บทความการรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนกันยายน
ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
โดย นายหัสวัฒน์ งอยไธสง กลุ่มนักศึกษา
************************************************************************************************************
1.จัดทำรายงานการดำเนินงานโครงการรอบแรก(เดือนมีนาคม–เดือนกรกฎาคม) 2564
มีการจัดทำรูปเล่ม และนำส่งรายงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีการรายงานผลของโครงการในระยะเริ่มแรก ในส่วนที่รับผิดชอบคือ บ้านสี่เหลี่ยมน้อย หมู่ที่ 9 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีการลงพื้นที่ในการรวบรวมและออกเก็บข้อมูลภายในชุมชน และออกสำรวจพื้นที่ของชุมชนที่มีประชากรอาศัยอยู่ภายในชุมชนและมีการสร้างเครือข่ายกับผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ เพื่อนำมาขยายผลและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลของชุมชนร่วมกับชุมชนอื่นในพื้นที่ของตำบลแสลงพัน และในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือน พฤษภาคม-มิถุนายน ที่ผ่านมาได้เกิดการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ในหลายพื้นที่ ซึ่งได้มีการส่งผลกระทบให้ในหลายภาคส่วนทั้งในเรื่องสภาพความเป็นอยู่ในด้านสังคม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนในเขตพื้นที่ของชุมชนและในเขตพื้นที่ของตำบลแสลงพันเช่นกัน ทำให้ผู้คนต้องดูแลตัวเองและครอบครัวเป็นอย่างดี มีการเว้นระยะห่างมทางสังคม สวมหน้ากากอนามัย ล้างมืออยู่บ่อยๆและมีการลดปะพูดคุยกะผู้คนเพื่อเป็นการป้องกันตามมาตราการของทางรัฐบาล ทีมผู้ปฏิบัติงานจึงได้มีการประชาสัมพันธ์และรณรงค์ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และการเชิญชวนให้ประชาชนในเขตชุมชนลงทะเบียนในการรับวัคซีน
Step1 คลีนพื้นที่ ทำความสะอาดบริเวณสถานที่สาธารณะและมีประชาชนร่วมกันคือสถานที่ ณ วัดป่าแสลงพัน โดยมีการทำคามสะอาดพื้นที่กวาดใบไม้ที่กองอยู่บริเวณรอบๆวัด เพื่อเป็นการลดแหล่งแพร่เชื้อโรค พร้อมทั้งความสะอาดภายในบริเวณภายในของศาลาวัด ซึ่งเป็นที่ในการประกอบพิธีทางศาสนา ซึ่งมีผู้คนร่วมกันทำความสะอาดเป็นอย่างดี
Step2 ได้มีการจัดทำวัสดุอุปกรณ์สำหรับป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส เช่น สเปรย์แอลกอฮอล์ สบู่ และการทำเจลแอลกอฮอล์ แจกจ่ายประชาชนในพื้นที่พร้อมทั้งแจกจ่ายหน้ากากอนามัยสำหรับประชาชนในพื้นที่
Step3 กิจกรรมการเดินรณรงค์เชิญชวน ให้ประชาชนให้ไปฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19 และสร้างภูมิคุ้มกันหมู่สำหรับประชาชนในประเทศ และได้รณรงค์ป้องกันเฝ้าระวังการแพร่ระบาดการสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างทางสังคม การล้างมือและการใช้เจลแอลกอฮอล์
