ข้าพเจ้านางสาวธิดา คำหล้า ประเภทประชาชน HS06 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์สรุปผลการปฏิบัติผลการทำงานในรอบเดือนที่ผ่านมาและได้วางแผนปฏิบัติงานในเดือนพฤษภาคม ดังนี้
ได้ทำการสำรวจข้อมูลพื้นฐานและบริบททั่วไปของหมู่บ้านบุก้านตงทั้งระดับบุคลและครัวเรือน โดยลงพื้นที่ ปฏิบัติงานช่วงกลางเดือนมีนาคม ถึงกลางเดือนเมษายน 2564 ได้รวบรวมข้อมูล โดยมีกระบวนการวางแผนการปฏิบัติงานในเดือนเมษายนมีการติดตามผลการปฏิบัติงานและได้ทำการประชุมเพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในพื้นที่
ในการเก็บข้อมูลภาคสนามได้ทำการเก็บข้อมูลตามแบบ 01 และ 02 เพื่อทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลทั้งรายงานผลการปฏิบัติตามแบบ 01 และ 02 ผลจากการสัมภาษณ์คนในชุมชนบ้านบุก้านตง พบว่า คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนาเป็นหลัก ร่วมกับการปลูกผักสวนครัว และเลี้ยงสัตว์ ผักที่ปลูกอาทิเช่น บวบ ฟัก แฟง ผักบุ้ง เป็นต้น ส่วนสัตว์เลี้ยงได้แก่ วัว ควาย หมู เป็ด และไก่ และส่วนใหญ่ทุกครัวเรือนจะมีเศษวัสดุที่เหลือจากการเกษตรเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น เศษฟางข้าว เศษผัก ผลไม้ เศษอาหารในครัวเรือน รวมทั้งมีมูลสัตว์คือปุ๋ยคอก ซึ่งเหมาะแก่การพัฒนาเป็นอาชีพเพื่อสร้างรายได้ขับเคลื่อน ระบบเศรษฐกิจในครัวเรือนและในชุมชน ในส่วนพื้นที่ ต.แสลงพัน ระบบเศรษฐกิจเป็นการปลูกข้าวเป็นหลักตามด้วยการปลูกพืชผสมผสาน การทำน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพและสามารถนำมาทำเห็ดฟางได้ เพื่อเพิ่มมูลค่าเศษวัสดุเหลือใช้ และช่วยส่งเสริมในด้านการค้าขายและการบริโภคในครัวเรือนซึ่งช่วยสนับสนุนกิจกรรมในระบบเกษตรพอเพียงหรือสนับสนุนการทำเกษตรเพื่อพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
ข้าพเจ้าได้ดำเนินการประสานงานกับผู้นำชุมชนและเชิญชวนสมาชิกในชุมชนร่วมในกิจกรรมพัฒนาอาชีพโดยการเพาะเห็ดฟางจากเศษฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลัง และพัฒนาอาชีพโดยการผลิตปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ในครัวเรือนที่ช่วยให้ลดรายจ่ายและสามารถจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนสร้างรายได้จากวัตถุดิบในท้องถิ่นได้ ในครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้เชิญชวนสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาดังนี้
รายชื่อสมาชิกในชุมชนที่เข้าร่วมจำนวน 5 ครัวเรือนดังนี้
1.นางไผ่ แสงสำโรง บ้านเลขที่ 133 ม.12
2.นางวิไลรัตน์ เนียนสันเทียะ บ้านเลขที่ 6 ม. 12
3.นางอนงค์ ห้วยทอง . บ้านเลขที่ 9 ม. 12
4.นางประยูร ภาคะ บ้านเลขที่ 130/2 ม.12
5.นางสวัน เนียนสันเทียะ บ้านเลขที่ 14 ม. 12
แผนปฏิบัติงานในเดือนถัดไป (มิถุนายน)
1. จัดเก็บและบันทึกแหล่งข้อมูลสำคัญในภาคสนามในพื้นที่ให้ครบ 100%
2. จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นและเลือกต้นแบบในการพัฒนา
3. ติดตาม ให้คำแนะนำการปฏิบัติ และการพัฒนากลุ่มสมาชิกเพื่อให้เกิดการทำงานอย่างสอดประสานในพื้นที่เป้าหมาย
ปัญหาและอุปสรรค
1. สภาพการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ค่อนข้างมากเป็นอุปสรรคทั้งในฝึกการอบรม
2. เกษตรกรและผู้นำชุมชนมีมตรการที่เข้มข้นในการป้องกันระบาดของโควิด-19 เป็นอุปสรรคที่สำคัญในการทำงานในภาคสนาม

อื่นๆ

เมนู