“โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้กับประเทศ”

หลักสูตร HS05 การทอผ้าไหมขิดยกดอก เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนอย่างยั่งยืน

ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

“โครงการส่งเสริมการทอผ้าไหมลายขิดยกดอก เพื่อรักษาภูมิปัญญา และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจชุมชน”

ข้าพเจ้านางสาวเจนจิรา โจนประโคน ผู้ปฏิบัติงานประเภทนักศึกษา ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร HS05 : การทอผ้าไหมขิดยกดอก เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนอย่างยั่งยืน

         

วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมรับบัตรคิวเพื่อรับวัคซีนป้องกันไวรัส
โควิด-19 ที่สนามช้างอินเตอร์เนชันแนลเซอร์กิจ จังหวัดบุรีรัมย์ ในช่วงระยะเวลาที่รอรับบัตรคิวมีประชนชนในจังหวัดบุรีรัมย์จำนวนมากที่ต่างตื่นตัวต่อการระบาดของไวรัสโควิด-19 เดินทางไปเข้าคิวรับวัคซีนเป็นจำนวนมาก จนทำให้คิวรับวัคซีนต่อวันเต็มจำนวนในเวลาอันรวดเร็ว จากนั้นในวันถัดมาคือวันที่ 21 พฤษภาคม
พ.ศ. 2564  เป็นวันที่ต้องมีการรับวัคซีน โดยก่อนรับวัคซีนต้องมีการเตรียมร่างกายของผู้รับวัคซีนให้พร้อมด้วยการ งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ งดออกกำลังกายหนัก พักผ่อนให้เพียงพอ และดื่มน้ำมากๆทั้งก่อนและหลังฉีดวัคซีน ก่อนฉีดวัคซีนจะมีการตรวจร่างกายปกติ เช่น การวัดความดัน และซักประวัติต่างๆ จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวน การฉีดวัคซีนและเฝ้าดูอาการหลังฉีดวัคซีนเป็นระยะเวลาประมาณ 30 นาที เพื่อดูอาการข้างเคียงหลังจากรับวัคซีนเข้าสู่ร่างกายแล้ว ข้าพเจ้ามีอาการข้างเคียงเพียงเล็กน้อยจึงเดินทางกลับ

   

วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ในเวลา 09.00 – 15.00 น.  ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมฟังการบรรยายในโครงการส่งเสริมการทอผ้าไหมลายขิดยกดอก เพื่อรักษาภูมิปัญญา และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งจัดขึ้น ณ ห้องประชุมทานตะวัน อาคาร 25 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้รับเกียรติจากคุณจุฑามาศ ซารัมย์ นากยกองค์การบริหารว่วนตำบลเมืองแฝก เป็นประธานในพิธี คุณมัลลิกา ชัญถาวร วิทยากรการทอผ้าไหม
ขิดยกดอก ด้วยการระบาดของโรคโควิด 19 ในพื้นที่ปฏิบัติงาน การจัดอบรมรอบนี้จึงเป็นการบอกเล่าประสบการณ์ของวิทยากรในการประกอบอาชีพทอผ้าไหมขิดยกดอก จึงศึกษาหาข้อมูลเรื่องผ้าไหมลายขิด
ยกดอกที่คาดว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านดังต่อไปนี้

