บทความการปฏิบัติงานเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)
เรื่อง ผ้าไหมไทย

ดิฉันนางสาวจิราพร สมุติรัมย์ เป็นผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชน ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตรHS05 การทอผ้าไหมขิดยกดอกเพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนอย่างยั่งยืน
พื้นที่ที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่คือบ้านหนองครก หมู่ 2 และบ้านหนองใหญ่ หมู่ 10 ซึ่งตอนนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่กำลังระบาดอย่างหนักในตอนนี้ทำให้การลงพื้นที่ของข้าพเจ้าไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเพราะคนในชุมชนต่างก็กลัวและทางชุมชนก็มีมาตรการการป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเข้มงวดเช่นกัน จากการที่ข้าพเจ้าสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการทอผ้าไหมขิดยกดอกทำให้ทราบว่าชาวบ้านในชุมชนบ้านหนองครกและบ้านหนองใหญ่ยังไม่มีชาวบ้านคนใดที่ทำผ้าไหมขิดยกดอกส่วนใหญ่เป็นการทอผ้าไหมธรรมดา จึงไม่มีใครที่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับผ้าไหมขิดยกดอกได้ แต่ก็ยังมีคนที่อยู่หมู่บ้านอื่นในตำบลเมืองแฝกที่ทำผ้าไหมขิดยกดอกอยู่บ้าง แต่เนื่องด้วยสถานการณ์ในตอนนี้ทำให้ไม่สามารถลงพื้นที่เก็บข้อมูลได้ ดังนั้นข้าพเจ้าจึงเลือกใช้วิธีการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลที่ได้จากอินเทอร์เนตเพื่อมาเผยแพร่ให้กับผู้ที่สนใจไว้ในบทความนี้ อย่างที่ทุกคนคงทราบดีอยู่แล้วถึงลักษณะไหมที่มีรูปแบบสวยงาม ทรงคุณค่า แต่จะดีกว่าถ้าเรารู้ประวัติความเป็นมาและประเภทของผ้าไหมในประเทศไทยของเรา

ประวัติความเป็นมาของผ้าไหม
ผ้าไหมไทย
 เป็นผ้าไหมซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างจากผ้าไหมทั่วไป กล่าวคือ มีแสงแวววาวเป็นมันเลื่อม เนื้อผ้าฟูไม่เรียบ อ่อนนุ่ม มีน้ำหนัก บางชนิดเป็นปุ่มปมอันเนื่องมาจากระดับคุณภาพซึ่งเกิดในกระบวนการผลิตแต่ก็ทำให้ได้รับความนิยมของคนบางกลุ่มเพราะดูแล้วมีความแปลกตา
ในปัจจุบันมีการนำเข้าวัตถุดิบเส้นไหม และเส้นใยสังเคราะห์จากต่างประเทศ ทั้งมีการนำเข้าถูกกฎหมายและลักลอบนำเข้าแบบผิดกฎหมาย ทำให้วัตถุเส้นไหมจึงมีทั้งคุณภาพได้มาตรฐานและคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานทำให้ผ้าไหมไทยมีคุณภาพต่ำลง กระนั้นผู้ผลิตก็ยังคงใช้ตราสัญลักษณ์ว่า “ผ้าไหมไทย” หรือ “Thai Silk” เพื่อการค้า ยังผลให้ผู้ซื้อทั้งของประเทศไทยและตลาดต่างประเทศไม่มั่นใจในคุณภาพของผ้าไหมไทย จากปัญหาดังกล่าวสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จึงทรงมีกระแสพระราชดำรัสให้หน่วยงานที่รับผิดชอบไปดำเนินการวิเคราะห์หาสาเหตุและแนวทางการแก้ไข
ปี พ.ศ. 2545 หน่วยงานซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับผ้าไหมไทย เช่น กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (หน่วยงานเดิมของกรมหม่อนไหม) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ และมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ร่วมกันจัดสัมมนาหาแนวทางแก้ไขจนได้ข้อสรุปเป็นมาตรการคุ้มครองไหมไทยและออกข้อบังคับในการผลิตผ้าไหมไทยโดยออกตราสัญลักษณ์รับรองคุณภาพผ้าไหมไทยไว้เป็นระดับต่างๆ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญลักษณ์นกยูงไทย ให้เป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพสำหรับผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยไว้ 4 ชนิด

1.นกยูงสีทอง(Royal Thai Silk)

2.นกยูงสีเงิน(Classic Thai Silk)

3.นกยูงสีน้ำเงิน(Thai silk)

4.นกยูงสีเขียว(Thai Silk Blend)

ทั้ง4ชนิดมีกระบวนการผลิตคนละแบบ ใช้ไหมคนละแบบ อีกทั้งลวดลายสีสันไม่เหมือนกัน

ผ้าไหมในแต่ละภูมิภาค
       ภาคเหนือ
– ผ้าจกแม่แจ่ม

– ผ้าจกเมืองลอง

– ผ้ายกมุกลับแล

– ผ้าไหมยกดอกลำพูน

– ซิ่นเมืองน่าน

       ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

– ผ้าโฮล

– ผ้าหางกระรอก

– ผ้าอัมปรม

– ผ้าละเบิก

– ซิ่นทิว

– ผ้าไหมลายสาเกต

– ผ้ากาบบัว

– ผ้าไหมมัดหมี่ชนบท

– ผ้าไหมลายลูกแก้วย้อมมะเกลือ

– ผ้ามัดหมี่ตีนแดง

– ผ้าไหมมัดหมี่ลายแก้วมุกดา

– ผ้าไหมลายหมี่คั่นขอนารี

– ผ้าแพรวา

– ผ้าไหมมัดหมี่ลายสร้อยดอกหมาก

– ผ้าสะมอ

– ผ้าอันลูนซีม

– ผ้าขิด

ภาคกลาง

– ผ้ายกมุกไทยวน จังหวัดสระบุรี

– ผ้าจกไทยวน จังหวัดราชบุรี

       ภาคใต้

– ผ้าจวนตานี

– ผ้าพุมเรียง

– ผ้ายกเมืองนคร

– ผ้าทอนาหมื่นศรี

จะเห็นได้ว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(ภาคอีสาน)มีผ้าไหมที่เยอะที่สุด รวมถึงผ้าไหมขิดด้วยและยังมีส่งออกผ้าไหมไทยไปไกลถึงต่างประเทศ ดังนั้นผ้าไหมไทยเราก็สามารถทำให้คนไทยทุกพื้นที่มีรายได้เพิ่มมากขึ้นจากการทอผ้าไหมบางคนถึงกลับยึดเป็นอาชีพหลักแบบจริงจังเพราะไม่ได้มีแค่ประเทศไทยประเทศเดียวที่นิยมใส่ผ้าถุงลายสวยงามๆสีสวยไม่เหมือนใคร ยังมีต่างประเทศที่นิยมอีกด้วย โดยมูลค่าการส่งผ้าไหมไทยไปต่างประเทศในปี พ.ศ. 2553 มูลค่าการส่งออกผ้าไหมของไทยมีประมาณ 683 ล้านบาท ตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดผ้าไหมใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของผ้าไหมไทย สุดท้ายแล้วขอให้ทุกท่านดูแลตัวเองและครอบครัวของท่านให้ปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ด้วยนะคะ เราต้องรอดไปด้วยกันค่ะ

 

 

อื่นๆ

เมนู