โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)“โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้กับประเทศ”

หลักสูตร HS05 การทอผ้าไหมขิดยกดอก เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนอย่างยั่งยืน

ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

             ข้าพเจ้านางสาวพัคคิณี คลังประโคน กลุ่มHS05 ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตรการทอผ้าไหมลายขิดยกดอก

             เนื่องจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้เข้าร่วมโครงการอบรม เรื่อง สุขอนามัยพื้นฐาน โดยข้าพเจ้าและเหล่าผู้ปฏิบัติงานรวมทั้งอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการในตำบลเมืองแฝก ได้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวโดยออกพื้นที่ไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมืองเเฝก อำเภอลำปลายมาศ  จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2564  โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการจัดกิจกรรมนี้ขึ้นมา คือ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้รู้สุขอนามัยพื้นฐาน สุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ และ 6 อ. เช่น อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ อนามัยสิงแวดล้อม อโรคยา และอบายมุข งดเว้นบุหรี่ สุรา ยาเสพติด การพนัน และการสำส่อนทางเพศ เป็นต้น

              กิจกรรม คือ ได้มีการเชิญบุคลากรทางการแพทย์ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมืองแฝก นางสาวณัฐชา ก่อเกียรตินพคุณ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการมาเป็นวิทยากรเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับ สุขอนามัยพื้นฐาน ได้แก่ รากฐานการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง เพื่อการมีสุขภาพกายที่แข็งแรง และสุขภาพจิตที่ดี ทั้งนี้เพื่อเป็นรากฐานในการใช้ชีวิตประจำวันของคนไทยทุกอายุ ตั้งแต่เด็กจนถึง ผู้สูงอายุสุขอนามัยพื้นฐาน

เสริมสร้างสุขภาพด้วย สุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ

              สุขบัญญัติ 10 ประการ คือ ข้อกำหนดที่เด็ก และเยาวชน รวมทั้งประชาชนทั่วไป ควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย เพราะผู้ที่ปฏิบัติตามสุขบัญญัติ 10 ประการ จะเป็นคนมีสุขภาพดี ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม ซึ่งจะส่งผลให้มีสุขภาพแข็งแรง มีสมรรถภาพในการเรียน การทำงาน และ สุขบัญญัติ 10 ประการ ยังช่วยให้มีภูมิต้านทานโรค ไม่เจ็บป่วยง่าย ๆ ด้วย สุขบัญญัติ 10  ประการ ประกอบด้วย

               1.ดูแลรักษาร่างกายและของใช้ให้สะอาด ทำได้โดยอาบน้ำทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และสระผมอย่างน้อย สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ตัดเล็บมือ เล็บเท้า ให้สั้นอยู่เสมอ เพื่อป้องกันเชื้อโรค ถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาทุกวัน ใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ไม่อับชื้น และให้ความอบอุ่นอย่างเพียงพอ จัดเก็บข้าวของเครื่องใช้ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย

               2.รักษาฟันให้แข็งแรง และแปรงฟันทุกวันอย่างถูกวิธี โดยการแปรงฟันทุกวันอย่างถูกวิธี อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือ เวลาเช้า และก่อนนอน การแปรงฟันควรเลือกใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงอ่อนนุ่ม เลือกยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ ควรเปลี่ยนแปรงสีฟันทุก 3 เดือน โดยมีวิธีแปรง ดังนี้

                          1. ฟันด้านนอก วางขนแปรงเข้าหาฟันให้ปลายขนแปรงอยู่บริเวณขอบเหงือก โดยเอียงทำมุม 45 องศา กับตัวฟันและขนานกับแนวฟันขยับขนแปรงไปมาในแนวหน้าหลัง เป็นระยะสั้นๆ ไม่เกินครึ่งซีฟันปัดขนแปรงขึ้นในฟันล่างและปัดลงสำหรับฟันบนในแต่ละตำแหน่งควรแปรงประมาณ 10 ครั้ง

                          2. ฟันด้านในวางขนแปรงบริเวณขอบเหงือกและแปรงฟันเช่นเดียวกับการแปรงฟันด้านนอก

                          3. ฟันด้านบดเคี้ยววางขนแปรงบริเวณด้านบดเคี้ยวของฟันโดยวางแปรงให้หน้าตัดขนแปรงอยู่ด้านบนของฟันบดเคี้ยวถูไปมาในแนวหน้าหลังทั้งฟันบนและฟันล่าง

