รายงานผลการปฏิบัติรายงานประจำเดือนครั้งที่ 1 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
นายนิสิต คำหล้า
พื้นที่รับมอบหมาย บ้านบุก้านตงพัฒนา ม.16 ต.แสลงพัน
ข้าพเจ้านาย นิสิต คำหล้า ประเภทประชาชน HS06 ตำบลแสลงพัน อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ได้ลงประชุมวางแผนการปฏิบัติงานกับอาจารย์ประจำหลักสูตรเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13.30 น. ณ องค์การบริหารส่วนตำบลแสลงพัน เพื่อสำรวจข้อมูลพื้นฐานและบริบททั่วไปทั้ง ระดับบุคคล ครัวเรือน และชุมชนเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืนของชุมชนต่อไป ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงานเมื่อวันที่ 12-15 กุมภาพันธ์ 2564 เพื่อเก็บข้อมูลภาคสนาม
โดยการลงพื้นที่นั้นคนในชุมชนได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการให้ข้อมูล ข้าพเจ้าได้พูดคุยซักถามข้อมูลถึงความเป็นมาของหมู่บ้านพื้นฐาน สภาพความเป็นอยู่และปัญหาต่างๆในชุมชน ตามที่ได้รับมอบหมายจากส่วนกลาง ซึ่งในการเก็บข้อมูลนั้นพบว่า คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนาเป็นแกนหลัก ร่วมกับการปลูกพืชผักสวนครัว และเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว เป็ด ไก่ เป็นหลัก ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญในชุมชน
ปัญหาที่พบส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัวเป็นจำนวนมาก มีรายจ่ายมากมายหลายช่องทาง ปัญหาการกระจายสินค้าที่ผลิตเองทั้งปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำและขาดช่องทางเพื่อเข้าสู่ตลาดที่กว้างขึ้น เข้าไม่ถึงการตลาดใหญ่ๆ ทำให้ไม่มีรายรับในส่วนนี้เท่าที่ควร สำหรับในการสำรวจผลกระทบจากโควิด-19 พบว่าคนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคระบาดโควิดและป้องกันโรคเป็นอย่างดี มีการปฏิบัติตามแนวป้องกันโรคระบาดโควิด 19 ได้อย่างเหมาะสม
สภาพบริบทของตำบลแสลงพันและสภาพการผลิตของหมู่บ้านบุก้านตงพัฒนา
ลักษณะภูมิประเทศ สภาพพื้นที่ตำบลแสลงพันเป็นดินร่วนปนทราย ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา และเลี้ยงสัตว์ มีพื้นที่ 36,537.50ไร่ คิดเป็นร้อยละ 17.22 ของพื้นที่ทั้งหมดในเขตอำเภอลำปลายมาศ ระบบทรัพยากรเศรษฐกิจเกษตร ในพื้นที่ ต.แสลงพัน ระบบเกษตรเป็นระบบปลูกข้าวเป็นแกนหลักตามด้วยการมีระบบเศรษฐกิจพอเพียงหรือระบบปลูกพืชผักแบบพึ่งตนเองและมีกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อและธนาคารโคกระบือในชุมชนอย่างละ 2 แห่ง สัตว์เลี้ยงชุมชนส่วนใหญ่คือ โค กระบือ สุกร ไก่ เป็ดและปลา มีการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์หมุนเวียนกันไปตลอดปี
ระบบการผลิตของหมู่บ้านบุก้านตงพัฒนา เป็นปลูกพืชผักแบบผสมผสานร่วมกับระบบการเลี้ยงสัตว์ พืชที่ปลูกคือปลูกข้าว พืชผักสวนครัว เช่น พริก มะเขือ แตง โหระพา ผักบุ้ง หอม บวบ ฟักแฟง รวมทั้งหญ้าอาหารสัตว์โดยส่วนใหญ่จะมีการปลูกตามสวนใกล้บ้านหรือที่นาใกล้กระท่อมหรือที่พักในหัวไร่ปลายนาของเกษตรกร ทั้งนี้เกษตรกรจะต้องเก็บฟางที่เหลือจากการเกี่ยวข้าวและมีการปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์เพื่อให้มั่นใจว่าวัวควายมีอาหารสัตว์พอกินตลอดทั้งปี ในส่วนของพืชไร่ เช่น มันสำปะหลังและอ้อยมีการปลูกที่น้อยมากในชุมชนแห่งนี้ จากการสำรวจข้อมูลภาคสนามพบว่า ในเขตบ้านบุก้านตงพัฒนา หมู่ที่ 16 และเขตหมู่บ้านข้างเคียง มีศักยภาพที่จะพัฒนาการผลิตปุ๋ยจากใบไม้และปุ๋ยจากวัสดุอินทรีย์ในท้องถิ่น พอที่จะสนับสนุนระบบเกษตรพอเพียงและระบบการผลิตแปลงหญ้าอาหารสัตว์ในชุมชนได้อย่างยั่งยืน
