1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS06 - ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ
  4. บทความสรุปผลการปฎิบัติงาน โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมตำบลแบบบูรณาการ กิจกรรมพัฒนาประจำเดือนพฤษภาคม บ้านหนองตาหล่า หมู่ที่8 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

บทความสรุปผลการปฎิบัติงาน โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมตำบลแบบบูรณาการ กิจกรรมพัฒนาประจำเดือนพฤษภาคม บ้านหนองตาหล่า หมู่ที่8 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลบ้านหนองตาหล่า ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์  ตามแบบ 01, 02 และ 06 ในภาพรวมพบว่าชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ชาวบ้านส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทำการเกษตร ทำไร่ ทำสวน เป็นส่วนใหญ่ ชาวบ้านปลูกผักขายทางออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ สภาพแวดล้อมในชุมชนอุดมสมบูรณ์รายล้อมไปด้วยทุ่งนาธรรมชาติรายได้ในชุมชนส่วนใหญ่ได้จากการทำไร่ทำนา อีกทั้งยังขาดองค์ความรู้ในด้านการทำเกษตรอินทรีย์อีกด้วย และมีความต้องการของชาวบ้านอยากให้มหาวิทยาลัยมาอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเรื่องการเกษตรและการทำเกษตรอินทรีย์และกลุ่มอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนครอบครัว

ปฏิบัติหน้าที่ในโครงการฝึกอบรมการส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดฟางและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลัง: เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โดยทำหน้าที่เป็น ผู้ประสานงานร่วมกับทางผู้นำหมู่บ้านและได้ปฏิบัติหน้าที่ดังนี้

-เชิญชวนสมาชิกในชุมชนบ้านหนองตาหล่า หมู่ 8 เพื่อร่วมเป็นจิตอาสาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน5คน ได้แก่

1.บ้านหนองตาหล่า หมู่ที่8

  1. นายเอื้อน การัมย์ บ้านหนองตาหล่า หมู่ที่ 8
  2. บ้าน นายกิติภาพ บุญลาภศิลทวี บ้านหนองตาหล่า หมู่ที่ 8
  3. 3. นายเตี๊ยบ วโรรัมย์ บ้านหนองตาหล่า หมู่ที่ 8
  4. นายสงกา ศรีสมพร บ้านหนองตาหล่า หมู่ที่ 8
  5. นายศาคม โสภาคะยัง บ้านหนองตาหล่า หมู่ที่ 8

ได้เข้ารับการอบรม เรื่อง การส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดฟางและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลัง: เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ณ เทศบาลตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 3-4  เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 โดยมีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

กิจรรมเปิดโครงการและแนะนำโครงการการเพาะเห็ดฟางและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลัง จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรช่วยปรับสภาพดินที่เสื่อมโทรม ให้มีสภาพดินที่สามารถปลูกพืชต่างๆได้

       

                                                       ภาพ กิจกรรมเปิดโครงการ

 

การฝึกอบรมการผลิตปุ่ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ ดังนี้การทำน้ำหมักจากสูตรฮอร์โมนไข่