ผ้าทอลายขิด เป็นผ้าพื้นเมืองขึ้นชื่อของภาคอีสาน นับว่าเป็นศิลปะพื้นฐานที่สะท้อนให้เห็นภาพ ลักษณะ ลวดลาย และวิวัฒนาการของท้องถิ่นเดิมของไทยที่มีมาแต่โบราณ ชาวอีสานถือว่าในกระบวนการทอผ้าด้วยกันแล้ว การทอผ้าขิดต้องอาศัยความชำนาญและความมีชั้นเชิงทางฝีมือสูงกว่าการทอผ้าอย่างอื่น ๆ เพราะทอยากมาก มีเทคนิคการทอที่ซับซ้อนมากกว่าการทอผ้าธรรมดา เพราะต้องใช้เวลา ความอดทน และความละเอียดลออ มีกรรมวิธีที่ยุ่งยากทอได้ช้า และผู้ทอต้องมีประสบการณ์และพรสวรรค์ในการทอการทอผ้าลายขิด คือ การทอผ้าที่ทอแบบ “เก็บขิด” หรือ “เก็บดอก” เหมือนผ้าที่มีการปักดอก การทอผ้าดอกนี้ชาวอีสานเรียกกันว่า “การทอผ้าเก็บขิด” ลวดลายของขิดแต่ละลายจะมีรูปแบบที่สวยงาม มีความมันวาว นูนลอยออกมาบนผืนผ้า ชาวอีสานโดยทั่วไปนิยมทอผ้าขิดเพื่อทำเป็นหมอน สังเกตว่า ลวดลายขิดจะอยู่บริเวณส่วนกลางของตัวหมอน ส่วนหน้าหมอนนั้นนิยมเย็บปิดด้วยผ้าฝ้ายสีแดง ลวดลายหมอนขิดส่วนใหญ่ เป็นลวดลายที่ผู้ทอได้รับแรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความเชื่อ เช่น ลายแมงงอด ลายอึ่ง ลายช้าง ลายม้า ลายพญานาค ลายดอกแก้ว ลายดอกจันทร์ ลายตะเภาหลงเกาะ ลายขอ ลายสิงห์ ลายคชสีห์อองน้อย ลายแมงมุม ลายกาบ ลายหอปราสาท หรือธรรมาสน์ เป็นต้น แต่เดิมชาวภาคอีสานนิยมทอลวดลายขิดด้วยเส้นใยฝ้ายสีคราม

   

ส่วนปัจจุบันนิยมใช้สีสันสดใส และพัฒนาการย้อมด้วยสีธรรมชาติจากเปลือกไม้ ใบไม้ ผ้าลายขิดในภาคอีสาน นอกจากทอในกลุ่มภูไทหรือผู้ไทยและไทลาวอื่น ๆ แล้ว ยังทอในกลุ่มไทกูยหรือส่วย เขมร ในบริเวณภาคอีสานตอนล่างด้วยเช่นกัน โดยทอทั้งหมอนขิด ขิดหัวซิ่น ขิดตีนซิ่น สไบลายขิด และที่น่าสนใจ คือ ผ้าขาวม้าไหมเชิงขิด มีลักษณะการทอที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่ม คือ นิยมใช้เส้นไหมทอมากกว่าการใช้เส้นฝ้ายทอเหมือนกลุ่มอื่น ๆ

วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ในเวลา 09.00 – 15.00 น ณ โรงเรียนบ้านหนองยายพิมพ์ ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้เข้าร่วม “โครงการรวมใจปลูกป่าปลูกธรรมะวันวิสาขบูชา 2564 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว” ซึ่งได้รับเกียรติจาก นางสาวเพชรรัตน์
ภูมาศ นายอำเภอนางรอง ปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์ มาเป็นเกียรติในการร่วมโครงการปลูกป่าในครั้งนี้ และได้รับการบริจาคพันธุ์กล้าไม้จากผู้ใจบุญทุกท่าน สถานที่ปลูกป่าคือด้านหลังโรงเรียนหนองยายพิมพ์ มีพื้นที่ 22 ไร่ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 การจัดโครงการปลูกป่าครั้งนี้ดำเนินกิจกรรมทั้งแบบ Online และ Onsite เพื่อดำเนินกิจกรรมให้บรรลุตามเป้าหมาย โดยภาคเช้าเป็นการฟังเสวนาชุมชน และ ในภาคบ่าย ได้เข้าร่วมปลูกป่า ซึ้งต้นไม้ที่ปลูกนั้น ได้แก่ ต้นกล้วย ต้นยางนา ต้นไผ่ ต้นประดู่ และต้นสัก

