“โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้กับประเทศ”

หลักสูตร HS05 การทอผ้าไหมขิดยกดอก เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนอย่างยั่งยืน

ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

สวัสดีค่ะดิ ฉันนางสาวจิราลักษณ์ แก้วกล้า ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร HS05 : การทอผ้าไหมขิดยกดอก เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนอย่างยั่งยืน ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ดิฉันขอรายงานบทความประจำเดือนสิงหาคมดังนี้

วันที่ 18 เดือน กรกฎาคม 2564 ได้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ ประจำเดือนสิงหาคม ณ อาคาร 25 ชั้น 2 ห้องประชุมมนุษย์สังคมวัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เรื่อง การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมลายขิดยกดอกและการทำตลาดออนไลน์ โดยได้รับเกียรติจาก ว่าที่ร้อยตรีอานนท์ ด่านดอน รองผู้จัดการบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นวิทยากรในการอบรมโครงการครั้งนี้ และมีทีมผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลเมืองแฝกเป็นผู้รับการอบรม การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมลายขิดยกดอกและการทำตลาดออนไลน์ นี้ ทางวิทยากรได้แนะนำวิธีการนำเสนอตัวสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่มีผ้าไหมลายขิดยกดอกเป็นสินค้าหลัก โดยให้ทีมผู้ปฏิบัติงานออกความคิดเห็นและเสนอแนะการแปรรูปผ้าไหมลายขิดยกดอกเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ และมีการตั้งตัวอย่างของกลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจน โดยมีการแบ่งกลุ่มเพื่อร่วมกันแสดงความคิดเห็นออกเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน คือ

กลุ่มที่ 1 เป้าหมายคือคณาจารย์ภายในมหาวิทยาลัยหรือครูในสถานศึกษา ได้ยกกระเป๋าผ้าสำหรับใส่เอกสารหรือเป้สะพาย โดยการนำเอาลายขอผ้าไหมขิดยกดอกมาตัดเย็บประดับใส่กับกระเป๋าผ้าหรือเป้สะพายเพื่อให้มีความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และวางระดับราคาอยู่ที่ 399 – 599 บาท ตามขนาดของผลิตภัณฑ์

กลุ่มที่ 2 เป้าหมายคือ ผู้ว่าราชการจังหวัด โดยมีแนวคิดเชิงนโยบายสำหรับหน่วยงานราชการ เช่น การแต่งกายประจำวันหรือการแต่งกายเนื่องในโอกาสสำคัญต่าง ๆ แนวคิดนี้ครอบคลุมหน่วยงานราชการและบุคลากรของรัฐทั้งหมด และได้เสนอเป็นเสื้อที่ออกแบบให้มีลวดลายเฉพาะ คุณสมบัติของไหมที่นำมาผลิตก็มีความนุ่มและมีสีสันสวยงามที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวอยู่แล้ว และมีการดีไซน์ให้สามารถสวมใส่ได้ทั้งชายและหญิง การคิดเชิงนโยบายนี้จะสามารถนำไปใช้กับหน่วยงานราชการต่าง ๆ ได้ เนื่องจากการแต่งกายของข้าราชการแต่ละหน่วยงานนั้นได้มีการกำหนดเป็นระเบียบข้อบังคับไว้อยู่แล้ว เช่น วันจันทร์และวันอังคารแต่งกายด้วยชุดข้าราชการ วันพุธแต่งกายด้วยชุดวอร์มหรือชุดกีฬา วันพฤหัสบดีและวันศุกร์แต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองหรือชุดที่กำหนดไว้ สำหรับราคานั้นอยู่ที่ประมาณ 3,000 บาท

กลุ่มที่ 3 เป้าหมายคือ นักท่องเที่ยว โดยตั้งกลุ่มเป้าหมายเฉพาะนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมและมาซื้อของที่ระลึกภายในสนาม Chang Stadium และได้กำหนดราคาไว้ที่ 590 – 1090 บาท ตามขนาดของการทอลายขิด โดยจะทำเป็นผ้าพันคอมีการออกแบบลวดลายและองค์ประกอบของลายในผ้าพันคอโดยใช้วิธีการขิดให้เป็นลายต่าง ๆ แบบเดียวกับผ้าพันคอที่เป็นของที่ระลึกของสโมสรบุรีรัมย์ยูไนเต็ด เช่น การขิดลายปราสาท การขิดลายสายฟ้า และการขิดลายโลโก้สโมสรบุรีรัมย์ยูไนเต็ด เป็นต้น อย่างไรก็ตามการที่จะขิดลวดลายต่าง ๆ ออกมาได้นั้นต้องได้รับอนุญาตจากสโมสรฯ ก่อน เนื่องจากมีลิขสิทธิ์ แต่ถ้าหากสามารถทำได้จริงก็จะเป็นผลดีต่อผู้ที่ประกอบอาชีพผ้าไหมลายขิดยกดอกเป็นอย่างมาก

