รายงานประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564
นิสิต คำหล้า ประเภทประชาชน HS06
ตำบลแสลงพัน อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์
ข้าพเจ้านาย นิสิต คำหล้า ประเภทประชาชน HS06 ตำบลแสลงพัน อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ได้ทำการสำรวจข้อมูลพื้นฐานและวิเคราะห์หมู่บ้านบุก้านตงพัฒนาและวางแผนพัฒนาชุมชน โดยได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานในช่วงเวลา มิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม พบว่าสภาพของประชาชนในพื้นที่ยังอยู่ในภาวะการเฝ้าระวังเรื่องโรคโควิดแพร่ระบาด ระลอกที่ 4 ประกอบกับช่วงนี้สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างมาก เนื่องจากชาวบ้านอยู่ในสภาพผลกระทบจากการค้าขายทฝืดเคืองรุนแรง เพราะะเนื่องจากว่าการหมุนของระบบเงินในท้องถิ่นขาดแคลนที่ผลมาจากโรคระบาด จึงทำให้ระบบเศรษฐกิจเข้าสู่สภาวะชะงักงัน ประกอบกับช่วงนี้นี้เป็นการเริ่มฤดูแห่งการเพาะปลูกของเกษตรกร ทำให้ชาวบ้านต้องเตรียมแปลงเพาะปลูกข้าว พืชผัก และหญ้าอาหารสัตว์ เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ในสภาพเศรษฐกิจตกต่ำรุนแรง ชาวบ้านต้องดิ้นนรนมากกับสภาวะดังกล่าว ซึ่งกระบวนการเพาะปลูกต่างๆทำได้จำกัด เช่น การเตรียมดิน การควบคุมวัชพืช การใช้ปุ๋ย เป็นต้น อย่างไรก็ตามในด้านการพัฒนาชุมชนของโครงการยังคงดำเนินการต่อไปภายใต้สภาพดังปัญหาดังกล่าว ซึ่งมีกระบวนการดำเนินงานในรอบเดือนดังนี้ 1) การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิดด้วยการทำสบู่ล้างมือ 2) การอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมอาชีพจากการเพาะเห็ดและแนวทางการสร้างโรงเรือนเพาะเห็ด โดยทำหน้าที่เป็นผู้ร่วมศึกษาและรับการฝึกอบรมกับสมาชิกในกลุ่ม โดยมีรายละเอียดของกิจกรรมต่างๆในรอบเดือนมีตามลำดับดังนี้
1) การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิดด้วยการทำสบู่ล้างมือ โดยมีสูตรและองค์ประกอบและขั้นตอนในการทำดังนี้
1.1) สาร AD 25 จำนวน 600 กรัม
1.2) N70 จำนวน 1,000 กรัม
1.3) ผงข้น จำนวน 350 กรัม
1.4) สาร KD จำนวน 250 กรัม
1.5) น้ำบผสมรวมกับสมุนไพรจำนวน 8000 มิลลิกรัม
1.6) สารกันเสีย จำนวน 1 ออนซ์
1.7) น้ำหอม จำนวน 1 ออนซ์
1.8) สีผสมอาหาร จำนวนพอประมาณ
ขั้นตอนทำสบู่ล้างมือ
1) นำน้ำสมุนไพรต้มให้เดือด แล้วกรอกเอากากออก
2) นำสาร AD 25 และ N70 คนผสมให้เข้ากัน
3) นำน้ำสมุนไพรที่เตรียมไว้ใส่ผงข้น แล้วคนให้ละลาย ละเทผสมใส่ในสารที่เตรียมไว้ในข้อที่ 2
4) เติมสาร KD สารกันเสีย สีผสมอาหารและน้ำหอม แล้วคนให้เข้ากัน จากนั้นทำการบรรจุใส่ภาชนะ
