“โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้กับประเทศ”

หลักสูตร HS05 ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือนกันยายน 2564

      สวัสดีค่ะ ดิฉันนางสาววิลาวรรณ คณะรัมย์ กลุ่ม HS05 ประเภทบัณฑิตจบใหม่ (กพร)

ในช่วงวันที่ 20 สิงหาคม-19 กันยายน 2564 ดิฉันได้ปฏิบัติงานที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองหงส์
ซึ่งดิฉันได้ปฏิบัติงานทั้งในสำนักงานอำเภอหนองหงส์ ในการปฏิบัติงานในสำนักงานพัฒนาชุมชน ดิฉันมีหน้าที่หลักคือ
1 สนับสนุนการดำเนินงาน สำนักงานพัฒนาอำเภอหนองหงส์
2. รับสมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
3.จัดทำฐานข้อมูล และจัดทำทะเบียนข้อมูลการจัดเตรียมเอกสารในสำนักงานพัฒนาชุมชน,
4. คีย์ข้อมูลลงระบบเรื่องข้อมูลการเข้าถึงแหล่งทุน สำหรับประชาชนในหมู่บ้านที่มีกองทุนธรรมภิบาล ได้รับมอบหมายให้ทำ ตำบลเมืองฝ้าย 25 คน  ตำบลไทยสามัคคี 25 คน ตำบลหนองชัยศรี 25 คน ตำบลสระแก้ว 25 คน ตำบลเสาเดียว 25 คน ตำบลห้วยหิน 25 คน ตำบลสระทอง 25 คน รวมทั้งหมด 175 คน
รายละเอียดการคีย์บันทึกข้อมูลมีดังนี้
ส่วนที่ 1 การเข้าถึงแหล่งทุน จะมีให้กรอก
1.1 รายละเอียดข้อมูลส่วนตัว
1.2 รายละเอียดอาชีพ
1.3 อายุ
1.4 ความสามารถในการเข้าถึงแหล่งทุน รายได้ก่อนเข้าถึงแหล่งทุน (บาท) รายได้หลังเข้าถึงแหล่งทุน (บาท)
1.5 แหล่งเงินทุน
ส่วนที่ 2 รายละเอียดการออมและการลงทุน 2.1 รูปแบบการออมเงิน 2.2 รูปแบบการลงทุน
ส่วนที่ 3 สวัสดิการ
3.1 แหล่งที่มาและสวัสดิการที่ได้รับ
3.1.2  โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)
3.1.3  กองทุนหมู่บ้าน (กทบ.) 3.1.4  กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
3.1.5  กองทุนประกันสังคม
5. คีย์ข้อมูลแบบประเมินศักยภาพ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตามหลักธรรมมาภิบาล ได้รับมอบหมายให้ทำ ตำบลเมืองฝ้าย 5 คน  ตำบลไทยสามัคคี 5 คน ตำบลหนองชัยศรี 10 คน ตำบลสระแก้ว 10 คน ตำบลเสาเดียว 5 คน ตำบลห้วยหิน 5 คน ตำบลสระทอง 5 คน รวมทั้งหมด 45 คน รายละเอียดการคีย์บันทึกข้อมูลมีดังนี้
1) ให้เลือกจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่
2)กรอกระดับก่อนการพัฒนา
3) กรอกชื่อกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลืต(บ้าน/ตำบล)
4) กรอกจำนวนสมาชิกทั้งหมด
5) จำนวนเงินสัจจะทั้งหมด
6) จำนวนผู้กู้ทั้งหมด
7) จำนวนเงินกู้ทั้งหมด
8) ยอดคงเหลือ
9) สวัสดิการสมาชิก
