1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS06 - ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ
  4. บทความการปฏิบัติงานและการรณรงค์ฉีดวัคซีนเพื่อชาติ ป้องกันโควิด-19 ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ประจำเดือนมิถุนายน 2564

บทความการปฏิบัติงานและการรณรงค์ฉีดวัคซีนเพื่อชาติ ป้องกันโควิด-19 ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ประจำเดือนมิถุนายน 2564

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย

เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.  

ดิฉันนางสาวพัชรี มณีเติม ประเภทบัณฑิตจบใหม่  เจ้าหน้าที่ประจำพื้นที่ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ  จังหวัดบุรีรัมย์ 

พื้นที่รับผิดชอบ บ้านหนองผักโพด หมู่ 4  ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร : HS06 – รายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

       จากการลงพื้นที่ เขตพื้นที่รับผิดชอบ คือ บ้านหนองผักโพด หมู่ 4 ต.แสลงพัน อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน ในช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน อยู่ในช่วงฤดูฝน ชาวบ้านจะรีบหว่านข้าวเพื่อที่จะให้ข้าวเกิดก่อนที่ฝนจะตกน้ำจะท้วม เพราะจะทำให้หว่านไม่ได้ ช่วงนี้จึงทำให้มีอาชีพเสริมขึ้น คือรับจ้างไถนา หว่านข้าว และเลี้ยงวัว

       ด้านการค้าขายช่วงนี้คือขายข้าวปลูก ซื้อปุ๋ย อาหารการกิน และเครื่องดื่ม การลงพื้นที่ในระยะนี้มีความลำบาก เพราะต้องช่วยเฝ้าระวังโรคระบาด โควิด 19 ต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาล้างมือทุกครั้งหลังจับที่สาธารณะ มีการประชาสัมพันธ์อบรมส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดฟาง ทำปุ๋ยหมักจากหน่อกล้วย มีชาวบ้านจิตอาสาเข้าร่วมอบรมส่งเสริมอาชีพจำนวน 6 คน การเพาะเห็ดฟางในตระกร้า และทำปุ๋ยหมักจากหน่อกล้วยเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อครอบครัวและชาวบ้าน การเพาะเห็ดทำให้ชาวบ้านนำไปประกอบอาหาร ถ้ากินไม่หมดก็สามารถนำไปขายได้ ส่วนปุ๋ยหมักจากหน่อกล้วยสามารถนำไปรดน้ำผัก นำไปฉีดนาข้าว ไล่แมลง ช่วยให้ลดรายจ่ายในครัวเรือน

การประชาสัมพันธ์และรณรงค์การป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด และการเชิญชวนให้ประชาชนลงทะเบียนเพื่อรับวัคซีน

  • การประชาสัมพันธ์และรณรงค์เชิญชวนประชาชนป้องกันการแพร่ระบาดและฉีดวัคซีน ในพื้นที่ ต.แสลงพัน อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ภายในทีมจะมีการแยกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6 คน ต่อหมู่บ้าน ลงพื้นที่ 3 หมู่บ้าน คือบ้านหนองสรวง บ้านแสลงพัน และบ้านหนองตาดตามุ่ง ส่วนหมู่บ้านอื่นๆ จะรณรงค์ไปพร้อมกับการฝึกอบรมส่งเสริมอาชีพ
  • ภายในทีมจะประสานงานไปทางผู้ใหญ่บ้านเพื่อลงพื้นพี่ เดินแจกสบู่ล้างมือ แจกแอลกอฮอล์ล้างมือ และหน้ากากอนามัย ติดสติกเกอร์การแนะนำการฉีดวัคซีน จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ และพูดคุยกับชาวบ้านให้ล้างมือบ่อยๆ กินร้อนช้อนกลาง เว้นระยะห่าง พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และรณรงค์ให้ไปฉีดวัคซีน
  • มีการทำความสะอาดที่สาธารณะ เช่น วัด ศาลากลางบ้านแต่ละหมู่บ้านก่อนที่จะมีการฝึกอบรม และหลังฝึกอบรมเพื่อเพิ่มมั่นใจให้แก่ชาวบ้านที่จะเข้ารับการฝึกอบรมส่งเสริมอาชีพ ก่อนเข้าฝึกอบรมภายในทีมจะมีการวัดอุณหภูมิ แจกหน้ากากอนามัย ฉีดสเปย์แอลกอฮอล์ทุกครั้ง และมีการจัดโต๊ะให้มีระยะห่างระหว่างการอบรมส่งเสริมอาชีพ

การฝึกอบรมการสร้างอาชีพให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย

  • อบรมตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย

อบรมเรื่อง : การเพาะเห็ดฟางและการทำปุ๋ยหมักจากหน่อกล้วย

สถานที่อบรม : คือวัดป่าแสลงพัน

วิทยากรฝึกอบรมการเพาะเห็ด : นายภัทร ภูมรา

วิทยากรการฝึกอบรมการปุ๋ยหมัก : นางอำนวย ศรีคล้าย

ผู้เข้าอบรม มี 5 หมู่บ้าน มีตัวแทนทั้งหมด 24 คน

  • -บ้านแสลงพันหมู่ 7

ผู้ประสานงาน : นางสาววรัญญา  พิมพ์เชื้อ  และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน นายสุทิน  อุดม

