บทความสรุปผลการปฏิบัติงาน
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมตำบลแบบบูรณาการ
บ้านสี่เหลี่ยมเจริญ หมู่ 10 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
โดย นายอภิสิทธิ์ แสงสุข กลุ่มนักศึกษา
ประจำเดือนพฤษภาคม
***************************************************
- ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลบ้านสี่เหลี่ยมเจริญ หมู่ 10 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามแบบ 01, 02 และ 06 ในภาพรวมพบว่าประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาปี เลี้ยงสัตว์ จากการลงพื้นที่และวิเคราะห์ ประชากรต้องการลดค่าใช้จ่ายทางการเกษตรลง และต้องการมีอาชีพเสริม
- ปฏิบัติหน้าที่ในโครงการฝึกอบรมการส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดฟางและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลัง: เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โดยทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานกับชุมชนที่รับผิดชอบ ได้ปฏิบัติหน้าที่ดังนี้
-เชิญชวนสมาชิกในชุมชนบ้านสี่เหลี่ยมเจริญ หมู่ 10 เพื่อร่วมเป็นจิตอาสาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 6 คน ได้แก่
1.นายหนูนา ศรีทัพไทย บ้านสี่เหลี่ยมเจริญ หมู่ 10
2.นายพรมมา ทีเหมาะ บ้านสี่เหลี่ยมเจริญ หมู่ 10
3.นายดนัย นาครินทร์ บ้านสี่เหลี่ยมเจริญ หมู่ 10
4.นายรอด ชอบรัมย์ บ้านสี่เหลี่ยมเจริญ หมู่ 10
5.นายสุรัตน์ อินไธสง บ้านสี่เหลี่ยมเจริญ หมู่ 10
6.นายกุลเกษม ปพรภานนท์ บ้านสี่เหลี่ยมเจริญ หมู่ 10
- ได้เข้ารับการอบรม เรื่อง การส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดฟางและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลัง: เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ณ เทศบาลตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ
จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 3 – 4 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 โดยมีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
3.1 กิจกรรมเปิดโครงการและแนะนำโครงการ ส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดฟางและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลัง
3.2 การฝึกอบรมการผลิตปุ่ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ ดังนี้
ปุ๋ยหมักฟางข้าวและใบไม้
วัสดุ และส่วนผสม
– ฟางแห้งสับละเอียด 1 ส่วน ประมาณ 10 กก.
– แกลบดิบ/แกลบเผา 1 ส่วน
– ปุ๋ยยูเรีย 200 กรัม
– กากน้ำตาล 100 ซีซี
– เชื้อ EM 20 ซีซี
– น้ำ 10 ลิตร
วิธีทำ
– คลุกผสมฟาง และแกลบให้เข้ากัน หากมีจำนวนมากให้แยกคลุก แล้วค่อยมารวมกันเป็นกองเดียวอีกครั้ง
– ผสมเชื้อ EM และกากน้ำตาลร่วมกับน้ำ หลังจากนั้น ใช้เทราด และคลุกให้เข้ากันกับวัสดุอื่นๆ
– นำไปหมักในถัง ถุงกระสอบ หรือ บ่อซีเมนต์ นาน 1-2 เดือน ก็สามารถนำไปใช้ได้
3.3 การเพาะเห็ดจากฟางข้าว สูตรการทำก้อนเพาะเห็ดจากฟางข้าว
ขั้นตอนที่ 1.นำฟางข้าวลงไปแช่น้ำนาน 1-2 ชั่วโมง หรือใช้สายยางรดน้ำให้ฟางข้าวเปียก นุ่ม ชุ่มน้ำ จากนั้นนำขึ้นมาวางให้สะเด็ดน้ำ
