“โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้กับประเทศ”

หลักสูตร HS05 การทอผ้าไหมขิดยกดอก เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนอย่างยั่งยืน

ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

     สวัสดีครับ กระผมนายพงศธร ประสีระเตสัง ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ปฏิบัติงานประจำตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร HS05 : การทอผ้าไหมขิดยกดอก เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนอย่างยั่งยืน ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) บัดนี้กระผมขออนุญาตรายงานการปฏิบัติงานประจำเดือน กันยายน 2564 นี้ ให้ทราบโดยทั่วกัน

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามแผนงานที่กำหนดไว้ แต่ถึงอย่างไรก็ตามผู้ปฏิบัติงานก็ได้ศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเสนอเรื่องราวด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิตของคนภายในชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่ว่าเป็นอย่างไร โดยจะเสนอข้อมูลด้านการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์ การประกอบอาชีพ และวิถีชิตความเป็นอยู่

ข้อมูลทั่วไป

บ้านหนองเก้าข่า เป็นหมู่บ้านในเขตพื้นที่การปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ห่างจากองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองแฝก 5 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอลำปลายมาศประมาณ 21 กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัดบุรีรัมย์ประมาณ 26 กิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร มีการทำนาข้าว สวนยางพารา ไร่อ้อย ไร่ปาล์มน้ำมัน ไร่มันสำปะหลัง และการทำเกษตรแบบผสมผสาน

บ้านหนองเก้าข่า มีอาณาเขตติดต่อกับหมู่บ้านต่าง ๆ ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดกับ   บ้านหนองครก หมู่ 2 ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
  • ทิศใต้ ติดกับ   บ้านหนองแวง หมู่ 4 ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
  • ทิศตะวันออก ติดกับ   บ้านโคกสว่าง หมู่ 16 ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
  • ทิศตะวันตก ติดกับ   บ้านบุโพธิ์ หมู่ 9 ตำบลบุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

จำนวนประชากร

          จำนวนประชากรบ้านหนองเก้าข่า อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ประกอบด้วย เพศชายจำนวน 411 คน เพศหญิงจำนวน 393 คน รวม 804 คน (ที่มา : ข้อมูลประชากรจากสำนักทะเบียนอำเภอลำปลายมาศ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2562)

การปลูกพืชเศรษฐกิจในหมู่บ้าน

          1.นาข้าว

โดยส่วนใหญ่แล้วชาวบ้านนิยมปลูกข้าวนาปี โดยการไถหว่านซึ่งเป็นการลดระยะเวลาการปลูกข้าว ลดต้นทุนในจ้างแรงงาน ไม่ค่อยนิยมปลูกข้าวด้วยวิธีการดำนาเท่าไรนักเนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาในการปลูกต้นกล้า การจ้างแรงงานเพื่อการถอนต้นกล้าและปักดำต้นกล้าซึ่งใช้ระยะเวลานานพอสมควรและมีต้นทุนที่สูง แต่ก็มีระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวเท่า ๆ กัน และในปัจจุบันนี้มีเครื่องมือทางการเกษตรที่ทันสมัยขึ้น เช่น รถเกี่ยวข้าว รถดำนา เป็นต้น จึงทำให้การปลูกข้าวนั้นมีความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

ข้าวนาปี หรือข้าวนาน้ำฝน คือ ข้าวที่ปลูกในฤดูการทำนาปกติ จึงใช้ภาษาอังกฤษตรงตัวว่า in-season rice เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคมและเก็บเกี่ยวสิ้นสุดไม่เกินกุมภาพันธ์ (ข้อมูลโดย มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์)

          2.สวนยางพารา

ยางพาราเป็นพืชที่ทำให้เกิดการสร้างงานและอาชีพในชนบท จึงสามารถช่วยลดและแก้ปัญหาการเคลื่อนย้ายของแรงงานจากชนบทสู่สังคมเมือง  และส่งผลให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชนให้ครอบครัวมีความอบอุ่นมากขึ้น

