รายงานสรุปผลการปฏิบัติงาน
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ
พื้นที่เก็บข้อมูล บ้านสี่เหลี่ยมเจริญ หมู่ 10 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
โดย นายอภิสิทธิ์ แสงสุข กลุ่มนักศึกษา
———————————————————————————————————————————————————-
ผลการปฏิบัติงาน
1.ประชุมการวางแผนปฏิบัติงานเดือนมีนาคม
2.ประชุมติดตามผลการปฏิบัติงาน 2 ครั้ง
3.ประชุมสรุปและวางแผนการปฏิบัติงานในเดือนเมษายน
4.เก็บรวบรวมข้อมูลตามแบบ 01 และ 02
5.วิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำรายงานผลตามแบบ 01 และ 02
การปฏิบัติงานในครั้งต่อไป
1.เก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลแบบ 01 และ 02 ครบ 100%
2.จัดเวทีระดมความคิดเพื่อพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์
3.ถ่ายทอดออกแบบกิจกรรม ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่การพัฒนาให้เป็นรูปธรรม
จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลสำรวจประชากรในหมู่บ้าน บ้านสี่เหลี่ยมเจริญ หมู่ 10 โดยมีนายหนูนา ศรีทัพไทย ผู้ใหญ่บ้านสี่เหลี่ยมเจริญ ให้การต้อนรับและช่วยประชาสัมพันธ์ข่าวสารในการลงสำรวจฯ ที่ตั้งของหมู่บ้าน( ยึดที่ตั้งบ้านผู้ใหญ่บ้านเป็นหลักที่ ) ละติจูด14.986785, ลองจิจูด102.960540 ลักษณะการใช้ภาษาส่วนใหญ่เป็นภาษาท้องถิ่น คือ ภาษาไทยลาว ลักษณะกลุ่มชาติพันธุ์ในบ้านสี่เหลี่ยมเจริญ หมู่10 เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ไทย ไทยลาว ลักษณะสถาบันทางสังคมในหมู่บ้าน ประกอบด้วย วัดศรีสวัสดิ์ ( ใช้ระหว่างหมู่9กับหมู่10 ) โรงเรียนบ้านสี่เหลี่ยมเจริญ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแสลงพัน องค์การบริหารส่วนตำบลแสลงพัน เส้นทางการคมนาคมของหมู่บ้านสี่เหลี่ยมเจริญ มีทางหลวงหมายเลข226 ตัดผ่านกลางหมู่บ้าน จึงมีความความสะดวกในการคมนาคมขนส่งสินค้า ชาวบ้านสี่เหลี่ยมเจริญส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำนา เลี้ยงวัว ฯลฯ จากการประกอบอาชีพของชาวบ้านบ้านสี่เหลี่ยมเจริญจึงทำให้เกิด
1.ผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็นอัตลักษณ์ของหมู่บ้าน คือ ข้าวเขียวมรกต และ โคขุน
2.ผลผลิตที่สามารถพัฒนาต่อยอดเพื่อเพิ่มรายได้ คือ นกกระทา ไข่นกกระทา ปูนขาวจากเปลือกหอยแครง
ปัญหาด้านการเกษตรคือการผลิตของกลุ่มข้าวเขียวมรกตคือสถานที่ตั้งของกลุ่มสภาพไม่ค่อยพร้อมเท่าที่ควร ความสะอาดของสถานที่ในการผลิต ซึ่งกลุ่มข้าวเขียวมรกตยังต้องได้รับความรู้เพิ่มเติมในการผลิต และในการบรรจุภัณฑ์ เพราะกลุ่มข้าวเขียวมรกตผ่านมาตรฐานแล้วประมาณ 3 ปี แต่ยังไม่มีโลโก้ผลิตภัณฑ์เป็นของตัวเอง ปัญหาด้านสังคมคือปัญหายาเสพติดประชาชนส่วนใหญ่จึงกังวลว่าจะได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวทั้งด้านร่างกายหรือด้านทรัพย์สิน อีกทั้งบางรายมีอาการทางประสาทเจ้าหน้าที่ภาครัฐยังไม่ได้เข้ามาดูแลช่วยเหลือ และปัญหาสุขภาพคือคลองระบายน้ำเสียที่ส่งกลิ่นเหม็นและมีน้ำขัง ส่งผลให้อากาศในบางช่วงของหมู่บ้านไม่ปลอดโปร่ง
แนวทางการแก้ไขปัญหาด้านเกษตรคืออบรมให้ความรู้เรื่องมาตรฐานในการผลิตให้กับกลุ่มข้าวเขียวมรกต และ ให้ความรู้ใหม่ในเรื่องของการทำโลโก้ผลิตภัณฑ์เป็นของกลุ่มเอง เพื่อใช้ในการขายโดยไม่ต้องส่งให้บริษัทไปตีตราเป็นของตัวเอง ด้านสังคมคือการประชาสัมพันธ์หรือจัดเวทีชุมชน ให้ความรู้เกี่ยวกับโทษของปัญหายาเสพติดให้แก่กลุ่มเป้าหมายของชุมชนคือเยาวชน และด้านสุขภาพคือให้หน่วยงานภาครัฐและประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการกับปัญหาคลองระบายน้ำเสียหรือปราชญ์ชาวบ้านที่ให้มีส่วนร่วมในการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการแก้ไข