บทความประจำเดือนกรกฎาคม 2564
หลักสูตร: HS06 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตําบลแบบบูรณาการ 1 ตําบล 1 มหาวิทยาลัย จาก มหาวิทยาลัยสูตรตําบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ประจําเดือน กรกฎาคม
ข้าพเจ้า นางศุภาณัน ริชาร์ดส ผู้ปฏิบัติงาน ประเภทประชาชน รับผิดชอบการดําเนินงานในเขต พื้นที่ตําบลแสลงพัน อําเภอลําปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
ในช่วงเดือนกรกฎาคมการลงพื้นที่ในชุมชนค่อนข้างมีอุปสรรคเพราะการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า-19 ทำให้หลายชุมชนต้องปิดหมู่บ้านจึงทำให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความลำบาก เพราะผู้ปฏิบัติงานต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อตนเองละชุมชน จึงได้ลดการลงพื้นที่การปปฏิบัติงานลง และอาจารย์ประจำหลักสูตรได้เห็นความสำคัญต่อการลงพื้นที่ของผู้ปฏิบัติงานเพื่อเน้นการป้องกันเพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสลงจงได้จัดการอบรมการทำเจลล้างมือในวันที่ 26 มิถุนายน 2564 โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาฝึกอบรมให้แก่ผู้ปฏิบัติและกลุ่มเป้าหมายบางส่วน เน้นการทำให้เป็นและสามารถนำไปใช้ในครัวเรือนได้ โดยมีคุณภัทรานิษฐ์ กุลพิเชษฐ์วณิช เจ้าของบริษัทบ้านเธอแองกรุ๊ป เป็นวิทยากรในการให้องค์ความรู้การทำเจลล้างมือดังนี้
สบู่เหลวล้างมือสมุนไพร
อุปกรณ์
1.AD25 600 กรัม
2.N70. 1000 กรัม
3.ผงเข้น 350 กรัม
4.KD 250 กรัม
5.น้ำ+สมุนไพร 8000 มิลลิกรัม
6.สารกันเสีย 1 ออนซ์
7.น้ำหอม 1 ออนซ์
8.สผสมอาหาร พอประมาณ
วิธีทำ
1.นำน้ำ+ตัมให้เดือด กรองเอากากออก
2.นำ1-2 คนให้เข้ากัน
3.นำน้ำสมุนไพรที่เตรียมไว้ใส่ 3 คนให้ละลายเทผสมในข้อ 2 แล้วคนให้เข้ากัน
4.เท 4,6,8 และ 7 คนให้เข้ากันแล้วบรรจุลงภาชนะ
ผลจากการฝึกอบรมทำเจลล้างมือทำให้ชุมชนเริ่มเกิดความมั่นใจขึ้นมาระดับหนึ่ง เพราะผลิตภัณฑ์เจลล้างที่ทำเสร็จได้แจกจ่ายให้คนใชชุมชนได้นำไปใช้เป็นบางส่วน ซึ่งมีทั้งแบบพกพาและแบบใช้ในครัวเรือน ซึ่งคนในชุมชนจะสามารถนำไปใช้ได้จริงตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า-19 แฉ ล้างมือให้สะอาด ใช้เจลแอลกอฮอล์ประจำ ใช้แมสปิดปาก รักษาระยะห่าง และกินร้อนช้อนการ เพื่อจะได้ให้ห่างไกลจากเชื้อไวร้สได้เร็วไว
