รายงานผลปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้างงานประจำเดือนกรกฎาคม

โครงการยกระดับเศรษกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(1ตำบล1มหาวิทยาลัย)หลักสตูรHS06,การส่งเสริมอาชีพ

การเพาะเห็ดและปุ๋ยชีวภาพจากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลัง:เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรแก่ประชาชนในเขตตำบลแสลงพันอำเภอลำปลายมาศจังหวัดบุรีรัมย์

นางสาว วรัญญา พิมพ์เชื้อ

ตำบลแสลงพัน  อำเภอลำปลายมาศ  จังหวัดบุรีรัมย์  กลุ่มประเภทประชาชน

เนื่องจากสถานะการณ์การแพร่ระบาดของโรคCOVID19ที่ยังแพร่ระบาดเป็นอย่างมากในช่วงนี้ทางอาจารย์ประจำหลักสูตรมีความห่วงใยประชากรในพื้นที่ตำบลแสลงพันอำเภอลำปลายมาศจังหวัดบุรีรัมย์จึงได้จัดทำกิจกรรมทำสบู่เหลวล้างมือสมุนไพรขึ้นที่วัดป่าแสลงพันในวันที่26มิถุนายน2564ที่ผ่านมาซึ่งผลจากการฝึกอบรมการทำสบู่เหลวล้างมือสมุนไพรในภาพรวมชาวบ้านในตำบลแสลงพันให้ความสนใจที่จะเข้าร่วมการทำผลิตภัณฑ์และลงมือทำเป็นอย่างดีโดยมีการแบ่งเป็นกลุ่ม4กลุ่ม กลุ่มละ6-8คนและทีมผู้ปฏิษัติงานคอยช่วยเหลือชาวบ้านอีกแรง

 

จากการฝึกอบรมการทำผลิตภัณฑ์ของชุมชน

บ้านแสลงพันหมู่7โดยมีตัวแทนเข้าฝึกอบรม3คนร่วมกับอีกหมู่บ้านอื่นๆ

การทำสบู่เหลวล้างมือสมุนไพรสิ่งที่ต้องเตรียม

1 AD. 25.   600 กรัม

2 NT0.      1000 กรัม

3 ผงข้น      350 กรัม

4 KD          250  กรัม

5 น้ำสมุนไพร 8000. มิลลิกรัม

6สารกันเสีย  1.00 ออนซ์

7 น้ำหอ   1.00 ออนซ์

8 สีผสมอาหาร พอประมาณ

วิธีทำ

1 นำน้ำ+สมุนไพรต้มให้เดือดกรองเอากากออก

2 นำข้อ1+ข้อ2คนให้เข้ากัน

3 นำน้ำสมุนไพรที่เตรียมไว้ใส่ข้อ3คนให้ละลายเทผสมในข้อ2คนให้เข้ากัน

4 เติมข้อ4,6,8และข้อ7คนให้เข้ากันบรรจุลงภาชนะเป็นอันเสร็จกิจกรรมทำสบู่เหลวล้างมือสมุไพร

ปัญหาจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์

ปัญหาก่อนดำเนินการที่พบคือด้านการสร้างโรงเรือนต้นแบบส่วนแนวทางแก้ไขก็คือให้ชาวบ้านร่วมกลุ่มกันหมู่บ้านใกล้ๆกันเข้าร่วมกลุ่มกันเพื่อสร้างโรงเรือนต้นแบบเพื่อลดปัญหาบานปลาย

ปัญหาระหว่างดำเนินกิจกรรมคือช่วงนี้โรคCOVID19ระบาดหนักจึงทำให้การดำเนินงานช้าลงแนวทางแก้ไขคือให้ส่งตัวแทนแต่ละหมู่บ้าน หมู่บ้านละ1คนเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากโรคCOVID19

ปัญหาหลังจากการดำเนินกิจกรรมคือความยั่งยืนของแต่ละกลุ่มแนวทางแก้ไขคือจัดตั้งคนดูแลและทำบัญชีรายรับรายจ่ายให้เป็นไปตามความเป็นจริง

(4)การพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้และแนวทางยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ในตอนนี้มีแหล่งเรียนรู้อยู่2แหล่งได้แก่

1บ้านบุขี้เหล็ก,บ้านบุขี้เหล็กใหม่,บ้านบุขี้เหล็กพัฒนา

ในวันที่9กรกฎาคม 2564 ทีมปฏิษัติงานได้ลงพื้นที่ที่บ้านบุขี้เหล็กเพื่อนำเอาเชื้อเห็ดนางฟ้ามาลงไว้ในแหล่งเรียนรู้โรงเพาะเห็ดแหล่งเรียนรู้โรงเรือนต่อไปได้แก่บ้านหนองตาดตามุ่ง

2 บ้านหนองตาดตามุ่ง ,บ้านแสลงพัน,บ้านแสลงพันพัฒนาร่วมกัน3หมู่บ้านซึ่งในวันที่11กรกฎาคม2564ที่ผ่านมาทีมปฏิษัติงานได้ลงพื้นที่อีกครั้งเพื่อช่วยกันสร้างโรงเพาะเห็ดแหล่งเรียนรู้โรงที่2และนำเชื้อเห็ดนางฟ้ามาลง

 

จนเสร็จเรียบร้อยและต้องขอขอบคุณฟาร์มเห็ดครูอ๋อยที่ให้ความร่วมมือมาโดยตลอดทำให้โรงเพาะเห็ดตำบลแสลงพันเสร็จสมบูรณ์ทางอาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมผู้ปฏิษัติงานจะนำแหล่งเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์และสร้างรายได้ให้กับชุมชนต่อไป

วีดีโอประจำเดือนกรกฎาคม2564

 

 

 

อื่นๆ

เมนู