รายงานผลปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้างงานประจำเดือนพฤษภาคม

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (๑ตำบล๑มหาวิทยาลัย)

หลักสูตร HS06 การส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดและปุ๋ยชีวภาพจากฟางข้าว

และเปลือกมันสำปะหลัง:เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

นางสาว วรัญญา พิมพ์เชื้อ

กลุ่มประเภทประชาชน

พื้นที่รับผิดชอบ : บ้าน……แสลงพัน……………… หมู่ที่……7…ตำบล แสลงพัน

ข้าพเจ้าได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลตามแบบฟอร์ม 01,02 และ 06 ในชุมชนบ้านแสลงพันหมู่ 7 ตำบลแสลงพัน  อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ในภาพรวม พบว่า ประชากรส่วนใหญ่  มีอาชีพทำนาและเลี้ยงสัตว์ มีรายได้น้อยกว่ารายจ่ายและยังขาดอาชีพที่มั่นคงและสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ประชากรบางส่วนได้รับผลกระทบจากโรคระบาด COVID 19 ซึ่งได้กับมาประกอบอาชีพที่ภูมิลำเนา  ทำให้มีรายได้ลดลงจากเดิมจึงต้องการมีอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวเพื่อให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ประชาชนในชุมชนบ้านแสลงพัน หมู่ที่ 7 ผู้นำชุมชนมีมาตรการที่เข้มงวดในการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 มีการจัดตั้งด่านสกัดและตรวจตราการเข้า-ออกชุมชนอย่างเข้มงวด มีอาสาสมัครสาธารณสุขปฏิบัติหน้าที่อย่างเข้มแข็ง ตรวจสอบ ติดตาม ตรวจวัดกลุ่มเสี่ยงทุกหลังคาเรือนทุกวัน

ประชากรให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมการส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดฟางและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลัง:เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรโดยทำหน้าที่เป็นตัวแทนในชุมชนเพื่อเชิญชวนสมาชิกในชุมชนบ้านแสลงพันหมู่7เพื่อร่วมเป็นจิตอาสาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นมีผู้สนใจเข้าร่วมสมัครในโครงการ จำนวน 5 คน ได้แก่

1.นางสำราญ เลิศล้ำ    บ้านแสลงพัน หมู่7

2.นางสมภาร คำบาง    บ้านแสลงพัน หมู่7

3.นางหัด สมานมิตร             บ้านแสลงพัน หมู่7

4.นางทองยุทธ ทูลไธสง         บ้านแสลงพัน หมู่7

5.นางอมร  แก้วกัลยา              บ้านแสลงพัน หมู่7

โดยได้มีการฝึกอบรมเรื่องการส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดฟางและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลัง:เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้กับผู้สมัคร ทั้ง 5 คน ณ เทศบาลตำบลแสลงพัน ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่3-4พฤษภาคม2564 ที่ผ่านมา โดยมีกิจกรรมต่างๆที่ทำร่วมกันมีดังต่อไปนี้

-เปิดโครงการและแนะนำโครงการโดย ผศ.ดร.อัครพนท์  เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์มาเป็นประธานเปิดงานโครงการในครั้งนี้ด้วย และได้มีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ 1คน ได้แก่ นางอำนวย ศรีคล้าย ที่ได้มาให้ความรู้แก่ทีมปฏิบัติงานและผู้เข้าร่วมโครงการทุกคน

-กิจกรรมต่อไปคือได้มีการอบรมทำปุ๋ยอินทรีย์และทำน้ำหมักชีวภาพ

  1. 1. สูตรฮอร์โมนกล้วย วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมคือ

(1) ต้นกล้วย (ตัดในช่วงเช้า)

(2) กากน้ำตาล

วิธีการทำ

-สับต้นกล้วยให้ละเอียด

-นำกากน้ำตาลผสมกับต้นกล้วยที่สับแล้วในสัดส่วน 1/3ผสมแล้วคนให้เข้ากันทิ้งไว้7วันจึงจะสามารถนำมาใช้ได้