การขายผลผลิตทางการเกษตรของชุมชน ส่วนใหญ่ข้าวจะทำการทยอยขายหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จทั้งนี้ผลิตข้าวมีแนวโน้มลดลงจากในอดีตราวๆ 20-30% โดยประมาณ ทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่ทยอยขาย เนื่องว่าชาวบ้านเกรงว่าข้าวจะไม่พอกินในรอบปี ปีนี้ชาวบ้านจะไม่เน้นขายข้าวดังแต่ก่อน เนื่องจากภาวะแล้งและโรคระบาดโควิด-19 จึงมีแผนจะสำรองข้าวไว้บริโภคเป็นสำคัญ ที่เหลือจึงขาย ในของส่วนพืชผักจะขายอยู่ในชุมชนและส่งขายในพื้นที่ข้างเคียงของตัวเมืองบุรีรัมย์ รวมถึงกรณีพืชผักมากหน่อยก็จะมีแม่ค้าในหมู่บ้านมารับไปขายต่อในตัวเมืองบุรีรัมย์หรือในอำเภอลำปลายมาศ ผู้นำชุมชนส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า ที่ผลผลิตพืชเศรษฐกิจลดลงเนื่องจากสภาพดินเสื่อมโทรมและมีสภาพของภัยแล้งทำให้ข้าวผลผลิตตกต่ำ และพืชผักก็ตกต่ำเช่นเดียวกัน ตลอดจนผลผลิตการเกษตรอื่นต่างๆลดลง และทำการผลิตได้ยากลำบากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก เนื่องจากว่ามีโรคแมลงได้มาสร้างปัญหาให้เกษตรกรได้มากเช่นกัน ในการป้องกันกำจัดจะนิยมใช้สารหมักจากธรรมชาติ กรณีนี้จะเน้นบริโภคในครัวเรือนและเหลือขายตามชุมชน ส่วนการผลิตขายอาจจะมีการใช้สารเคมีทางเกษตรเข้ามาควบคุมบ้าง แต่ทั้งนี้ชาวบ้านส่วนใหญ่พยายามลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรลง เพราะเห็นว่าอันตรายต่อสุขภาพและราคาแพง
ปัญหาระบบการผลิตและแนวทางในการพัฒนา ในระบบการผลิตเกษตรจะพบปัญหาราคาตกต่ำและเรื่องภัยทางธรรมชาติเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านภัยแล้งถือว่าเป็นปัญหาสำคัญของชาวบ้านมาก ซึ่งชาวบ้านมีความต้องการบ่อบาดาล สระน้ำหรือบ่อบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์มาช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำแล้ง ในระบบการผลิตแบบเกษตรผสมผสานชาวบ้านต้องการเมล็ดพันธุ์พืชที่ดีที่นำมาใช้เพาะปลูก รวมทั้งต้องการชุดความรู้ในการผลิตแบบพึ่งพาตนเองได้ในชุมชน เช่น การทำปุ๋ยอินทรีย์ การทำปุ๋ยใบไม้ การทำปุ๋ยจากเศษวัสดุทางการเกษตร หรือการทำน้ำหมักชีวภาพ เพื่อใช้ในชุมชนเพื่อเพิ่มความหลากหลายพันธุ์พืชในชุมชน ลดการพึ่งพาจากสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำรุนแรงจากโรคโควิด-19 ที่ทำให้ผู้คนตกงานจากเมืองใหญ่หลั่งไหลกลับคืนสู่ชนบท จากเหตุผลดังกล่าวนี้ เพื่อความมั่นคงในทางอาหารให้มีอยู่มีกินจากสภาวะการที่ได้ผลกระทบจากโรคระบาดโควิด-19 ซึ่งตอนนี้ชุมชนมีสภาวะที่ค่อนข้างลำบากจากผลกระทบทางเศรษฐกิจและภาวะหนี้สินที่มีมากมาย จึงอยากได้ต้องการชุดความรู้ในการผลิตแบบพึ่งพาตนเองได้ในชุมชน เช่น การทำปุ๋ยอินทรีย์ การทำปุ๋ยใบไม้ การทำปุ๋ยจากเศษวัสดุทางการเกษตร หรือระบบน้ำที่ตอบโจทย์ชุมชนและการจัดหาพันธุ์พืชที่ดีมาปลูกเพื่อบริโภคและจำหน่ายในชุมชนและส่งขายในเขต จ.บุรีรัมย์ จากากรเก็บข้อมูลภาคสนาม หากมีโครงการสนับสนุนด้านเกษตรพอเพียง เกษตรกรมีความสนใจเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนาชุมชนต่อไป
จากการสำรวจข้อมูลภาคสนามดังที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้นของสภาพพื้นที่ตำบลแสลงพัน พอจะสรุปได้ว่า เขตพื้นที่บ้านบุก้านตงพัฒนา หมู่ที่ 16 และในเขตหมู่บ้านข้างเคียงของตำบลแสลงพัน มีศักยภาพที่จะพัฒนาการผลิตปุ๋ยจากเศษใบไม้และปุ๋ยจากวัสดุอินทรีย์ในท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนระบบเกษตรพอเพียงและระบบการผลิตแปลงหญ้าอาหารสัตว์ในชุมชนได้อย่างยั่งยืน