วัสดุอุปกรณ์

-ไข่ไก่ทั้งฟอง 6 กิโลกรัม

-กากน้ำตาล 6 กิโลกรัม

-แป้งข้าวหมาก 1 ก้อน

-ยาคูลท์หรือนมเปรี้ยว 1 ขวด

-ถังน้ำ 1 ถัง

-ไม้คน 1 อัน

-เครื่องปั่น 1 เครื่อง

วิธีทำ

– นำไข่ไก่ไปปั่นให้ละเอียด เทใส่ถังที่เตรียมไว้

-นำกากน้ำตาลเทลงไป

-นำแป้งข้าวหมากมาบดให้ละเอียดแล้วเทลงไป

-นำยาคูลท์เทลง คนให้เข้ากัน ต้องคนไปในทางเดียวกัน ห้ามสลับทาง

หมักไว้ 14 วัน  เก็บไว้ในที่ร่ม

ประโยชน์ฮอร์โมนไข่

-บำรุงใบเขียว เร่งดอก ผลผลิต

วิธีใช้

-ใช้ 2-5 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร

-ฉีดพ่นตอนเช้าหรือตอนเย็นหรือทุกสัปดาห์

การเพาะเห็ดจากฟางข้าว

วัสดุอุปกรณ์สำหรับการเพาะเห็ดฟางในตระกร้าพลาสติก

-วัสดุเพาะเห็ดฟางหลักๆ ได้แก่ ฟาง ฟางทุกชนิด แห้งสนิทไม่เปียกฝนมาก่อน ถ้าเป็นตระกร้าใหม่ก็สามารถนำมาเพาะเห็ดได้เลยหรือถ้าเป็นตร้าที่เคยเพาะเห็ดมาแล้วควรทำความสะอาดและตากให้แห้ง

-อาหารเสริม เช่น ผักตบชวาสด หรือแห้ง เปลือกถั่วต่างๆ ผักบุ้ง มูลวัว/ควายแห้ง รำ เศษฝ้าย ไส้นุ่น ก้อนเชื้อนางรม/นางฟ้าเก่า เป็นต้น

-อุปกรณ์อื่นๆ ได้แก่ ตะกร้า พลาสติก บัวรดน้ำ เชื้อเห็ดฟาง

วิธีทำ

-ฟางแช่น้ำค้าง 1 คืน

-หัวเชื้อ 1 ก้อน แบ่งเป็น 3 กอง เพาะได้ 3 ตะกร้า

-ฟางอัดลงก้นตะกร้ากดให้แน่น สูง 1 ฝ่ามือ

-อาหารเสริมต่างๆแช่น้ำพอชื้น โรยชิดขอบตะกร้า

-โรยเชื้อเห็ดฟาง 1 ส่วนทับบนอาหารเสริม เสร็จชั้นที่ 1

-ทำชั้นที่ 2 และ 3 เหมือนชั้นที่ 1

-ชั้นบนสุด โรยอาหารเสริมเต็มหน้าตะกร้า โรยเชื้อให้ทั่ว กลบด้วยอาหารเสริมอีกครั้ง

ได้ทำการบันทึกข้อมูลสถานที่สำคัญในตำบลโดยรับผิดชอบบ้านหนองตาหล่า มีสถานที่สำคัญต่าง ๆ ดังนี้

                                                                                 ภาพที่1 ที่ทำการผู้ใหญฃญ่บ้าน

                                                                          ถาพที่2 ผักที่ชาวบ้านปลูกไว้ขาย

      ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่

มีการลงพื้นที่ค่อนข้างที่จะยากต่อการลงพื้นที่พบปะชาวบ้านในหมู่บ้านเนื่องด้วยจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ลงพื้นที่ไปได้ยากชาวบ้านมีความกังวนเรื่องการที่ให้ผู้ประสานงานไปลงพื้นที่

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาบ้านหนองตาหล่า หมู่ที่8

ตามความประสงค์ของประชาชนย้านหนองตาหล่า ต้องการสร้างตลาดหน้าชุมชนเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของชาวบ้านเองนำออกไปขายเพื่อเพิ่มรายได้เสริม

ประโยชน์ที่คาดว่าชาวบ้านจะไดรับ

  1. รู้จักการทำปุ๋ยหมักชีวภาพได้หลายวิธี
  2. ลดเศษผัก ผลไม้ รวมถึงเศษใบไม้ต่างๆ
  3. เกษตรกรจะไม่มาใช้สารเคมีเพราะมาใช้ปุ๋ยหมักแทน
  4. ผู้บริโภคผลผลิตทางการเกษตรไม่ได้รับสารเคมีตกค้าง
  5. ช่วยปรับสภาพดินที่เสื่อมโทรม ให้มีสภาพดินที่สามารถปลูกพืชต่างๆได้
  6. เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
  7. สามารถทำปุ๋ยหมักชีวภาพได้ด้วยตนเองได้

 

ลิ้งก์ไฟล์วิดีโอปฏิบัติงาน HS06-EP.4 ต.แสลงพัน ประจำเดือนพฤษภาคม 2564 ครับ

อื่นๆ

เมนู