โครงการยกระดับเศรษฐกิจรายตำบลแบบบูรณาการ (1ตำบล1มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
หลักสูตร SH06 รายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โครงการอบรมส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดฟาง และการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากฟางข้าว และเปลือกมันสำปะหลัง ระหว่างวันที่ 3-4 พฤษภาคม พ.ศ.2564 วัดป่าแสลงพัน ต.แสลงพัน อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์
นายบุญเหนือ เครือตา ประเภทบัณฑิต ต.แสลงพัน
ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการร่วมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมงานผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งได้ฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานประจำตำบล เพื่อนำความรู้ที่ได้อบรมจากวิทยากรรับเชิญที่มีประสบการณ์โดยตรงในอาชีพนั้นๆ เพื่อถ่ายทอดสู่ชุมชน และฝึกอบรมให้กับชาวบ้านในพื้นที่ต่างๆของตำบลแสลงพัน อาทิ การทำเห็ดฟางจากฟางข้าว การทำปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้ และการทำสารปรับปรุงสภาพดิน จุลินทรีย์จากหน่อกล้วย เป็นต้น
การฝึกอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.อัครพนธ์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังศาสตร์ มาเป็นประธานในพิธี กำนัน ต.แสลงพัน กล่าวต้อนรับ นอกจากนี้ยังมีผู้ใหญ่บ้าน อสม เข้าร่วมเปิดงานและวัดอุณหภูมิเพื่อเว้นระยะห่าง ซึ่งการอบรมในครั้งนี้แบ่งกิจกรรม2ประเภท ได้แก่การทำเห็ดฟาง การทำปุ๋ยอินทรีย์ สารปรับปรุงสภาพดินและน้ำหมักชีวภาพจากหน่อกล้วย การอบรมครั้งนี้ได้เรียนรู้การทำฮอร์โมนจากเปลือกไข่ ได้รับความรู้ด้านพืชที่ปลอดสารพิษ วิธีการปลูก การดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยว เป็นต้น
ตัวอย่างที่1
สูตรฮอร์โมนไข่
วัสดุอุปกรณ์
– ไข่ไก่ทั้งฟอง 6 กิโลกรัม
– กากน้ำตาล 6 กิโลกรัม
– แป้งข้าวหมาก 1 ก้อน
– ยาคูลท์หรือนมเปรี้ยว 1 ขวด
– ถังน้ำ 1 ถัง
– ไม้คน 1 อัน
– เครื่องปั่น 1 เครื่อง
วิธีทำ
– นำไข่ไก่ไปปั่นให้ละเอียด เทใส่ถังที่เตรียมไว้
– นำกากน้ำตาลเทลงไป
– นำแป้งข้าวหมากบดให้ละเอียดเทลงไป
– นำยาคูลท์เทลง คนให้เข้ากัน ต้องคนไปในทางเดียวกัน ห้ามสลับทาง
หมักไว้ 14 วัน เก็บไว้ในที่ร่ม เมื่อถึงกำหนดจึงนำมาใช้ได้
ตัวอย่างที่2
สูตรฮอร์โมนกล้วย
วัสดุอุปกรณ์
1.ต้นกล้วย(ตัดในช่วงเช้า)
2.กากน้ำตาล
วิธีทำ
1.สับต้นกล้วยให้ละเอียด
2.นำกากน้ำตาลผสมกับต้นกล้วยที่สับแล้ว ในสัดส่วน 1/3 ผสมแล้วคนให้เข้ากันทิ้งไว้ 7 วัน จึงจะสามารถนำมาใช้ได้
ข้อเสนอแนะ ปัญหาที่พบ และแนวทางการพัฒนาชุมชน
ประชาชนนั้นเข้าอบรมจำกัดจำนวนเพราะต้องเว้นระยะห่างทำให้มีจำนวนคนเข้าอบรมไม่มากนัก ข้าพเจ้าได้เรียนรู้วิธีการทำปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้ที่เหลือใช้ในชุม ขั้นตอนวิธีการทำ ระยะเวลาที่หมัก และการใช้ประโยชน์ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดสู่สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการที่อยู่ในชุมชนได้ เพื่อลดรายจ่ายในสภาวะเศษฐกิจยุคโควิด19 ประชาชนได้รับประโยชน์ลดการซื้อปุ๋ย ยา สารเคมี การดำเนินงานในครั้งต่อๆไปควรจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งที่2 เพื่อที่ชุมชนจะได้เข้าร่วมอบรมทุกหมู่บ้าน ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และร่วมมือพัฒนาชุมชนให้ยั่งยืน
ภาพปฏิบัติงานเดือนพฤษภาคม
ภาพที่1 ประชุมและวางแผน
ภาพที่2 พิธีเปิดอบรมโครงการ
ภาพที่3 ฝึกอบรมการทำน้ำหมักชีวภาพ
ภาพที่4 การทำจุลินทรีย์จากหน่อกล้วย
ภาพที่5 ส่วนผสมและวิธีการทำ
ภาพที่6 การทำปุ๋ยอินทรีย์
ภาพที่7 ขั้นตอนการทำปุ๋ยอินทรีย์
ภาพที่8 การทำปุ๋ยอินทรีย์แบบกลับกอง
ภาพที่9 ลงพื้นที่ประสานงานกับผู้นำชุมชน
ภาพที่10 ประชุมติดตามผลดำเนินงาน
วีดีโอผลการปฏิบัติงาน