หลักสูตร: HS06 การสร้างรายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ประจำเดือนพฤษภาคม

ตำบลแสลงพัน  อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

นางศุภาณัน ริชาร์ดส ประเภทประชาชน

 

ข้าพเจ้า นางศุภาณัน ริชาร์ดส ประเภทประชาชน ได้สำรวจข้อมูลตามแบบ 01 02 และ 06 ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 โดยไก้รับมอบหมายสำรวจข้อมูลของหมู่บ้านหนองตาดตามุ่ง หมู่ 5 พร้อมทั้งได้รวมทีมกับทีมอีกสองหมู่บ้านทำให้ทราบปัญหาของประชากรในชุมชนได้ค่อนข้างดี  และตอนนี้ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลตามแบบ 01 02 และ 06 ของหมู่บ้านหนองตาดตามุ่ง หมู่ 5 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้เสร็จสิ้นแล้วโดยในภาพรวมพบว่าประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาปี เลี้ยงสัตว์ อาทิเช่น โค กระบือ สุกร และหลากหลายชนิดเป็นต้น และมีบุคคลที่ทำงานจักรสานในสถานการณ์โรคระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า-19 ได้ส่งผลกระทบต่อประชากรในชุมชนค่อนข้างมาก ซึ่งประชากรต้องการลดภาระค่าใช้จ่ายทางการเกษตรลง และต้องการมีอาชีพที่ส่งเสริมรายได้ให้แก่ครอบครัว จึงได้สร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ ทำน้ำหมักชีวภาพ และการเพาะเห็ดฟางจากฟางข้าวและกากมันสำปะหลัง

ส่วนการรายงานประจำเดือนพฤษภาคม 2564 นี้  ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ปฏิบัติหน้าที่ในโครงการฝึกอบรมการส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพ และการเพาะเห็ดฟางจากฟางข้าวและมันสำปะหลัง มาทำการแปรรูปให้เกิดเป็นรูปประธรรมขึ้นมาเพื่อเพิ่มมูลค่าเศษวัสุดทางการเกษตร เพราะถ้าหากว่าคนในชุมชนได้รับองค์ความรู้ก็จะเกิดการพัฒนา เรียนรู้ อบรมเพื่อสร้างอาชีพ และลดรายจ่ายภายในครอบครัวได้ประชากรในชุมชนก็จะจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยการเพิ่งพาตนเองและแลกเปลี่ยนความรู้จากสมาชิกในชุมชนต่างๆได้ โดยการปฏิหน้าทึ่ในครั้งนี้ข้าพเจ้าเป็นผูเชิญชวนสมาชิกในชุมชนบ้านหนองตาดตามุ่ง หมู่ 5 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อช่วยเป็นจิตอาสาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 6 คน ได้แก่

1.นายแสน หวานเขียง    บ้านหนองตาดตามุ่ง หมู่ทึ่ 5

2.นางสุนีย์ พลังมาก     บ้านหนองตาดตามุ่ง  หมู่ที่ 5

3.นางทองใหม่ อุทัย    บ้านหนองตาดตามุ่ง   หมู่ที่ 5

4.นายวีรชัย แซกรัมย์    บ้านหนองตาดตามุ่ง  หมู่ที่ 5

5.นายทองสุข ชัยสิทธิ์    บ้านหนองตาดตามุ่ง  หมู่ที่ 5

6.นางสาวสุพรรณี จันทะเมนชัย   บ้านหนองตาดตามุ่ง หมู่ที่ 5

ได้เข้ารับการอบรมเรื่องการส่งเสริมอาชีพการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การทำน้ำหมักชีวภาพ และการเพาะเห็ดฟางจากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลัง : เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ในเทศบาลตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 3-4 พฤษภาคม 2564 โดยมีกิจกรรมต่างๆดังนี้

1.กิจกรรเปิดโครงการและแนะนำโครงการ โดยท่าน ผศ.ดร.อัครพล เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