หลังจากสถานการณ์โควิด 19 ได้คลี่คลายและเบาบางลงจึงได้มีการจัดการอบรมสร้างอาชีพให้กับชุมชนโดยตัวแทนประชาชนกลุ่มเป้าหมายหมู่บ้านสี่เหลี่ยมน้อย อบรมเรื่องการผลิตเห็ดจากตะกร้าและการผลิตจุลินทรีย์จากหน่อกล้วย ณ ศาลากลางบ้านบ้านสี่เหลี่ยมเจริญ ผลฝึกการอบรมในภาพรวม พบว่า ประชาชนมีความตื่นตัวในการเข้ารับการฝึกอบรม และมีความสนใจอย่างมากในการพัฒนาฝึกฝนอาชีพเพื่อลดค่าใช้จ่ายเพื่อรายได้ ให้แก่ตนเอง ครอบครัว ชุมชน โดยได้รับความร่วมมือทั้งจากผู้นำชุมชน ประชาชนในหมู่บ้านรวมถึงผู้ปฏิบัติงานทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการฝึกฝนพัฒนาอาชีพเป็นอย่างดี
- กิจกรรมการส่งเสริมตลาดและการท่องเที่ยวบนฐานของผลิตภัณฑ์ชุมชน
ในการดำเนินกิจกรรมโรงเรือนเพาะเห็ดของชุมชุนทั้ง 3 ชุมชนได้มีการแนะนำการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากโรงเรือนสู่ตลาดท้องถิ่นของชุมชน การบรรจุภัณฑ์ในระยะเริ่มต้น การประมาณราคาต้นทุนของผลิตภัณฑ์และคำนวณค่าใช้จ่ายในการออกจำหน่ายสินค้า ทั้งนี้ได้มีการแนะนำการทำบัญชีรายรับรายจ่ายในครัวเรือน เพื่อเป็นการพัฒนาอาชีพของชุมชนและลดรายจ่ายของครัวเรือน
- กิจกรรมติดตามและให้คำแนะนำประชาชนกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์
มีการอบรมพัฒนาอาชีพเพื่อพัฒนาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร หัวข้อการทำเห็ดจากฟางและน้ำหมักชีวภาพ ในระยะแรกที่ผ่านมาทำให้มีประชาชนหลายชุมชนให้ความร่วมมือ และสนใจที่จะเรียนรู้การพัฒนาอาชีพ ได้มีประชาชนซึ่งเป็นตัวแทนในการทดลองและลงมือปฏิบัติการเพาะเห็ดและทำน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งผลในระยะแรกมีประชาชนหลายคนสามารถทำได้เป็นอย่างดี และได้มีชุมชนจำนวน 3 ชุมชนรวมกลุ่มกันจัดตั้งโรงเรือนสำหรับเพาะเห็ดคือ ชุมชนบ้างหนองตาดตามุ่ง ชุมชนบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา และชุมชนบ้านบุก้านตง ซึ่งทั้ง 3 ชุมชนสามารถรวมกลุ่มจัดตั้งโรงเรือน ดูแลและเพาะเห็ดเพื่อจำหน่ายสู่ชุมชนได้เป็นอย่างดี
- การแปรรูปผลิตภัณฑ์และการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์
4.1 กลุ่มบ้านหนองตาดตามุ่ง
- ไส้กรอกเห็ดวุ้นเส้น 2. น้ำพริกปลาร้าทรงเครื่อง(เห็ด)
สมาชิกในกลุ่ม
- นางศุภาณัน ริชาร์ดส (หัวหน้าทีม)
- นางสาววรัญญา พิมพ์เชื้อ
- นางสาวศิรินันท์ ฝาสูงเนิน
- นางสาววนิดา เชาวนกุล
- นายอภิสิทธิ์ แสงสุข
- นายหัสวัฒน์ งอยไธสง
4.2 กลุ่มบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา
- แหนมเห็ด ส้มเห็ด 2. เห็ดชุบแป้งทอด จากส้มเห็ด
สมาชิกในกลุ่ม
1.นายเจษฎา กุลสุนทรรัตน์ (หัวหน้าทีม)
2.นางสาวดวงฤทัย อัมราสกุลสมบัติ
3.นายบุญเหนือ เครือตา
4.นางสาวเพ็ญนภา ตาชูชาติ
5.นางสาวพัชรี มณีเติม
6.นายศิริพงษ์ เครือจันทร์
4.3 กลุ่มบ้านบุก้านตงพัฒนา
1.ทอดกรอบเห็ด 2.เห็ดอบแห้งและข้าวเกรียบเห็ด
สมาชิกในกลุ่ม
- นายนิสิต คำหล้า (หัวหน้าทีม)
