“โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้กับประเทศ”

หลักสูตร HS05 การทอผ้าไหมขิดยกดอก เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนอย่างยั่งยืน

ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

 

สวัสดีครับ กระผมนายพงศธร ประสีระเตสัง ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ปฏิบัติงานประจำตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร HS05 : การทอผ้าไหมขิดยกดอก เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนอย่างยั่งยืน ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) บัดนี้กระผมขออนุญาตรายงานการปฏิบัติงานประจำเดือน พฤศจิกายน 2564 นี้ ให้ทราบโดยทั่วกัน

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามแผนงานที่กำหนดไว้ แต่เนื่องจากในขณะนี้ทางภาครัฐได้มีมาตรการปลดล็อค ผ่อนคลายกิจกรรมบางกิจกรรมทางสังคมแล้ว รวมถึงการเปิดการเรียนการสอนได้ตามปกติ จึงทำให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และเพื่อให้การดำเนินงานในระยะเวลาที่ผ่านมามีผลเป็นรูปธรรมมากขึ้นและสอดคล้องกับแผนการปฏิบัติงาน กระผมจึงขอรายงานผลการปฏิบัติงานตามรายละเอียด ดังต่อไปนี้

เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2564 กระผมได้เข้าร่วมการอบโครงการเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “การตลาดในยุคดิจิทัล” ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมืองแฝก บ้านหนองครก ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งได้รับเกียรติจาก คุณปัณณทัต สระอุบล วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด และผู้ที่ได้รับใบรับรองจาก Google ด้านการตลาดดิจิทัล

การตลาด คือ กระบวนการของการสื่อสารคุณค่าของผลิตภัณฑ์หรือบริการไปยังลูกค้า การตลาดอาจถูกตีความว่าเป็นศิลปะแห่งการขายสินค้าหรือบริการในบางครั้ง แต่การขายสินค้าหรือบริการนั้นเป็นเพียงส่วนเล็กๆ ส่วนหนึ่งของการตลาด

ตลาด ในทางเศรษฐศาสตร์จะหมายถึง “กิจกรรม” การตกลงซื้อขายสินค้าและบริการรวมทั้งปัจจัยการผลิต ดังนั้นตลาดในความหมายนี้จะไม่ได้หมายถึงสถานที่เท่านั้น แต่จะหมายถึง การทำกิจกรรมการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ โดยที่ผู้ซื้อและผู้ขายอาจไม่ได้พบกันแต่สามารถติดต่อกันได้หรือมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนเกิดขึ้น

ตลาดในความหมายของบุคคลทั่วไป หมายถึงสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งที่มีผู้นำของไปขายแล้ว มีคนมาซื้อ เป็นสถานที่เพื่อแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าและบริการกัน เช่น ตลาดนัดสวนจตุจักร ตลาดขายอาหารสดทั่วไป ตลาดพาหุรัด ตลาดบางลำภู ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง และตลาดบางเขน เป็นต้น

แต่ในทางเศรษฐศาสตร์ คำว่า ตลาด มีความหมายกว้างกว่านั้น กล่าวคือ ตลาดเป็นขอบเขต การขายสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถติดต่อและทำความตกลงในการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันได้ ดังนั้นตลาดในความหมายทางเศรษฐศาสตร์จึงไม่ได้เน้นถึงสถานที่ที่ทำการซื้อขายกัน แม้ผู้ซื้อ และผู้ขายจะอยู่คนละมุมโลกและไม่มีสถานที่ซื้อขายกัน ก็อาจสร้างตลาดให้เกิดขึ้นได้โดยติดต่อซื้อขาย กันทางจดหมาย อีเมล โทรเลข โทรศัพท์ วิทยุ หรือทางโทรสารก็ได้ การซื้อขายโดยไม่ต้องมีตลาดเป็นตัวเป็นตน ไม่มีสถานที่ตั้งแน่นอนนี้ จึงทำให้สามารถขยายอาณาเขตการซื้อขายได้สะดวก ดังนั้นตลาดสินค้าและบริการบางอย่างจึงมีขอบเขตได้กว้างขวางทั่วโลกจึงเรียกว่า ตลาดโลก ตลาดโลกจึงมิได้ ตั้งอยู่ในที่หนึ่งที่ใด แต่เป็นเพียงการชี้ให้เห็นถึงสภาวะการค้าสินค้าต่างๆทั่วโลกว่าในขณะนั้นแต่ละประเทศทั่วโลกมีผลผลิตและมีความต้องการซื้อขายสินค้าชนิดใดกันมากน้อยเพียงใด

