ด้านการเกษตร ในพื้นที่ ต.แสลงพัน การทำเกษตรเป็นลักษณะปลูกข้าวเป็นแกนหลักตามด้วยการปลูกพืชผักแบบผสมผสานร่วมกับการเลี้ยงสัตว์
มีเศรษฐกิจพอเพียงหรือการปลูกพืชผักแบบพึ่งตนเองและมีกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ สัตว์เลี้ยงชุมชนส่วนใหญ่คือ โค กระบือ สุกร ไก่ เป็ดและปลา มีการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์หมุนกันตลอดปี พืชที่ปลูกคือปลูกข้าว และพืชผักสวนครัว เช่น พริก มะเขือ ลักษณะภูมิประเทศ สภาพพื้นที่ตำบลแสลงพันเป็นดินร่วนปนทราย ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพนา ทำ และเลี้ยงสัตว์ มีพื้นที่ 36,537.50ไร่ คิดเป็นร้อยละ 17.22 ของพื้นที่ทั้งหมดในเขตอำเภอลำปลายมาศ
สามารถมีความรู้และนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่า
ผลผลิตทางการเกษตรที่ส่งขาย ส่วนใหญ่ข้าวจะทำการทยอยขายหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จทั้งนี้ผลิตข้าวมีแนวโน้มลดลงจากในอดีต ทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่ทยอยขาย เนื่องว่าชาวบ้านเกรงว่าข้าวจะไม่พอกินในรอบปี
สามารถมีความรู้และนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่า
ปัญหาของการบริหารจัดการด้านเกษตร
ในการผลิตเกษตรจะพบปัญหาราคาตกต่ำและเรื่องภัยทางธรรมชาติเป็นสำคัญ โดยเฉพาะในด้านภัยแล้งถือว่าเป็นปัญหาสำคัญของชุมชนมาก ซึ่งชาวบ้านมีความต้องการบ่อบาดาล สระน้ำหรือบ่อบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์มาช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำแล้ง ในระบบการผลิตแบบเกษตรผสมผสานชาวบ้านต้องการเมล็ดพันธุ์พืชที่ดีที่นำมาใช้เพาะปลูก รวมทั้งต้องการความรู้ในการผลิตแบบพึ่งพาตนเองได้ในชุมชน เช่น การทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและส่งเป็นการส่งเสริมการลดใช้สารเคมีไปในตัวด้วย
จากเหตุผลดังกล่าวนี้ เพื่อความมั่นคงในทางอาหารให้มีอยู่มีกินจากสภาวะการที่ได้ผลกระทบจากโรคระบาดโควิด-19 ซึ่งปัจจุบันชุมชนมีสภาวะที่ค่อนข้างลำบากจากผลกระทบทางเศรษฐกิจและภาวะหนี้สินที่มีมากมาย หากมีโครงการสนับสนุนด้านเกษตรพอเพียงเกษตรกรมีความสนใจเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนาชุมชนต่อไปอีกด้วย
จากการสำรวจข้อมูลภาคสนามดังที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้นของสภาพพื้นที่ตำบลแสลงพัน พอจะสรุปได้ว่า เขตพื้นที่บ้านบุก้านตง หมู่ที่ 12 และในเขตหมู่บ้านข้างเคียงของตำบลแสลงพัน มีศักยภาพที่จะพัฒนา การผลิตน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์ในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร

อื่นๆ

เมนู