เนื่องจากโลกไม้เพื่อนปัจจุบันนั้นเริ่มมีอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นมากทุกปีและมีการใช้ต้นไม้มากขึ้นทุกปีเช่น การนำมาทำไม้ที่อยู่อาศัย  การโล๊ะพื้นที่ป่าไม้มาทำการเกษตรและทำเป็นสร้างเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากและยังทำเป็นโรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศทั้งในประเทศ ป่าไม้เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญยิ่งของประเทศ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมแต่ผลจากการพัฒนาเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และเทคโนโลยีของประเทศไทยที่ผ่านมา ทำให้มีความต้องการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรของประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงได้มีการบุกรุกทาลายป่าอย่างรุนแรงทำให้พื้นที่ป่าไม้ลดลงเป็นจำนวนมาก ส่งผลเสียหายต่อประเทศเป็นอย่างมากในหลาย ๆ ด้าน ทั้งในเรื่องการขาดแคลนไม้ใช้สอยภายในประเทศ และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดภาวะโลกร้อนและภัยพิบัติต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัญหาที่นานาประเทศตระหนักและมีการรณรงค์อย่างกว้างขวาง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าไม้ให้กลับคืนมาดังเดิมดังนั้นกลุ่มของเราจึงจัดโครงการปลูกป่ารักษาโลกขึ้นเพื่อรักษาพื้นป่าให้ดำรงไว้แก่ธรรมชาติต่อไป

1.ต้นไผ่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bambusa multiplex (Lour.) Raeusch.

ชื่อวงศ์ : Gramineae

ชื่อสามัญ : Hedge bamboo

ชื่อพื้นเมือง : ไผ่สร้าง ไผ่เชียงไพร ไผ่สร้างไพร เพ็ก

ชนิดพืช [Plant Type] : ไม้พุ่ม

ต้นไผ่ เป็นไม้ที่ขึ้นง่ายและเติบโตเร็ว ขึ้นได้ดีในทุกสภาวะอากาศดำรงอยู่ได้ในพื้นดินทุกชนิด ที่สำคัญคือ ไผ่เป็นพันธุ์ไม้ที่อำนวยประโยชน์หลายประการ ทั้งประโยชน์ทางตรงและทางอ้อม และเป็นพืชที่ลำต้นกิ่งมีลักษณะแปลกสวยงาม ไผ่เป็นไม้ที่ตายยาก ถ้าไผ่ออกดอกเมื่อใดจึงจะตาย แต่ก็ยากมากและนานมากที่ไผ่จะออกดอก ไม้ไผ่มีประโยชน์มากกับคนเราคนเราสามารถนำไม้ไผ่มาสร้างบ้านที่อยู่อาศัย  และทำเครื่องจักสานอื่นๆอีกมากมายสำหรับไม่ไผ่นั้นใช้ได้ทุกส่วนตั้งแต่ หน่อ ลำต้น ใบ ราก เยื่อไผ่ ขุยไผ่ มีประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน  ในปัจจุบันเราสามารถนำไม้ไผ่มาจักรสานทำเป็นอาชีพหารายได้ให้แก่ครอบครัว และยังเป็นงานที่เราส่งออกไปขายอยู่นอกประเทศสำหรับคนไทยเราแล้ว งานที่ใช้ฝีมือถือว่าเป็นงานที่ประณีตระเอียดและสวยงามมาก

2.ต้นสัก

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ – Tectona grandis L.f.