นอกจากนี้แล้ว ตลาดในทางเศรษฐศาสตร์ยังหมายความรวมถึงภาวะการตลาดด้วย เช่น การเกิดภาวะราคาข้าวตกต่ำ ภาวะราคาหุ้นตกต่ำ ราคาสินค้าถีบตัวสูงขึ้น ภาวะที่สินค้าขาดตลาด หรือภาวะที่มีสินค้าล้นตลาด

ความหมายของตลาดในทางเศรษฐศาสตร์จึงกว้างมากและพอสรุปได้ดังนี้ ตลาด หมายถึงสภาวการณ์ที่ผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อกันได้โดยสะดวก จนสามารถทำการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้ากันได้

 

การแบ่งตลาดตามลักษณะของการแข่งขันหรือเรียกว่าแบ่งตามจำนวนผู้ขายและลักษณะของ สินค้า การแบ่งตลาดตามวิธีนี้มีความใกล้เคียงความเป็นจริงมาก เพราะในความเป็นจริงนั้นจะมีผู้ซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก การแบ่งตามจำนวนผู้ขายย่อมจะแบ่งได้สะดวกกว่า สำหรับการวิเคราะห์ตลาด ของนักเศรษฐศาสตร์ก็มุ่งให้ความสนใจในการแบ่งตลาดตามวิธีนี้ด้วย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

          1) ตลาดที่มีการแข่งขันสมบูรณ์ (competitive market) หรืออาจเรียกว่าตลาดที่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ (perfect or pure competition) ตลาดประเภทนี้มีอยู่น้อยมากในโลกแห่งความเป็นจริง อาจกล่าวได้ว่าเป็นตลาดในอุดมคติ (ideal market) ของนักเศรษฐศาสตร์ ตลาดชนิดนี้เป็นตลาดที่ราคาสินค้าเกิดขึ้นจากแรงผลักดันของอุปสงค์และอุปทานโดยแท้จริง ไม่มีปัจจัยอื่นๆมาผลักดันในเรื่องราคา ลักษณะสำคัญของตลาดประเภทนี้ คือ

– มีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมาก (many buyers and sellers) แต่ละรายมีการซื้อขายเป็นส่วนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ซื้อและผู้ขายทั้งหมดในตลาด การซื้อขายสินค้าของผู้ซื้อหรือผู้ขายแต่ละรายไม่มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคาในตลาด กล่าวคือ ถึงแม้ผู้ซื้อหรือผู้ขายจะหยุดซื้อหรือขายสินค้าของตนก็จะไม่กระทบกระเทือนต่อปริมาณสินค้าทั้งหมดในตลาด เพราะผู้ซื้อหรือผู้ขายแต่ละคนจะซื้อสินค้าหรือขายสินค้าเป็นจำนวนเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณสินค้าทั้งหมดที่มีอยู่ในตลาด

– สินค้าที่ซื้อหรือขายจะต้องมีลักษณะเหมือนกัน (homogeneity) สามารถที่จะใช้แทนกันได้อย่างสมบูรณ์ในทรรศนะหรือสายตาของผู้ซื้อ ไม่ว่าจะซื้อสินค้าประเภทเดียวกันนี้จากผู้ขายคนใดก็ตามผู้ซื้อจะได้รับความพอใจเหมือนกัน เช่น ผงซักฟอก ถ้าตลาดมีการแข่งขันกันอย่างแท้จริงแล้ว ผู้ซื้อจะไม่มีความรู้สึกว่าผงซักฟอกแต่ละกล่องในตลาดมีความแตกต่างกัน คือใช้แทนกันได้สมบูรณ์ แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามที่ผู้ซื้อมีความรู้สึกว่าสินค้ามีความแตกต่าง เมื่อนั้นภาวะของความเป็นตลาดแข่งขันอย่างสมบูรณ์ก็จะหมดไป

– ผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องมีความรอบรู้ในภาวะของตลาดอย่างสมบูรณ์ คือ มีความรู้ภาวะของอุปสงค์ อุปทาน และราคาสินค้าในตลาด สินค้าชนิดใดมีอุปสงค์เป็นอย่างไร มีอุปทานเป็นอย่างไร ราคาสูงหรือต่ำก็สามารถจะทราบได้

– การติดต่อซื้อขายจะต้องกระทำได้โดยสะดวก หมายความว่าทั้งผู้ซื้อและผู้ขายสามารถทำการติดต่อค้าขายกันได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว รวมถึงการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตจะต้องเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็วด้วย

– หน่วยธุรกิจสามารถเข้าหรือออกจากธุรกิจการค้าโดยเสรี ตลาดประเภทนี้จะต้องไม่มีข้อจำกัดหรือข้อกีดขวางในการเข้ามาประกอบธุรกิจของนักธุรกิจรายใหม่ หมายความว่าหน่วยการผลิตใหม่ๆจะเข้ามาประกอบกิจการแข่งขันกับหน่วยธุรกิจที่มีอยู่ก่อนเมื่อใดก็ได้ หรือในทางตรงกันข้ามจะเลิกกิจการเมื่อใดก็ได้

          2)ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ (non-perfectcompetition market) เนื่องจากตลาดที่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์เป็นตลาดที่หาได้ยากเพราะเป็นตลาดในอุดมคติของนักเศรษฐศาสตร์ ตลาดตามสภาพที่แท้จริงในโลกนี้ส่วนใหญ่เป็นตลาดที่มีการแข่งขันไม่สมบูรณ์ ทั้งนี้เนื่องจากสินค้าที่ซื้อขายในท้องตลาดส่วนมากมีลักษณะไม่เหมือนกัน ทำให้ผู้ซื้อเกิดความพอใจสินค้าของผู้ขายคนหนึ่งมากกว่าอีกคนหนึ่ง นอกจากนี้ ผู้ซื้อหรือผู้ขายในธุรกิจมีน้อยเกินไปจนกระทั่งมีอิทธิพลเหนือราคาที่จำหน่าย กล่าวคือ แทนที่จะเป็นผู้ยอมรับปฏิบัติตามราคาตลาดก็กลับเป็นผู้กำหนดราคาเสียเอง สินค้าที่ซื้อขายในตลาดทั่วๆไปก็มักจะเคลื่อนย้ายไปยังที่ต่าง ๆ ไม่สะดวก เพราะถนนไม่ดีการติดต่อสื่อสารไม่ดี และอาจจะมีกฎหมายการห้ามส่งสินค้าเข้าออกนอกเขตอีกด้วย ประกอบกับผู้บริโภคไม่ค่อยจะรอบรู้ในสภาวะของตลาดอย่างดีจึงทำให้ตลาดเป็นตลาดที่มีการแข่งขันอย่างไม่สมบูรณ์

          ประเภทของตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์

          1) ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (monopolistic competition) ตลาดประเภทนี้มีลักษณะที่สำคัญ คือ มีผู้ซื้อและผู้ขายเป็นจำนวนมาก และทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต่างมีอิสระเต็มที่ในการที่จะวางนโยบายการขายและการซื้อของตนโดยไม่กระทบกระเทือนคนอื่น แต่สินค้าที่ผลิตมีลักษณะหรือมาตรฐานแตกต่างกันถือเป็นสินค้าอย่างเดียวกัน แต่ก็มีหลายตรา หลายยี่ห้อ การบรรจุหีบห่อ การโฆษณาต่างกัน เป็นเหตุให้ผู้ซื้อชอบหรือพึงใจในสินค้ายี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งโดยเฉพาะ ทำให้ผู้ขายสามารถกำหนดราคาสินค้าของตนได้ทั้ง ๆ ที่ผู้ขายในตลาดชนิดนี้ต้องแข่งขันกับผู้ขายรายอื่น เช่น สินค้าผงซักฟอก สบู่ ยาสีฟัน ฯลฯ

