1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS06 - ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ
  4. โครงการยกระดับเศรษฐกิจเเละสังคมรายตำบลเเบบบูรณาการ1ตำบล1มหาวิทยาลัยบ้านหนองตาหล่าตำบลเเสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนมีนาคม 2564

โครงการยกระดับเศรษฐกิจเเละสังคมรายตำบลเเบบบูรณาการ1ตำบล1มหาวิทยาลัยบ้านหนองตาหล่าตำบลเเสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนมีนาคม 2564

บทความสรุปผลการปฏิบัติงาน

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมตำบลแบบบูรณาการ

บ้านหนองตาหล่า หมู่ที่ 8 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

โดย นางสาวอารียา วิลาศ กลุ่มนักศึกษา

*********************************************************************

 

ข้าพเจ้า นางสาวอารียา วิลาศ ประเภทกลุ่มนักศึกษา ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์หลักสูตร: HS06

 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดลงพื้นที่เพื่อชี้แจงการปฏิบัติงานที่ วัดป่าแสลงพัน วันที่ 7 มีนาคม 2564 เวลา 16.00 น. หลังจากชี้แจงเรียบร้อยแล้วก็มีการแยกย้ายการลงพื้นที่ ที่รับผิดชอบ โดยในส่วนของนักศึกษาที่รับผิดชอบ หมู่ที่ 8 บ้านหนองตาหล่า ในส่วนของตัวข้าพเจ้า และทีมงานอีกหนึ่งคนได้รับผิดชอบลงพื้นที่ หมู่ที่ 8 บ้านหนองตาหล่า ต.แสลงพัน อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ เพื่อสอบถามข้อมูลตามแบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน รวมไปถึงแบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 เพื่อจะนำข้อมูลที่ได้มาสานต่อให้เกิดประโยชน์ตามเป้าหมายต่อไป

   ข้าพเจ้าและทีมงานได้เข้าไปติดต่อ กับผู้นำชุมชนบ้านหนองตาหล่าในวันที่ 8 มีนาคม 2564 เพื่อจะขอความช่วยเหลือ และให้ความเชื่อถือแก่ชาวบ้านในการเข้าไปเก็บข้อมูลดังกล่าว หลังจากนั้นข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่เข้าไปเก็บข้อมูลในวันที่ 9 มีนาคม 2564 โดยมีผู้นำชุมชนช่วยประสานงานให้ชาวบ้านอยู่บ้านเพื่อที่จะได้เข้าไปสำรวจทีละหลังคาเรือน โดยทางผู้นำชุมชนได้ช่วยจัดหาผู้ชำนาญพื้นที่ในการนำทาง โดยเริ่มสำรวจข้อมูลหลังคาเรือนแรก เวลา 10.00 น. โดยในแบบสอบถามจะถามถึงข้อมูลส่วนตัวบุคคลทั่วไป ภาวะด้านเศรษฐกิจของครัวเรือน และชุมชน ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมของชุมชน ด้านการท่องเที่ยวของชุมชน สภาพและความต้องการของชุมชน/หมู่บ้าน เป็นต้น ซึ่งชาวบ้านก็ให้ความสนใจและความร่วมมือเป็นอย่างดี ในการเก็บข้าพเจ้าและทีมงานจะแยกกันเก็บคนละหลังคาเรือน และเสร็จภารกิจหลังสุดท้ายในเวลาประมาณ เกือบ 17.00 น. จากการลงพื้นที่ครั้งนี้ชาวบ้านให้ความสนใจเราเป็นอย่างมากให้ความร่วมมือแก่ผู้ปฏิบัติงานเป็นอย่างดี ให้ข้อมูลที่เราถามไปอย่างเต็มที่

ครัวเรือนและชุมชน ส่วนมากพบปัญหาการขาดแคลนน้ำใช้ ถนนไม่ดีเท่าที่ควรและความต้องการสารต่อตลาดหน้าหมู่บ้าน เพื่อให้ชาวบ้านนำสินค้ามาขายได้เพิ่มรายได้ให้กับคนในหมู่บ้านและส่วนมากต้องการให้ทางมหาลัยเข้าไปสร้างรายได้ให้เช่นสอนทำเห็ดฟางแล้วนำมาขายเพื่อสร้างอาชีพเสริมได้

 แบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคล เกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ประชาชนส่วนใหญ่รู้ เข้าใจเกี่ยวกับโรคระบาดเป็นอย่างดีพร้อมกับให้ความรวมมือในการป้องกัน

จากนี้ข้าพเจ้าและทีมงานต้องขอขอบพระคุณ ผู้นำชุมชนบ้านหนองตาหล่า และชาวบ้านมา ณ โอกาสนี้ด้วย

ประเด็นวิเคราะห์

การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเป็นการช่วยป้องกันปัญหาผลผลิตล้นตลาด หรือผลผลิตตกเกรดไม่ได้ขนาดตามที่ลูกค้าต้องการ ทำให้สามารถยกระดับราคาผลิตผลไม่ให้ตกต่ำ และการสร้างเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตผลทางการเกษตร การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรให้เป็นผลิตภัณฑ์อาหาร หรือวัตถุดิบอาหาร จะทำให้สามารถขยายตลาดการค้าออกไปสู่ จะช่วยเพิ่มพูน รายได้ให้แก่ประเทศได้เป็นอย่างดี

                แนวทางการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเป็นการทำให้ผลผลิตมีรส กลิ่น เปลี่ยนไปจากเดิมเช่น การดองเค็ม โดยใช้เกลือ เช่นการดองไข่ มะนาว ผักกาดดอง เป็นต้น สามารถฆ่าหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดการเน่าเสีย หรือการดองหวาน (การแช่อิ่ม) โดยใช้น้ำตาล เช่นมะม่วงแช่อิ่ม มะดันแช่อิ่ม เป็นต้น เทคนิคในการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรมีหลายขั้นตอน และหลายรูปแบบ แต่ที่สำคัญผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปนั้นๆจะต้องมีความอร่อย ผู้บริโภครับประทานแล้วต้องติดใจในรสชาติ ซึ่งผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปสามารถทำรายได้ให้แก่เกษตรกร

และให้ประชาชนทำปุ๋ยหมักมาใช้เป็นปุ๋ยหมักเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ได้จากการหาวัสดุอินทรีย์จากพืชในชุมชนและสัตว์ทางการเกษตร และจากชุมชนมาผลิตดว้ยกรรมวิธีทำ สับ บด ร่อน และผ่านกรรมวิธีหมักอย่างสมบูรณ์ปุ๋ยเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตพืชด้านการเจริญเติบโตและ สร้างผลผลิต โดยปกติพืชจะได้รับธาตุอาหารต่างๆจากดิน

ชาวบ้านค่อนสนใจเรื่องการเพาะเห็ดฟางซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเพาะแบบกองเตี้ย การเพาะในถุง การเพาะแบบโรงเรือนอบไอน้ำ แล้วแต่สภาพความพร้อมของพื้นที่และความพร้อมของผู้เพาะ รวมทั้งวัสดุที่ใช้เพาะ ก็ใช้ได้หลากหลายอย่าง ตามที่มีในท้องถิ่น เช่น ฟางข้าว ผักตบชวา ต้นกล้วยแห้ง ไส้นุ่น เปลือกถั่ว หรือกากมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นการนำวัสดุที่เหลือใช้ในท้องถิ่นมาเพิ่มมูลค่านั่นเอง ที่สำคัญการเพาะเห็ด นอกจากจะเป็นการผลิตอาหารในครอบครัวแล้ว ยังสามารถสร้างงาน สร้างรายได้เสริม ในช่วงว่างจากฤดูการทำนา และวัสดุที่เหลือจากการเพาะเห็ดก็สามารถนำกลับลงในแปลงนาเพื่อบำรุงดิน หรือทำเป็นปุ๋ยหมักใส่พืชผักได้อีกด้วยซึ่งจากการวิเคราะห์สภาพของชุมชนสภาพแวดล้อมพร้อมที่จะทำเห็ดฟางได้อย่างดี

ซึ่งถ้าทำได้ตรงตามความต้องการแล้วประสบความความสำเร็จแล้วสร้างรายได้ให้ประชาชนแล้วนำไปขายตลาดหน้าหมูบ้านเป็นผลผลิตของชุมชนเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้านยิ่งจะตรงไปตามความต้องการของชาวบ้านอีกด้วย

 

r.lบริบทชุมชน

 

 

 

อื่นๆ

เมนู