- นางสาวธิดา คำหล้า
- นายสราญจิต อินทราช
- นางสาวอารียา วิลาศ
- นางสาวกาญจนาวดี เคหาห้วย
- นางสาวรัตน์ชดาพร สร้อยจิต
การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเห็ด ไส้กรอกเห็ดวุ้นเส้น
วัตถุดิบ
- เห็ดฉีกฝอยนึ่งสุก 600กรัม 2. หมูบดปนมัน 400 กรัม
- กระเทียม 50กรัม 4. พริกไทยเม็ด 10 กรัม
- รากผักชี 3ราก 6. ผงปรุงรส 1 ช้อนโต๊ะ
- เกลือ 1ช้อนโต๊ะ 8. ซอสหอย 2 ช้อนโต๊ะ
- ซีอิ๊วขาว 1ช้อนโต๊ะ 10. น้ำตาลทาย 2 ช้อนโต๊ะ
11.วุ้นเส้นสด 500 กรัม 12.ไส้หมูสำหรับยัด 10กรัม
13.เชือกมัดไส้หรอก 1ม้วน
วิธีทำ
- ฉีกเห็ดเป็นชิ้นเล็ก ล้างให้สะอาดนำไปนึ่งสุก 10นาที ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วบีบน้ำออกพอหมาดด้วยผ้าชาวบาง
- นำพริกไทย รากผักชี และกระเทียมโขลกพอละเอียด
- นำหมูบดไปคลุกให้เข้ากับเครื่องปรุงทั้งหมด คลุกเคล้าประมาณ 5นาที ชิมรสตามใจชอบแล้วยัดไส้ไส้ที่เตรียมไว้แล้วมัดเป็นท่อนๆ
- ทำความสะอาดไส้กรอกแล้วผึ่งลมให้แห้ง ประมาณ 3-4ชั่วโมง สามารถนำมาทอดหรือย่างได้
น้ำพริกเห็ดปลาร้าทรงเครื่อง
วัตถุดิบ
- พริกขี้หนูป่น 150กรัม
- หอมหัวเล็ก 150กรัม
- กระเทียม 150กรัม
- ข่าซอย คั่ว แล้วโขลกละเอียด 20กรัม
- ตะไคร้ซอย คั่ว แล้วโขลกละเอียด 20กรัม
- ใบมะกรูดซอย คั่วแล้วโขลกละเอียด 20กรัม
- น้ำมะขามเปียก 50กรัม
- เนื้อปลาร้า 200กรัม
- น้ำตาลทราย 100กรัม
- เห็ดป่น 50กรัม
วิธีทำ
- คั่วกระเทียมให้สุกแล้วโขลกละเอียด พักไว้
- คั่วหอมหัวเล็กให้สุกแล้วโขลกละเอียด พักไว้
- นำปลาร้าใส่กระทะ ตั้งไฟอ่อน ผัดให้หอมและเดือด จึงใสน้ำมะขามเปียกและน้ำตาลทราย ผัดให้ส่วนผสมเข้ากันดี
- ใส่หอมหัวเล็ก กระเทียม ตะไคร้ ข่า และใบมะกรูด ที่เตรียมไว้ ผัดให้เข้ากัน พอส่วนผสมเดือดจึงใส่พริกป่น ผัดให้เข้ากันดี ตักขึ้นใส่ภาชนะ
- การให้คำแนะนำด้านการตลาดกับกลุ่มผลิตเห็ด และน้ำหมักชีวภาพ
หลังจากการจัดตั้งกลุ่มโรงเรือนเพาะเห็ด ได้มีการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเห็ดร่วมกับชุมชนและทีมปฏิบัติงาน ทีมปฏิบัติงานตำบลแสลงพันได้ลงมือทดลองพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์จากเห็ดร่วมกับชุมชนคิดค้นวิธี คำนวณต้นทุนการผลิตเพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ของชุมชนจากการจำหน่ายเห็ดธรรมดา ทั้งนี้ได้มีชุมชนบ้านบุก้านตงและชุมชนบ้านหนองตาดตามุ่ง ได้ให้ความสนใจพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเห็ดคือ ไส้กรอกเห็ด และน้ำพริกปลาร้าเห็ดทรงเครื่อง เป็นผลิตภัณฑ์ในระยะเริ่มต้น
- จัดทำเพจนำเสนอสินค้า และผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม และพัฒนาตลาดออนไลน์
-มีการจัดทำเพจในการนำเสนอสินค้าและผลิตภัณฑ์ในการแปรรูปเห็ด
ภาพประกอบการทำกิจกรรม
หมายเหตุ การออกทำกิจกรรมและการติดตามผลการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ดนางฟ้า