โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1ตำบล 1มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

หลักสูตร: SH06 รายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร การเพาะเห็ดฟาง การผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากฟางข้าว และเปลือกมันสำปะหลัง

บทความรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2564

นายบุญเหนือ เครือตา

ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลแสลงพัน

     ประชาชนในตำบลแสลงพันนั้นประกอบอาชีพหลักคือ การทำเกษตรกรรม ทำนา ปลูกมันสำปะหลัง ปลูกผักสวนครัว เลี้ยงวัวควาย ฯลฯ ส่วนอาชีพเสริมนั้นได้แก่ รับจ้างทั่วไป ค้าขาย ก่อสร้าง ทอผ้าไหม ทอเสื่อกก ฯลฯ กล่าวได้ว่ารายได้หลักนั้นมากจากภาคการเกษตร หากฤดูกาลผลิตใดฝนทิ้งช่วงหรือฝนแล้งก็จะทำให้ได้ผลิตน้อยลงและขาดทุน หากฤดูกาลผลิตใดฝนตกตามฤดูก็จะทำให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรมากขึ้น สามารถนำเงินไปใช้หนี้สินที่กู้มาทั้งในระบบและนอกระบบได้ ประชาชนนั้นต้องพึ่งธรรมชาติในการทำการเกษตรเพื่อจำหน่าย ข้าว มัน ซึ่งนำเงินที่ได้มาเลี้ยงครอบครัว จึงทำให้ประชาชนนั้นไม่มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพมากนัก จึงต้องประกอบอาชีพเสริมเพิ่มเติม

นอกจากนี้ชุมชนต่างๆยังได้รับผลกระทบที่ตามมาซ้ำเติมประชาชนคือปัญหาโรคโควิด19 ที่แพร่ระบาดสู่ชุมชน ทำให้ทุกภาคส่วนในตำบลมีการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของกลุ่มเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เป็นอุปสรรคสำหรับการลงพื้นที่ปฏิบัติงานของทีมงาน U2T ตำบลแสลงพัน แต่อย่างไรก็ตามทีมผู้ปฏิบัติงานทุกท่านก็ช่วยลงพื้นที่ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้กับประชาชนให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ลดรายจ่าย ภาวะการณ์ในปัจจุบันให้ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปด้วยกัน

ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่วัดป่าแสลงพัน วันที่ 25 มิ.ย.2564 เพื่อประชุมทีมคณะทำงานทุกท่านร่วมกับ อ.ดร.สุธีกิติ์ ฝอดสูงเนิน เพื่อเตรียมสถานที่ในการฝึกอบรมการทำสบู่เหลวล้างมือสมุนไพรสูตรต่างๆให้กับประชาชนในตำบลแสลงพันเพื่อป้องกันภัยจากโรคโควิด19 นอกจากนี้ชาวบ้านยังสามารถนำผลิตภัณฑ์ที่ร่วมกันทำกลับไปใช้ภายในครัวเรือนของตนเองได้

 

 

 

เมื่อวันที่26 มิ.ย.2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฎิบัติงานได้ลงพื้นที่เพื่อฝึกอบรมส่งเสริมให้ประชาชนของตำบลแสลงพันในการทำสบู่เหลวล้างมือสมุนไพร ณ วัดป่าแสลงพัน เป็นการลดรายจ่ายสามารถทำใช้เองภายในครัวเรือนได้ ซึ่งวิทยากรที่ได้รับเชิญมาบรรยายให้ความรู้ในครั้งนี้คือ ครูอี๊ด ภัทรานิษฐ์  กุลพิเชษฐ์วณิช กรรมการผู้จัดการบริษัท บ้านเธอแอง กรุ๊ปส์ จำกัด จาก 12/32 หมู่ที่9 ต.ชุมเห็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งสูตรการทำมีวิธีขั้นตอนต่างๆดังนี้

วันที่ 9 กรกฎาคม 2564 สำหรับสถานที่แห่งแรกนั้นข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนาในการจัดทำโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า ได้ร่วมแรงร่วมใจกันในการทำงานทุกภาคส่วน มีการทำงานเป็นทีมแบบบูรณาการ อาทิ ทีม U2T ของตำบลแสลงพัน ตัวแทนชาวบ้านที่คอยช่วยเหลือ อาจารย์ประจำหลักสูตรที่คอยให้คำแนะนำ และท่านได้ลงพื้นที่ให้กำลังใจผู้ปฏิบัติงานเป็นอย่างดี ข้าพเจ้าได้ช่วยทีมงานในการล้างน้ำทำความสะอาดโรงเรือนถอนตะปู รื้อไม้เก่า ที่ไม่สามารถใช้งานได้ออก ขนอิฐบล็อกเข้าโรงเรือน นำเหล็กมาวางเพื่อทำชั้นวางเห็ด นำท้อพีวีซีมัดกับลวดให้แน่นเป็นชั้นๆเพื่อวางก้อนเห็ดนางฟ้า และเดินระบบน้ำเข้าสู่โรงเรือนเพื่อพ่นน้ำให้กับเห็ดในอุณหภูมิที่เหมาะสม