10) เกณฑ์การประเมินศักยภาพฯและคำอธิบายแบบประเมินศักยภาพฯ มีให้กรอกว่าให้ผ่านหรือเปล่า รายละเอียดมีดังนี้
1) คณะกรรมการมีการประชุม ทุกเดือนและมีการบันทึกการ ประชุมทุกครั้ง
2) มีการส่งเงินสัจจะสะสมของ สมาชิกอย่างสม่ำเสมอ
3) มีการส่งชำระคืนเงินกู้ตาม สัญญา
4) มีการจัดกิจกรรมด้าน สาธารณประโยชน์ของกลุ่ม
5) มีการฝากถอนเงินผ่านระบบ สถาบันทางการเงินที่ถูกต้อง ตามกฎหมาย
6) มีการจัดทำทะบียนข้อมูลของ กลุ่ม/เอกสารหลักฐานทาง การเงิน/ระบบบัญชีครบถ้วน ถูกต้อง และ เป็นปัจจุบัน (ทะเบียนสมาชิกทะเบียนสัจจะ ทะเบียนลูกหนี้ทะเบียนเงินกู้ ทะเบียนคุมทรัพย์สิน ฯลฯ) มีการตรวจสอบบัญชีและ หลักฐานทางการเงิน อย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง
7) มีการจัดทำงบกำไร-ขาดทุน งบดุล และการรายงาน สถานะทางการเงินให้ กรรมการและสมาชิก ทราบปีละ 1 ครั้ง และติด ประกาศไว้ ณ ที่ทำการกลุ่ม
8) มีการจัดประชุมสามัญประจำปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และ มีสมาชิกเข้าร่วมประชุมใหญ่ สามัญ อย่างน้อยร้อยละ 75 ของครัวเรือนที่เป็นสมาชิก
9) มีระเบียบข้อบังคับเป็นลาย ลักษณ์อักษร เป็นปัจจุบัน
10) มีการเก็บดอกเบี้ยเงินกู้ใน อัตราที่ไม่เกินกฎหมายกำหนด (ร้อยละ 15 ต่อปี)
11) มีการพิจารณาเงินกู้ของ สมาชิกเป็นไปตามระเบียบ มีการตรวจสอบและมีหลักฐาน ให้ตรวจสอบชัดเจน
12) ให้บริการแก่สมาชิกด้วยความ รวดเร็ว และไม่เลือกปฏิบัติ
13) มีการส่งเสริมการออม ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนใน พื้นที่สมัครเข้าเป็นสมาชิก เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อ สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน ชุมชน
14) มีคณะกรรมการครบ 4 ฝ่าย และมีการแบ่งหน้าที่ ความรับผิดชอบของ คณะกรรมการเป็นลาย ลักษณ์อักษรและปฏิบัติ ตามบทบาทหน้าที่
15) มีการดำเนินงานโดยยึดหลัก คุณธรรม 5 ประการ1.ซื่อสัตย์ 2.เสียสละ 3.รับผิดชอบ 4.เห็นอกเห็นใจ และ 5.ไว้วางใจ
16) มีการจัดสรรผลกำไรและจัด ให้มีสวัสดิการชุมชนทุกปี
17) มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์
18) มีการจัดทำแผนการดำเนิน งาน/แผนบริหารความเสี่ยง /ประกันความเสี่ยงของกลุ่ม เป็นประจำทุกปีและสมาชิก ปฏิบัติตามแผนที่กำหนด
29) สมาชิกสามารถกู้เงินได้ตาม ความต้องการภายใต้ระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่ม์
20) มีกิจกรรมเครือข่ายที่ตอบ สนองความต้องการ ของสมาชิก