             2) ตลาดที่มีผู้ขายน้อยราย (oligopoly) ตลาดประเภทนี้จะมีผู้ขายเพียงไม่กี่ราย และผู้ขายแต่ละรายจะขายสินค้าเป็นจำนวนมาก เมื่อเทียบกับปริมาณสินค้าทั้งหมดในตลาด ถ้าหากว่า ผู้ขายรายใดเปลี่ยนราคาหรือนโยบายการผลิตและการขายแล้วก็จะกระทบกระเทือนต่อผู้ผลิตรายอื่น ๆ เช่น บริษัทผู้ขายน้ำมันในประเทศไทยซึ่งมีเพียงไม่กี่ราย ผู้ขายแต่ละบริษัทจะต้องวางนโยบายของตน ให้สอดคล้องกับนโยบายของบริษัทอื่นๆเพื่อที่จะดำเนินการค้าร่วมกันอย่างราบรื่น และผู้ขายทุกคน ก็มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคาและปริมาณสินค้าในตลาด ถ้าบริษัทใดเปลี่ยนนโยบายการขายย่อมมี ผลกระทบกระเทือนต่อสินค้าชนิดนั้น ๆทั้งหมด เช่น ถ้าบริษัทใดบริษัทหนึ่งลดราคา สินค้าของคู่แข่งขันก็จะลดราคาลงด้วยเพื่อรักษาระดับการขายไว้

             3) ตลาดผูกขาด (monopoly) คือตลาดที่มีผู้ขายอยู่เพียงคนเดียว ทำให้ผู้ขายมีอิทธิพลเหนือราคาและปริมาณสินค้าอย่างสมบูรณ์ในการที่จะเพิ่มหรือลดราคาและควบคุมจำนวนขายทั้งหมด (total supply) ได้ตามต้องการ ส่วนมากจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ใช้เงินลงทุนมาก มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้ธุรกิจขนาดเล็กรายอื่นๆไม่สามารถเข้ามาแข่งขันได้ ตลาดประเภทนี้ ได้แก่ บริษัทผลิตเครื่องบิน เครื่องจักรกล หรือกิจการสาธารณูปโภค เช่น การเดินรถประจำทาง โรงงาน ยาสูบ ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ เป็นต้น

การตลาดยุคดิจิทัล (Digital Marketing)

Digital Marketing ก็คือการโปรโมทสินค้าหรือแบรนด์ผ่านช่องทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคอย่าง Computer หรือ สมาร์ทโฟน โดยใช้ digital marketing channel เป็นช่องทางในการส่งข้อมูล เมื่อข้อมูลถูกส่งไปแล้ว ผู้ส่งสามารถรู้ผลตอบรับได้อย่างรวดเร็ว โดยผู้รับข้อความสามารถเข้าถึงข้อความได้จากทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ และสามารถรู้ได้ถึงผลตอบรับจากคนอื่นๆ ที่พูดถึงเกี่ยวกับแบรนด์เราและยิ่งเป็นเรื่องที่ไม่ดีด้วยแล้วจะยิ่งเกิดการบอกต่อพูดต่อเป็นจำนวนมากและลุกลามไปอย่างรวดเร็วจึงทำให้เกิดกระแสดราม่าต่าง ๆ ที่ทำให้แบรนด์ได้รับผลกระทบ จึงเป็นสิ่งที่นักการตลาดออนไลน์จะต้องคอยระวังและรับมือกับการทำ digital marketing เพื่อไม่ให้เกิดกระแสดราม่าและมีผลกระทบกับแบรนด์สินค้า หลักการสำคัญของ digital marketing คือ การทำให้ลูกค้ามาแสดงความคิดเห็น มีส่วนร่วมกับแบรนด์สินค้าเพื่อให้เกิดการบอกต่อและพูดถึงแบรนด์ นอกจากนี้ digital marketing ยังรวมไปถึงการทำ SEO SEM และการ Seeding ดังนั้นความท้าทายของนักการตลาดออนไลน์คือการเลือกใช้ digital marketing อย่างไรให้ได้ผล และมีประสิทธิภาพมากที่สุด ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับ digital marketing channel ในแบบต่าง ๆ กัน (ที่มา : https://kinnovation.co.th/online-marketing/digital-marketing)

