การสร้างมูลค่าจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
นางสาวธิดา คำหล้า
ประเภทประชาชน
พื้นที่ได้รับมอบหมาย บ้านบุก้านตง ม.12 ต.แสลงพัน
ข้าพเจ้านางสาวธิดา คำหล้า ประเภทประชาชน HS06 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์สรุปผลการปฏิบัติผลการทำงานในรอบเดือนที่ผ่านมาและได้วางแผนปฏิบัติงานในเดือนสิงหาคมดังนี้
ตามที่ข้าพเจ้าได้ทำการสำรวจข้อมูลพื้นฐานและสภาพบริบททั่วไปของหมู่บ้านบุก้านตงทั้งระดับบุคลและครัวเรือน โดยลงพื้นที่ ปฏิบัติงานช่วงกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม 2564 พบว่าผู้นำชุมชนและชาวบ้านในพื้นที่อยู่ในภาวะที่เฝ้าระวังและติดตามเรื่องการแพร่ระบาดของโควิด 19 ผู้นำและชาวบ้านมีการระมัดระวังและป้องกันเพิ่มมากยิ่งขึ้นเนื่องจากการระบาดที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้นทำให้ชุมชนได้รับผลกระทบมากกว่าเดิมส่งผลต่อการค้าขาย สินค้าทางการเกษตรเพราะชาวชุมชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมมีรายได้ลดลงไปมากส่งผลกระทบทั้งทางตรงละทางอ้อมและช่วงเดือนที่ผ่านชาวบ้านได้ทำการเพาะปลูกข้าว และหว่านเมล็ดหญ้าสำหรับสัตว์เลี้ยง ทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึนเพราะชาวบ้านต้องใช้เงินทุนในการทำเกษตร ในสภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำ
อย่างไรก็ตามภายใต้สภาวะเศรษฐกิจดังกล่าวทางด้านการพัฒนาชุมชนของโครงการยังคงต้องดำเนินต่อไปภายใต้สภาพปัญหา ซึ่งมีกระบวนการดำเนินการต่อไปดังนี้
1 .มีการประชาสัมพันธ์และรณรงค์การป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด 19 โดยการโดยการทำสบู่เหลวล้างมือ
2 .มีการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมอาชีพจากการเพาะเห็ดและแนวทางการสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดโดยทำหน้าที่เป็นผู้ร่วมศึกษาและรับการฝึกอบรมกับกลุ่มสมาชิกโดยมีรายละเอียดของกิจกรรมต่างๆในรอบเดือนที่ผ่านมาดังนี้
และมีการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมอาชีพจากการเพาะเห็ดฟางและการทำปุ๋ยอินทรีย์จากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลังโดยทำหน้าที่เป็นผู้ร่วมศึกษาและรับการฝึกอบรมกับสมาชิกในกลุ่มชาวบ้านค่อนข้างมีการระมัดระวังการป้องกันโรคเป็นอย่างดีมีกิจกรรมต่างๆในรอบเดือนตามลำดับดังนี้
1 .การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด 19 ด้วยการทำสบู่เหลวล้างมือ โดยมีสูตรและองค์ประกอบดังนี้
1.1 สาร AD 25 จำนวน 600 กรัม
1.2 N70 จำนวน 1000 กรัม
1.3 ผงข้นจำนวน 350 กรัม
1.4 สาร KD จำนวน 250 กรัม
1.5 น้ำผสมรวมกับสมุนไพรจำนวน 8000 มิลลิกรัม
1.6 สารกันเสียจำนวน 1 ออนซ์
1.7 น้ำหอมจำนวน1 ออนซ์
1.8 สีผสมอาหารจำนวนพอประมาณ
ซึ่งมีขั้นตอนวิธีทำดังนี้
1 นำสมุนไพรมาต้มให้เดือดแล้วกรองเอากากออก
2. นำสาร AD 25 N70 คนผสมให้เข้ากัน
3. นำน้ำสมุนไพรที่เตรียมไว้ใส่ผงข้น แล้วคนให้ละลายและเทส่วนผสมใส่ในสารที่เตรียมไว้ในข้อที่ 2
4. เติมสาร KD สารกันเสีย สีผสมอาหารและน้ำหอม แล้วคนให้เข้ากันจากนั้นเทบรรจุใส่ภาชนะ
2.การฝึกอบรมการสร้างอาชีพให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
โดยมีสมาชิกที่เข้าร่วมจำนวน 5 คน
จากตัวแทนสมาชิกครัวเรือนของบ้านบุก้านตง หมู่ที่12
ที่เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมอาชีพจากการเพาะเห็ดฟางและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลัง
รายชื่อสมาชิกในชุมชนที่เข้าร่วมจำนวน 5 ครัวเรือนดังนี้
1.นางไผ่ แสงสำโรง บ้านเลขที่ 133 ม. 12
2.นางวิไลรัตน์ เนียนสันเทียะ บ้านเลขที่ 6 ม. 12
3.นางอนงค์ ห้วยทอง บ้านเลขที่ 9 ม. 12
4.นางประยูร ภาคะ บ้านเลขที่ 29 ม. 12
5.นางสวรรค์ เนียนสันเทียะ บ้านเลขที่ 14 ม. 12
ผลการอบรมพบว่าชาวบ้านให้ความสนใจดี และพร้อมที่จะนำแนวทางไปปฏิบัติชื่อวิทยากรที่อบรมด้านเห็ดคือคุณภัทร ภูมรา และวิทยากรด้านการผลิตสบู่เหลวล้างมือชื่อคุณ ภัทรานิษฐ์ กุลพิเชษฐ์วนิช กรรมการ ผู้จัดการบริษัทบ้านเธอแอง กรุ๊ป จำกัด
3. ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาอาชีพ
3.1 อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นและเลือกต้นแบบในการพัฒนาชุมชน
3.2 ให้ติดตามให้คำแนะนำเชิงปฏิบัติ และการพัฒนากลุ่มสมาชิกเพื่อให้การทำงานบรรลุเป้าหมาย
3.3 สภาวะที่โควิด 19 ระบาดค่อนข้างหนักเป็นอุปสรรคทั้งการฝึกอบรมและการลงพื้นที่ภาคสนาม
3.4 เกษตรกรและผู้นำชุมชนยังคงกังวลใจในการระบาดของโควิด 19 เป็นอุปสรรคที่สำคัญในการลงพื้นที่ภาคสนาม
4. พัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน และแนวทางยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ (การแปรูปเห็ดชนิดต่างๆ)