2.การฝีกอบรมการผลิตปุ๋ยอินทรียและน้าหมักชีวภาพ ดังนี้

ฮอร์โมนไข่

วัสดุอุปกรณ์

– ไข่ไก่ทั้งฟอง 6 กิโลกรัม

– กากน้ำตาล 6 กิโลกรัม

– แป้งข้าวหมาก 1 ก้อน

– ยาคูลท์หรือนมเปรี้ยว 1 ขวด

– ถังน้ำ 1 ถัง

– ไม้คน 1 อัน

-เครื่องปั่น 1 เครื่อง

วิธีทำ

– นำไข่ไก่ไปปั่นให้ละเอียด เทใส่ถังที่เตรียมไว้

– นำกากน้ำตาลเทลงไป

– นำแป้งข้าวหมากบดให้ละเอียดเทลงไป

-นำยาคูลท์เทลง คนให้เข้ากัน ต้องคนไปในทางเดียวกัน ห้ามสลับทาง

-หมักไว้ 14 วัน  เก็บไว้ในที่ร่ม (ระหว่างหมักคอยคนเช้า-เย็น)

ประโยชน์ฮอร์โมนไข่

-บำรุงใบเขียว

-เร่งดอก ผลผลิต

วิธีใช้

-ใช้ 2-5 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร รดลงดินที่ปลูกพีชตอนเช้าหรือตอนเย็น  (ฉีดพ่นทางใบด้วยยิ่งดี) ทุกสัปดาห์

จุลินทรีย์หน่อกล้วย

วัสดุอุปกรณ์

1.ต้นกล้วย(ขุดในช่วงเช้ามืดไม่มีแสงแดด) 2-3 หน่อ

2.กากน้ำตาล     2 กิโลกรัม

3.ถังหมัก      1 ใบ

4.ไม้ฟาย      1 อัน

วิธีการ

-สับต้นกล้วยให้ละเอียด ชั่ง 3 กิโลกรัม เทลงในถังหมัก

-นำกากน้ำตาลผสมกับต้นกล้วยที่สับแล้วผสมคนให้เข้ากัน(คนไปทิศทางเดียวกัน)ทิ้งไว้ 7 วัน ระหว่างหมักให้คอยคนเช้า-เย็น จึงจะสามารถนำมาใช้ได้

ประโยชน์จุลินทรีย์หน่อกล้วย

-ป้องกันเชื้อรา

-รากเน่า

-โคนเน่า

-ทำให้ดินร่วนซุย

วิธีใช้

2 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตร รดลงดินที่ปลูกพีช ตอนเช้าหรือตอนเย็น ทุกสัปดาห์

สูตรไตรโครเดอร์มา

วัสดุอุปกรณ์

-ถังใส่น้ำ 1ถัง

-ไม้พาย 1อัน

-เชื้อไตรโครเดอร์มา 2ช้อนแกง

-น้ำตาลแดงธรรมชาติ 2 กิโลกรัม

วิธีการทำ

1.นำน้ำ 20 ลิตรมาเทลงในถังภาชนะ

2.นำน้ำตาลแดง 2 กิโลกรัมมาเทลงใส่ถัง

3.นำเชื้อไตรโครโรมา 2 ช้อนแกง เทลงใส่ถัง

4.ผสมให้เข้ากันไปในทิดทางเดียวกันให้น้ำตาลละลาย

5.หมักไว้ 48 ขั่วโมง หรือ 2 วันนำออกมาใช้ได้เลย ระหว่างหมักให้คอยคนเช้า-เย็น ทุกวัน

ประโยชน์ไตรโครเดอร์มา

-ป้องกันเชื้อรา

-รากเน่า

-โคนเน่า

-แดงเกอร์

วิธีใช้

2 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตรดลงดินทึ่มีพีชตอนเช้าหรือตอนเย็น ทุกสัปดาห์