                          4. ฟันหน้าด้านในวางแปรงสีฟันในแนวตั้งใช้ปลายแปรงสีฟันแปรงด้านหลังของฟันหน้าแต่ละซี่โดยขยับและปัดปลายขนแปรงมาทางปลายขอบฟันทั้งฟันหน้าบนและฟันหน้าล่าง

                          5. แปรงลิ้นอย่าลืมแปรงที่ลิ้นเพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์และป้องกันไม่ให้เกิดกลิ่นปากโดยการปัดขนแปรงสีฟัน จากโคนลิ้นมาทางปลายลิ้นประมาณ 10 ครั้งต่อจากนั้นใช้ไหมขัดฟัน ดึงไหมขัดฟันออกมา ความยาวประมาณ 18 นิ้ว ให้พันที่นิ้วกลาง ทั้ง 2 ข้าง ดึงให้ไหมขัดฟันตึงใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้จับไหมขัดฟันแล้วค่อยๆ เลื่อนเส้นไหมลงระหว่างซอกฟันโอบไหมขัดฟันรอบตัวฟันแต่ละซี่และเลื่อนเส้นไหมลงใต้เหงือกแล้วเคลื่อนไหมขึ้นไปทางปลายฟัน ทำซ้ำ 4 – 5 ครั้ง ขั้นตอนสุดท้ายถูหรือบ้วนปากก็จะสามารถลดโอกาสในการเกิดปัญหาต่างๆ ของสุขภาพช่องปากได้

                3.ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารและหลังการขับถ่าย คือ ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้ง ก่อนและหลังการเตรียม ปรุง และรับประทานอาหาร รวมทั้งหลังการขับถ่ายการป้องกันโรคติดต่อที่ง่าย และประหยัดที่สุด คงจะไม่มีวิธีใดที่ดีไปกว่า ‘การล้างมือ’ เพราะ ‘มือ’ เป็นอวัยวะสำคัญที่เราใช้สัมผัสผู้อื่น ใช้จับสัมผัสสิ่งของต่าง ๆ มากที่สุด จึงเสมือนเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเชื้อโรคจากภายนอกเข้าสู่ตัวเรา และเชื้อโรคจากร่างกายเราไปสู่ผู้อื่นได้ในเวลาเดียวกัน การหมั่นล้างมือด้วยสบู่จึงเป็นวิธีการง่าย ๆ ที่ทั้งสะดวก ประหยัด สามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ แต่ ปฏิเสธไม่ได้ว่าการล้างมือของคนทั่วไป มักจะล้างไม่สะอาดและไม่ทั่วถึง เพราะมักจะเคยชินกับการรีบล้างแค่ฝ่ามือ ไม่ได้ล้างในส่วนของปลายนิ้ว อันเป็นที่เป็นส่วนที่นำเชื้อโรคได้ดีที่สุด ดังนั้น จากคำแนะนำของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมืองแฝกมีวิธีการล้างมือเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดที่ถูกต้องควรล้างมือให้ครบ 7 ขั้นตอน และควรใช้เวลาอย่างน้อย 20 วินาที ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ฝ่ามือถูฝ่ามือ ล้างมือด้วยน้ำสะอาด ถูสบู่จนขึ้นฟอง หลังจากนั้นนำฝ่ามือทั้งสองข้างประกบกัน และถูวนให้ทั่ว

ขั้นตอนที่ 2 ถูหลังมือและซอกนิ้ว เพื่อฆ่าเชื้อโรคบริเวณมือและซอกนิ้วด้านหลัง โดยใช้ฝ่ามือถูบริเวณหลังมือ และซอกนิ้วสลับไปมาทั้งสองข้าง

ขั้นตอนที่ 3 ถูฝ่ามือและซอกนิ้ว นำมือทั้งสองข้างมาประกบกัน ถูฝ่ามือและซอกนิ้วด้านหน้าให้สะอาด

