บทความสรุปผลการปฏิบัติงาน
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมตำบลแบบบูรณาการ
บ้านสี่เหลี่ยมน้อย หมู่ที่ 9 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
โดย นายหัสวัฒน์ งอยไธสง กลุ่มนักศึกษา
****************************************************************
ลงพื้นที่เก็บข้อมูลระดับบุคคลครัวเรือนและชุมชน บ้านสี่เหลี่ยมน้อย หมู่ที่ 9 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัยจากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ข้าพเจ้า นายหัสวัฒน์ งอยไธสง ประเภทนักศึกษา รับผิดชอบเก็บรวบรวมข้อมูลในตำบลแสลงพัน ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงาน จำนวน 4 คน วันที่ 11 มีนาคม 2564 เวลา 09.30 น. ที่บ้านสี่เหลี่ยมน้อย ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ แบบสอบถามที่จัดเก็บของหมู่บ้านสี่เหลี่ยมน้อย 01 จำนวน 30 ชุด และแบบสอบถาม 02 จำนวน 30 ชุด รวมทั้งสิ้น 60 ชุด
สภาพบริบททั่วไป
สภาพบริบทโดยทั่วไปชาวบ้านสี่เหลี่ยมน้อยให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามเป็นอย่างดี จากการลงพื้นที่ในการสำรวจข้อมูลโดยดูพื้นที่ของภาพรวมทั้งหมดแล้วสภาพของชุมชนนั้นน่าอยู่ เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทำการเกษตร ทำไร่ ทำสวน เป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้รู้สึกว่าได้อยู่กับธรรมชาติอย่างแท้จริง หมู่บ้านสี่เหลี่ยมมีความสะอาดเรียบร้อย น่าอยู่ ไม่ค่อยจะมีขยะตามหมู่บ้าน สภาพชุมชนเป็นสภาพที่ไม่มีความแออัด มีอากาศที่ถ่ายเทบริสุทธิ มีร้านค้าพอเพียงต่อความต้องการของประชาชนครัวเรือนและชุมชน สภาพปัญหาของหมู่บ้านส่วนมากขาดไฟฟ้าส่องสว่างในหมู่บ้านและปัญหาน้ำเสีย และอีกทั้งยังขาดองค์ความรู้ในด้านการทำเกษตรอินทรีย์อีกด้วย และความต้องการของหมู่บ้านอยากให้มหาวิทยาลัยมาอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเรื่องการเกษตรและการทำเกษตรอินทรีย์และกลุ่มอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนครอบครัวอีกด้วย
ด้านสภาพเศรษฐกิจ
1.มีกลุ่มอาชีพเกี่ยวกับด้านการทำการเกษตรหรือปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวหรือชุมชนอีกด้วย
2.มีการทำด้านการเกษตรหรือวัสดุอุปกรณ์ที่เหลือใช้จากการทำการเกษตรมาประยุกต์ใช้ให้เป็นเศษวัสดุที่เหลือใช้จากธรรมชาติมาทำเป็นสิ่งต่างๆเช่น การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ เพื่อเป็นแบบอย่างในชุมชนและยังสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาขยายผลได้ และยังเป็นการหนุนนำเรื่องเศรษฐกิจให้กับชุมชนอีกด้วย
สภาพปัญหาของชุมชน
1.ปัญหายาเสพติด
2.ปัญหาไฟฟ้าส่องสว่างในชุมชน
3.ปัญหาการจัดการน้ำเสีย
4.ปัญหาวัยรุ่นส่งเสียงดังเวลากลางคืน
5.ปัญหาการลักทรัพย์/ลักขโมย
แนวทางการพัฒนาหรือข้อเสนอแนะในการพัฒนา
1.มีหน่วยงานเจ้าหน้าที่เข้ามาป้องกันปราบปรามยาเสพติด
2.พัฒนาเรื่องการติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างตามหมู่บ้าน
3.มีการบริหารที่ดีในการบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียให้ดีขึ้น
ภาพประกอบในการลงพื้นที่
รูปภาพ 1.1 สอบถามการทำสวน รูปภาพ 1.2 สำรวจเก็บแบบสอบถาม
รูปภาพ 1.3 นั่งพูดคุยกับผู้สูงอายุ รูปภาพ 1.4 สัมพาษณ์ถามข้อมูล