ยางพาราเป็นพืชที่มีอายุมากกว่า 20 ปี มีพื้นที่ปลูกทั่วประเทศมากกว่า 12.3 ล้านไร่ กระจายอยู่ทุกจังหวัดในภาคใต้ ยางพาราจึงเป็นพืชทดแทนป่าไม้ที่มีจำนวนลดลง และเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของประเทศให้มีมากขึ้น  อีกทั้งภายในสวนยางพารายังมีพืชชนิดอื่นๆ ที่สามารถปลูกร่วมได้ จึงทำให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพมากขึ้น  รวมทั้งเป็นที่อาศัยของสัตว์ต่างๆ ตามธรรมชาติ

ผลผลิตของยางพารายังสามารถพัฒนาต่อไปในอนาคตได้ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ยางพาราหลายประเภทได้นำมาใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันของคนทั่วโลก เช่น ยางรถยนต์ และเครื่องมือแพทย์ เป็นต้น หากมีการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น เขื่อนยาง หรือใช้ยางพาราทำถนน ก็จะทำให้มีการใช้ยางพารามากขึ้น ซึ่งจะทำให้ยางพารามีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น

          3.ไร่อ้อย

อ้อย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Saccharum officinarum) เป็นพืชวงศ์ POACEAE วงศ์เดียวกับ ไผ่ หญ้าและธัญพืช เช่น ข้าวสาลี ข้าว ข้าวโพด และ ข้าวบาร์เลย์ มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชีย ในลำต้นอ้อยที่นำมาใช้ทำน้ำตาลมีปริมาณซูโครสประมาณ 17-35% ชานอ้อย (bagasse) ที่ถูกบีบเอาน้ำอ้อยออกไปแล้ว สามารถนำมาใช้ทำกระดาษ พลาสติก เป็นเชื้อเพลิง และอาหารสัตว์ ส่วนกากน้ำตาล (molasses) ที่แยกออกจากน้ำตาลในระหว่างการผลิต สามารถนำไปหมักเป็นเหล้ารัม (rum) ได้อีกด้วย

อ้อยเป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากเมื่อพิจารณาในแง่ของผลผลิต เพราะอ้อยสามารถใช้ปัจจัยสำหรับการเจริญเติบโต เช่น แสงแดด น้ำ อากาศ และธาตุอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้อ้อยยังเป็นพืชที่ปลูกง่าย และเมื่อปลูกครั้งหนึ่งแล้ว สามารถเก็บเกี่ยวได้หลายครั้ง อ้อยชอบอากาศร้อนและชุ่มชื้น ดังนั้นประเทศที่ปลูกอ้อย ซึ่งมีประมาณ 70 ประเทศจึงอยู่ในแถบร้อนและชุ่มชื้นในระหว่างเส้นรุ้งที่ 35 องศาเหนือ และ 35 องศาใต้ ประเทศผู้ปลูกอ้อยที่สำคัญ ได้แก่ บราซิล คิวบา อินเดีย (ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/อ้อย)

          4.ปาล์มน้ำมัน

          ปาล์มน้ำมัน เป็นพืชตระกูลปาล์มลักษณะลำต้นเดี่ยว ขนาดลำต้นประมาณ 12 -20 นิ้ว เมื่ออายุประมาณ 1-3 ปี ลำต้นจะถูกหุ้มด้วยโคนกาบใบ แต่เมื่ออายุมากขึ้นโคนกาบใบจะหลุดร่วงเห็นลำต้นชัดเจน ผิวของลำต้นคล้ายๆ ต้นตาล ลักษณะใบเป็นรูปก้างปลา โคนกาบใบจะมีลักษณะเป็นซี่ คล้ายหนามแต่ไม่คมมาก เมื่อไปถึงกลางใบหนามดังกล่าวจะพัฒนาเป็นใบ การออกดอกเป็นพืชที่แยกเพศ คือต้นที่เป็นเพศผู้ก็จะให้เกสรตัวผู้อย่างเดียว ต้นที่ให้เกสรตัวเมียจึงจะติดผล ลักษณะผลเป็นทะลายผลจะเกาะติดกันแน่นจนไม่สามารถสอดนิ้วมือเข้าไปที่ก้านผลได้ เวลาเก็บผลปาล์มจึงต้องใช้มีดงอ (มีดขอ) เกี่ยวที่โคนทะลายแล้วดึงให้ขาด ก่อนที่จะตัดทะลายปาล์มต้องตัดทางปาล์มก่อนเพราะผลปาล์มจะตั้งอยู่บนทางปาล์ม กระบวนการตัดทาง (ใบ) ปาล์มและตัดเอาทะลายปาล์มลง เรียกรวมๆ ว่า แทงปาล์ม ปาล์มน้ำมันจัดเป็น พืชเศรษฐกิจ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา เป็นพืชที่ให้ผลผลิต น้ำมันต่อหน่วยพื้นที่สูงกว่าพืชน้ำมันทุกชนิด สามารถนำมาแปรรูปทำเป็นทั้งในรูปแบบของน้ำมันพืชที่ใช้ในการประกอบอาหาร และใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารต่างๆ เช่น ขนมขบเคี้ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นมข้นหวาน ครีมและเนยเทียม เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานทดแทน ไบโอดีเซลรวมถึงเป็นส่วนผสมในเพื่อช่วยลดการใช้น้ำมันดีเซล เพิ่มความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศ อีกทั้งยังจะช่วยลดปัญหาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย และยังสามารถแปรรูปเป็น สบู่ ผงซักฟอก เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ต่างๆ และอาหารสัตว์ ด้วย ใบมาบดเป็นอาหารสัตว์ กะลาปาล์มเป็นวัตถุดิบเชื้อเพลิง ทะลายปาล์มใช้เพาะเห็ด และกระทั่งการปลูกลงดินไปแล้วก็ช่วยในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในการช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย (ที่มา : http://www.thairath.co.th/news.php?section=agriculture&content=67386)