        

ช่องทางในการทำ Digital Marketing ต่าง ๆ

  1. Facebook

ถือเป็น social media ที่มีผู้ใช้เป็นจำนวนมาก สามารถสร้างกลุ่มคนที่ชอบอะไรเหมือน ๆ กัน ให้มารวมกันไว้ในเพจสามารถสร้างความสัมพันธ์ภายในกลุ่ม นอกจากนี้ Facebook สามารถสร้างคอนเท้นท์ได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ข้อความ วิดีโอ และรูปภาพ ทำให้หลายคนเลือกที่จะใช้ Facebook ในการติดตามข่าวสารต่าง ๆ ถือเป็น digital marketing channel ที่มีผู้ใช้เป็นจำนวนมาก

  1. Youtube

เป็นอีกหนึ่ง digital marketing channel ที่สามารถสร้างคอนเท้นท์ในรูปแบบของ VDO และมีผู้ใช้เป็นจำนวนมากนอกจากจะดูคลิปวิดีโอได้แล้ว ยังสามารถสร้าง channel ของตัวเองเพื่อให้คนอื่นได้ติดตามได้อีกด้วย นอกจากนี้ Youtube สามารถแชร์ลิงค์มาที่ Facebook เพื่อเป็นการโปรโมทเพิ่มยอดวิว

  1. Instagram

เป็น digital marketing channel ที่มีผู้ใช้เยอะ โดยเฉพาะดารา เซเล็บต่างๆ มักที่จะใช้ Instragram แทน Facebook เพราะส่วนใหญ่ content จะเป็นรูปภาพและวิดีโอ ทำให้สื่อสารได้ง่ายโดยไม่มีข้อความต่าง ๆ ที่เราไม่ต้องอ่านขึ้นมารบกวน

  1. E-mail

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในยุดสมัยของดิจิทัล คงไม่มีใครไม่มี e-mail เป็นของตัวเองเพราะ e-mail เปรียบเหมือนกุญแจที่จะพาทุกท่านเข้ามาสู่โลกอ่อนไลน์ และ e-mail ก็เป็นอีกหนึ่ง digital marketing channel ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่และเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์กลับกลุ่มลูกค้าเก่าได้ และยังช่วยในการโปรโมท digital marketing channel อื่น ๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย

นี่เป็นเพียงแค่บางส่วนของ digital marketing channel ที่จะช่วยในการโปรโมทสินค้าและเพิ่มการรับรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย แต่การที่จะทำให้ประสบความสำเร็จนั้นจำเป็นจะต้องมีแผนกลยุทธ์ที่ดีเพราะถ้าไม่มีแผนก็จะไม่สามารถรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่เราทำสำเร็จ

THAILAND 4.0

“Thailand 4.0” เป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย หรือ โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล ภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่เข้ามาบริหารประเทศบนวิสัยทัศน์ที่ ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ที่มีภารกิจสำคัญในการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ เพื่อปรับแก้ จัดระบบ ปรับทิศทาง และสร้างหนทางพัฒนาประเทศให้เจริญ สามารถรับมือกับโอกาสและภัยคุกคามแบบใหม่ ๆที่เปลี่ยนแปลงอย่างเร็วและ รุนแรงในศตวรรษที่ 21 ได้

“Thailand 4.0” เป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบาย ที่เปลี่ยนเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ได้แก่

1.เปลี่ยนจากการผลักดันสินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม

2.เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรมไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์

3.เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้าไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น

“Thailand 4.0” คือ ประเทศไทยในอดีตที่ผ่านมามีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ยุคแรก

ยุคแรก เรียกว่า “Thailand 1.0” เน้นการเกษตรเป็นหลัก เช่น ผลิตและขาย พืชไร่ พืชสวน หมู หมา กา ไก่ เป็นต้น

