โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)
“โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้กับประเทศ”
หลักสูตร HS05 การทอผ้าไหมขิดยกดอก เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนอย่างยั่งยืน
ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
ข้าพเจ้า นางสาวเจนจิรา โจนประโคน ผู้ปฏิบัติงานประเภทนักศึกษา ปฏิบัติงานประจำตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร HS05 : การทอผ้าไหมขิดยกดอก เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนอย่างยั่งยืน โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้กับประเทศ การปฏิบัติงานประจำเดือน กันยายน 2564
วันที่ 21-22 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 ข้าพเจ้าได้อบรมทักษะเพิ่มเติมในด้านการเงิน การวางแผนทางการเงิน คือ การบริหารจัดการการเงินของเรา ให้สอดคล้องกันในทุก ๆ ด้าน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินของเรา ซึ่งแต่ละคนก็จะมีเป้าหมายแตกต่างกัน ดังนั้นการวางแผนทางการเงินของแต่ละคนก็จะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน 4 ทักษะแรกที่กล่าวไปด้านบนจะเป็นทักษะที่ฝึกจากการทำ ส่วนทักษะนี้เป็นการเน้นทางด้านการคิดวิเคราะห์ โดยหัวข้อหลัก ๆ ที่มักเกี่ยวข้องกับการวางแผนการเงินได้แก่
– การตั้งเป้าหมายทางการเงิน
– วางแผนเกษียณ
– บริหารจัดการหนี้สิน
– วางแผนภาษี
– การป้องกันความเสี่ยง (ประกัน)
– วางแผนค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ (เรียนต่อ, แต่งงาน, ดาวน์รถ)
– แผนการลงทุน
ทักษะนี้อาจจะดูเหมือนห่างไกลในการใช้ชีวิตประจำวันของเรา แต่หากสามารถทำได้เองมันช่วยให้เราจัดการควบคุม (บริหาร) การเงินของเราได้ดียิ่งขึ้น และหากฝึกทักษะนี้จนเชี่ยวชาญชำนาญแล้ว ก็สามารถนำไปประกอบอาชีพได้เลย ซึ่งอาชีพนั้นก็คือ นักวางแผนทางการเงินนั่นเอง
วันที่ 28-29 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 ข้าพเจ้าได้ทำการศึกษาและเรียนรู้การทอผ้าไหมขิดยกดอกเพิ่มเติม ผ้าขิด หรือ ผ้าทอลายขิด เป็นผ้าพื้นเมืองของภาคอีสาน และบางส่วนของภาคเหนือและภาคกลางของไทย คำว่า ขิด เป็นภาษาพื้นบ้านอีสาน มาจากคำว่า สะกด หมายถึง การจัดขั้นซ้อนขั้น สะกดขึ้นหรืออาจมาจากคำว่า สะกิด หรืออาจหมายถึง ขจิต ซึ่งเป็นภาษาบาลี ซึ่งหมายความว่า วิจิตร เพราะการทอผ้าขิด ต้องใช้กรรมวิธีที่ซับซ้อน ละเอียด และประณีตเพื่อให้เกิดลวดลายที่สวยงามวิจิตร ซึ่งต้องใช้ความพยายามในการอดทนเป็นหลักจึงจะสามารถทอเป็นผืนผ้าได้ ดังนั้น ผ้าขิดจึงหมายถึง ผ้าที่ทอโดยวิธีใช้ไม้เขี่ย หรือสะกิดช้อนเส้นด้ายยืนขึ้นแล้วสอดเส้นด้ายพุ่งไปตามแนวเส้นยืนที่ถูกงัดช้อนขึ้นนั้นจังหวะของการสอดเส้นพุ่งซึ่งถี่ห่างไม่เท่ากันให้เกิดลวดลายรูปแบบต่างๆ โดยวิธีการเก็บขิดเพื่อสร้างลวดลายในประเทศไทยมี 3 วิธี คือ
