บทความประจำเดือน เมษายน 2564  กลุ่มหลักสูตร HS05                                                   การทอผ้าไหมขิดยกดอก เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนอย่างยั่งยืน วันที่ 3-6 เมษายน พ.ศ. 2564 ณ ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
ดิฉันนางสาวโสรญา หนองหาญ ประเภทประชาชน ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลจำนวน 1 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองไผ่ล้อม หมู่ที่ 11 อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 2 แบบ คือ แบบฟอร์ม 01 ข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน แบบฟอร์ม 02 ผลกระทบจากโรคโควิด-19
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ HS05 การทอผ้าไหมขิดยกดอก 
ในช่วงวันที่ 3-6 เมษายน 2564 ดิฉันเริ่มดำเนินการลงพื้นที่เพิ่มเติม ปฏิบัติงานเก็บข้อมูลแบบฟอร์ม 02 ผลกระทบจากโรคโควิด-19 ในพื้นที่ซึ่งได้รับผิดชอบ 1 หมู่บ้านคือได้แก่ บ้านหนองไผ่ล้อม หมู่ที่ 11 อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งประชาชนในชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในครั้งนี้ ดิฉันได้ประสานงานร่วมกับ อสม. และผู้ใหญ่บ้าน โดยในส่วนของการลงพื้นที่เก็บข้อมูลดิฉันสามารถเก็บข้อมูลได้ 120 ครัวเรือน และจะนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์และสรุปผลกับทางทีมงานอาจารย์ประจำหลักสูตร ร่วมกับทีมงานคนอื่นๆ

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่ของทั้ง 1 หมู่บ้าน หนองไผ่ล้อม 
ผลจากการลงเก็บข้อมูลในแต่ละชุมชนพบว่า ชาวบ้านในแต่ละชุมชน มีอาชีพหลัก คือ ทำนาและปลูกไร่อ้อย อาชีพเสริม คือ  การทอผ้า การค้าขาย เป็นต้น
ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลเป็นอย่างดี คนในชุมชนมีอัธยาศัยดีซึ่งการทำอาชีพเสริม สามารถนำไปขายสู่ตลาดชุมชนรักสัทธาบ้านหนองเก้าข่า ของตำบลเมืองแฝกจึงมีรายได้รายมาจุนเจือครอบครัวช่วงโควิด-19  ในการเก็บข้อมูลเป็นไปด้วยความราบรื่นได้รับข้อมูลที่สมบรูณ์และครบถ้วนเป็นอย่างมาก นอกจากนี้แล้วในชุมชนแห่งนี้มีหลากหลายกิจกรรมให้เรียนรู้และพัฒนาต่อยอดได้ไม่สิ้นสุด ทุกคนในชุมชนมีความสนใจการทอผ้าไหมขิดยกดอก และให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามเป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ชุมชนยังคงประสบปัญหาในด้าน การเงิน และ แหล่งน้ำเนื่องจากน้ำประปาขุ่นมาก นอกจากนี้ชุมชนยังประสบปัญหา ภัยแล้ง ซึ่งส่งผลให้ประชากรส่วนใหญ่ที่ประกอบอาชีพ ทำนาได้ผลผลิตไม่ดี  รวมไปถึงปัญหาน้ำไม่เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคในหน้าแล้ง ทำให้ไม่สะดวกต่อการใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นอีกปัญหาหนึ่งซึ่งนำมาในเรื่องของความปลอดภัยในการอุปโภคบริโภค ในส่วนของการแก้ไขและพัฒนา อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ ผู้นำชุมชนและประชากรในหมู่บ้าน ร่วมกันแก้ไขต่อไป

ผลจาการสำรวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19
ผลจากการเก็บข้อมูล พบว่า ชาวบ้านในชุมชนบ้านหนองไผ่ล้อม หมู่ที่ 11 รู้เกี่ยวกับโรคระบาดแต่ไม่รู้ถึงวิธีการป้องกันการแพร่เชื้อของโรคโควิค-19 เช่น การสวมหน้ากากอนามัย การกินอาหาร วิธีการล้างมือ การออกจากพื้นที่เสี่ยง การเว้นระยะห่าง ทำให้คนในชุมชนตื่นตระหนกในช่วงแรกที่มีโรคระบาดเข้ามาในจังหวัดส่งผลต่อการดำเนินชีวิต อาทิ การประกอบอาชีพค้าขายการเดินทางไปทำงานต่างพื้นที่ของคนในชุมชน
ปัญหาอุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา
ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในช่วงแรกๆปัญหาที่พบเจอในขณะลงพื้นที่เก็บข้อมูลนั้น คือ ประชาชน ชาวบ้านได้ออกไปประกอบอาชีพประจำวัน จึงมีข้อมูลครัวเรือนที่ตกสำรวจในครั้งนี้อยู่บ้าง อย่างไรก็ตามดิฉันได้ดำเนินงานประจำเดือนเมษายนที่ทางส่วนกลางได้มอบหมาย สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

 

อื่นๆ

เมนู