ในประเทศไทยมีการปลูกทั้งทางภาคใต้และภาคตะวันออก พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก เป็นปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอรา โดยเฉพาะที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ช่วงปี 2547 – 2550 มีการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่นาร้าง โดยกรมพัฒนาที่ดิน มีการขุดร่องให้ฟรี ให้พันธุ์และปุ๋ย โดยให้เหตุผลในการส่งเสริมการปลูกเนื่องจากเป็นปาล์มที่ให้นำมันใช้ได้ทั้งการบริโภคและใช้เป็นไบโอดีเซลได้โดยประเทศที่ปลูกปาล์มนำมันได้แก่ อินโดนีเซีย 50ล้านไร่ มาเลเซีย 35ล้านไร่ ส่วนไทย 5.5ล้านไร่ปัจจุบันภาครัฐของไทยมีเป้าหมายจะปลูกปาล์มให้ได้ทั้งสิ้น 10ล้านไร่ภายในปี 2572 จากพื้นที่มีศักยภาพ ทั้งสิ้น 20 ล้านไร่

ปัจจุบัน ประเทศที่ผลิตและส่งออกน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดในโลกคือประเทศมาเลเซีย ผลิตเป็นสัดส่วนมากถึงร้อยละ 47 ของการผลิดของโลก

ปาล์มน้ำมันแต่ละต้นจะกำหนดปริมาณการให้ช่อดอกตัวผู้ และช่อดอกตัวเมีย ล่วงหน้า 3 เดือน โดยขึ้น กับปริมาณน้ำ ที่ต้นปาล์มน้ำมันนั้น ๆ ได้รับ เช่น หากต้นปาล์มได้รับน้ำ ในปริมาณที่เหมาะสมในวันนี้ต้นปาล์มก็จะกำหนดให้ลำต้นออกช่อดอกตัวเมียมากกว่าช่อดอกตัวผู้ ในทางกลับกัน หากต้นปาล์มนั้น ๆ ได้รับน้ำ ในปริมาณที่ไม่เพียงพอในวันนี้ต้นปาล์มก็จะกำหนดให้ลำต้นออกช่อดอกตัวผู้มากกว่าช่อดอกตัวเมีย ซึ่งช่อดอกทั้ง ตัวผู้และตัวเมียที่ถูกกำหนดล่วงหน้านี้จะไปผลิออกเป็นช่อดอกในอีก 3 เดือนข้างหน้า ดังนั้น ปาล์มที่ปลูกโดยอาศัยน้ำ ฝนจากธรรมชาติเพียงอย่างเดียว จะให้ผลผลิตตามปริมาณน้ำ ฝนที่ได้รับ ยิ่งถ้าพื้นที่ที่ปลูกปาล์มน้ำมันมีช่วงฝนแล้ง หรือขาดน้ำ หลายเดือน ปาล์มนั้น ๆ ก็จะให้ช่อดอกตัวผู้ในปริมาณมาก หรือแทบไม่ให้ช่อดอกตัวเมียเลย ต้นปาล์มจะมีลักษณะสูงเร็ว เพราะไม่ต้องสูญเสียธาตุอาหารในการออกลูกออกผลปาล์มน้ำมันที่ขาดน้ำ เป็นระยะเวลาหลายเดือน จะให้แต่ช่อดอกตัวผู้ หรือแทบจะไม่ให้ช่อดอกตัวเมียเลย แม้ว่าเราจะให้น้ำ ให้ปุ๋ยอย่างเต็มที่กับต้นปาล์มในเวลาต่อมา ก็ไม่สามารถแก้ไขให้ต้นปาล์มออกช่อดอกตัวเมียมากขึ้น ได้ เพราะปริมาณการออกช่อดอกตัวเมียได้ถูกกำหนดไว้แล้วเมื่อ 3 เดือนที่แล้วตามปริมาณน้ำ ที่ต้นปาล์มน้ำมันต้นดังกล่าวได้รับ แต่การให้น้ำ ให้ปุ๋ยอย่างเต็มที่กับต้นปาล์มในเวลาต่อมา จะไปมีผลให้ต้นปาล์มออกช่อดอกตัวเมียมากขึ้น ในอีก 3 เดือนข้างหน้าอย่างไรก็ตามหากช่อดอกตัวเมียที่ออกมา กระทบกับช่วงฤดูแล้ง หรือภาวะต้นปาล์มขาดน้ำ ช่อดอกตัวเมียดังกล่าวก็อาจจะฝ่อไม่ให้ผล เพื่อลดการสูญเสียน้ำ (ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ปาล์มน้ำมัน)

