บทความสรุปผลการปฏิบัติงาน

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมตำบลแบบบูรณาการ

ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2564

บ้านหนองระนาม หมู่ 2 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

โดย นางสาวกาญจนาวดี เคหาห้วย กลุ่มนักศึกษา

***************************************************

        ลงพื้นที่จัดทำโครงการเกี่ยวกับการปลูกเห็ดนางฟ้า บ้านหนองระนาม หมู่ที่ 2 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ  จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

  1. ผลจากการฝึกอบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในภาพรวมของตำบลแสลงพัน

                – ได้มีการจัดอบรมร่วมกับทีมงานพร้อมทั้งชาวบ้าน เรื่องการทำสบู่เหลว โดยมีวิทยากร คือ นางภัทรานิษฐ์ กุลพิเชษฐ์วณิช ( ครูอี๊ด ) ได้มาเป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการทำสบู่เหลว อีกทั้งยังให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรสูตรโบราณ และการนำเอาสมุนไพรจากท้องถิ่นมาแปรรูปเป็นส่วนผสมของสบู่เหลวอีกกด้วย

                – ได้มีการจัดอบรมร่วมกับทีมงานพร้อมทั้งชาวบ้าน เรื่องการปลูกเห็ดนางฟ้า โดยมีวิทยากร คือ นายพัทรา พรมมารา ( ครูพีท ) ได้มาเป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกเห็ดนางฟ้า การดูแลรักษา และการแปรรูปจากเห็ดนางฟ้า

                – ผู้ปฏิบัติการได้ร่วมมือกับชาวบ้านสร้างโรงเรือนในการปลูกเห็ดนางฟ้า เป็นจำนวน 2 โรงเรือน คือที่บ้านหนองตาดตามุ่งและบ้านโคกใหม่พัฒนา โดยได้ร่วมมือร่วมแรงช่วยกันทำโรงเรือน เช่น การทำชั้นวางเห็ด ขนทรายเข้าโรงเรือน ตลอดจนแล้วเสร็จ โรงเรือนนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อเป็นโรงเรือนต้นแบบในการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน และยังสามารถทำเป็นศูนย์เรียนรู้ในการปลูกเห็ดให้แก่ผู้ที่มีความสนใจในการปลูกเห็ด ทั้งนี้ผู้ปฏิบัติงานยังคิดหาวิธีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ดนางฟ้า เพื่อสร้างรายได้ สร้างอาชีพ หรือสร้างงาน สร้างเงิน ให้แก่ชาวบ้านและชุมชน

                     

                 

             

  หมายเหตุ : ภาพกิจกรรมการทำสบู่เหลว

  1. ผลจากการฝึกอบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่รับผิดชอบ

                ได้รับผิดชอบในส่วนของบ้านหนองระนาม หมู่ที่ 2 ในส่วนของผู้ปฏิบัติงานได้ติดต่อประสานงานกับชาวบ้านเพื่อเข้าร่วมโครงการและการอบรมในเดือนกรกฎาคม ชาวบ้านหนองระนาม ผู้มีจิตอาสา จำนวน 5 คน ได้เข้าร่วมอบรมฟังบรรยายเกี่ยวกับการปลูกเห็ดนางฟ้ากับวิทยากร เพื่อมาเป็นแนวทางในการปลูกเห็ดและการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ดเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ ชุมชนและครัวเรือน อีกทั้งยังสามารถสร้างอาชีพให้กับตนเองอีกด้วย

  1. ปัญหาจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์

      3.1 ปัญหาก่อนดำเนินกิจกรรม                                                           แนวทางแก้ไข

            – ปัญหาในการส่งวัสดุอุปกรณ์มีความล่าช้า                                     – เข้าไปติดตามที่ร้านสั่งซื้อ

            – ปัญหาในการติดต่อประสานงานกับทางผู้ใหญ่บ้านล่าช้า                  – เข้าไปติดต่อที่บ้าน

            – ปัญหาโรคโควิด -19                                                               – อยู่ภายใต้มาตรการป้องกันโรค

      3.2 ปัญหาระหว่างดำเนินกิจกรรม                                                            แนวทางแก้ไข

             – ปัญหาของการขาดแคลนกำลังคน                                                 – ขอแรงจากชาวบ้านเพิ่ม

            – ปัญหาเรื่องเวลามีความยืดเยื้อ                                                        – เร่งมือในการสร้างโรงเรือน

            – ปัญหาการขาดวัสดุ เช่น ลวด                                                        – ใช้เชือกมัดแทนการใช้ลวด

      3.3 ปัญหาหลังจากการดำเนินกิจกรรม                                                 แนวทางแก้ไข

            – ปัญหาของการปิดโรงเห็ดไม่มิดชิด                                               – จัดหาอุปกรณ์เพิ่ม

            – ปัญหาการควบคุมอุณภูมิของเห็ด                                                 – นำผ้าสแลนด์สีดำมาปิดเพิ่มเติม

            – ปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำ                                                        – ต่อท่อเพื่อรดน้ำเห็ด

4.การพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และแนวทางยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์

     เนื่องจากผลกระทบจากมาตรการปิดกิจการต่างๆของรัฐ ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาด้านการป้องกันและควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เมื่อต้นปี 2563 ที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนขาดรายได้ ซึ่งแต่เดิมมีประชาชนที่ประกอบอาชีพหลากหลาย เช่น เกษตรกร รับจ้างทั่วไป รับราชการ รัฐวิสาหกิจ ฯลฯ ต้องประสบปัญหาและประกอบอาชีพลำบากขึ้น จึงมีโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่สำรวจแบบสอบถาม การเก็บข้อมูลต่าง ผลปรากฏว่าชาวบ้านตำบลแสลงพัน มีความต้องการที่จะปลูกเห็ดนางฟ้า และการทำโรงเรือนเห็ดเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่ชาวบ้านในชุมชนและหมู่บ้านใกล้เคียง  และมีแนวทางในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ดนางฟ้า เช่น การทำน้ำพริกเห็ดนางฟ้า การทำแหนมเห็ด เป็นต้น       

                   

                                     

             

หมายเหตุ : กิจกรรมการสร้างโรงเรือนเห็ดนางฟ้า

อื่นๆ

เมนู