  • บ้านหนองตาดตามุ่ง  หมู่ที่ 5

ผู้ประสานงาน : นางศุภาณัน  ริชาร์ดส และผู้ใหญ่วีรชัย  แซกรัมย์

  • บ้านบุก้านตง  ม.12

ผู้ประสานงาน : นางสาวธิดา คำหล้า และ ผู้ใหญ่คะนอง บุญทอง

  • บ้านบุก้านตงพัฒนา หมู่ 16

ผู้ประสานงาน : นายนิสิต คำหล้า

  • บ้านแสลงพันพัฒนา หมู่ 14

ผู้ประสานงาน : ผู้ใหญ่บ้าน นายอุทิศ มอนยาว และ นางสาวศิรินันท์ ฝาสูงเนิน

      ผลการอบรมชาวบ้านให้การตอบรับดีมากตั้งใจฟังวิทยากรบรรยายการฝึกอบรม ชาวบ้านฝึกปฏิบัติด้วยความตั้งใจ ไม่เข้าใจยกมือถามวิทยากร วิทยากรให้ความรู้แก่ชาวบ้านได้ดีมีของมาแจกให้กับชาวบ้านเช่นอุปกรณ์การเพาะเห็ดนางฟ้า การทำเมนูเห็นชุปแป้งทอดแถมสูตรให้กับชาวบ้านไปประกอบอาหารกันในครอบครัว

  • อบรมสมาชิกกลุ่มย่อย

เป็นการอบรมเพื่อให้ตัวแทนที่เข้าอบรมอาชีพในรอบแรกถ่ายทอดสู่สมาชิกในชุมชน

อบรมเรื่องการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า และการทำปุ๋ยหมักจากหน่อกล้วย

สถานที่อบรม ได้แก่ ศาลากลางหมู่บ้านสามเขย ศาลาริมน้ำบ้านหนองทรวง ศาลา อบต.แสลงพัน และศาลากลางบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา

วิทยากร คืออาจารย์ประจำหลักสูตร ประธานทีม และสมาชิกภายในทีมทุกคนที่เข้าร่วมอบรมเสริมพัฒนาอาชีพ ทั้งหมด 18 คน

บ้านหนองผักโพด  หมู่ 4 เป็นเขตที่ดิฉันรับผิดชอบ

ผู้ประสานงาน : นางสาวพัชรี  มณีเติม และ ผู้ใหญ่อำไพ มุ่งชอบกลาง

รายชื่อสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ : จำนวน 6 คน

1) นายอนุสรณ์  บุญเลิศ

2) นายพงษ์เพชร  ผ่อนสอน

3) นายณรงค์  ในสูงเนิน

4) นายประเสริฐ  ทับผา

5) นายนิคม  สุขประเสริฐ

6) นายเชิดชัย  ชัยปัญญา

  • บ้านสามเขย หมู่ 13

ผู้ประสานงาน : นายศิริพงษ์ เครือจันทร์ และ ผู้ใหญ่วิชิต พิมพ์พันธ์

  • บ้านโคกใหม่  หมู่ 1

ผู้ประสานงาน : นายสราญจิต  อินทราช

  • บ้านหนองสรวง  หมู่ 3

ผู้ประสานงาน : นางสาววนิดา  เชาวนกุล และผู้ใหญ่อำพร  เรืองคำไฮ

  • บ้านโคกใหม่พัฒนา  หมู่ 15

ผู้ประสานงาน : นางสาวเพ็ญนภา ตาชูชาติ และ ผู้ใหญ่บ้านจำรัส วงส์ธรรม

  • บ้านหนองระนาม  หมู่ 2

ผู้ประสานงาน : นางสาวกาญจนาวดี  เคหาห้วย  และผู้ใหญ่สมหมาย  ทองงาม

  • บ้านหนองตาหล่า  หมู่ 8

ผู้ประสานงาน : นางสาวรัตน์ชดาพร  สร้อยจิต ,นางสาวอารียา  วิลาศ และผู้ใหญ่เอื้อน  การัมย์

  • บ้านสี่เหลี่ยมน้อย  หมู่ 9

ผู้ประสานงาน : นายพรพินิจ เหลาศรี และ หัสวัฒน์ งอยไธสง

  • บ้านสี่เหลี่ยมเจริญ  หมู่ 10

ผู้ประสานงาน : นายอภิสิทธิ์ แสงสุข

  • บ้านบ้านบุขี้เหล็ก  หมู่ 6

ผู้ประสานงาน : นางสาวดวงฤทัย  อัมราสกุลสมบัติ และผู้ใหญ่อุไร  เชือกรัมย์

  • บ้านบุขี้เหล็กใหม่  หมู่ 11

ผู้ประสานงาน : ผู้ใหญ่บ้าน นายสมพงษ์ เชียงรัมย์ และ นายบุญเหนือ เครือตา

  • บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา  หมู่ 17

ผู้ประสานงาน : นายเจษฎา กุลสุนทรรัตน์ และ กำนัน สมนึก ทราบรัมย์

       ผลการอบรมชาวบ้านตั้งใจฟังการอบรมได้ดี สมาชิกภายในทีมช่วยเหลือและสามัคคีกันมาก ช่วยถ่ายความรู้ มีความเอาใจใส่กับชาวบ้านทุกคนที่เข้ามาฝึกอบรม ชาวบ้านตั้งใจฝึกปฏิบัติ บางคนมีการจดบันทึกในสมุดกันลืม และถ่ายวีดีโอขณะปฏิบัติการฝึกอบรม เพื่อที่จะไปฝึกทำที่บ้าน