- 1. คัดไม้ขิดโดยไม่มีการเก็บตะกอ
วิธีการเก็บขิดแบบนี้เหมาะสำหรับการทอลวดลายที่ไม่ซับซ้อนมาก และต้องการเปลี่ยนลวดลายบ่อย ๆ ไม้ขิดที่เก็บลวดลายจะเรียงกันไปตามลำดับบนเครือเส้นยืนซึ่งอยู่ด้านหลังฟืม
- 2. เก็บขิดเป็นตะกอลอย
การเก็บขิดวิธีนี้ ต้องผ่านการคัดไม้ขิดแบบแรกเสียก่อน เสร็จแล้วใช้ด้ายเก็บลายตามไม้ขิดที่คัดไว้ทุกเส้น เรียกว่า เก็บตะกอลอย วิธีนี้สะดวกกว่าวิธีแรกคือไม่ต้องเก็บ ขิดทุกครั้งในเวลาทอ แต่ใช้วิธียกตะกอลอยไล่ไปแต่ละไม้จนครบ วิธีการนี้ทำให้ทอลวดลายซ้ำ ๆ กันได้ โดยไม่ต้องเก็บลายใหม่ทุก ๆ ครั้งเหมือนวิธีแรก แต่ถ้ามีจำนวนตะกอมาก ๆ ก็ไม่เหมาะสมกับวิธีการนี้เช่นกัน
- 3. เก็บตะกอแนวตั้ง
การเก็บตะกอแนวตั้ง พัฒนาจากแบบการเก็บขิดดั้งเดิมให้ทอได้สะดวกรวดเร็วขึ้นสามารถทำลวดลายที่ซับซ้อนและมีจำนวนตะกอมากๆได้
สำหรับผ้าทอลายขิดของอีสานตามที่ได้ทอกันมาตั้งแต่สมัยดั้งเดิมในอดีตจนถึงปัจจุบันนี้ สามารถแบ่งกลุ่มแม่ลายผ้าทอลายขิด ได้เป็น 4 ประเภท คือ
1.ขิดลายสัตว์
- ขิดลายพันธุ์ไม้
- ขิดลายสิ่งของเครื่องใช้ ซึ่งลวดลายเป็นรูปทรงเรขาคณิต แนวคิดได้จากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลายที่ได้จาก การนำลายขิด 2 ลายขึ้นไป มาประกอบและจัดองค์ประกอบ ให้ลายดูสวยงามหวือหวา น่าสนใจมากขึ้น เรียกว่า ลายประยุกต์
- ขิดลายเบ็ดเตล็ด จะนิยมทอสีเดียว เป็นสีพื้นแบบเดิม ๆ มักเป็นสีที่เหมาะ หรือสีที่แต่งตัวยาก เช่น สีน้ำตาล สีดำ สีเขียว สีน้ำเงิน สีแดง ฯลฯ ต่อมามีการใช้สีให้อ่อนลงและสีที่ต่างกัน แต่พอให้ดูกลมกลืน ทำให้ดูคมชัดขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นสีที่ดูกลมกลืนกัน มากกว่าจะตัดกันจนเห็นได้ชัด
ส่วนประเภทของผ้าลายขิดที่ทอมี ๓ ประเภท ได้แก่
1.ผ้าลายขิดพื้นสีเดียว คือในผ้าผืนเดียวกันนั้นจะมีเพียงลายเดียว และสีเดียวตลอดทั้งผืน
2.ผ้าลายขิดมีเชิง คือ ทอแบบประเภทที่ ๑ แล้วมาเพิ่มเชิงผ้าในผืนเดียวกันด้วยการทอลวดลายอื่นเข้าไป ส่วนมากจะเป็นสีเดียวกัน
3.ผ้าขิด-หมี่ คือการทอผ้าลายขิดผสมกับผ้ามัดหมี่ทอสลับกันเป็นช่วงๆในผ้าผืนเดียวกันนั้น สีของผ้ามักจะเป็นสีเดียวกันแต่เล่นระดับของสีเข้ม-อ่อน สลับกันไปเป็นช่วงๆ บางทีมีสีอื่นๆ สลับลงไปด้วย แต่มักอยู่ในเฉดที่ใกล้เคียงกัน
ซึ่งชาวอีสานได้กำหนดการใช้ผ้าขิดลายต่างๆตามโอกาสที่เหมาะสม อาทิ ในงานบวช ใช้ลายขิดตะเภาหลงเกา และ ลายดอกจิก ในงานบุญ ใช้ลายขิดช้าง ในงานสงกรานต์ ใช้ลายขิดดอกจัน ไหว้ผู้ใหญ่ ใช้ลายขิดกาบแก้วใหญ่ และลายขิดดอกแก้ว ใช้ในครัวเรือน คือ ลายขิดแมงงอด ลายขิดงูเหลือม ลายขิดแมงเงา และลายขิดประแจบ่ไข ใช้ในห้องรับแขก คือ ลายขิดขอ เป็นต้น