ขั้นตอนที่ 4 หลังนิ้วมือถูฝ่ามือ ให้นิ้วมือทั้งสองข้างงอเกี่ยวกัน ถูวนไปมา

ขั้นตอนที่ 5 ถูนิ้วและโคนนิ้วหัวแม่มือ กางนิ้วหัวแม่มือแยกออกมา ใช้ฝ่ามืออีกข้างกำรอบนิ้วหัวแม่มือ แล้วถูหมุนไปรอบ ๆ ทำสลับกันทั้งสองข้าง

ขั้นตอนที่ 6 ถูปลายนิ้วมือบนฝ่ามือ ให้แบมือแล้วใช้ปลายนิ้วมืออีกข้างถูวนเป็นวงกลม จากนั้นสลับข้างทำแบบเดียวกัน

ขั้นตอนที่ 7 ถูรอบข้อมือ กำมือรอบข้อมือข้างหนึ่ง ถูวนจนกว่าจะสะอาด หลังจากนั้นให้เปลี่ยนข้างทำแบบเดียวกับมือข้างแรก

                เพราะการล้างมือที่ถูกต้อง จะช่วยลดความเสี่ยง และแพร่กระจายของโรคติดต่อหลายโรค ดังนั้นจึงจำเป็นต้องล้างมืออย่างถูกวิธี ทุกคนควรหันมาใส่ใจกับการล้างมือด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้ง ทั้งก่อน – หลัง ทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น  ทุกครั้งก่อนและหลังรับประทานอาหาร เตรียมอาหาร หรือปอกผลไม้ หลังการใช้ห้องน้ำ หลังการไอ จาม หรือไปสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย หลังสัมผัสหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยง หรือล้างมือหลังเสร็จกิจกรรมที่ทำให้มือสกปรก เป็นต้น เพื่อเป็นการป้องกันโรค และยังเป็นการรักษาสุขอนามัยให้สะอาดอยู่เสมอ อีกทั้งยังเป็นการปลูกฝังสุขนิสัยที่ดีในการล้างมือ เพียงเท่านี้เราก็สามารถป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ลดเสี่ยงการติดเชื้อ และลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้แล้ว

                4.กินอาหารสุก สะอาด ปราศจากสารอันตราย และหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด สีฉูดฉาด โดยการเลือกซื้ออาหารสด สะอาด ปลอดสารพิษ โดยคำนึงหลัก 3 ป คือ ประโยชน์ ปลอดภัย และประหยัดปรุงอาหารให้ถูกสุขลักษณะ และใช้เครื่องปรุงรสที่ถูกต้อง โดยคำนึงหลัก 3 ส คือ สงวนคุณค่า สุกเสมอ และสะอาดปลอดภัยทานอาหารที่มีการจัดเตรียม การประกอบอาหาร และใส่ในภาชนะที่สะอาดรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย รับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการทุกวันทานอาหารปรุงสุกใหม่ รวมทั้งใช้ช้อนกลางในการทานอาหารร่วมกันหลีกเลี่ยงทานอาหารสุกๆ ดิบๆ หรืออาหารรสจัด ของหมักดอง รวมทั้งอาหารใส่สีฉูดฉาด ดื่มน้ำสะอาดทุกวัน อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว ทานอาหารให้เป็นเวลา

                 5.งดสูบบุหรี่ สุรา สารเสพติด การพนัน และการสำส่อนทางเพศ ผู้ที่จะมีสุขภาพดีตามสุขบัญญัติ 10 ประการ ต้องงดสูบบุหรี่ งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดใช้สารเสพติด งดเล่นการพนัน นอกจากนี้ต้องส่งเสริมค่านิยม รักนวลสงวนตัว และมีคู่ครองเมื่อถึงวัยอันควร

                 6.สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น ทำได้โดยให้ทุกคนในครอบครัวช่วยกันทำงานบ้านสมาชิกทุกคนในครอบครัวควรปรึกษาหารือ และแสดงความคิดเห็นร่วมกันเผื่อแผ่น้ำใจให้กันและกันจัดกิจกรรมสนุกสนานร่วมกัน ชวนกันไปทำบุญ

                7.ป้องกันอุบัติภัยด้วยการไม่ประมาท ทำได้โดยระมัดระวังป้องกันอุบัติภัยที่อาจเกิดภายในบ้าน เช่น เตาแก๊ส ไฟฟ้า ของมีคม ธูปเทียนที่จุดบูชาพระ ฯลฯ ระมัดระวังในการป้องกันอุบัติภัยในที่สาธารณะ เช่น ปฏิบัติตามกฏของการจราจรทางบก ทางน้ำ ป้องกันอันตรายจากโรงฝึกงาน ห้องปฏิบัติการ เขตก่อสร้าง หลีกเลี่ยงการชุมนุมห้อมล้อม ในขณะเกิดอุบัติภัย