5.มันสำปะหลัง

          มันสำปะหลังทั่วโลกมีทั้งหมดประมาณ 150 พันธุ์ แต่ละพันธุ์มีลักษณะแตกต่างกันไปโดยสามารถจำแนกตามลักษณะภายนอก ปริมาณของกรดไฮโดรไซยานิก  หรืออายุการเก็บเกี่ยว

การจำแนกพันธุ์โดยใช้คุณลักษณะภายนอกหลายอย่างช่วยในการจำแนก  เช่น สีของใบอ่อน  สีก้านใบ สีลำต้น ขนที่ยอดอ่อน ลักษณะทรงต้น หูใบ เช่น  ในส่วนของก้านใบ พันธุ์ระยอง จะมีก้านใบสีแดง พันธุ์เกษตรศาสตร์ จะมีก้านใบสีเขียวอ่อนหรือสีขาว และห้วยบงจะมีก้านสองสี เนื่องจากห้วยบงเป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์ระยอง กับพันธุ์เกษตรศาสตร์ นอกจากนั้น รูปร่างของหัว สีของเปลือก และเนื้อจะแตกต่างกันออกไปตามพันธุ์ เป็นต้น

การจำแนกพันธุ์ตามปริมาณของกรดไฮโดรไซยานิกซึ่งเป็นส่วนประกอบทางสรีรวิทยา โดยแบ่งมันสำปะหลังออกเป็น 2 ชนิดตามปริมาณกรดไฮโดรไซยานิก คือ ชนิดขม(bitter cassava) ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตแป้งมันสำปะหลัง จะมีปริมาณกรดโฮโดรไซยานิคสูง และ ชนิดหวาน (sweet cassava) มีปริมาณกรดโฮโดรไซยานิกต่ำ

การจำแนกตามอายุการเก็บเกี่ยว แบ่งออกได้เป็น 2 พวก คือ

Short season เป็นมันสำปะหลังที่จะเริ่มมีหัวแก่ พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 6 เดือน และไม่สามารถทิ้งไว้เกิน 9-11 เดือน ส่วนใหญ่เป็นพวก sweet cassava

Long season เป็นมันสำปะหลังที่จะแก่เมื่อมีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป และสามารถปล่อยทิ้งไว้ถึง 3-4 ปีได้ ส่วนใหญ่เป็นพวก bitter cassava