วิธีใช้

-ใช้ฮอร์โมนกล้วย 2-5 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร

-ฉีดพ่นตอนเช้าหรือตอนเย็นทุกสัปดาห์

ประโยชน์ของจุลินทรีย์หน่อกล้วย

-ป้องกันเชื้อรา

-รากเน่า

-โคนเน่า

-ทำให้ดินร่วนซุย

2.สูตรไตรโครเดอร์มา  

วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

(1)ถังใส่น้ำ1ใบ

(2)ไม้พาย1อัน

(3)เชื้อไตรโคเดอร์มา2ช้อนแกง

(4)น้ำตาลแดงธรรมชาติ2กิโลกรัม

วิธีทำ

-นำน้ำ 20 ลิตรมาเทลงในถังภาชนะที่เตรียมไว้

-นำน้ำตาลแดง 2 กิโลกรัมมาเทลงใส่ถัง

-นำเชื้อไตรโคเดอร์มา 2 ช้อนแกงเทลงใส่ถัง

-ผสมให้เข้ากันคนไปในทิศทางเดียวกันให้น้ำตาลละลาย

-ปิดฝาถังหมักไว้48ชั่วโมงหรือ2วันนำออกมาใช้ได้เลย

วิธีใช้

-ไตรโคเดอร์มา2ช้อนแกงต่อน้ำ20ลิตรฉีดพ่นตอนเช้าหรือตอนเย็นทุกสัปดาห์

ประโยชน์ของไตรโคเดอร์มา

-ป้องกันเชื้อรา

-รากเน่า

-โคนเน่า

-แดงเกอร์

3.สูตรฮอร์โมนไข่ วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

(1) ไข่ไก่ทั้งฟอง 6 กิโลกรัม

(2) กากน้ำตาล 6 กิโลกรัม

(3) แป้งข้าวหมาก 1 ก้อน

(4) ยาคลูท์หรือนมเปรี้ยว 1 ขวด

(5) ถังน้ำ 1 ใบ

(6) ไม้คน 1 อัน

(7) เครื่องปั่น 1 เครื่อง

วิธีทำ

-นำไข่ไก่ไปปั่นให้ละเอียดเทลงใส่ถังที่เตรียมไว้

-นำกากน้ำตาลเทลงไป

-นำแป้งข้าวหมากมาบดให้ละเอียดแล้วเทลงไป

-นำยาคลูท์หรือนมเปี้ยวเทลงไปคนให้เข้ากัน

เวลาคนต้องคนไปทางทิศเดียวกันห้ามสลับทาง

ปิดฝาให้สนิทแล้วนำไปเก็บไว้ในที่ร่มหมักทิ้งไว้14วัน

วิธีใช้

-ฮอร์โมนไข่2-5ช้อนแกงต่อน้ำ20ลิตรฉีดพ่นตอนเช้าหรือตอนเย็นทุกสัปดาห์

ประโยชน์ของฮอร์โมนไข่

-บำรุงใบให้เขียวและช่วยเร่งดอกเร่งผลผลิต

กิจกรรมต่อไปคือการอบรมเพาะเห็ดฟาง  วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้มีดังนี้

(1)ฟางข้าว

(2)ตะกร้า

(3)เชื้อเห็ดฟาง

(4)ถุงพลาสติก

วิธีทำ

-นำฟางข้าวไปแช่น้ำ 1-2 คืน

-นำฟางข้าวที่แช่น้ำใส่ลงไปในตะกร้า

-นำเชื้อเห็ดใส่ลงไปโรยเชื้อเห็ดเฉพาะขอบตะกร้า

-ทำเหมือนเดิมจนเต็มตะกร้าแล้วนำฟางข้าวมาวางทับชั้นบนเสร็จแล้ว

รดน้ำให้ชุ่มแล้วเอาถุงพลาสติกคลุมไว้ทิ้งไว้ 2 อาทิตย์

ประโยชน์ของเห็ดฟาง

(1)สร้างภูมิคุ้มกันโรค

(2)ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง

(3)ช่วยสมานแผลให้หายเร็วขึ้น

(4)แก้อาการคันตามผิวหนัง

(5)แก้โรคลักปิดลักเปิด

(6)บำรุงตับให้แข็งแรง

(7)บำรุงเหงือกและฟัน

ซึ่งการอบรมในครั้งนี้ผู้ร่วมโครงการได้เก็บเกี่ยวความรู้และนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันเพื่อไว้อุปโภคบริโภค

และจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้

ตำบลแสลงพันมีทั้งหมด 17 หมู่บ้าน ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบบ้านแสลงพันหมู่7ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ มีสถานที่สำคัญ เช่น วัด และโรงเรียนเป็นต้น

ในการปฏิบัติงานครั้งนี้อุปสรรคที่เจอช่วงนี้คือการแพร่ระบาดของโรคระบาดCOVID19ส่งผลกระทบต่อชาวบ้านให้เกิดความกลัวและวิตกกังวลกันมาก ในชุมชนยังขาดอาชีพที่สร้างรายได้ที่มั่นคงและยังไม่มีการรวมกลุ่ม เพื่อสร้างความเข็มแข็งในชุมชน

ข้าพเจ้าและทีมปฏิบัติงานทุกคนจะนำความรู้ไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชากรในชุมชนเพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้ในอนาคตและขอขอบคุณ  คุณแม่อำนวย ศรีคล้าย ที่ได้สละเวลามาแบ่งปันความรู้ให้แก่ทีมปฏิบัติงานทุกคน

ขอขอบคุณ ผศ.ดร. อัครพนท์ เนื้อไม้หอม และคณะอาจารย์ประจำหลักสูตรทุกท่านที่ทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีจึงขอขอบคุณเป็นอย่างสูง

ผศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นประธานเปิดงานโครงการในครั้งนี้

วัดอุณภูมิก่อนปฏิษัติงาน

รับฟังวิทยากรกล่าวอบรมการทำปุ๋ยชีวภาพและเพาะเห็ดฟาง

นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ นางอำนวย ศรีคล้าย

กิจกรรมการทำน้ำหมักชีวภาพ

พักเบรคมีเครื่องดื่มบริการ

               บันทึกภาพรวมกับทีมปฏิษัติงาน

วิดีโอประเดือน

อื่นๆ

เมนู