                8.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และตรวจสุขภาพประจำปี โดยการออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้งออกกำลังกายและเล่นกีฬาให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายและวัยตรวจสุขภาพประจำปีกับแพทย์ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

               9.ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ โดยการพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ อย่างต่ำ 8 ชั่วโมงจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน และที่ทำงานให้น่าอยู่ หาทางผ่อนคลายความเครียด เมื่อมีปัญหา หรือเรื่องไม่สบายใจรบกวน อาจหางานอดิเรกทำ ใช้เวลาว่างไปกับการอ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูภาพยนตร์ ช่วยเหลือผู้อื่นที่มีปัญหา

              10.มีสำนึกต่อส่วนรวมร่วมสร้างสรรค์สังคม เช่น กำจัดขยะภายในบ้าน และทิ้งขยะในที่รองรับหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เช่น โฟม พลาสติก สเปรย์ มีและใช้ส้วมที่ถูกสุขลักษณะกำจัดน้ำทิ้งในครัวเรือนและโรงเรียนด้วยวิธีที่ถูกต้องใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด อนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม เช่น ชุมชน ป่า น้ำ และสัตว์ป่า เป็นต้น

               สุขภาพกายที่ดี หมายถึง กายที่ร่างกายทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีตลอดไปได้ด้วยตนเองและสามารถป้องกันการเจ็บป่ายที่ เกิดขึ้นได้ด้วยการปฏิบัติตัวตามแนวทางสู่การมีสุขภาพดีเมื่อถึงเวลาเจ็บไข้ เราก็ต้องดูแลตนเอให้ดีเพื่อให้หายป่วยเร็วขึ้น หรือเพื่อบรรเทาอาการที่เป็นอยู่และลดอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ ส่วนการมีสุขภาพจิตที่ดีก็ส่งเสริมให้มีสุขภาพที่แข็งแรง หายจากการเจ็บป่วยได้เร็วขึ้นได้เช่นกัน

                 1.อาหาร กินอาหารโดยยึดหลักการกินให้หลากหลายชนิดมากที่สุด ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารประเภทไขมันและแป้งในปริมาณมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดโรคอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ ความดันโลหิตสูง และเบาหวานได้ ควรเน้นอาหารประเภทผักผลไม้ให้มากขึ้น

อาหาร 5 หมู่

                ตามหลักโภชนาการมีการแบ่งสารอาหารต่างๆ ออกเป็น 5 ประเภท หรือที่เรียกว่า “อาหาร 5 หมู่” ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีหน้าที่ในการเสริมสร้างความแข็งแรงให้ร่างกายในรูปแบบที่แตกต่างกัน แต่เมื่อมาประกอบรวมกันแล้ว จะทำให้อวัยวะตลอดถึงภูมิคุ้มกันภายในร่างกายทำงานเป็นปกติ สำหรับประเภท และประโยชน์ของอาหาร 5 หมู่ มีดังนี้

อาหารหมู่ที่ 1 : โปรตีน ได้แก่ อาหารประเภทเนื้อสัตว์ ปลา ไข่ นม ถั่ว สาหร่าย ธัญพืช ฯลฯ ประโยชน์ของโปรตีน ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหลอของร่างกาย มีภูมิต้านทานโรค ช่วยเสริมสร้างใยคอลลาเจนใต้ผิวหนัง และเชื่อมสมานเซลล์ให้ยึดติดกัน ควบคุมการทำงานของร่างกาย ทำให้เนื้อเยื่อ เซลล์ และระบบภูมิคุ้มกันสมดุล

อาหารหมู่ที่ 2 : คาร์โบไฮเดรต ได้แก่ อาหารประเภทแป้ง ข้าวชนิดต่างๆ เผือก มัน น้ำตาล ขนมปัง ฯลฯ ประโยชน์ของคาร์โบไฮเดรต ให้พลังงานแก่ร่างกาย ทำให้เรามีเรี่ยวแรงในการเคลื่อนไหวทำกิจกรรมต่างๆ ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ให้ความอบอุ่น และช่วยเผาผลาญไขมันในร่างกาย ช่วยให้สมองดึงกลูโคสมากระตุ้นทำงานอย่างสมดุล ทำให้อารมณ์ไม่แปรปรวนง่าย