สำหรับประเทศไทยมีพันธุ์ของมันสำปะหลังที่ปลูกทั่วไปอยู่ 3 กลุ่ม ได้แก่

1.พันธุ์ชนิดหวาน (Sweet type) เป็นมันสำปะหลังที่มีปริมาณกรดไฮโดรไซยานิก (HCN)ต่ำ เป็นพันธุ์ที่ใช้หัวเพื่อการบริโภคได้โดยตรง รสไม่ขม มีทั้งชนิดเนื้อร่วน นุ่มและชนิดเนื้อเหนียวแน่น นิยมนำมาเชื่อม ปิ้ง เผา ไม่มีการปลูกเป็นพื้นที่ใหญ่ ๆ เนื่องจากมีตลาดจำกัด  ในประเทศไทยมีพันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่ พันธุ์ห้านาที และ พันธุ์ระยอง 2 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่กรมวิชาการเกษตรปรับปรุงขึ้น พันธุ์นี้สังเกตได้ที่ก้านใบมีสีแดงเข้ม ทั้งก้าน และเปลือกของหัวขรุขระ มีสีน้ำตาล หัวมักมีสีออกเหลือง

2.พันธุ์ชนิดขม (Bitter type) เป็นมันสำปะหลังที่มีปริมาณกรดไฮโดรไซยานิก (HCN )สูงกว่าชนิดแรก และมีรสขมเนื้อหยาบ ไม่เหมาะสำหรับการบริโภคของมนุษย์หรือใช้หัวมันสดเลี้ยงสัตว์โดยตรง แต่เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่มีปริมาณแป้งสูง จึงนิยมใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปต่าง ๆ เช่น แป้งมัน มันเส้น มันอัดเม็ด และแอลกอฮอล์     การแปรรูปเป็นอาหารโดยใช้ความร้อน เช่น ตากแดด เผาและต้ม สามารถจะทำให้ไซยาไนด์แตกตัวหมดไป  ทำให้รสขมลดลงได้  ในประเทศไทย พันธุ์ชนิดขม เป็นพันธุ์ที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุด เพื่อส่งโรงงานอุตสาหกรรมนำไปแปรรูป เพื่อผลิตเป็นมันเส้น มันอัดเม็ด แป้งมัน และผลิตเอทานอลแอลกอฮอล์      ได้แก่ พันธุ์ระยอง 1  ระยอง 2  ระยอง 3  ระยอง 5  ระยอง 7  ระยอง 9   ระยอง 60  ระยอง 72  ระยอง 90  พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 และ พันธุ์ห้วยบง 60  ห้วยบง 80  ลักษณะประจำพันธุ์นี้ คือ ก้านใบมีสีเขียวอ่อนปนแดง หัวเรียบ มีสีขาว

3.พันธุ์ที่ใช้ประดับ  ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับตามสถานที่ต่างๆเพื่อความสวยงาม มีชื่อเรียกว่า มันด่าง เนื่องจากใบมีแถบสีขาวและเหลือง กระจายตามความยาวของใบ  และยังมีพันธุ์มันป่า ใช้ปลูกเพื่อให้ร่มเงา  เป็นไม้พุ่มขนาดกลางถึงใหญ่พบได้แบจังหวัดชลบุรี และระยอง (ที่มา : https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=18052)

6.การทำเกษตรผสมผสาน

ปัจจุบันอาชีพเกษตรกรรมยังคงมีความสำคัญกับประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งความโชคดีอย่างหนึ่งคือ เมื่อโลกพัฒนามากขึ้น ความทันสมัยต่าง ๆ รวมถึงแนวคิดดี ๆ ก็เกิดขึ้นเพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตและสร้างประโยชน์ให้กับบุคลากรในอาชีพได้อย่างเห็นผล เกษตรผสมผสานและไร่นาสวนผสม จึงถือเป็นอีกวิธีดี ๆ ที่จะช่วยสร้างความคุ้มค่าให้กับเกษตรกรให้ใช้งานพื้นที่เพาะปลูกของตนเองได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด

เกษตรผสมผสานและไร่นาสวนผสม เป็นการนำเอาส่วนผสมของการทำอาชีพเกษตรกรมารวมไว้อย่าน้อย 2 ประเภทขึ้นไป หรืออธิบายให้ง่ายกว่านั้นก็คือ การที่เกษตรกรทำงานมากกว่า 2 ชิ้นขึ้นไปภายในพื้นที่และช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งถ้าแยกความหมายของเกษตรผสมผสานก่อน ก็จะให้ข้อมูลได้ว่า เป็นการทำเกษตรในรูปแบบต่าง ๆ บนพื้นที่หนึ่ง ซึ่งมีมากกว่า 2 ประเภทขึ้นไปไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืชคนละชนิด การเลี้ยงสัตว์คนละประเภท เพื่อให้เกิดการเกื้อกูลระหว่างกัน และสร้างประโยชน์ให้กับเกษตรกรมากที่สุด ทั้งนี้ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานห่วงโซ่ที่มีความสัมพันธ์กันด้วย จะได้ประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่าย รวมถึงไม่ยุ่งยากในการดูแล ตัวอย่างง่าย ๆ เช่น การปลูกข้าวแล้วข้างคันนามีการทำเป็นบ่อเลี้ยงปลา, การเลี้ยงไก่เอาไว้บนบ่อปลา เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ถือเป็นแนวทางของเกษตรผสมผสานที่จะช่วยเพิ่มผลผลิตให้กับผู้ทำได้จริง บนพื้นฐานแห่งการใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่ามากที่สุด

ขณะที่ไร่นาส่วนผสมเองก็จะเน้นการปลูกพืชเป็นส่วนใหญ่แต่ไม่จำเป็นต้องปลูกในช่วงเวลาเดียวกันเสมอไป เช่น ช่วงฤดูข้าวก็มีการปลูกข้าวขายตามปกติ แต่เมื่อหมดการเก็บเกี่ยวไปแล้วอาจเปลี่ยนพื้นที่นาบริเวณนั้นเป็นไร่ถั่วลิสง, ไร่อ้อย, ไร่มันสำปะหลัง ฯลฯ เพื่อไม่เป็นการปล่อยพื้นที่ให้เกิดการรกร้างและขาดประโยชน์ไปโดยใช่เหตุ ส่วนใหญ่แล้วการทำไร่นาส่วนผสมจะเน้นดูเรื่องของความคุ้มค่าและราคาของพืชผลเป็นหลักสำคัญด้วย เช่น ปีนี้ราคามันสำปะหลังไม่ค่อยดี ก็อาจทำเป็นไร่ถั่วลิสงแทน เพราะสร้างรายได้มากกว่าเมื่อเทียบการลงทุนในปริมาณเท่า ๆ กัน เป็นต้น

นี่คือความหมายของเกษตรผสมผสานและไร่นาสวนผสมซึ่งจริง ๆ แล้วถ้ามองภาพให้กว้างขึ้นกว่านี้อีกจะพบว่า ทั้ง 2 ประเภทนี้มีความคล้ายคลังกันพอสมควรทีเดียว แก่นแท้ของความต้องการคือ พยายามทำให้เกิดความคุ้มค่าบนพื้นที่การเกษตรของตนเองมากที่สุด ขณะเดียวกันก็ต้องสร้างประโยชน์ในเชิงบวกด้วย ไม่ใช่แค่การมีพื้นที่แล้วทำตามความชอบ แต่ต้องอาศัยหลักการห่วงโซ่ และความต้องการของตลาดมาเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการพิจารณาว่าจะทำอย่างไรดีบ้าง

เกษตรผสมผสานและไร่นาสวนผสม สร้างประโยชน์ให้กับเกษตรกรในด้านไหนบ้าง

หลังจากเข้าใจความหมายและภาพรวมคร่าว ๆ ของทั้งเกษตรผสมผสานและไร่นาสวนผสมกันไปแล้ว คราวนี้จะมาแยกเป็นข้อ ๆ เพื่อให้เห็นภาพแบบชัดเจนไปเลยว่าหากเลือกทำการเกษตรทั้ง 2 แบบนี้ จะเกิดความคุ้มค่าและประโยชน์ในด้านใดกับเกษตรกรบ้าง

1.การใช้พื้นที่ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด

ข้อแรกนี้ถือว่าชัดเจนในความหมายอยู่แล้วกับการเปลี่ยนพื้นที่เดิม ๆ ซึ่งเคยปลูกหรือเลี้ยงสัตว์แค่ชนิดเดียวมาเป็นเกษตรผสมผสานและไร่นาสวนผสม เพราะจะช่วยให้ทุกพื้นที่ของเกษตรกรถูกใช้งานอย่างเหมาะสม คุ้มค่า ไม่ปล่อยแม้แต่จุดเล็ก ๆ ให้กลายเป็นพื้นที่ว่างเปล่า ไร้ประโยชน์