ยุคสอง เรียกว่า “Thailand 2.0” เน้นอุตสาหกรรมแต่เป็นอุตสาหกรรมเบา เช่น การผลิตและขายรองเท้า  เครื่องหนัง เครื่องดื่ม  เครื่องประดับ เครื่องเขียน กระเป๋า เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น

ปี 2559 จัดอยู่ในยุคที่สาม เรียกว่า “Thailand 3.0” เป็นอุตสาหกรรมหนักและการส่งออก เช่น การผลิตและขาย ส่งออกเหล็กกล้า รถยนต์ กลั่นนำมัน แยกก๊าซธรรมชาติ ปูนซีเมนต์ เป็นต้น แต่ ประเทศไทยในยุคที่ 1.0  2.0 และ 3.0 รายได้ประเทศยังอยู่ในระดับปานกลาง จึงต้องรีบพัฒนาเศรษฐกิจสร้างประเทศ

จึงเป็นเหตุให้นำไปสู่ยุคที่สี่ ให้รหัสใหม่ว่า “ประเทศไทย 4.0” ให้เป็นเศรษฐกิจใหม่ (New Engines of Growth) มีรายได้สูง โดยวางเป้าหมายให้เกิดภายใน 5-6 ปีนี้  คล้าย ๆ กับการวางภาพอนาคตทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนของประเทศที่พัฒนา เช่น สหรัฐอเมริกา “A Nation of Makers”  อังกฤษ “Design of Innovation” อินเดีย “Made in India” หรือ ประเทศเกาหลีใต้ที่วางโมเดลเศรษฐกิจในชื่อ “Creative Economy”

กลไกขับเคลื่อน (Engines of Growth) ชุดใหม่ ประกอบด้วย

          1) Productive Growth Engine

เป้าหมายสำคัญเพื่อปรับเปลี่ยนประเทศไทยสู่ประเทศที่มีรายได้สูง (High Income Country) ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ปัญญา เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ กลไกดังกล่าว ประกอบไปด้วย การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในรูปแบบประชารัฐ การบริหารจัดการสมัยใหม่ และการสร้างคลัสเตอร์ทางด้านเทคโนโลยี การพัฒนาขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนา การพัฒนาโมเดลธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม กิจการร่วมทุนรัฐและเอกชนในโครงการขนาดใหญ่ รวมถึงการบ่มเพาะธุรกิจด้านเทคโนโลยี เป็นต้น ซึ่งถือเป็นการตอบโจทย์ความพยายามในการก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ที่ไทยกำลังเผชิญอยู่

          2) Inclusive Growth Engine

เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์และเป็นการกระจายรายได้ โอกาส และความมั่งคั่งที่เกิดขึ้น โดยกลไกนี้ ประกอบด้วย การสร้างคลัสเตอร์เศรษฐกิจระดับกลุ่มจังหวัด  การพัฒนาเศรษฐกิจระดับฐานรากในชุมชน การส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม เพื่อตอบโจทย์ประเด็นปัญหาและความท้าทายทางสังคมในมิติต่างๆ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจ การส่งเสริมและสนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้มแข็งและสามารถ แข่งขันได้ในเวทีโลก การสร้างงานใหม่ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต การยกระดับขีดความสามารถ การเสริมสร้างทักษะและการเติมเต็มศักยภาพของประชาชนให้ทันกับพลวัตการ เปลี่ยนแปลงจากภายนอก และการจ่ายภาษีให้แก่ผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดแบบมีเงื่อนไข (Negative Income Tax) เพื่อแก้ไขกับดักความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

          3) Green Growth Engine

การสร้างความมั่งคั่งของไทยในอนาคต จะต้องคำนึงถึงการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบโจทย์การหลุดออกจากกับดักความไม่สมดุลของการพัฒนาระหว่างคนกับสภาพ แวดล้อม โดยกลไกนี้ประกอบด้วย  การมุ่งเน้นการใช้พลังงานทดแทน การปรับแนวคิดจากเดิมที่คำนึงถึงความได้เปรียบเรื่องต้นทุน (Cost Advantage) เป็นหลัก มาสู่การคำนึงถึงประโยชน์ที่ได้จากการลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นทั้งระบบ (Lost Advantage) หัวใจสำคัญอยู่ที่การพัฒนากระบวนการผลิตให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด อันจะเกิดประโยชน์กับประเทศและประชาคมโลกด้วยในเวลาเดียวกัน

