โครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย
หมู่บ้านแสลงพันพัฒนา ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย
เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
หลักสูตร HS06- การสร้างรายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
ข้าพเจ้านางสาว ศิรินันท์ ฝาสูงเนิน ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับผิดชอบวิเคราะห์ข้อมูลบ้านแสลงพันพัฒนา หมู่ 14 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามแบบ 01,02 และ 06 ในภาพรวมพบว่า ชาวบ้านส่วนใหญ่ในพื้นที่ทำเกษตรกรรม ทำนา ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ อาทิ วัว ควาย เป็นอาชีพหลักและส่วนน้อยจะออกไปทำงานในเมือง จึงทำให้ชาวบ้านในพื้นที่บ้านแสลงพันพัฒนานั้นมีเงินใช้จ่ายหมุนเวียนในครอบครัวน้อยต่อการใช้จ่าย
ดังนั้นการปฏิบัติหน้าที่ในโครงการฝึกอบรมการส่งเสริมอาชีพเพาะเห็ดฟางและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลัง จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ในการนำมาพัฒนาส่งเสริมแก่ชาวบ้านแสลงพันพัฒนา หมู่ 14 ได้ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ในครัวเรือนของตน โดยดิฉันทำหน้าที่เป็นผู้ประสานชุมชนของบ้านแสลงพันพัฒนา หมู่ 14 ในการเข้ามาเชิญชวนสมาชิกในชุมชนที่สนใจมีส่วนร่วมกับโครงการเพื่อร่วมเป็นจิตอาสาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีผู้สมัครเข้าร่วมสนใจกับทางโครงการ จำนวน 3 คน ได้แก่
- นาง ธิดา สีหาจันทร์ บ้านแสลงพันพัฒนา หมู่ 14
- นาง ปัด ฝาสูงเนิน บ้านแสลงพันพัฒนา หมู่ 14
- นาง สมัย คุณสาร บ้านแสลงพันพัฒนา หมู่ 14
ทั้งนี้ได้รับการเข้าอบรม เรื่องการส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดฟางและผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลัง จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ณ เทศบาล ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 3 – 4 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2564 โดยมีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
ในการเปิดโครงการนั้นได้เรียนเชิญ ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร. อัครพนท์ เนื้อไม้ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เป็นผู้เปิดโครงการ และเรียนเชิญ นายสมนึก ทราบรัมย์ กำนันตำบลแสลงพันเข้าร่วมเปิดโครงการอบรม อีกทั้งยังมีวิทยากรมากความสามารถอีกหนึ่งท่านที่เข้ามาเผยแผ่ความรู้ให้คือ นางอำนวย ศรีคล้าย ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเกษตรอินทรีย์และการผลิตปุ๋ยชีวภาพเป็นไปได้อย่างราบรื่น
- การฝึกอบรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ ดังนี้
การขยายเชื้อไตรโคเดอร์ม่า
อุปกรณ์
- น้ำ 20 ลิตร
- น้ำตาลทรายแดง 2 กิโลกรัม
- หัวเชื้อไตรโคเดอร์ม่า 2 ช้อนโต๊ะ (20 กรัม)
วิธีทำ
– เทน้ำใส่ถัง 20 ลิตร เติมน้ำตาลทรายแดง 2 กิโลกรัมคนให้ละลาย ใส่หัวเชื้อและคน
จากนั้นปิดฝาเป็นเวลา 24 ชั่วโมง
อัตราการใช้
– 5 ช้อนต่อน้ำ 20 ลิตร รดลงดินที่ปลูกพืช
ประโยชน์
– กำจัดเชื้อราหรือผสม 1 ลิตรต่อน้ำ 100 ลิตรทำปุ๋ยหมัก กำจัดโรคพืชไตรโคเดอร์ม่า + จุลินทรีย์หน่อกล้วย + น้ำหมักผลไม้อัตราส่วนเท่าๆกันผสมกันตักมา 5 ต่อ 10 ช้อนต่อน้ำ 20 ลิตรรถคุณต้นจะยับยั้งมะละกอจากโรคใบด่างวงแหวนส้มมะนาวเป็นโรคแคงเกอร์และรูปต่างๆของพืช
การทำจุลินทรีย์หน่อกล้วย (หัวเชื้อ)
วิธีทำ
- สับหน่อกล้วย 3 กิโลกรัม
- กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
- หมัก 7 วัน ( 1 อาทิตย์)
- คนเช้า – เย็น
ประโยชน์
– ป้องกันเชื้อราดินร่วนซุย กำจัดกลิ่นเหม็นช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ
– รักษาโรคกุ้งแห้งในพริกมะละกอเป็นโรคจุดวงแหวน
อัตราการใช้
– 2 ช้อนต่อน้ำ 20 ลิตร รดเช้าเย็น
การทำฮอร์โมนไข่สำหรับพืช
วิธีทำ
- ไข่ไก่ปั่นทั้งเปลือก 5 กิโลกรัม
- กากน้ำตาล 5 กิโลกรัม
- ยาคูลท์ 1 ขวดแป้งข้าวหมาก 1 เม็ด
- 4. หมัก 2 อาทิตย์
5.คนให้เข้ากันเช้า-เย็น
ประโยชน์
– เร่งผลผลิต เร่งผลดก มีธาตุอาหารครบทั้งธาตุหลักและธาตุรอง
อัตราการใช้
– 2 ช้อนต่อน้ำ 20 ลิตร
– รดเช้าหรือเย็น (สามารถฉีดพ่นได้ยิ่งดี)
การเพาะเห็ดจากฟางข้าว
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
1. ตะกร้าไม้ไผ่ หรือพลาสติก ที่มีตาห่างกันประมาณ 1 นิ้ว
2. ก้อนเชื้อเห็ดฟาง
3. เปลือกมันสำปะหลัง สับละเอียด
4. ฟาง
5. รำข้าว
6. พลาสติกใส สำหรับคลุม
ขั้นตอนการทำ
1. เริ่มจากแช่ฟางในน้ำทิ้งไว้ 1 คืน
2. บี้ก้อนเชื้อเห็ดฟาง แล้วนำมาผสมกับเปลือกมันสำปะหลังสับสับ และรำข้าว กะปริมาณ ให้พอดีกัน
3. นำฟางที่แช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน มาใส่รองก้นตะกร้า เป็นชั้นที่ 1 ที่สำคัญคือต้องกดให้แน่น และเก็บฟางให้เรียบร้อยอย่าให้ออกมาช่องตะกร้า อาจใช้กรรไกรช่วยเล็มออกก็ได้
4. โรยเชื้อเห็ดฟางที่ผสมแล้ว โดยโรยบริเวณริมขอบตะกร้า เว้นตรงกลางไว้หากใครมีปุ๋ยคอก อาจใส่ปุ๋ยคอกลงตรงกลาง เพื่อบำรุงเห็ดให้เติบโตดีขึ้นก็ได้
5. นำฟางมาคลุมปิด และทำสลับชั้นกันกับเชื้อเห็ดฟาง โดยใช้ฟางทั้งหมด 4 ชั้น และเชื้อเห็ด 3 ชั้น มีเคล็ดลับอยู่ว่า พอถึงเชื้อเห็ดชั้นที่ 3 ให้โรยไปให้ทั่ว ไม่ต้องเว้นตรงกลางไว้แล้วใช้ฟางคลุมปิดเป็นชั้นสุดท้าย
6. จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม แล้วใช้พลาสติกใสคลุมทิ้งไว้ หากเพาะหลายตะกร้า อาจทำเป็นกระโจมพลาสติกคลุมก็ได้
วิธีการดูแล
1. ตั้งไว้ในที่ร่ำไร คือได้แดดกับร่ม ประมาณ 50/50 เรียกว่าต้องไม่ร้อนและไม่เย็นเกินไป จากนั้นดูแลความชื้นให้ดี โดยสังเกตที่พลาสติกใส หากมีไอสีขาวๆ แสดงว่าความชื้นพอดี แต่ถ้าแห้ง ควรรดน้ำบริเวณรอบๆ ตะกร้า เพื่อเพิ่มความชื้นให้ตะกร้าเพาะ โดยไม่ต้องเปิดพลาสติกออกมารด
2. ข้อควรรู้อีกประการคือ หากจะวางตะกร้าบนดิน ควรหาก้อนหินหรือก้อนอิฐ สำหรับวางตะกร้า เพื่อป้องกันแมลงอย่างมดหรือปลวกรบกวน
3. รอประมาณ 5-10 วัน เห็ดรอบแรกก็จะออกมาให้ชื่นใจ เมื่อเก็บเห็ดแล้ว ให้รดน้ำให้ชุ่ม คลุมพลาสติกอีกครั้ง อีกประมาณ 7 วัน จะมีเห็ดออกมาให้เก็บอีกรอบ รวมแล้ว ถ้าดูแลดีๆ เชื้อเห็ด 1 ก้อน เพาะให้ตะกร้า 1 ใบ น่าจะได้เห็ดประมาณ 1 กิโลกรัม
ได้ทำการบันทึกข้อมูลสถานที่สำคัญในตำบล โดยได้รับผิดชอบบ้านแสลงพันพัฒนา หมู่ 14 มีสถานที่ต่างๆ ดังนี้
ได้ทำการบันทึกข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวของบ้านแสลงพันหมู่ 14
ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่
ปัญหานี้เกิดจากในพื้นที่ที่ลงปฏิบัติงานเป็นพื้นที่สีแดง จึงทำให้ไม่สามารถลงไปปฏิบัติงานได้ดีนักเพราะเป็นห่วงความปลอดภัยของคนในทีมอีกทั้งบางหมู่บ้านไม่ให้บุคคลภายนอกเข้าพื้นที่จึงทำให้งานล่าช้าไปบ้างในส่วนนี้
การทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับสมาชิก
ทั้งนี้ขอขอบพระคุณผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านที่ผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่เป็นอย่างยิ่งที่ให้ความร่วมมือแก่ผู้ปฏิบัติงานออกมาได้อย่างราบรื่น