รายงานผลการปฏิบัติงาน
ประจำเดือนสิงหาคม 2564
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมตำบลแบบบูรณาการ
บ้านสี่เหลี่ยมน้อย หมู่ที่ 9 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
โดย นายหัสวัฒน์ งอยไธสง ผู้ปฏิบัติงานกลุ่มนักศึกษา
******************************************************************************************************
สภาพบริบททั่วไป
จากสภาพบริบทการลงพื้นที่ในตำบลแสลงพันมีการลงมือปฏิบัติของกลุ่มชาวบ้านภายในเขตหมู่บ้านมีการร่วมมือกันในการทำผลิตภัณฑ์การทำโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า เพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวของตนเองและยังมีกลุ่มที่เป็นกลุ่มประกอบการในการตั้งโรงเรือนทำเห็ดนางฟ้ารวมกลุ่มกันประมาณ 5-10 คนโดยประมาณ รายได้ส่วนหนึ่งที่ได้จากการนำเห็ดนางฟ้าออกจำหน่ายในเขตพื้นที่ในชุมชนในส่วนของรายได้ที่ได้จากการจำหน่ายเห็ดก็จะนำมาเป็นเงินหมุนเวียนในการบริหารจัดการในการทำเห็ดนางฟ้าต่อไปสามารถนำมาต่อยอดและขยายในครั้งต่อไปได้อีกด้วย
การดำเนินงาน
1.สมาชิกผู้ปฏิบัติงานในการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ชาวบ้านและทีมผู้ปฏิบัติงานมีการจัดทำโรงเรือนในการเพาะเห็ดนางฟ้าที่ชุมชนหมู่บ้าน ได้แก่ 2 หมู่บ้านคือ บ้านบุก้านตงพัฒนาหมู่ที่ 16 และบ้านหนองตาดตามุ่งหมู่ที่ 5 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีพี่น้องประชาชนหมู่บ้านซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหมู่บ้านละ 5-10 คน โดยประมาณ อีกทั้งยังมีทีมผู้ปฏิบัติงานร่วมกิจกรรมในการดำเนินงานจำนวน 18 คน โดยมีการเข้าร่วมโครงการที่มีรูปแบบในการทำกิจกรรมดังต่อไปนี้อาทิ เช่น
-มีการดำเนินงานร่วมกับชุมชนทั้ง 2 หมู่บ้านคือ บ้านบุก้านตงพัฒนาหมู่ที่ 16 และบ้านหนองตาดตามุ่งหมู่ที่ 5 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีการจัดเตรียมโรงเรือนสำหรับเพาะเห็ดนางฟ้า และปรับภูมิทัศน์ให้เข้ากับบริบทของการเพาะเห็ดเพื่อให้ได้มาตรฐาน
-มีการดำเนินการในการประสานงานในการร่วมมือในการปฏิบัติงานของทีมผู้ปฏิบัติงานและชุมชน
-มีการจัดเตรียมอุปกรณ์ในการจัดทำโรงเรือนในการเพาะเห็ด อาทิ เช่น ไม้ยูคาลิปตัส ผ้าคลุม ไม้ไผ่ ตะปู ลวดคีม ค้อนตีตะปู เป็นต้น
-สมาชิกดำเนินการในการจัดชั้นวางเห็ดและจัดเรียงเห็ดในโรงเรือนเพาะเห็ด และมีการทำรั้วขอบชิด การมุงหลังคาและปิดช่องลมเพื่อไม่ให้อากาศเข้า
-ทีมผู้ปฏิบัติงานได้ฟังการบรรยายให้ความรู้จากวิทยากรในการจัดทำเห็ด ขั้นตอนการปฏิบัติในการเก็บเห็ดออก และรวมถึงขั้นตอนต่างๆที่วิทยากรได้แนะนำให้กับผู้ปฏิบัติงานได้ทราบและเป็นองค์ความรู้และสามารถนำไปต่อยอดในครั้งถัดไปได้อีกด้วย
-มีการบริหารจัดการผลผลิตที่ได้จากการจำหน่ายเห็ดนางฟ้าออกจำหน่ายสู่เขตชุมชนเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบพอพียงในอีกรูปแบบหนึ่งและรายได้ที่ในจะนำมาบริหารเป็นทุนกองกลางในการพัฒนาต่อไป
-มีการจัดทำโรงเรือนโดยนำเห็ดไปบรรจุที่โรงเรือนให้กับพี่น้องชุมชนบ้านบุก้านตงพัฒนาหมู่ที่ 16 จำนวน 800 ก้อน
-มีการจัดทำโรงเรือนโดยนำเห็ดไปบรรจุที่โรงเรือนให้กับพี่น้องชุมชนบ้านหนองตาดตามุ่งหมู่ที่ 5 จำนวน 1,000 ก้อน
รายรับ–รายจ่ายโรงเรือนบ้านบุก้านตงพัฒนาหมู่ที่ 16
จำนวนก้อนเชื้อเห็ด 800 ก้อน สามารถเก็บรวบรวมได้ประมาณ 23 กิโลกรัม
จำหน่ายได้ 1,840 บาท
รายรับ-รายจ่ายโรงเรือนหนองตาดตามุ่งหมู่ที่ 5
จำนวนก้อนเชื้อเห็ด 1,000 ก้อน สามารถเก็บรวมได้ประมาณ 46 กิโลกรัม
จำหน่ายได้ 3,946 บาท
สภาพปัญหา
-ปัญหาที่พบจากการดำเนินการทำโรงเรือนเพาะเห็ด คือ สภาพปัญหาในเรื่องของสภาพภูมิอากาศและการถ่ายเทอากาศของโรงเรือนในการเพาะเห็ดทำให้ผลผลิตของเห็ดอาจจะเน่าเสียได้
-การแก้ไขปัญหาโดยได้คำแนะนำจากท่านวิทยากรในการเพาะเห็ด โดยการทำโรงเรือนให้ครอบคลุมและเหมาะสมให้กับสภาพอุณหภูมิให้เหมาะสมเพื่อเห็ดนางฟ้านั้นจะได้งอกออกมาได้อย่างดี
2.มีการจัดทำคลิปวีดีโอแนะนำการเพาะเห็ดเพื่อสร้างอาชีพร่วมกับชุมชน และนำไปเผยแพร่นำไปเป็นสื่อการเรียนการสอนได้สำหรับผู้ที่สนใจในการทำเห็ดนางฟ้า เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างรายได้แบบง่ายๆได้อีกด้วย
3.มีการจัดทำแผนสรุปในการดำเนินงานตามแบบ 01,02,06 ลงในช่องแพลตฟอร์มของมหาวิทยาลัย ในรอบการประเมินครั้งที่ 1 (มีนาคม-กรกฎาคม 2564) เพื่อจัดทำแผนสรุปผลการดำเนินงานพร้อมทั้งจัดทำรายงานปฏิบัติงานในช่วงเวลาที่ผ่านมากับสมาชิกทีมผู้ปฏิบัติงาน
ภาพประกอบการทำกิจกรรม