จากการลงพื้นที่สำรวจและวิเคราห์ข้อมูลในพื้นที่บ้านหนองตาดตามุ่ง และหมู่บ้านใกล้เคียงรวมทั้งหมด 17 หมู่บ้าน เพื่อส่งเสริมการสร้างรายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร สรุปข้อมูลที่ได้วิเคราะห์มาคือการเพาะเห็ดจากฟางข้าวที่เหลือในชุมชน วันที่ 3 พฤษภาคม 2564 หลังจากที่ได้อบรมให้ตามจุดเป้าหมายแล้วก็ลงมือปฏิบัติ แต่หลังจากการฝึกปฏิบัติจริงแล้วพบปัญหาหลายอย่างเกิดขึ้น เช่นการคุมอุณหภูมิเห็ดไม่ได้ เห็ดเกิดช้าไม่ตอบโจทย์ให้ และเห็ดอย่างอื่นเกิดแทนเห็ดฟาง ปัญหาเหล่านี้ทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความท้อไม่อยากทำต่อ ด้วยปัญหาที่เกิดแบนนี้เองกลุ่มผู้ปฏิบัติงานจึงได้ปรึกษาหารือกับกลุีมเป้าหมายและอาจารย์ประจำหลักสูตร จึงได้ข้อสรุปอีกครั้งว่าจะเพาะเห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม จากฟางข้าว เริ่มต้นได้ปรึกษากับ คุณภัทร ภุมรา เจ้าของสวนเห็ดครูอ๋อย อำเภอประโคนชัย ก็ได้รับการสนับสนุนการสอนทำก้อนเชื้อจากก้อนฟาง และได้อบในเตาให้เสร็จทุกขั้นตอน แต่พบปัญหาจากการเพาะเห็ดจากฟางข้าวคือก้อนเชื้อมีอายุสั้นทำให้ต้องใช้ทรัพยากรสิ้นเปลือง จึงได้ผลสรุปคือการซื้อก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าจากฟาร์มมาให้กลุ่มเป้าหมายได้ดูแล
ปัญหาในการดำเนินกิจกรรมล่าช้าเพราะสถานการณ์โควิด-19 การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายไม่สม่ำเสมอเพราะการโทรศัพท์ประสานในการทำโรงเรือนเป็นไปค่อนข้างยาก และกลุ่มเป้าหมายมารวมตัวกันไม่ได้โรงเรือนเห็ดจึงไม่แล้วเสร็จตามที่นัดหมายไว้ ในวันที่ 11 จึงได้ระดมกลุ่มผู้ปฏิบัติงานมาช่วยสร้างตัวโรงเรือนให้แล้วเสร็จในภาคเช้า ช่วงบ่ายคุณภัทร ภูมรา เอาก้อนเห็ดมาลงในโรงเรือนและจัดกลุ่มเป้าหมายบางส่วนมาฟังองค์ความรู้ในการดูแลและการเก็บเห็ดให้ถูกต้อง
ส่วนปัญหาหลังการดำเนินกิจกรรมพบว่าผู้ปฏิบัติงานไม่สามารถติดตามกลุ่มเป้าหมายได้อย่างใกล้ชิดเพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดขอเชื้อไวรัส ผู้ปฏิบัติงานได้ติดตามแต่โทรศัพท์และไลน์ติดต่อสอบถามแต่ผู้นำกลุ่มเป้าหมายค่อนข้างยุ่งกับการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดโควิดในชุมชนอยู่ ดังนั้นจึงได้ขอเบอร์โทรศัพท์อีกคนเพื่อตะได้คิดต่อได้สะดวกยิ่งขึ้น
แนวทางการพัฒนาโรงเรือนเพาะเห็ดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ คือการสร้างความเข้มแข็ง การเอาใจใส่ผลิต ให้กับกลุ่มเป้าหมายโดยผู้ปฏิบัติงานต้องสร้างความมั่นใจให้แกชุมชนโดยการพัฒนาการแปรรูปผลิภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค และหาแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้แก่ชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจในชุมชนให้เกิดขึ้นเพื่อสร้างงานสร้างอาชีพ และเกิดรายได้ให้กับครัวเรือนและคนในชุมชนได้อย่างยั่งยืนตลอดไป
การอบรมการทำเจลล้างมือ
ร่วมแรงร่วมใจสร้างโรงเรือนเพาะเห็ด ณ บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา
ร่วมแรงร่วมใจช่วยสร้างโรงเรือนเพาะเห็ด ณ บ้านหนองตาดตามุ่ง
วีดีโอประจำเดือนกรกฎาคม 2564