ข้าพเจ้านาย นิสิต คำหล้า ประเภทประชาชน HS06 ตำบลแสลงพัน อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ได้ทำการสำรวจข้อมูลพื้นฐานและวิเคราะห์หมู่บ้านบุก้านตงพัฒนาและวางแผนพัฒนาชุมชน โดยได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานในช่วงเวลา พฤษภาคม –มิถุนายน พบว่าสภาพของประชาชนในพื้นที่ยังอยู่ในภาวะการเฝ้าระวังเรื่องโรคโควิดแพร่ระบาด ประกอบกับช่วงนี้สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างมาก เนื่องจากชาวบ้านอยู่ในสภาพผลกระทบจากการค้าขายที่ฝืดเคืองมาก เพราะเนื่องจากว่าการหมุนของระบบเงินในท้องถิ่นขาดแคลนที่ผลมาจากโรคระบาด จึงทำให้ระบบเศรษฐกิจเข้าสู่สภาวะชะงักงัน ประกอบกับช่วงนี้นี้เป็นการเริ่มฤดูแห่งการเพาะปลูกของเกษตรกร ทำให้ชาวบ้านต้องเตรียมแปลงเพาะปลูกข้าว พืชผัก และหญ้าอาหารสัตว์ เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ในสภาพเศรษฐกิจตกต่ำรุนแรง ชาวบ้านต้องดิ้นรนมากกับสภาวะดังกล่าว ซึ่งกระบวนการเพาะปลูกต่างๆทำได้จำกัด เช่น การเตรียมดิน การควบคุมวัชพืช การใช้ปุ๋ย เป็นต้น อย่างไรก็ตามในด้านการพัฒนาชุมชนของโครงการยังคงดำเนินการต่อไปภายใต้สภาพดังปัญหาดังกล่าว ซึ่งมีกระบวนการดำเนินงานในรอบเดือนดังนี้  1) มีการประชาสัมพันธ์และรณรงค์การป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด และการเชิญชวนให้ประชาชนลงทะเบียนเพื่อรับวัคซีน 2) มีการประชาสัมพันธ์และรณรงค์เชิญชวนประชาชนป้องกันการแพร่ระบาดและฉีดวัคซีน มีการอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมอาชีพจากการเพาะเห็ดฟางและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลัง โดยทำหน้าที่เป็นผู้ร่วมศึกษาและรับการฝึกอบรมกับสมาชิกในกลุ่ม คนในกลุ่มเป้าหมายสนใจการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้วัสดุเศษเหลือทางการเกษตรในการปรับปรุงระบบการผลิตทางการเกษตรตน ในด้านการจัดการป้องกันโรคโควิด-19 ชาวบ้านค่อนข้างมีการระมัดระวังป้องกันโรคเป็นอย่างดี โดยมีกิจกรรมต่างๆในรอบเดือนมีตามลำดับดังนี้

1) การประชาสัมพันธ์และรณรงค์การป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด และการเชิญชวนให้ประชาชนลงทะเบียนเพื่อรับวัคซีน ได้มีการประชาสัมพันธ์และรณรงค์เชิญชวนประชาชนป้องกันการแพร่ระบาดและฉีดวัคซีน โดยมีลำดับกิจกรรมดังนี้

1.1) การทำความสะอาดพื้นที่บริเวณสถานที่สาธารณะและที่มีประชาชนร่วมกันจำนวนมาก เช่น วัด ห้องน้ำวัด ศาลาาประชาคมหมู่บ้านแสลงพัน หมู่ที่ 14 การทำความสะอาดพื้นที่ การเช็ดถู ร่วมกับการรักษาระยะห่างทางสังคม

1.2) การทำวัสดุป้องกันการแพร่ระบาด เช่น สเปรย์แอลกอฮอล์ การทำสบู่ และการทำเจลแอลกอฮอล์แจกจ่ายประชาชนในพื้นที่หมู่บ้านแสลงพันหมู่ที่ 14 ร่วมกับผู้นำชุมชนในท้องถิ่นและ อสม. ของพื้นที่หมู่บ้านแสลงพัน หมู่ที่ 14 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

1.3) การเดินรณรงค์เชิญชวน  การติดป้ายประชาสัมพันธ์ จัดทำแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ การพูดเชิญชวนตามหลังคาเรือนต่าง ๆ กับชาวบ้านร่วมกับผู้นำชุมชนในท้องถิ่นและ อสม. ในพื้นที่หมู่บ้านแสลงพัน หมู่ที่ 14 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

 

2) การฝึกอบรมการสร้างอาชีพให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย

ได้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมอาชีพจากการเพาะเห็ดฟางและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลังที่ วัดป่าบ้านแสลงพัน โดยมีสมาชิกที่เข้าร่วมจำนวน 5 คน จากตัวแทนสมาชิกครัวเรือนของบ้านบุก้านตงพัฒนาหมู่ที่ 16  ที่เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมอาชีพจากการเพาะเห็ดฟางและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลัง โดยทำหน้าที่เป็นผู้ร่วมศึกษาและรับการฝึกอบรมร่วมกับสมาชิกในกลุ่ม 5 คนดังนี้

๑. นางเภา เสือซ่อนโพรง       บ้านเลขที่       หมู่ที่ ๑๖

๒. นางเสาร์ จันโสดา            บ้านเลขที่       หมู่ที่ ๑๖

๓. นางสาวพัชรีพร  ภาคะ      บ้านเลขที่       หมู่ที่ ๑๖

๔. นางอัมพร โพนรัตน์          บ้านเลขที่       หมู่ที่ ๑๖

๕. นางสาวพรจันทร์ บุญทอง    บ้านเลขที่       หมู่ที่ ๑๖

ผลการอบรมพบว่าชาวบ้านให้ความสนใจดี  สนใจแนวทางที่จะนำไปปฏิบัติซึ่งวิทยากรที่อบรมด้านเห็ดคือ คุณภัทร ภูมรา และวิทยากรด้านปุ๋ยคือ คุณอำนวย ศรีคล้าย

3) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาอาชีพ

3.1) อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นและเลือกต้นแบบในการพัฒนาในชุมชน

3.2) ควรติดตาม ให้คำแนะนำการปฏิบัติ และการพัฒนากลุ่มสมาชิกเพื่อให้เกิดการทำงานอย่างสอดประสานในพื้นที่เป้าหมาย

3.3) สภาพการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ค่อนข้างมากเป็นอุปสรรคทั้งในฝึกการอบรมและการลงปฏิบัติการในภาคสนาม

3.4) เกษตรกรและผู้นำชุมชนยังคงกังวลใจในการระบาดของโควิด-19 เป็นอุปสรรคที่สำคัญในการทำงาน ภาคสนาม

ภาพกิจกรรม

อื่นๆ

เมนู