กลุ่มที่ 4 เป้าหมายคือ ผู้ที่เข้ามาใช้บริการห้องพักหรือมาประชุมสัมมนาโครงการต่าง ๆ ที่โรงแรมพนมพิมานในมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยจะทำเป็นพวงกุญแจและแมส กำหนดราคาไว้ที่ 250 บาท โดยจะนำผ้าลายขิดยกดอกมาผลิตเป็นแมสหรือหน้ากากอนามัยมีช่องสำหรับใส่แผ่นกรองอากาศ สำหรับพวงกุญแจจะนำชิ้นส่วนจากการทอผ้าลายขิดยกดอกมาทำเป็นรูปทรงต่าง ๆ หรือตัดเอาเฉพาะลายที่เป็นเอกลักษณ์แล้วเอามาเย็บเข้าด้วยกันให้เป็นพวงกุญแจ

วันที่ 31 เดือน กรกฎาคม 2564 เวลา 09.00 – 12.00 น. ได้เข้าร่วมการอบรมผ่านระบบออนไลน์ เรื่อง การป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโควิด 19 ได้รับเกียรติจาก อาจารย์กนิษฐา จอดนอก อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นผู้บรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้ารับการอบรม ในการอบรมครั้งนี้ได้ทราบถึงเชื่อโควิด19 ที่กำลังระบาดในประเทศไทย เราพบผู้ติดเชื้อรายแรกเป็นนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2563 ซึ่งในช่วงแรกจะพบการติดเชื้อเฉพาะผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ จากนั้นจึงค่อยเกิดการแพร่ระบาดในประเทศขึ้น โดยสายพันธุ์ดั้งเดิมที่แพร่ระบาดในช่วงปี 2563 คือสายพันธุ์ A.6 ก่อนที่จะพบสายพันธุ์ B.1.36.16 ที่มาจากประเทศเมียนมาร์ ซึ่งระบาดในประเทศไทยเมื่อต้นปี 2564 และปัจจุบันยังพบการระบาดของสายพันธุ์อื่นๆ อีก 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่

1.สายพันธุ์อังกฤษ (B.1.1.7)พบครั้งแรกที่เมืองเคนต์ ของอังกฤษ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2563

2.สายพันธุ์แอฟริกาใต้ (501Y.V2 หรือ B.1.351) พบครั้งแรกในอ่าวเนลสันแมนเดลา เมือง
อีสเทิร์นเคป ของแอฟริกาใต้ เมื่อเดือนตุลาคม 2563

3.สายพันธุ์อินเดีย (B.1.617.1 และ B.1.617.2) พบครั้งแรกในประเทศอินเดีย ก่อนที่จะมีการกระจายไปในหลายประเทศ

โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า เบต้า อัลฟ่า

-สายพันธุ์อัลฟ่า (Alpha) ใช้เรียกแทนสายพันอังกฤษ (B.1.1.7)

-สายพันธุ์เดลต้า (Delta) ใช้เรียกแทนสายพันธุ์อินเดีย (B.1.617.1 และ B.1.617.2)

-สายพันธุ์เบตา (Beta) ใช้เรียกแทนสายพันธุ์แอฟริกาใต้ (501Y.V2 หรือ B.1.351)

-สายพันธุ์แกมมา (Gamma) ใช้เรียกแทนสายพันธุ์บราซิล (P.1)

ทั้งนี้ยังได้ทราบถึงประสิทธิภาพของวัคซีน

วัคซีนโควิด-19 ต่างชนิด ต่างยี่ห้อ สามารถฉีดสลับกันได้หรือไม่

ขณะนี้องค์การอนามัยโลกยังไม่มีคำแนะนำอย่างเป็นทางการให้ฉีดวัคซีนสลับชนิด ทั้งนี้ หน่วยงานสาธารณสุขของแต่ละประเทศสามารถพิจารณาตามผลการศึกษา ซึ่งประเทศไทยมีการศึกษาโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย (ไบโอเทค) พบว่า การฉีดวัคซีน Sinovacเป็นเข็มที่ 1 และฉีดวัคซีน Astra Zeneca เป็นเข็มที่ 2 สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสให้อยู่ในระดับที่สูงได้เร็วมากขึ้น โดยสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีใกล้เคียงกับ Astra Zeneca 2 เข็ม ซึ่งคาดว่าจะมีผลดีต่อการป้องกันไวรัสสายพันธุ์เดลตา และไม่พบอาการข้างเคียงรุนแรงภายหลังได้รับวัคซีน ดังนั้นจึงสามารถให้ฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มที่ 1 ด้วยวัคซีน Sinovac เป็นเข็มที่ 1 และฉีดวัคซีน Astra Zeneca เป็นเข็มที่ 2 โดยมีระยะห่างระหว่างเข็ม 3 – 4 สัปดาห์ ซึ่งสามารถสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสให้อยู่ในระดับที่สูง ใกล้เคียงกับผู้ที่ได้รับวัคซีน Astra Zeneca จำนวน 2 เข็ม

อื่นๆ

เมนู