3.การเพาะเห็ดฟางจากฟางข้าว

การเพาะเห็ดฟางด้วยฟางข้าวแบบตะกร้า

วัสดุอุปกรณ์

1.ตะกร้าแบตาห่างกัน 1 นิ้ว     1   ใบ

2.ฟางข้าวกะตามตะกร้า

3.เชื้อเห็ดฟาง      1 ถุง

4.รำอ่อน     1   กิโลกรัม

5.แป้งมัน     1   กิโลกรัม

6.กะละมังเพื่อแข่ฟาง

7.น้ำเปล้า  (ไว้แช่ฟางข้าว)

8.พลาสติกใสคลุมตะกร้า

วิธีทำ

1.เเช่ฟางในน้ำทิ้งไว้ 1 คืน

2.บี้ก้อนเชื้อเห็ดฟาง แล้วนำมาผสมกับแป้งมัน และรำข้าว กะปริมาณให้พอดีกัน

3.นำฟางที่แช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน มาใส่รองก้นตะกร้า เป็นชั้นที่ 1 ที่สำคัญคือต้องกดให้แน่น และเก็บฟางให้เรียบร้อยอย่าให้ออกมาช่องตะกร้า อาจใช้กรรไกรช่วยเล็มออกก็ได้

4.โรยเชื้อเห็ดฟางที่ผสมแล้ว โดยโรยบริเวณริมขอบตะกร้า เว้นตรงกลางไว้หากใครมีปุ๋ยคอก อาจใส่ปุ๋ยคอกลงตรงกลาง เพื่อบำรุงเห็ดให้เติบโตดีขึ้นก็ได้

5.นำฟางมาคลุมปิด และทำสลับชั้นกันกับเชื้อเห็ดฟาง โดยใช้ฟางทั้งหมด 4 ชั้น และเชื้อเห็ด 3 ชั้น มีเคล็ดลับอยู่ว่า พอถึงเชื้อเห็ดชั้นที่ 3 ให้โรยไปให้ทั่ว ไม่ต้องเว้นตรงกลางไว้แล้วใช้ฟางคลุมปิดเป็นชั้นสุดท้าย

6.จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม แล้วใช้พลาสติกใสคลุมทิ้งไว้ หากเพาะหลายตะกร้า อาจทำเป็นกระโจมพลาสติกคลุมก็ได้

วิธีการดูแล

-ตั้งไว้ในที่รำไร คือได้แดดกับร่ม ประมาณ 50/50 เรียกว่าต้องไม่ร้อนและไม่เย็นเกินไป จากนั้นดูแลความชื้นให้ดี โดยสังเกตที่พลาสติกใส หากมีไอสีขาวๆ แสดงว่าความชื้นพอดี แต่ถ้าแห้ง ควรรดน้ำบริเวณรอบๆ ตะกร้า เพื่อเพิ่มความชื้นให้ตะกร้าเพาะ โดยไม่ต้องเปิดพลาสติกออกมารด

-ข้อควรรู้อีกประการคือ หากจะวางตะกร้าบนดิน ควรหาก้อนหินหรือก้อนอิฐ สำหรับวางตะกร้า เพื่อป้องกันแมลงอย่างมดหรือปลวกรบกวน

-รอประมาณ 5-10 วัน เห็ดรอบแรกก็จะออก เมื่อเก็บเห็ดแล้ว ให้รดน้ำให้ชุ่ม คลุมพลาสติกอีกครั้ง อีกประมาณ 7 วัน จะมีเห็ดออกมาให้เก็บอีกรอบ รวมแล้ว ถ้าดูแลดีๆ เชื้อเห็ด 1 ก้อน เพาะให้ตะกร้า 1 ใบ น่าจะได้เห็ดประมาณ 1 กิโลกรัมก