อาหารหมู่ที่ 3 : เกลือแร่ ได้แก่ แร่ธาตุ รวมถึงพืชผัก ผักใบเขียว กากใย และผักที่มีผลสีต่างๆ ฯลฯประโยชน์ของเกลือแร่ ทำให้ผิวพรรณสดใส ลำไส้ทำงานได้ตามปกติ ส่งผลดีต่อระบบขับถ่าย สร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อโรค และทำให้อวัยวะร่างกายทำงานปกติ ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ กระดูก และฟันให้แข็งแรง

อาหารหมู่ที่ 4 : วิตามิน ได้แก่ ผลไม้จากธรรมชาติชนิดต่างๆ ประโยชน์ของวิตามินสร้างใยอาหารจากผลไม้ช่วยกระตุ้นระบบขับถ่าย และการย่อยอาหาร บำรุงผิวหนัง สุขภาพเหงือก และฟันให้แข็งแรง

อาหารหมู่ที่ 5 : ไขมัน ได้แก่ ไขมันจากพืช และสัตว์ เนย มาการีน ฯลฯ ประโยชน์ของไขมัน ป้องกันไม่ให้อวัยวะภายในร่างกายบาดเจ็บ ให้พลังงานและมอบความอบอุ่น ทำให้ร่างกายดึงพลังงานมาใช้ในยามจำเป็น ทำหน้าที่ช่วยดูดซึมวิตามินชนิดที่ละลายในไขมัน เพื่อนำไปเสริมสร้างการทำงานของร่างกาย ทำให้สุขภาพแข็งแรง มีภูมิคุ้มกัน ไม่เจ็บป่วยบ่อย

               อาหาร 5 หมู่มีความจำเป็นต่อร่างกายเป็นอย่างมาก ในแต่ละวันจึงควรบริโภคเมนูอาหาร 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายได้รับคุณค่าทางโภชนาการอย่างครบถ้วน หากกินอาหารไม่ครบ 5 หมู่เป็นประจำ ทำพฤติกรรมเช่นนี้ติดต่อกันนานๆ ก็จะทำให้ร่างกายไม่สมบูรณ์แข็งแรง ภูมิต้านทานต่ำ ผิวพรรณไม่สดใส ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพและโรคต่างๆ

                  2.ออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายครั้งละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3  ครั้ง อย่างสม่ำเสมอ

ประโยชน์โดยทั่วไปของการออกกำลังกาย

        1. ช่วยในการนอนหลับพักผ่อนที่ดีขึ้น การได้ออกกำลังทำให้คุณนอนหลับง่ายสบายและสนิทมากขึ้น เนื่องจากความเหนื่อยล้าและรู้สึกเพลียหลังการออกกำลังกาย เพราะร่างกายเสียพลังงานจากการเผาผลาญนั่นเอง ดังนั้นใครที่นอนไม่ค่อยหลับ การออกกำลังกายจะช่วยได้ดีทีเดียวเลยนะคะ เพราะคุณจะรู้สึกได้ถึงการเผาผลาญและรู้สึกได้นอนเต็มอิ่มตลอดคืนค่ะ

        2. บรรเทาอาการเจ็บปวดและอาการผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นบริเวณหัวเข่า ไหล่ หลัง

        3. มีสัดส่วนรูปร่างที่ดี การออกกำลังกายอย่างเหมาะสม จะทำให้รูปร่างของคุณดูดีขึ้นได้ จากผลการศึกษาเกี่ยวกับการออกกำลังกายและรูปลักษณ์ทางร่างกาย พบว่าการออกกำลังกายอย่างง่ายๆ โดยไม่คำนึงว่าคุณจะมีน้ำหนักหรือความแข็งแรงของร่ายกายมากเพียงใดนั้น จะช่วยทำให้คุณรู้สึกดีเกี่ยวกับรูปลักษณ์ของตัวเองได้ ซึ่งอาจเกิดจากการที่ร่างกายของคุณ ได้มีการหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกดีออกมาก็ได้