อาชีพที่อบรม

  • การเพาะเห็ดในตะกร้า

       วัสดุอุปกรณ์สำหรับการเพาะเห็ดฟางในตระกร้าพลาสติก

1.วัสดุเพาะเห็ดฟางหลักๆ ได้แก่ ฟาง ฟางทุกชนิด แห้งสนิทไม่เปียกฝนมาก่อน ถ้าเป็นตระกร้าใหม่ก็สามารถนำมาเพาะเห็ดได้เลยหรือถ้าเป็นตร้าที่เคยเพาะเห็ดมาแล้วควรทำความสะอาดและตากให้แห้ง

2.อาหารเสริม เช่น ผักตบชวาสด หรือแห้ง เปลือกถั่วต่างๆ ผักบุ้ง มูลวัว/ควายแห้ง รำ เศษฝ้าย ไส้นุ่น ก้อนเชื้อนางรม/นางฟ้าเก่า เป็นต้น

3.อุปกรณ์อื่นๆ ได้แก่ ตะกร้า พลาสติก บัวรดน้ำ เชื้อเห็ดฟาง

       วิธีการเพาะเห็ดฟาง

  1. ฟางแช่น้ำค้าง 1 คืน
  2. หัวเชื้อ 1 ก้อน แบ่งเป็น 3 กอง เพาะได้ 3 ตะกร้า
  3. ฟางอัดลงก้นตะกร้ากดให้แน่น สูง 1 ฝ่ามือ
  4. อาหารเสริมต่างๆแช่น้ำพอชื้น โรยชิดขอบตะกร้า
  5. โรยเชื้อเห็ดฟาง 1 ส่วนทับบนอาหารเสริม เสร็จชั้นที่ 1
  6. ทำชั้นที่ 2 และ 3 เหมือนชั้นที่ 1
  7. ชั้นบนสุด โรยอาหารเสริมเต็มหน้าตะกร้า โรยเชื้อให้ทั่ว กลบด้วยอาหารเสริมอีกครั้ง

       ประโยชน์ของเห็ดฟาง

เป็นเห็ดที่มี ไขมันต่ำแคลลอรี่น้อย และไม่มีคลอเรสเตอรอล มีคาร์โบไฮเดรตแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินบี1 บี2 วิตามินซี นอกจากนี้ยังมี ซีลิเนียม โพแทสเซียม ช่วยต้านมะเร็งลดความดันโลหิต เห็ดฟางยังมีโปรตีนสูงและกรดอะมิโนต่างๆ การทานเห็ดฟางจึงดีต่อสุขภาพ ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยย่อยอาหาร บำรุงโลหิต บำรุงกำลัง บำรุงตับ แก้ร้อนใน แก้ช้ำใน…เห็ดฟางมีประโยชน์ขนาดนี้แล้วจึงเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ถ้าหากปลูกขายแล้วเชื่อแน่ว่า น่าจะเป็นอีกธุรกิจเกษตรทำเงินแน่นอน

  • การทำปุ๋ยหมักจากหน่อกล้วย

       สูตรฮอร์โมนกล้วย

วัสดุอุปกรณ์

1.ต้นกล้วย(ตัดในช่วงเช้า)

2.กากน้ำตาล

วิธีการ

1.สับต้นกล้วยให้ละเอียด

2.นำกากน้ำตาลผสมกับต้นกล้วยที่สับแล้ว ในสัดส่วน 1/3 ผสมแล้วคนให้เข้ากันทิ้งไว้ 7 วัน จึงจะสามารถนำมาใช้ได้

วิธีใช้

2-5 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นตอนเช้าหรือตอนเย็น ทุกสัปดาห์

       ประโยชน์จุลินทรีย์หน่อกล้วย

-ป้องกันเชื้อรา

-รากเน่า

-โคนเน่า

-ทำให้ดินร่วนซุย

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาอาชีพ

       -ควรทำยังไงที่จะให้เห็ดฟางเกิด

       -การฝึกอบรมควรมีแผนผับ ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟาง การทำปุ๋ยหมัก ประโยชน์ของมัน เพื่อให้ชาวบ้านเข้าใจมากขึ้น

       -อยากให้ชาวบ้านเตรียมวัสดุอุปกรณ์มาเองบางส่วน เพื่อให้ชาวบ้านเกิดความกระตือรือร้นในการฝึกอบรม

       -ให้มีการติดตามผลหลังจากฝึกอบรมแล้วเสร็จ

อื่นๆ

เมนู