จากการขอข้อมูลเพิ่มจากวิทยากรคือการทำกากน้ำตาลไว้ใช้เอง ดังนี้

การทำกากน้ำตาล

วัสดุอุปกรณ์

1.หม้อแกง ทัพพี อย่างละ 1

2.น้ำตาลทรายแดง        1 กิโลกรัม

3.น้ำเปล่า      4  ลิตร

4.ซีอิ้วดำชนิดหวาน     1 ช้อนแกง

วิธีทำ

-นำน้ำ 4 ลิตร เทลงหม้อแล้วยกขึ้นตั้งเตาแก๊ส

-น้ำตาลและซีอิ๊วดำหวานลงไปแล้วคนไปในทิศทางเดียว คนไปเรื่อยๆจนเดือดยกลงจากเตา

-พักไว้จนเย็น กรอกใส่ขวดไว้ใช้ได้นาน

ประโยชน์ของการกน้ำตาล

-ใช้เป็นส่วนผสของการหมัก เพื่อช่วยกระตุ้นการหมักให้เกิดเร็วมากขึ้น เพราะช่วยเพิ่มปริมาณแบคทีเรียผลิตกรด

-กากน้ำตาลสามารถใช้เป็นส่วนผสมของปุ๋ยหมักหรือสารปรับปรุงดิน เพราะในกากน้ำตาลมีธาตุอาหารที่ครบถ้วน

-กากน้ำตาลใช้เป็นส่วนผสมของน้ำมักชีวภาพ เป็นแหล่งอาหารสำคัญเพื่อให้จุลินทรีย์ผลิตกรดเติบโต และช่วยปรับปรุงคุณสมบัติทางธาตุอาหาร และกลิ่นของน้ำหมัก

และข้าเจ้าได้ทำงานบันทึกข้อมูลสถานที่สำคัญในชุมชน โดยรับผิดชอบบ้านหนองตสดตามุ่ง หมู่ 5 มีสถานที่สำคัญๆต่างๆ คือ พิพิธภัณฑ์โบราณที่ตั้งอยู่ในวัดบ้านแสลงพัน และศาลเจ้าพ่อหลวงศรี ซึ่งประชากรในชุมชนได้ให้ความเคารพและกราบไหว้บูชาเพื่อให้ท่านปกปักคุ้มครองดูแลคนในชุมชน แต่มีปัญญาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในชุมชนคือกานแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า-19 มีหมู่บ้านใกล้เคียงเสียชีวิตจากโควิด-19 ทำให้ผู้นำต้องเฝ้าระวังการเข้าออกชุมชนอย่างเข้มแข็ง จึงทำให้การลงไปเก็บข้อมูลค่อนข้างยาก แต่ข้าพเจ้าจะเก็บข้อมูลให้ครบ 100 %ให้เน็วทึ่สุดเท่าที่จะทำได้

ในการนี้ข้าพเจ้าขอเสนอแนะว่าควรให้กลุ่มผู้สนใจได้ฝึกปฏิบัติให้เกิดความชำนาญ และทดลองใช้น้ำหมักและปุ๋ยหมักอย่างจริงจัง เพื่อจะได้นำน้ำหมักและปุ๋ยชีวภาพไปใช้ในการเกษตรเพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรและลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้อย่างยั่งยืน เพื่อเป็นการสร้างภูมิที่ดีให้แก่ทางกายและจิตใจ และเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันองค์ความรู้ให้แก่บุคคลคนอื่นต่อไปในอนาคตได้ และเพื่อพัฒนาชุมชนให้เกิดการสร้างงานและอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นจนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

ท่านผศ.ดร.อัครพล เนื้อไม้หอม กล่าวเปิดงานและมอบของที่ระลึก

รับฟังองค์ความรู้จากวิทยากรพร้อมลงมือปฏิบัติจริง

 

 

น้ำหมักชีวภาพต่างๆ

พิพิธภัณฑ์โบราณวัดบ้านแสลงพัน

ศาลเจ้าพ่อหลวงศรี

กิจกรรมกับกลุ่มอาสาสมัคร

วีดีโอปฏิบัติงานประจำเดือนพฤษภาคม

อื่นๆ

เมนู