2.เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรได้มากขึ้น

เมื่อมีการสร้างผลผลิตที่มากขึ้นแม้มีอยู่บนพื้นที่เดียวกัน ย่อมสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรมากกว่าเดิมแบบไม่ต้องมีข้อสงสัยใด ๆ ทั้งสิ้น เช่น จากเดิมที่ชาวนามีแค่การทำนา เมื่อหมดหน้านาก็ว่าง ไม่มีงาน ไม่มีเงิน ก็สร้างรายได้จากการขายพืชไร่ชนิดอื่น ๆ แทน หรือ จากเดิมเป็นแค่สวนผักเล็ก ๆ แต่มีการเลี้ยงปลาเพิ่มในบ่อน้ำที่นำไปใช้รดน้ำผักทุกวัน แบบนี้ก็เท่ากับสร้างรายได้ 2 ช่องทางในเวลาเดียวกันไปเลย

3.สร้างแนวคิดวางแผนในการทำงานอย่างเหมาะสม

การจะเลือกทำเกษตรผสมผสานและไร่นาสวนผสมไม่ว่าชนิดใดก็ตามต้องมีการวางแผนให้รอบคอบก่อนเสมอ เพื่อเวลาลงมือทำไปแล้วจะพบว่าสอดคล้อง เป็นไปตามที่คาดหวังเอาไว้ เช่น ปลูกผักแต่ดันไปเลี้ยงไก่แบบนี้ก็มีโอกาสที่ไก่จะจิกผลผลิตตายหมด เป็นต้น การทำเกษตรในลักษณะที่ว่ามาจะช่วยให้รู้จักการวางแผนแบบเป็นขั้นตอน มองภาพออกว่าควรทำแบบไหน อย่างไร เพื่อให้ผลผลิตออกมาตรงกับที่ต้องการมากที่สุดนั่นเอง

เกษตรผสมผสานและไร่นาสวนผสม ถือเป็นแนวทางดี ๆ ที่จะช่วยให้เกษตรกรทุกคนลืมตาอ้าปากได้ดีขึ้นกว่าเดิม เพราะไม่ใช่แค่เรื่องของการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ แต่ยังมีรายได้เพิ่มเติมจากเคยมีแค่ทางเดียวแล้วต้องไปหารับจ้างทำงานแบกหาม ได้อยู่บนพื้นที่ของตนเอง ตื่นเช้ามาทำในสิ่งที่รัก อยู่กับธรรมชาติ สร้างความสุขเล็ก ๆ ในชีวิตให้เกิดขึ้นภายในครอบครัว อีกทั้งยังเห็นการเติบโตของผลผลิตที่เฝ้าเลี้ยงดูมาตั้งแต่แรก อาจบอกว่าเป็นชีวิตแบบพอเพียงที่ไม่ต้องมีเงินรวยล้นฟ้า แต่มีความสบายใจในทุก ๆ วันที่ได้ทำและเลี้ยงชีพแบบที่น่าพึงพอใจ (ที่มา : https://www.arda.or.th/knowledge_detail.php?id=45)

จะเห็นได้ว่าประชากรในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรและมีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารและเพื่อทางการค้า เช่น ไก่ เป็ด หมู วัว ควาย เป็นต้น ใน 1 ปี เกษตรกรจะปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์และก่อให้เกิดรายได้มากที่สุด โดยจะแบ่งที่ดินออกเป็นส่วน ๆ ตามความต้องการ เช่นจะมีการปลูกอ้อยไว้เพื่อส่งขายให้โรงงานน้ำตาลในพื้นที่ ปลูกข้าวเพื่อบริโภคและนำไปขายบางส่วน ปลูกยางพาราไว้เพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตตลอดทั้งปี ปลูกปาล์มน้ำมันและปลูกมันสำปะหลังเพื่อส่งให้โรงงานหรือสถานที่รับซื้อ อีกทั้งยังมีประชากรบางส่วนทำเกษตรแบบผสมผสานตามรอยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 อีกด้วย สิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนในชุมชนยังมีอีกหลากหลายสิ่งที่เรายังต้องศึกษาเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจให้มากขึ้นเพราะการใช้ชีวิตนั้นไม่ได้ง่ายเลย กว่าที่จะหาเงินมาเลี้ยงครอบครัวได้แต่ละบาทต้องแลกมาด้วยหยาดเหงื่อแรงกายทั้งสิ้น

อื่นๆ

เมนู