ข้าพเจ้า นายพงศธร ประสีระเตสัง ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ผู้เข้าร่วมปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ต.เมืองแฝก อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ประจำหลักสูตร HS05 : การทอผ้าไหมขิดยกดอก เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนอย่างยั่งยืน ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ โดยได้รับมอบหมายให้ลงปฏิบัติงานในพื้นที่บ้านหนองแวง หมู่ 4 ต.เมืองแฝก อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ เป็นพื้นที่รับผิดชอบ

     

 

 

 

 

     ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานรวมทั้งคณาจารย์ประจำหลักสูตร ได้ลงพื้นที่เป้าหมายและเข้าพบ นางจุฑามาศ ซารัมย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมือแฝก ในฐานะเจ้าของพื้นที่ เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13.00 น. เพื่อร่วมกันประชุมเกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินงาน วิธีการเก็บข้อมูลตามแบบฟอร์มที่กำหนด และการเตรียมความพร้อมในการลงพื้นที่ของทีมผู้ปฏิบัติงาน ในระหว่างวันที่ 10 – 18 กุมภาพันธ์ 2564 ตั้งแต่เวลา 09.00 น. – 18.00 น. ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่รับผิดชอบ ณ บ้านหนองแวง หมู่ 4 ต.เมืองแฝก อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ปฏิบัติงานด้านการสำรวจศักยภาพตำบล 16 เป้าหมาย ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร เช่น ทำนา ปลูกอ้อย ปลูกมันสำปะหลัง ทำสวนยางพารา เป็นต้น ส่วนอาชีพเสริม เช่น การปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ทอผ้า และรับจ้างทั่วไป เป็นต้น การปฏิบัติงานในครั้งนี้เป็นการลงพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน (01) และแบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 (02) โดยให้ประชาชนตอบแบบสอบถาม 01 และ 02 ด้วยความเป็นจริงทุกประการ เพื่อความถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานภาครัฐและประชาชน การลงพื้นที่ในครั้งนี้ผู้ปฏิบัติงานได้สอบถามเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านเพิ่มเติมด้วย รวมถึงการทำความเข้าใจในการลงทะเบียนโครงการต่าง ๆ ที่ภาครัฐมอบให้แก่ประชาชน เช่น โครงการเราชนะ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นต้น แต่ก็ยังมีประชาชนในพื้นที่บางรายซึ่งเป็นผู้สูงอายุไม่มีบุตรหลานดูแลที่ยังเข้าไม่ถึงสวัสดิการต่าง ๆ เหล่านี้ ซึ่งได้รับเพียงเบี้ยผู้สูงอายุและเบี้ยคนพิการเท่านั้น ประกอบกับมีโรคประจำตัว ความเจ็บไข้ได้ป่วยทำให้บางครั้งไม่มีเงินที่จะเข้าไปรักษาสุขภาพในตัวเมืองได้

     

     จากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลดังกล่าว พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน (01) ทำให้ทราบถึงปัญหา ความต้องการ และผลกระทบของชุมชนที่ประชาชนต้องการให้หน่วยงานภาครัฐปรับเปลี่ยนแก้ไขอย่างจริงจัง และแบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 (02) พบว่าประชาชนส่วนใหญ่นั้นประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักอยู่แล้ว ทำให้ไม่ได้รับผลกระทบในเรื่องการใช้ชีวิตประจำวันมากเท่าไหร่นัก การเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ เช่น การเดินทางไปต่างจังหวัด การจับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภคบริโภค การเดินทางเข้ารับการรักษา การบริการด้านสาธารณสุข อาจมีผลกระทบเล็กน้อยถึงปานกลาง ส่วนใหญ่ใช้บริการจากโรงพยาบาลประจำอำเภอ โรงพยาบาลประจำจังหวัด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (อนามัย) และคลินิกในตัวเมือง จากผลกระทบและโรคภัยที่เกิดขึ้นดังกล่าวทำให้ประชาชนตระหนักถึงความปลอดภัยด้านสุขภาพมากขึ้นโดยเฉพาะในสถานการณ์ของโรคโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้

 

 

 

อื่นๆ

เมนู