ชื่ออื่นๆ – เซบ่ายี้, ปีฮือ, ปายี้, เป้อยี

ชื่ออื่นๆ (อังกฤษ) – Teak

ต้นไม้สัก เป็นไม้ผลัดใบขนาดใหญ่ มีลำต้นปลายตรง มักมีพูพอนบริเวณโคนต้น เรือนยอดกลม ลำต้นมีความสูงตั้งแต่ 20 เมตรขึ้นไป มีเปลือกหนาสีเทาหรือน้ำตาลอ่อน แกมเทา มีใบขนาดใหญ่ กว้าง 20-30 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอกมีขนาดเล็กสีขาวนวล ออกเป็นช่อขนาดใหญ่ บริเวณปลายกิ่งในช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคมผลสักรูปร่างค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง1-2 ซม. ผลหนึ่ง ๆจะมีเมล็ด 1-4 เมล็ดโดยทั่วไปมักจะเรียกผลสักว่า “เมล็ดสัก” ซึ่งเมื่อแก่จัดจะเป็นสีน้ำตาล ลักษณะเนื้อไม้สักจะมีสีน้ำตาลทอง (เรียกว่าสักทอง) ถึงสีน้ำตาลแก่ และมักจะมีเส้นสีน้ำตาลแก่แทรก (เรียกว่าสักทองลายดำ) เนื้อไม้มีเสี้ยนตรง เนื้อหยาบ แข็งปานกลาง เลื่อยไสกบ ตกแต่งง่ายไม่ค่อยยึดหดหรือบิดงอง่ายเหมือนไม้ชนิดอื่น มีความทนทานต่อการทำลายของมอดและปลวกตลอดจนเชื้อราได้ดี จึงมีความทนทาน ตามธรรมชาติสูง และมีลวดลายสวยงามในด้านการใช้ประโยชน์ไม้สัก

นอกจากการปลูกป่าแล้ว ยังมีอาหารเที่ยงให้แก่ผู้ร่วมกิจกรรมปลูกป่าได้รับประทาน ซึ่งเป็นอาหารที่เป็นฝีมือของชาวตำบลหนองยายพิมม์ ที่ทุกคนต่างตั้งหน้าตั้งตาบริการอย่างเต็มที่ และยังมีเมนูอาการที่หลากหลาย ได้แก่ ขนมจีนน้ำยา ก๋วยจั๊บ ลูกชิ้นทอด ส้มตำ ข้าวราดแกง ก๋วยเตี๋ยว และอีกหลาย ๆ เมนู ทั้งผู้ให้และผู้รับต่างมีความสุขทั้งสองฝ่าย ผู้ให้อิ่มเอมใจ ผู้รับอิ่มท้อง และตามมาด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะของผู้คนที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ มีตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้สูงอายุที่ได้มาร่วมทำกิจกรรมสร้างสรรค์อย่างเช่นการปลูกป่าในครั้งนี้

 

วันที่ 27-29 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่ม ให้ดำเนินการในส่วนของการจัดทำคลิปวีดิโอในหัวข้อ “รุกพื้นที่ เคลียร์เชื้อร้าย สร้างความปลอดภัยในชุมชน” การรณรงค์การฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนทั่วไป ข้าพเจ้าได้ดำเนินการตัดต่อคลิปวีดิโอประจำกลุ่มและได้ส่งให้อาจารย์ตรวจสอบความเหมาะสมและความถูกต้องก่อนที่จะนำไปเผยแพร่สู่สาธารณะ

    

การปฏิบัติหน้าที่ทุกหน้าเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและได้รับองค์ความต่าง ๆ จากที่มีอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นองค์ความรู้ในทางวิชาการ และองค์ความรู้ในทางลงมือปฏิบัติจริง ทุกกิจกรรมที่ข้าพเจ้าเข้าร่วม ได้รับคำปรึกษาจากอาจารย์ประจำกลุ่ม วิทยากรในการบรรยาย สมาชิกทุกคนในกลุ่ม และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นอย่างดี กิจกรรมก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ก่อให้เกิดการพัฒนาชุมชนจากองค์ความรู้หลาย ๆ องค์ความรู้ และจากความคิดของบุคคลหลายคนเพื่อให้ได้ผลการดำเนินงานที่เป็นหนึ่ง และสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นต่อไปในอนาคต

แหล่งที่มา https://sites.google.com/site/plukpapheuxraksalok/bth-thi1/thima-laea-khwam-sakhay-khxng-khorng-ngan

แหล่งที่มา https://sites.google.com/site/mimngkhl20chnid/tn-phi

 

 

อื่นๆ

เมนู