ซึ่งภาพรวมของการฝึกอบรมพบว่าชาวบ้านให้ความสนใจค่อนข้างมาก ซึ่งในระดับตำบลนั้นเป็นภาพรวมของการฝึกอบรมเป็นที่น่าพอใจมาก ในส่วนชุมชนที่ข้าพเจ้ารับผิดชอบคือหมู่ที่ 16 บ้านบุก้านตงพัฒนานั้น พบว่าชาวบ้านที่รร่วมอบรมมีความสนใจในระดับดีมาก ในแง่การป้องกันหรือเฝ้าระวังเรื่องโรคโควิด-19 ระบาดในชุมชน รวมทั้งตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันตนเแงและครอบครัวได้ค่อนข้างดีมาก ซึ่งวิทยากรด้านการผลิตสบู่เหลวคือ คุณภัทรานิษฐ์ กุลพิเชษฐ์วณิช ผู้จัดการบริษัทบ้านเธอแอง กรุ๊ปส์
2) การฝึกอบรมการสร้างอาชีพให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายด้วยการผลิตเห็ด
ได้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมอาชีพจากการเพาะเห็ดที่วัดป่าบ้านแสลงพัน โดยมีสมาชิกที่เข้าร่วมจำนวน 5 คน จากตัวแทนสมาชิกครัวเรือนของบ้านบุก้านตงพัฒนาหมู่ที่ 16 ที่เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมอาชีพจากการเพาะเห็ด โดยมีข้าพเจ้าร่วมทำหน้าที่เป็นผู้ร่วมศึกษาและรับการฝึกอบรมร่วมกับสมาชิกในกลุ่ม 5 คนดังนี้
๑. นางเภา เสือซ่อนโพรง บ้านเลขที่ หมู่ที่ ๑๖
๒. นางเสาร์ จันโสดา บ้านเลขที่ หมู่ที่ ๑๖
๓. นางสาวพัชรีพร ภาคะ บ้านเลขที่ หมู่ที่ ๑๖
๔. นางอัมพร โพนรัตน์ บ้านเลขที่ หมู่ที่ ๑๖
๕. นางสาวพรจันทร์ บุญทอง บ้านเลขที่ หมู่ที่ ๑๖
ผลการอบรมพบว่าชาวบ้านให้ความสนใจดี สนใจแนวทางที่จะนำไปปฏิบัติซึ่งวิทยากรที่อบรมด้านเห็ดคือ คุณภัทร ภูมรา
3) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะการพัฒนาผลิตภัณฑ์
3.1) ปัญหาก่อนดำเนินกิจกรรมพร้อมแนวทางแก้ไข
– ปัญหาโรคโควิดระบาด แนวทางแก้ไขทำงานด้วยกลุ่มขนาดเล็ก ใช้เครือข่ายสมาชิกชุมชนเดียวกันช่วยประสานงานกัน
– ปัญหาจากการทีสมาชิกมีความสนใจมากเกินกว่ากำลังงบประมาณโครงการ แจ้งว่าถ้ามีโครงการต่อจะชวนร่วมโครงการในเฟสถัดไป
3.2) ปัญหาระหว่างดำเนินกิจกรรมพร้อมแนวทางแก้ไข
– ปัญหาโรคโควิดระบาด แนวทางแก้ไขทำงานด้วยกลุ่มขนาดเล็ก ใช้เครือข่ายสมาชิกชุมชนเดียวกันช่วยกันทำงานภาคสนาม
– ปัญหาแรงงานท้องถิ่นขาดแคลน สภาพสังคมผู้สูงอายุทำให้ขาดแคลนแรงงานในชุมชน ช่วยงานภาคสนาม
3.3) ปัญหาหลังดำเนินกิจกรรมพร้อมแนวทางแก้ไข
– สภาพการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ค่อนข้างมากเป็นอุปสรรคทั้งในฝึกการอบรมและการลงปฏิบัติการในภาคสนาม แนวทางแก้ไขคือใช้แนวทางจิตอาสา พัฒนาชุมชน
– อยู่ในสภาวะที่เกษตรกรและผู้นำชุมชนยังคงกังวลใจในการระบาดของโควิด-19 เป็นอุปสรรคที่สำคัญในการทำงาน ภาคสนามและจัดกิจกรรม เราควรติดตาม ให้คำแนะนำการปฏิบัติ และการพัฒนากลุ่มสมาชิกเพื่อให้เกิดการทำงานอย่างสอดประสานในพื้นที่เป้าหมาย แนวทางแก้ไขคือ ขอความร่วมมือและดำเนินการตามแบบเฝ้าระวังการระบาดของโรคโควิด-19 ด้วยความตระหนักรู้แบบรอบด้าน