ทั้ง 3 กลไกขับเคลื่อน ประเทศไทย 4.0 ถือเป็นการปฏิรูปประเทศไทยไปสู่ความมั่งคั่งอย่างมั่นคงและยั่งยืน เพื่อให้หลุดพ้นจากกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ซึ่งถือเป็นเปลี่ยนโมเดลเศรษฐกิจจากการพึ่งพาการลงทุนต่างประเทศ มีการลงทุนการวิจัยและพัฒนาตัวเองน้อยมากโดยมุ่งเน้นการพัฒนาการศึกษาคน สร้างการวิจัยและพัฒนา โครงสร้างเศรษฐกิจ ให้ไทยสามารถอยู่ได้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งรัฐบาลต้องกล้าพอที่จะถอดกับดักจากการดึงเงินลงทุนต่างประเทศ เอาเทคโนโลยีของต่างชาติมา และต้องยืนอยู่บนขาตัวเองในระดับหนึ่ง

โดยสรุป กระบวนทัศน์ในการพัฒนาประเทศภายใต้ “ประเทศไทย 4.0”  เป็นอีกนโยบายหนึ่งที่เป็นการวางรากฐานการพัฒนาประเทศในระยะยาว เป็นจุดเริ่มต้นในการขับเคลื่อนไปสู่การเป็นประเทศที่มั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน ตามวิสัยทัศน์รัฐบาล เป็นรูปแบบที่มีการผลักดันการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ การปฏิรูปการวิจัยและการพัฒนา และการปฏิรูปการศึกษาไปพร้อมๆ กัน  เป็นการผนึกกำลังของทุกภาคส่วนภายใต้แนวคิด “ประชารัฐ” ที่ผนึกกำลังกับเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ การวิจัยพัฒนา และบุคลากรทั้งในและระดับโลก

บทบาทของธุรกิจ E- Commerce

ในยุคปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นยุคสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ และมีการแข่งขันอย่างสูงในธุรกิจ กระแสโลกาภิวัฒน์และการเปิดเขตการค้าเสรีทำให้สถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งเกิดการแข่งขันมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ เพื่อความอยู่รอด จำเป็นต้องมุ่งแสวงหารายได้ โดยมุ่งดำเนินกิจการเพื่อธุรกิจหรือการพาณิชย์มากขึ้น ภาพลักษณ์ของการจัดการศึกษาจึงต้องถูกมองเป็นภาพธุรกิจการค้านักศึกษาถูกมองเป็นลูกค้ารายใหญ่ ทำอย่างไรลูกค้าจึงจะเข้ามาซื้อสินค้าหรือเข้ามาศึกษาต่อจำนวนมาก ๆต่างก็แข่งขันเพื่อแย่งชิงลูกค้า เทคโนโลยีสารเทศที่ทันสมัย จึงถูกนำมาเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการศึกษาได้อย่างมากคือ ในยุคที่มีการแข่งขันการอย่างรุนแรง ทำให้การค้าและการดำเนินธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงองค์กรต่าง ๆ เริ่มพยายามเปลี่ยนแปลงให้ก้าวทันสู่ยุคของการค้ารูปแบบใหม่ โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อเพิ่มช่องทางการค้าขาย การตลาดและการบริการไปสู่กลุ่มลูกค้าทั้งเก่าและใหม่เป็นการสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า คำว่า อีคอมเมิร์ซ (E-Commerce/Electronics Commerce)จัดเป็นทางเลือกที่ช่วยให้องค์กรหรือสถาบันการศึกษา ได้เปรียบคู่แข่งขัน