การทอผ้าขิดนับว่าเป็นศิลปะพื้นบ้านที่สะท้อนให้เห็นภาพวิถีชีวิต วัฒนธรรม และวิวัฒนาการท้องถิ่นเดิมของไทยที่มีมาแต่โบราณ ที่สื่อสารผ่านลายผ้าโดยการสร้างสรรค์ขึ้นเป็นลวดลายต่างๆซึ่งชาวอีสานถือว่าในกระบวนการทอผ้านั้น การทอผ้าขิดต้องอาศัยความชำนาญและชั้นเชิงทางฝีมือสูงกว่าการทอผ้าอย่างอื่น ๆ เพราะทอยากมากและมีเทคนิคการทอที่ซับซ้อนมากกว่าการทอผ้าธรรมดา เพราะต้องใช้ทั้งเวลา ความอดทน และความละเอียดลออ มีกรรมวิธีที่ยุ่งยากและผู้ทอต้องมีประสบการณ์และพรสวรรค์ในการทอ จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญเฉพาะท้องถิ่น อีกทั้งเป็นการสืบสานมรดกภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษได้สืบทอดต่อๆกันมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าปัจจุบันอาจจะมีเทคโนโลยีมาช่วยในการผลิตคิดค้นลวดลายผ้า เพื่อวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์แต่ก็ยังคงต้องอนุรักษ์รากเหง้าที่บรรพบุรุษได้สืบสานมาจนเป็นเอกลัษณ์บนแผ่นดินที่ราบสูงนี้ ผ้าขิดสำหรับชาวอีสานถือเป็นผ้าชั้นสูง ที่นิยมนำมาเป็นของกำนัลให้ผู้ใหญ่ในการทอดกฐิน งานบุญ งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ ใช้ห่อคัมภีร์ใบลาน ใช้เป็นผ้าคลุมหัวนาคในงานบวช นอกจากนี้ผ้าขิดนิยมใช้ทำ หมอน ผ้าห่ม ผ้าปูนอน ปูอาสนะ ผ้าล้อหัวช้าง ผ้าคลุมไหล่ ซึ่งมีทอกันทั่วไปในภาคอีสาน และบางจังหวัดในภาคเหนือและภาคกลาง เช่น อุทัยธานี สุพรรณบุรี ชัยนาท พิจิตร น่าน ในบางแห่งมีการทอขิดผสมจก เพื่อให้เกิดลวดลายและสีสันที่วิจิตรกว่าขิดธรรมดา ได้แก่ ผ้าขิดผสมจกจาก อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี สำหรับแหล่งทอผ้าขิดที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางของภาคอีสาน คือ จังหวัดอำนาจเจริญ และ จังหวัดยโสธร
วันที่ 3-5 เดือนกันยายน พ.ศ. 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ศึกษาการทอผ้าไหมขิดยกดอกจากตัวแทนของกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมขิดยกดอก ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยคุณสัญจร แย้มศรี เป็นผู้ให้ความรู้ในกระบวนการทอผ้าไหมขิดยกดอกในครั้งนี้