 

                                                                                                                       ระบบเรื่องข้อมูลการเข้าถึงแหล่งทุน

6.คีย์ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ)(จปฐ) คือ ข้อมูลในระดับครัวเรือนที่แสดงถึงสภาพความจากเป็นพื้นฐานของคนในครัวเรือนในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตที่ได้การหนดมาตรฐานขั้นต่างเอาไว้ว่า คนควรจะมีคุณภาพชีวิตในแต่ละเรื่องอย่างไรในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆข้อมูลความจากเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นข้อมูลที่แสดงถึงลักษณะของสังคมไทยที่พึงประสงค์ตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่างของเครื่องชี้วัดว่า อย่างน้อยคนไทยควรจะมีระดับความเป็นอยู่ไม่ต่างกว่าระดับไหนในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆและทำให้ประชาชนสามารถทราบได้ด้วยตนเองว่าในขณะนี้คุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว รวมไปถึงหมู่บ้าน/ชุมชนอยู่ในระดับใด มีปัญหาที่จะต้องแก้ไขในเรื่องใดบ้าง เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว และสังคม อันเป็นนโยบายสำคัญในการพัฒนาประเทศ

1 หลักการของข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน
1.ใช้เครื่องชี้วัดความจำเป็นพื้นฐานเป็นเครื่องมือของกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชนเพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน ทราบถึงสภาพความเป็นอยู่ของตนเองและหมู่บ้าน/ชุมชนว่าบรรลุตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐานแล้วหรือไม่
2 ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา โดยผ่านกระบวนการความจำเป็นพื้นฐาน นับตั้งแต่การกำหนดปัญหาความต้องการที่แท้จริงของชุมชน ค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหา ตลอดจนการประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
3 ใช้ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานเป็นแนวทางในการคัดเลือกโครงการ กิจกรรมต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่แท้จริงของหมู่บ้าน/ชุมชน สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีการประสานระหว่างสาขาในด้านการปฏิบัติมากขึ้น
2 วัตถุประสงค์ของข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน”เพื่อให้ประชาชนสามารถพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของตนเอง และครอบครัวให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี อย่างน้อยผ่านเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน โดยมีเครื่องชี้วัดความจำเป็นพื้นฐานเป็นเครื่องมือ”

3 ประโยชน์ของข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน
3.1 ประชาชน จะได้ทราบข้อมูลสถานการณ์คุณภาพชีวิตของตนเอง และครัวเรือน และสามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้ด้วยตนเอง ตัวอย่างเช่น การดูแลสุขภาพอนามัย ความเป็นอยู่ และความปลอดภัยของสมาชิกครัวเรือน ฯลฯ
3.2 ประชาชน สามารถเข้าถึงและได้รับสวัสดิการด้านต่าง ๆ จากรัฐ โดยเฉพาะการช่วยเหลือ สนับสนุนจากภาครัฐอย่างทันท่วงที เมื่อได้รับผลกระทบจากสาธารณภัยหรือภัยพิบัติ เพราะได้ให้ข้อมูลของตนเองไว้กับภาครัฐ
3.3 คณะกรรมการหมู่บ้าน องค์กร หรือกลุ่มภายในหมู่บ้าน/ชุมชน จะได้ทราบและมีข้อมูสถานการณ์คุณภาพชีวิตของประชาชน ครัวเรือน และหมู่บ้าน/ชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อจะได้นำไปใช้ในการวางแผนกำหนดกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
3.4 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จะได้ทราบและมีข้อมูลสถานการณ์คุณภาพชีวิตของประชาชน ครัวเรือน ชุมชน ตำบล อำเภอ จังหวัด ตลอดจนภาพรวมในระดับประเทศ เพื่อนำไปใช้กำหนดนโยบายวางแผนปฏิบัติการ กำหนดกิจกรรม เพื่อแก้ไขปัญหา และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
3.5 ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน กลุ่ม องค์กร หรือสถาบันที่เกี่ยวข้อง สามารถเข้าถึงประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายตามสภาพปัญหาได้อย่างทั่วถึง ทุกพื้นที่ เขตชนบทหรือเขตเมือง ทั้งในกรณีปกติและกรณีเร่งด่วน3.6 ภาคเอกชน สามารถนำข้อมูลในภาพรวมระดับหมู่บ้าน/ชุมชนขึ้นไป ไปใช้ในการตัดสินใจ และวางแผนทางธุรกิจ ซึ่งจะมีส่วนสนับสนุน ส่งเสริมการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอีกทางหนึ่ง
รายละเอียดการคีย์ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ)  มีดังนี้
1.บันทึกข้อมูลครัวเรือนนั้น ๆ
2.บันทึกถามตอบ มี 6 หมวด 32 ข้อ
หมวดที่ 1 สุขภาพ
หมวดที่ 2  สภาพแวดล้อม
หมวดที่ 3 การศึกษา
หมวดที่ 4 การมีงาทำรายได้
หมวดที่ 5 ค่านิยม
หมวดที่ 6 โควิด-19

                                                                                                            ระบบคีย์ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ)


ภาพการปฏิบัติงานสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองหงส์

ส่วนในการลงพื้นที่ประจำเดือน กันยายน 2564 ได้มีการงดทำกิจกรรมเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 อำเภอหนองหงส์มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 เป็นจำนวนมาก อำเภอหนองหงส์มีปิดหมู่บ้านตำบลเสาเดียวบางหมู่เนื่องจากมีผู้คนที่กลับมาจากกรุงเทพมหานครมาแล้วไม่กัดตัว นายอำเภอจึงได้สั่งปิดหมู่บ้านนั้นเป็นเวลา 14 วัน และอำเภอหนองหงส์ได้ร่วมกับโรงพยาบาลอำเภอหนองหงส์ฉีดวัคซีนให้กับคนในชุมชน ส่วนมาตรการป้องกัน
โควิด-19 ในที่ว่าการอำเภอหนองหงส์ข้างหน้าอำเภอมีการวัดอุณหภูมิ ลงทะเบียนก่อนเข้าอำเภอ และส่วนสำนักงานพัฒนาชุมชนมีมาตรการป้องกันก่อนเข้าห้องสำนักงานคือ มีเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ และสเปรย์แมงลักคาต้านโควิด -19 ให้บริการ ส่วนในการทำงานได้มีสวมหน้ากากอนามัยตลอดการทำงาน

                           
หน้าที่ว่าการอำเภอหนองหงส์                 จุดล้างมือแอลกอฮอล์สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองหงส์

สเปรย์แมงลักคาต้านโควิด -19 วิธีใช้ ฉีดเข้าลำคอ 6 ครั้ง จมูก 2 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น

ฉีดวัคซีนโควิด – 19 ณ โรงพยาบาลอำเภอหนองหงส์หนองหงส์

วิธีป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่
1.หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล เหนื่อยหอบ เจ็บคอ
2.หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง
3.สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่ออยู่ในที่สาธารณะระมัดระวังการสัมผัสพื้นผิวที่ไม่สะอาด และอาจมีเชื้อโรคเกาะอยู่ รวมถึงสิ่งที่มีคนจับบ่อยครั้ง เช่น ที่จับบน BTS, MRT, Airport Link ที่เปิด-ปิดประตูในรถ กลอนประตูต่าง ๆ ก๊อกน้ำ ราวบันได ฯลฯ เมื่อจับแล้วอย่าเอามือสัมผัสหน้า และข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ กระเป๋า ฯลฯ
4 ล้างมือให้สม่ำเสมอด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลอย่างน้อย 20 วินาที ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ไม่ต่ำกว่า 70% (ไม่ผสมน้ำ)
5.งดจับตา จมูก ปากขณะที่ไม่ได้ล้างมือ
6.หลีกเลี่ยงการใกล้ชิด สัมผัสสัตว์ต่าง ๆ โดยที่ไม่มีการป้องกัน
7.รับประทานอาหารสุก สะอาด ไม่ทานอาหารที่ทำจากสัตว์หายากสำหรับบุคลากรทางการแพทย์หรือผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 โดยตรง ควรใส่หน้ากากอนามัย หรือใส่แว่นตานิรภัย เพื่อป้องกันเชื้อในละอองฝอยจากเสมหะหรือสารคัดหลั่งเข้าตา

       

กล่าวโดยสรุป การปฏิบัติงานประจำเดือนกันยายน 2564 ในสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองหงส์ ส่วนมากจะเน้นจัดทำฐานข้อมูล คีย์ข้อมูลลงระบบเรื่องข้อมูลการเข้าถึงแหล่งทุน คีย์ข้อมูลแบบประเมินศักยภาพ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตามหลักธรรมมาภิบาล คีย์ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ) และ มีและสนับสนุนการดำเนินงานในสำนักงานพัฒนาอำเภอหนองหงส์จัดทำเอกสารที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งดิฉันได้เรียนรู้และได้รับประสบการณ์การทำงานที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

อื่นๆ

เมนู