บทความสรุปผลการปฏิบัติงาน

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมตำบลแบบบูรณาการ

ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2564

บ้านหนองตาหล่า หมู่ 8 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

 โดย นางสาวอารียา วิลาศ  กลุ่มนักศึกษา

***************************************************

           ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเก็บแบบสอบถาม และจัดทำโครงการเกี่ยวกับการปลูกเห็ดนางฟ้า ได้รับผิดชอบในส่วนของบ้านหนองตาหล่า  หมู่ที่ 8 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ  จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

  1. ผลจากการฝึกอบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในภาพรวมของตำบลแสลงพัน

                มีการจัดอบรมร่วมกับทีมงานพร้อมทั้งชาวบ้าน ตำบลแสลงพัน  เรื่องการทำสบู่เหลว โดยวิทยากร คือ นางภัทรานิษฐ์ กุลพิเชษฐ์วณิช ( ครูอี๊ด ) ได้มาเป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการทำสบู่เหลว สมุนไพรพื้นบ้าน และยังให้ความรู้เกี่ยวกับการสกัดสมุนไพร หรือกรรมวิธีการทำน้ำสมุนไพรจากธรรมชาติ ซึ่งหาได้ตามป่าหรือในชุมชน เช่น ต้นกระดูกไก่ดำ และยังให้ความรู้เกี่ยวกับการนำเอาสมุนไพรจากท้องถิ่นมาแปรรูปเป็นส่วนผสมของสบู่เหลวด้วย  วันที่ 11 เดือนกรกฎาคม 2564 อบรมร่วมกับทีมงานพร้อมทั้งชาวบ้าน เรื่องการปลูกเห็ดนางฟ้า โดยมีวิทยากร คือ นายพัทรา พรมมารา ( ครูพีท ) ได้มาเป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกเห็ดนางฟ้า การดูแลรักษา และการแปรรูปจากเห็ดนางฟ้า  หลังจากการอบรมแต่ละครั้ง ชาวบ้านได้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะเห็ด การแปรรูป การนำไปประกอบอาหารที่หลากหลาย และการดูแลรักษาเห็ดนางฟ้ามากขึ้น และยังสามารถสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน หรือชุมชนได้ด้วย อีกทั้งยังร่วมมือกับชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจกันสร้างโรงเรือนเห็ดนางฟ้า เป็นจำนวน 2 แห่ง คือ บ้านหนองตาดตามุ่งและบ้านโคกใหม่พัฒนา เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชาวบ้าน เพื่อศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเห็ดนางฟ้า และศึกษาหาแนวทางในการสร้างอาชีพเสริมให้กับชาวบ้านในตำบลแสลงพัน

                 

                                   

                               

กิจกรรม : การทำสบู่เหลวล้างมือสมุนไพร

  1. ผลจากการฝึกอบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่รับผิดชอบ

                รับผิดชอบดูแลในส่วนของบ้านหนองตาหล่า หมู่ที่ 8 ผู้ปฏิบัติงานได้ติดต่อประสานงานกับชาวบ้านเพื่อเข้าร่วมโครงการการปลูกเห็ดนางฟ้า ชาวบ้านให้ความสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวน 5 คน ได้เข้าร่วมอบรมฟังบรรยายเกี่ยวกับการปลูกเห็ดนางฟ้ากับวิทยากร และในการอบรมของเดือนกรกฎาคม จะเป็นการอบรมเกี่ยวกับการปลูกเห็ดนางฟ้า และการทำสบู่เหลวล้างมือสมุนไพร วัตถุประสงค์ของการอบรมก็เพื่อที่จะให้ชาวบ้านนำมาเป็นแนวทางในการปลูกเห็ดและการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ด เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ ชุมชนและครัวเรือน และยังเป็นอาชีพเสริมในการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ภายในครัวเรือนด้วย

  1. ปัญหาจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์

      3.1 ปัญหาก่อนดำเนินกิจกรรม                                                            แนวทางแก้ไข

            – การส่งวัสดุอุปกรณ์มีความล่าช้า                                                  – เข้าไปติดตามที่ร้านสั่งซื้อ

            – ปัญหาเรื่องการของการสื่อสารระหว่างทีมงาน                                 – โทรสอบถามหัวหน้าทีม

            – ปัญหาโรคโควิด -19                                                                 – ปฏิบัติตามมาตรการปเองกันโรค

      3.2 ปัญหาระหว่างดำเนินกิจกรรม                                                        แนวทางแก้ไข

             – ปัญหาของการนัดวันตรงกับวันมีเรียน                                           – แจ้งให้ทีมทราบ

            – ปัญหาด้านระยะเวลา                                                                 – กำหนดเวลาที่ชัดเจน

            – ปัญหาการขาดแรงงาน                                                               – ขอแรงจากชาวบ้าน

      3.3 ปัญหาหลังจากการดำเนินกิจกรรม                                                  แนวทางแก้ไข

            – ปัญหาของโรคเรือนมีช่องว่างเยอะ                                             – จัดหาอุปกรณ์มาปิดช่องว่างเพิ่ม

            – ปัญหาเรื่องอุณภูมิเห็ดไม่คงที่                                                   – นำผ้าสแลนด์สีดำมาปิดเพิ่มเติม

            – ปัญหาการขาดคู่มือในการดูแลรักษาเห็ด                                     – ศึกษาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต

  1. การพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และแนวทางยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์

      จากการที่ได้ลงพื้นที่สำรวจแบบสอบถามความต้องการของประชาชนชาวบ้าน  และการเก็บข้อมูลต่างๆ ผลปรากฏว่าชาวบ้านตำบลแสลงพัน มีความสนใจอยากที่จะปลูกเห็ดนางฟ้า  และมีความต้องการที่จะทำโรงเรือนเห็ดนางฟ้า เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่ชาวบ้านในชุมชนและหมู่บ้านใกล้เคียง  และยังสามารถสร้างรายได้ สร้างอาชีพเสริมให้แก่ครอบครัว    นอกจากจะมีโรงเรือนเห็ดแล้วก็มีแนวทางในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ดนางฟ้าให้กับชาวบ้าน เพื่อเพิ่มผลิตภัณฑ์ให้มีความน่าสนใจและราคาที่สูงขึ้น  เช่น การทำน้ำพริกเห็ดนางฟ้า การทำแหนมเห็ด เป็นต้น

                         

                       

                       

กิจกรรม : เตรีมเห็ดนางฟ้าเข้าโรงเรือน

อื่นๆ

เมนู