บทความสรุปผลการปฏิบัติงาน

 

       โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมตำบลแบบบูรณาการ

 

ข้าพเจ้า นายนำชัย   แซงรัมย์ กลุ่มประชาชน

 

หลักสูตร : HS06 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

 

ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564

 

***************************************************

             ได้รับมอบหมายงานประจำเดือนพฤศจิกายน 2564 กระผมได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานณศาลาประชาคมหมุ่บ้านสี่เหลี่ยมเจริญ หมู่ที่.10ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ให้ความรู้กับชาวบ้านเกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัว และเน้นการใช้น้ำหมักชีวภาพปลอดสารพิษ ปลูกทานเองและจำหน่าย เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้และติดตามงานทุกสัปดาห์พร้อมมีทีมงานผู้รับผิดชอบประกวดครอบครัวและชุมชนต้นแบบการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาและเพื่อให้เป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนและครัวเรือนตามเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้ชุมชนเพิ่มรายได้ให้ลดรายจ่ายน้อยลงและลงการใช้สารเคมีในการดูแลพืชผักชนิดต่างๆผักปลอดสารพิษและได้ชี้แจงรายละเอียดการใช้งานอุปกรณ์และให้ความรู้เกี่ยวกับวัสดุส่วนผสมและประโยชน์ของการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

 

 

 

 

 

น้ำหมักชีวภาพ จากไข่ (ฮอร์โมนไข่)

วัสดุที่ต้องเตรียม
  1. ไข่ไก่ทั้งเปลือก 2 กิโลกรัม
  2. ยาคูลท์ 1 ขวด
  3. ลูกแป้งข้าวหมาก 1 ลูก
  4. น้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม
  5. น้ำสะอาด 1 ลิตร
วิธีการทำ
  1. นำไข่ไก่ 2 กิโลกรัม ล้างให้สะอาด ตีให้เข้ากัน ส่วนเปลือกทุบให้ละเอียด ใสา่ภาชนะที่มีฝาปิด
  2. เติมยาคูลท์ 1 ขวด แล้วคนให้เข้ากัน
  3. เติมลูกแป้งข้าวหมาก ที่บดละเอียดแล้ว 1 ลูก
  4. เติมน้ำตาลทรายแดงหรือกากน้ำตาล คนให้ละลายเข้ากันกับไข่
  5. เติมน้ำสะอาดลงไป 1 ลิตร คนให้เข้ากัน
  6. คลุกเคล้าให้เข้ากัน หมักทิ้งไว้ 14 วัน จึงนำไปใช้
การนำไปใช้
  1. น้ำหมักชีวภาพจากไข่ 10-20 ซีซี ผสมน้ำหมักชีวภาพจากหน่อกล้วย 10-20 ซีซี ในน้ำ 20 ลิตร รดลงดินหรือฉีดพ่นได้กับพืชทุกชนิด สัปดาห์ละครั้ง
  2. ใช้กับสัตว์ 1 ซีซีต่อน้ำ 5 ลิตร คลุกให้หัวอาหารหรือผสมน้ำ

      

 ประโยชน์ของฮอร์โมนไข่โดยตรงแก่พืชพรรณ ผลผลิตทางการเกษตร

1. ช่วยบำรุงต้นข้าวเสริมความแข็งแรงเพิ่มน้ำหนักรวงโดยใช้ฮอร์โมนไข่ 30 cc คู่กับน้ำสะอาด 20 ลิตร และนำไปฉีดพ่นต้นข้าวทุกๆ 14 วัน

      2.กระตุ้นการออกดอก ในพืชผลและเพิ่มขนาดดอกเห็ดโดยใช้ฮอร์โมนไข่ 20 cc คู่กับน้ำสะอาด 20 ลิตร และนำไปฉีดพ่นต้นข้าวทุกๆ 7 วัน
      3.เสริมให้ผลใหญ่และมีรสชาติหวานกรอบโดยใช้ฮอร์โมนไข่ 5-10 ccคู่กับน้ำสะอาด 20 ลิตร และนำไปฉีดพ่นต้นข้าวทุกๆ 7-14 วัน
      4.เร่งการเจริญเติบโตในผักและเพิ่มความหวานกรอบโดยใช้ฮอร์โมนไข่20 cc คู่กับน้ำสะอาด 20 ลิตร และนำไปฉีดพ่นต้นข้าวทุกๆ 5-7 วัน

 