ขั้นตอนที่ 2.ใช้มีดสับฟางข้าวให้เป็นท่อนๆ ความยาวประมาณ 18-20 เซนติเมตร (1 คืบ)
ขั้นตอนที่ 3.ใช้รำละเอียดโรยลงบนกองฟางข้าว ตามด้วยปูนขาว ยิปซั่ม และภูไมท์ ตามอัตราส่วนที่กำหนด แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน จะช่วยให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น
ขั้นตอนที่ 4.นำฟางข้าวที่คลุกเคล้ากับส่วนผสมทุกอย่างแล้วยัดบรรจุลงถุงพลาสติก จนเต็มถุง ใช้มือกดให้ฟางข้าวยุบตัวแน่น เมื่อกดแล้ว 1 ถุง จะได้หนักประมาณ 800 กรัม (8 ขีด)
ขั้นตอนที่ 5.ใส่คอขวดที่ปากถุง รัดด้วยยางรัด ปิดปากถุงด้วยสำลีและปิดด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์เก่าอีกครั้ง และใช้ยางรัดเช่นเดียวกับการผลิตก้อนเชื้อเห็ดจากขี้เลื่อย
ขั้นตอนที่ 6.การนึ่งก้อนเชื้อเห็ดในหม้อนึ่งลูกทุ่ง
1.เตรียมวัสดุ-อุปกรณ์การนึ่งก้อนเชื้อ ซึ่งได้แก่ เตานึ่งแบบลูกทุ่ง(ดัดแปลงจากถัง 200 ลิตร) ชั้นวาง , ถุงวัสดุเพาะเห็ด,ฝาปิดถัง ,ไม้ฟืน และ น้ำ
2.ใส่น้ำในถังนึ่งความสูงประมาณ 25 ซ.ม. แล้วใส่ชั้นวาง จากนั้นวางถุงก้อนเชื้อเห็ดเป็นชั้น ๆ จนเต็มถังแล้วปิดฝา แต่อย่าให้แน่นจนเกินไป และก่อนวางถุงวัสดุเพาะด้านในของถัง ต้องบุด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์เพื่อป้องกันถุงละลาย
- ก่อไฟโดยใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงต้มน้ำให้เดือด เริ่มจับเวลาตั้งแต่น้ำเดือดเป็นไอพุ่งออกมา เป็นเวลา 3 ช.ม. ( อุณหภูมิ 100 เซลเซียส เป็นเวลา 3 ช.ม. )
- เมื่อครบ 3 ช.ม. นำถุงก้อนเห็ดออกวางในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็นเพื่อรอใส่เชื้อเห็ด ในวันถัดไป
ขั้นตอนที่ 7. ใส่หัวเชื้อเห็ด ถุงละประมาณ 1 ช้อนชา จากนั้นปิดฝาไว้เหมือนเดิม แล้วหุ้มด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์และรัดด้วยยางรัด
ขั้นตอนที่ 8. นำก้อนเชื้อไปวางไว้ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ปราศจากมด แมลง โดยไม่ให้โดนแดด
ขั้นตอนที่ 9. ทิ้งก้อนเชื้อไว้ประมาณ 25 วัน เชื้อเห็ดจะเดินเต็มก้อนมองเห็นเป็นเส้นใยสีขาวจนเต็มถุง นำก้อนเชื้อที่ได้ไปไว้ในโรงเปิดดอก
ขั้นตอนที่ 10. เมื่อครบ 30 วัน เส้นใยเห็ดเริ่มแก่เต็มที่จะเริ่มเห็นดอกตูมขึ้นในถุง ให้รีบนำไปเปิดดอก โดยเอาสำลีออก 3-5 วันหลังจากเปิดหน้าดอกจะได้เห็นดอกเห็ดที่เจริญเต็มที่พร้อมที่จะเก็บไปบริโภคต่อไป
ขั้นตอนที่ 11. ก้อนเชื้อเห็ดที่เก็บดอกแล้ว จะออกดอกได้อีก 2-3 ครั้ง โดยจะทิ้งช่วงออกดอกครั้งละ 7-10 วัน
- ได้ทำการบันทึกข้อมูลสถานที่สำคัญในตำบล โดยรับผิดชอบบ้านสี่เหลี่ยมเจริญ หมู่ 10 มีสถานที่สำคัญต่าง ๆ ดังนี้
4.1 วัดศรีสวัสดิ์
4.2 องค์การบริหารส่วนตำบลแสลงพัน
4.3 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแสลงพัน
- ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่
ชุมชนยังขาดองค์ความรู้และการรวมกลุ่มเกี่ยวกับเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ มีการเผาทำลาย ก่อให้เกิดเป็นมลภาวะต่อสภาพแวดล้อมในชุมชน - ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา
พัฒนาต่อยอดและบูรณาการกับชาวบ้านอย่างต่อเนื่องเพื่อประสิทธิภาพที่สมบูรณ์แบบที่สุด