       4. กระตุ้นร่างกายให้กระปรี้กระเปร่า

       5. ลดไขมัน การออกกำลังกายเพียง 40 นาทีสองครั้งต่อสัปดาห์ก็เพียงพอที่จะหยุดความอ้วนลงพุง ที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ขนาดรอบเอวของผู้ที่ออกกำลังกายน้อยนั้นโดยเฉลี่ยแล้วจะเพิ่มมากขึ้นประมาณ 3 นิ้ว นอกจากนี้ การออกกำลังกายยังอาจลดระดับฮอร์โมนบางตัวได้ เช่น ฮอร์โมน Cortisol ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดการอ้วนลงพุง

       6. ป้องกันหวัดได้ การออกกำลังกายในระดับปานกลาง ช่วยในเรื่องระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของคุณได้ สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ

       7. ลดพุง การออกกำลังกายช่วยลดไขมันส่วนเกินได้ เนื่องจากการทำกิจกรรมดังกล่าวจะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มสูงขึ้น และการหายใจจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อลำไส้ ช่วยป้องกันอาการท้องผูกและการสะสมของแก๊สโดยการเร่งให้มีการย่อยอาหารเร็วขึ้น

       8. ป้องกันการเกิดภาวะสมองตื้อ การออกกำลังกายสามารถป้องกันการเกิดภาวะสมองตื้อในผู้สูงวัยได้มากเท่ากับผู้ที่อายุน้อยกว่าหลายปี โดยจะเห็นว่าการออกกำลังจะได้ประโยชน์ มีความสดชื่นมากขึ้น ทั้งยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการเจริญเติบโตของเซลล์สมองได้อีกด้วย

                 3.อารมณ์ อารมณ์มีความสัมพันธ์กับสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์มีผลต่อร่างกาย อารมณ์ดีส่งผลดีต่อสุขภาพ เช่น เมื่อมีความสุข ร่างกายจะหลั่งสารเอนโดฟิน ส่งผลให้ร่างกายต้องตื่นตัวกระชุ่มกระชวย ผ่อนคลายการทำงานของสมองจะดี หายป่วยเร็วขึ้น อายุยืนมากขึ้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าอารมณ์ไม่ดีจะส่งผลทำลายสุขภาพทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลง กินอาหารได้น้อย นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ หงุดหงิด ก้าวร้าว ความดันโลหิตสูง ดังนั้น การรู้จักควบคุมอารมณ์อย่างเหมาะสม มีผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจทำให้การดำรงชีวิตประจำวันมีความสุข

                 4.อนามัยสิ่งแวดล้อม สภาพแวดล้อมในบ้านที่ดีเอื้อต่อการมีสุขภาพดีของคนในครอบครัว ขณะเดียวกันก็ควรสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในชุมชนด้วย

                 5.อโรคยา หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีไขมันสูง ลดการกินอาหารรสจัด ไม่กินอาหารที่สุก ๆ ดิบๆ หรืออาหารที่มีสารปนเปื้อน การจัดการกับความเครียด โดยทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ การคาดเข็มขัดนิรภัยขณะขับรถยนต์ สวมหมวกกันน็อกขณะขับขี่มอเตอร์ไซค์

                 6.อบายมุข งดเว้นบุหรี่ สุรา ยาเสพติด การพนัน และการสำส่อนทางเพศ ซึ่งเป็นภัยร้ายแรงที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพกายและจิตใจ

                 ข้าพเจ้าคิดว่านอกจากการมีสุขภาพกายที่ดีแล้ว ยังต้องมีสุขภาพจิตที่ดี สุขภาพจิตที่ดี คือ มีจิตใจที่พร้อมเผชิญความไม่แน่นอนในชีวิต ด้วยการเรียนรู้ที่จะอยู่กับบุคลคลอื่นด้วยความรักการแบ่งปัน รู้จักการแบ่งเวลาให้เหมาะสมและมองโลกในแง่ดี ปรับตัวปรับใจได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมที่เป็นจริงได้

อ้างอิง :

สุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ http://dcil.kbu.ac.th

วิธีการล้างมือ https://www.nestle.co.th/th/nhw/nutrition/immunity/wash-hand-hygiene

หลัก 6 อ. ที่มา https://kaijeaw.com

วีดีโอปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม

อื่นๆ

เมนู