1.ติดตามการปลูกผักอินทรีย์และการติดตามการทำน้ำหมักชีวภาพของแต่ละชุมชนที่ตนได้รับผิดชอบ และการพัฒนาการทำเพจตลาดออนไลน์ของคนแสลงพัน เช่น เพจของเห็ด เพจดินดีแสลงพัน และเพจน้ำหมักชีวภาพ

2.มอบหมายให้จัดทำตารางลงพื้นที่เพื่อติดตามการทำปุ๋ยหมักและการปลูกผักผักอินทรีย์ โดยให้ดำเนินการหลังวันที่ 7 พ.ย 2564

3.การประเมินการลงพื้นที่ร่วมกันทำกิจกรรมของกลุ่มแสลงพัน ควรเข้าร่วมทำกิจกรรมเพื่อให้มีส่วนร่วมและรูปภาพของตนเองตอนทำกิจกรรมไปลงในการเขียนบทความ

4.การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อเชิญชวนให้ผู้ที่สนใจได้เรียนรู้การทำกิจกรรมของตำบลแสลงพัน

5.รายงานบทที่ 1 ขอให้สมาชิกดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 พ.ย. 2564 และมอบหมายให้ทีมสมาชิกใหม่เรียบเรียงข้อมูล ส่วนในบทที่ 2,3 และ4 จะมอบหมายแบ่งกลุ่มให้กับสมาชิกเก่ารับผิดชอบ

6.วันที่ 13-14 พ.ย 2564 ร่วมลงพื้นที่ปฏิบัติงาน

7.จัดกิจกรรมการลงแขกทำน้ำหมักและลงแขกปลูกผักในชุมชนที่สนใจ

8.การแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์ผักให้กับชุมชนเพิ่มเติม

9.ประกวดการทำเพจกลางตลาดออนไลน์ของแสลงพัน -ช่วยกันประชุมนอกรอบใครจะทำหรือช่วยกันทำ รางวัลประกวด 2,000บาท

 

 


การติดตามการปลูกผักสวนครัว

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ติดตามสมาชิกชุมชนบ้านบุขี้เหล็ก ชาวบ้านได้มีการขุดลอกดินทำแปลงผักสวนครัว
เพื่อนําไปต่อยอดการจัดหาอาชีพเสริมให้กับเกษตรกร เพื่อประกอบอาชีพแบบเศรษฐกิจพอเพียงในตำบล เช่น การปลูกพืชผักสวนครัว เช่น การปลูกพริก การปลูกต้นหอม การปลูกผักชีจีน และการปลูกมะเขือเทศ และผักสวนครัวชนิดต่างๆหมุนเวียนกันไปเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายให้กับประชาชนผลักดันให้ประชาชนหันมาปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร สามารถช่วยให้ประชาชนในชุมชนจากหลายพื้นที่เกิดการพึ่งพาตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชน เป็นชุมชนที่มีความเข้มเเข็งอย่างยั่งยืน


 

 

 

การจัดเก็บข้อมูล BCG รายตำบล และพัฒนา plan point กรอกข้อมูล

สมาชิกผู้ปฏิบัติงานตำบลแสลงพัน ลงพื้นที่ปฏิบัติงานและร่วมกันจัดทำฐานข้อมูลพื้นฐาน สถานที่สำคัญ และข้อมูลสำคัญรายตำบลเพิ่มเติมให้ครบตามเป้าหมาย คือ 1,000 รายการ เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลภาพรวมของตำบลแสลงพัน และสรุปเป็นรายงานผลการดำเนินงานวิเคราะห์ปัญหารายพื้นที่ของตำบล และนำมาจัดทำเป็นแผนที่สถานที่สำคัญของชุมชนที่รับผิดชอบ เพื่อแสดงถึงวิถีชีวิต ประเพณี และอารยธรรมท้องถิ่นของชุมชน

การทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายเป็นรายบุคคล

1. เก็บข้อมูลสำคัญรายตำบลเพิ่มเติมร่วมกับสมาชิกทีมให้ครบ 1,000 ข้อมูล
2. ติดตามผลการดำเนินการทดลองและใช้น้ำหมักชีวภาพและสารปรับปรุงดินของชุมชน
3. ประชุมรับมอบหมายงานประจำเดือนจากอาจารย์โครงการและสมาชิกทีม
4. พัฒนาเพจตลาดออนไลน์ (Page Facebook : เรื่องของเห็ด)
5. คิดค้นและพัฒนา Content ของผลิตภัณฑ์ของชุมชนตำบลแสลงพัน

วีดีโอประจำเดือนพฤศจิกายน 2564

 

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู