้นาน 8-12 ชั่วโมง
  • เชื้อไวรัสโควิด 19 อยู่บนวัสดุพื้นเรียบได้นาน 24-48 ชั่วโมง
  • เชื้อไวรัสโควิด 19 อยู่ในอุณภูมิต่ำกว่า 4 องศาเซลเซียส ได้นาน 1 เดือน

เชื้อ Sars-Cov-2 กลายพันธุ์ที่ผู้เชี่ยวชาญมีความกังวลมากที่สุดในปัจจุบันมีอยู่ 4 สายพันธุ์คือ

1.อัลฟา (Alpha) ตรวจพบครั้งแรกในสหราชอาณาจักร

2.เบตา (Beta) ตรวจพบครั้งแรกในแอฟริกาใต้

3.แกมมา (Gamma) ตรวจพบครั้งแรกในบราซิล

4.เดลตา (Delta) ตรวจพบครั้งแรกในอินเดีย

          วัคซีน COVID-19

โดยปกติเมื่อเชื้อโรคทุกชนิดเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจะมีวิธีจัดการเชื้อหลายแบบ หนึ่งในนั้นคือเม็ดเลือดขาวชนิด Macrophage จะกลืนเชื้อเข้าไปและทิ้งเศษซากเชื้อบางส่วนไว้เรียกว่า แอนติเจน (Antigen) ร่างกายจะรับรู้ว่าแอนติเจนคือสิ่งแปลกปลอมและจะสร้างแอนติบอดี (Antibody) มาจัดการสิ่งแปลกปลอมนั้น รวมถึงมีเม็ดเลือดขาวอีกชนิดหนึ่งที่จำว่าเชื้อโรคนี้คือสิ่งแปลกปลอม ถ้าหากได้รับเชื้อในอนาคตร่างกายจะสามารถจดจำและจัดการได้ การทำงานของวัคซีนเป็นไปในลักษณะเดียวกัน วัคซีนป้องกันโควิด-19 จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสนี้ขึ้นมา ช่วยป้องกันการติดเชื้อหากได้รับเชื้อในอนาคต แต่ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งหลังฉีดวัคซีนร่างกายจึงจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาได้ การฉีดวัคซีนผู้รับวัคซีนยังต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด เช่น ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่างทางสังคม เป็นต้น วัคซีนอาจไม่สามารถป้องกันทุกคนที่ฉีดจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ แต่พบว่าสามารถลดความรุนแรงของโรคได้ และยังไม่มีข้อมูลว่าเมื่อฉีดแล้วจะมีภูมิคุ้มกันโควิด-19 ได้นานเท่าไร รวมถึงไม่มีข้อมูลว่าผลการฉีดวัคซีนให้ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำหรือผู้ที่ใช้ยากดภูมิคุ้มกันนั้น

วัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย

  1. แอสตร้าเซนเนกา (COVID-19 Vaccine AstraZeneca) เป็นวัคซีนแบบ Viral Vector  ฉีดในผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ฉีดเข้ากล้ามครั้งละ 0.5 มิลลิลิตร (แนะนำให้ฉีดบริเวณต้นแขน) โดยฉีดทั้งหมด 2 ครั้ง ครั้งที่ 2 ฉีดห่างจากครั้งแรก 4 – 12 สัปดาห์
  2. CoronaVac หรือSinovac COVID-19 vaccine เป็นวัคซีนเชื้อตาย (Inactivated Vaccine) ฉีดในผู้ที่มีอายุ 18 – 59 ปี โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อครั้งละ 0.5 มิลลิลิตร (แนะนำให้ฉีดบริเวณต้นแขน) โดยฉีดทั้งหมด 2 ครั้ง ครั้งที่ 2 ฉีดห่างจากครั้งแรก 2 – 4 สัปดาห์ (ผู้ที่อยู่บริเวณความเสี่ยงสูงหรือระบาดรุนแรงแนะนำให้ฉีดครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 2 สัปดาห์)
  3. Moderna ได้เลือกใช้เทคนิคการผลิตแบบ mRNA ซึ่งนับว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เคยใช้กับการพัฒนาวัคซีนป้องกันอีโบล่า โดยวัคซีนประกอบด้วยโปรตีนสังเคราะห์ที่เรียกว่าmRNA ซึ่งมีลักษณะคล้ายสารพันธุกรรมส่วนหนึ่งของไวรัสโควิด 19 ซึ่งเมื่อฉีดเข้าไปในร่างกายแล้วจะกระตุ้นให้เซลล์ในร่างกาย สร้างโปรตีนขนาดเล็กๆที่คล้ายกับหนามบนเปลือกหุ้มไวรัสโควิด 19 และโปรตีนนี้จะไปกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อโควิด 19
  4. Pfizer มีชื่อทางการว่า BNT162b2 เป็นวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ชนิด mRNA ที่คิดค้นโดยบริษัทไฟเซอร์ร่วมกับบริษัทสัญชาติเยอรมันชื่อไอโบเอ็นเท็ค (BioNTech) วัคซีนนี้ทำงานโดยจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างโปรตีนส่วนหนามเหมือนกับโคโรนาไวรัส เมื่อร่างกายเห็นแล้ว จึงสามารถสร้างภูมิคุ้มกันไว้สำหรับป้องกันไวรัสจริงๆ ที่จะเข้ามาได้ วัคซีนโควิดไฟเซอร์ฉีดทั้งหมด 2 เข็ม โดยเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 21-28 วัน ใช้วิธีการฉีดเข้ากล้ามเนื้อแขนด้านบน ภูมิคุ้มกันจะเริ่มเกิดหลังจากฉีดวัคซีนไฟเซอร์ไปแล้ว 12 วัน แต่ภูมิคุ้มกันจะทำงานเต็มที่หลังจากฉีดครบ 2 เข็ม เหมาะสำหรับผู้ที่อายุ 16 ปีขึ้นไป หรือมีโรคประจำตัวที่เสี่ยงอาการรุนแรงหากติดโควิด แต่ผู้ที่อายุน้อยกว่า 16 ปี ยังไม่ควรรับวัคซีนไฟเซอร์ และผู้ที่มีอาการแพ้วัคซีนไฟเซอร์เข็มแรก ไม่ควรรับวัคซีนไฟเซอร์เข็มที่ 2

อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น

          ผู้ที่รับวัคซีนอาจมีอาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนหรือไม่มีก็ได้ อาการข้างเคียงที่อาจพบได้มีดังนี้

          อาการที่พบได้บ่อย ได้แก่ ปวด บวม แดง คัน หรือช้ำบริเวณที่ฉีดยา อ่อนเพลีย และรู้สึกไม่สบายตัว ปวดศีรษะเล็กน้อย อาการคล้ายมีไข้  คลื่นไส้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อ

          อาการที่พบได้ไม่บ่อยหรือพบได้น้อย เช่น มีไข้ มีก้อนที่บริเวณที่ฉีดยา เวียนศีรษะ มึนงง ใจสั่น ปวดท้อง อาเจียน ความอยากอาหารลดลง เหงื่อออกมากผิดปกติ ต่อมน้ำเหลืองโต อาการเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ไอ เป็นต้น

วันที่ 14 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2564 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมการอบรมภาษาอังกฤษพื้นฐาน จัดอบรมโดยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยเป็นการจัดอบรมทางระบบออนไลน์ ผ่านทาง Zoom ซึ่งรายละเอียดการอบรมเป็นการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน และสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมมาปรับใช้และพัฒนาต่อยอดได้อีกในอนาคต

ที่มา

https://www.pidst.or.th/A215.html

http://www.brh.go.th/index.php/2019-02-27-04-12-21/270-19

https://www.bbc.com/thai/international-57692589

อื่นๆ

เมนู