นอกจากนี้ทีมงานได้จัดทำโรงเรือนเพาะเห็ดแห่งแรกแล้ว เมื่อดำเนินการเสร็จได้เดินทางไปช่วยชาวบ้านหนองตาดตามุ่ง และทีมงานกลุ่มสมาชิกในการสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้าแห่งที่สอง ข้าพเจ้าได้ช่วยขนวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการก่อสร้างเข้าโรงเรือนพาะเห็ดร่วมกับทีมผู้ปฏิบัติงาน และ อ.ดร สุธีกิติ์ ฝอดสูงเนิน จนสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

     วันที่11 กรกฎาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานๆได้ลงพื้นที่แห่งแรก คือ บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา เพื่อส่งเสริมอาชีพการทำเห็ดนางฟ้าให้ประชาชนที่รวมกลุ่มกันได้ มีการจัดทำโรงเรือน การสนับสนุนค่าวัสดุให้กับกลุ่มสมาชิก สนับสนุนก้อนเชื้อเห็ด เป็นต้น เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด19 ที่ขยายสู่พื้นที่ชุมชนต่างๆอย่างรวดเร็วทำให้อาจเกิดความเสี่ยงที่จะตามมาได้ จึงกำหนดให้หมู่บ้าน1-2 ท่านในการเข้าร่วมกิจกรรม เรียนรู้วิธีการเปิดดอกเห็ดนางฟ้า การดูแลรักษา ระยะเวลาที่เหมาะสำหรับการเก็บเห็ดในแต่ละรุ่น ฯลฯ โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรเจ้าของฟาร์มเห็ด คือ ครูพีช ภัทร ภูมรา และได้ลงพื้นที่แห่งที่สอง บ้านหนองตาดตามุ่ง เพื่อช่วยทีมงานในการสร้างโรงเรือน มัดลวด ตีตะปู ล้อมผ้าสแลนเพื่อพรางแดด ขนก้อนเห็ดเข้าโรงเรือน และร่วมรับประทานอาหารเที่ยงกับชาวบ้านเป็นการสร้างมิตรภาพที่ดีระหว่างกัน สร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชุมชน ประชาชน ผู้นำชุมชน และทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลแสลงพันทุกท่าน

 

ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ แนวทางแก้ไข และส่งเสริมพัฒนาอาชีพประชาชน

   จากการที่ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่นั้นทำให้ทราบถึงปัญหาต่างๆมากมายในการทำงาน แม้ว่าสถานการณ์โรคโควิด19 แพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องก็ตาม ซึ่งบางชุมชนนั้นยังขาดการให้ความร่วมมือกันในการทำงานเป็นทีมหรือทำงานเป็นกลุ่มเท่าที่ควร ขาดการเอาใส่ใจในการพัฒนาอาชีพของตนเอง หากชุมชนหรือกลุ่มบุคคลใดไม่สามารถที่รวมกลุ่มกันได้ควรมีการออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนนั้นๆ อาจจะส่งเสริมในรูปแบบที่ไม่ยากมากหนัก เช่น การทำน้ำหมักชีวภาพจุลินทรีย์ การให้เชื้อเห็ดรายครัวเรือน เป็นต้น 

   สำหรับกลุ่มสมาชิกที่มีความเข้มแข็ง มีความมุ่งมั่นรวมกลุ่มกันได้ก็จะมีการพัฒนาต่อยอดเพื่อสนับสนุนปัจจัยการผลิต วัสดุอุปกรณ์ต่างให้อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างเป็นโรงเรือนต้นแบบให้กับชุมชน การแปรรูปผลิตภัณฑ์ การจำหน่ายสินค้า การจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกลุ่ม รวมถึงการต่อยอดเป็นสินค้าชุมชนสามารถจำหน่ายได้ มีระบบด้านการตลาด สามารถสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ได้ ทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน และสร้างรายได้สู่ชุมชน

วีดีโอรายงานผลการปฏิบัติงาน

 

อื่นๆ

เมนู