E-Commerce มีชื่อที่แปลเป็นภาษาไทยว่า “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” E-Commerce เป็นการทําธุรกรรมเชิงพาณิชย์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในทุก ๆ ช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ตเป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร [1]ถ้าจะกล่าวกันสั้นๆ ก็คือการทำ การค้า ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ นั่นเอง โดยคำว่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์ นั้นจะครอบคลุมตั้งแต่ ระดับเทคโนโลยีพื้นฐาน อาทิ โทรศัพท์ โทรสาร โทรทัศน์ไปจนถึงเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนกว่านี้ แต่ว่าในปัจจุบันสื่อที่เป็นที่นิยมและมีความแพร่หลายในการใช้งานคืออินเทอร์เน็ตและมีการนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการทำการค้ามาก จนทำให้เมื่อพูดถึงเรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าคือการทำการค้าผ่านอินเทอร์เน็ต นั่นเอง

ทำไมต้องขายสินค้าบนโลกออนไลน์

1.เทคโนโลยีถือเป็นปัจจัยหลัก

2.เป็นช่องทางใหม่สำหรับผู้ประกอบการ

3.เป็นตัวช่วยให้เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายและตรงกลุ่มเป้าหมาย

4.สังคมออนไลน์ถือเป็นสื่อหลักในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์

5.ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

ในประเทศไทยมีเว็บไซต์การตลาดออนไลน์มากมาย ตัวอย่างเช่น Amazon, Aleebaba, ตลาด.com, Lazada, Shoppy, Central เป็นต้น

ประเภทของผู้บริโภคออนไลน์

1.ต้องการประหยัดเวลา

2.หลีกเลี่ยงปัญหา

3.มีหัวก้าวหน้า ทันสมัย

4.ชอบท่องอินเทอร์เน็ต

5.เปรียบราคาและคุณภาพ

6.แสวงหาสิ่งแปลกใหม่

7.นิยมตรายี่ห้อ (Brand Name)

8.ชอบยกระดับคุณภาพชีวิต

 

หลังจากที่ผู้ปฏิบัติงานเข้ารับการอบรมการตลาดยุคดิจิทัลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทางกลุ่มผู้ปฏิบัติงานได้เดินทางไปติดตามการดำเนินโครงการการทอผ้าไหมลายขิดยกดอกที่มีผู้สนใจเรียนหลักสูตร ที่บ้านหนองไผ่ล้อม ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 2 คน และกำลังอยู่ในระหว่างการเรียนรู้การทอผ้าไหมลายขิดยกดอกจากวิทยากรผู้มีความรู้เฉพาะทาง ซึ่งกระผมได้สอบถามและเรียนรู้เพิ่มเติมจากผู้เข้าร่วมโครงการและวิทยากรเพื่อนำมาเรียบเรียงเป็นเนื้อหาต่อไป

 

 

 

 

 

ในช่วงบ่าย กลุ่มผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่วัดหนองเก้าข่า ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการเสริมสร้างความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ร่วมกับชุมชนและการทำความดี พัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชน โดยการพัฒนาและทำความสะอาดบริเวณวัดหนองเก้าข่า และได้ถวายอุปกรณ์ทำความสะอาดเพื่อทดแทนของเดิมที่ชำรุดให้แก่วัด

วันที่ 28 ตุลาคม 2564 กระผมได้เข้าร่วมเสวนาออนไลน์ เรื่อง “Quadruple Helix” จตุรภาคีสี่ประสาน สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยศูนย์ประสานงานชุมชนสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ดำเนินรายการโดย อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ และวิทยากรผู้ร่วมเสวนาได้แก่ รศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, รศ.ดร.ประสาท เนื่องเฉลิม กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คุณพ่อคำเดื่อง ภาษี ประธานกลุ่มปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์, นายณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย ประธานหอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์, นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา นายกเทศมนตรีตำบลอิสาณ การเข้าร่วมเสวนาในครั้งนี้กระผมได้นำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันและนำมาประยุคใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อใช้ในการพัฒนาชุมชนภายในพื้นที่ที่เราอาศัยอยู่ให้มีความอุดมสมบูรณ์อย่างรอบด้าน

อื่นๆ

เมนู