ผู้ผลิตการทอผ้าไหมขิดยกดอกกล่าวว่า กระบวนการผลิตต้องใช้ระยะเวลาตามทักษะความสามารถ เนื่องจากเป็นผ้าทอมือจึงมีความประณีต อีกทั้งต้องทำทีละเส้นตามลวดลายที่ปักหมุดไว้ดูด้านหน้า ถ้าทำผิดพลาดต้องมีการแก้แล้วเริ่มต้นลวดลายที่ผิดพลาดใหม่ เนื่องจากเป็นช่วงที่ทำการเกษตรจึงใช้เวลาว่างจากการเกษตรเพื่อทอผ้าไหมขิดยกดอก ผู้ผลิตรายนี้ทอผ้าไหมขิดยกดอกมาได้สักพัก ส่งออกผืนผ้าหลากหลายลวดลาย นับได้เป็นงานที่ใช้กระบวนการผลิตที่ค่อนข้างนาน ส่งผลให้ในหนึ่งผืนมีผลตอบแทนที่ค่อนข้างสูง เป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัวนอกเหนือจากการทำการเกษตร โดยแต่ละผืนจะมีราคาที่แตกต่าง ซึ่งจะมีทั้งผืนใหญ่และผืนเล็ก ซึ่งลวดลายใน 1 ผืนจะเรียกว่าดอก ในแต่ละผืนจะมีลวดลายของดอกอยู่ที่ผืนละประมาณ 32 ดอก ทั้งผืนใหญ่และผืนเล็ก แต่จะมีความกว้าง ความยาวของผืนที่แตกต่างกัน ลวดลายที่นะยมทอส่วนใหญ่เป็นลายผสม จะนิยมทอสีเดียว เป็นสีพื้นแบบเดิม ๆ มักเป็นสีที่เหมาะ หรือสีที่แต่งตัวยาก เช่น สีน้ำตาล สีดำ สีเขียว สีน้ำเงิน สีแดง ฯลฯ ต่อมามีการใช้สีให้อ่อนลงและสีที่ต่างกัน แต่พอให้ดูกลมกลืน ทำให้ดูคมชัดขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นสีที่ดูกลมกลืนกัน มากกว่าจะตัดกันจนเห็นได้ชัด
ปัจจุบันเนื่องจากว่า การผลิตผ้าไหมลายขิด มิใช่เป็นการผลิตเพื่อชุมชนอีกต่อไป หากแต่เป็นการผลิตเพื่อความต้องการของคนต่างถิ่น ต่างวัฒนธรรม ซึ่งมีรสนิยมต่างกันออกไป ปริมาณความต้องการสูงขึ้น ก่อให้เกิดการแสวงหาเทคนิควิธีการใหม่ๆ เพื่อให้การผลิตทำได้ปริมาณมากขึ้น แต่ใช้เวลาน้อยลง ซึ่งจะมีผลกระทบต่อคุณภาพ ของความเป็น ศิลปหัตถกรรมท้องถิ่น อย่างไม่ต้องสงสัย อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับการทอผ้าไหมลายขิดก็ตาม แต่การฟื้นฟูศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านก็มาจากบุคคลภายในชุมชนเองที่พยายามแสวงหาเทคนิควิธีการ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของบุคคลภายนอก เมื่อผนวกเข้ากับนโยบายการสนับสนุนวัฒนธรรมท้องถิ่นของรัฐ ซึ่งในบางแง่มุมได้ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในศิลปหัตถกรรมของชุมชนนั้นๆ จึงส่งผลให้ศิลปหัตถกรรมท้องถิ่น ด้านการทอผ้าไหมลายขิด มีชีวิตชีวาขึ้นมาใหม่ ภายใต้เงื่อนไขของสังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป คนส่วนใหญ่เมื่อพูดถึงการทอผ้าไหม ก็มักจะนึกถึงผ้าไหมมัดหมี่ และถ้าจะพูดถึงลวดลายของผ้า ก็มักจะนึกถึงผ้าฝ้ายลายขิด เท่านั้น และคนส่วนใหญ่ก็มักจะคุ้นเคยกันดีกับชื่อผ้าและแหล่งผลิต เช่น ผ้าไหมแพรวา จ.กาฬสินธุ์ ผ้าลายน้ำไหล จังหวัดแพร่ ผ้าตีนจก จ.สุโขทัย เป็นต้น ผ้าไหมลายขิด ไม่ค่อยมีคนรู้จักว่า คือ ผ้าไหมอะไร และมีแหล่งผลิตอยู่ที่ไหน เนื่องจากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจศึกษาและอนุรักษ์ไว้ ก่อนที่จะสูญหายไปในที่สุด
ขอบคุณที่มา: http://culture.go.th/culture_th/ewt_news.php?nid=5855&filename=index