บทความสรุปผลการปฏิบัติงาน

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมตำบลแบบบูรณาการ

บ้านหนองระนาม หมู่ 2 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

โดย นางสาวกาญจนาวดี เคหาห้วย กลุ่มนักศึกษา

***************************************************

           ลงพื้นที่เสนอโครงการต่อประชาชน บ้านหนองระนาม หมู่ที่ 2 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ  จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ข้าพเจ้า นางสาวกาญจนาวดี เคหาห้วย ประเภทนักศึกษา รับผิดชอบในตำบลแสลงพัน ได้ลงพื้นที่พบปะพูดคุยกับชาวบ้าน เพื่อเชิญชวนให้ชาวบ้านมาเข้าร่วมโครงการ  เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณการ 1 ตำบล 1 มหาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ ได้มีการประชุมกันในทีมงานในวันที่ 5 เมษายน 2564 ประชุมกันเรื่องการจัดทำโครงการ การทำบทความ การทำรายงานผลการปฏิบัติงาน และการวางแผนการทำงานของเดือนถัดไป ทั้งนี้ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานร่วมกับผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 3 คน ระหว่างวันที่ 7 – 9 เมษายน 2564 เวลา 09:30 ณ ที่บ้านหนองระนาม ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยได้เข้าไปพูดคุยสอบถามชาวบ้านเกี่ยวกับการทำผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ได้เสนอการทำเห็ดฟางให้กับชาวบ้าน และเชิญชวนชาวบ้านมาเข้าร่วมโครงการ ชาวบ้านมีความสนใจเป็นอย่างมากและมีการส่งตัวแทนเข้าร่วมโครงการจำนวน 5 คน เพื่อเข้าอบรมรับความรู้จากวิทยากร เรื่องการทำเห็ดฟางหรือการทำปุ๋ยจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

บริบททั่วไป

               โดยทั่วไปชาวบ้านในชุมชนให้ความร่วมมือและมีความสนใจเกี่ยวกับการเข้าร่วมโครงการที่เราได้เชิญชวน บริบทของชุมชนโดยภาพรวมแล้วน่าอยู่ เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ทำไร่ ทำนา ทำสวน เป็นส่วนใหญ่ หมู่บ้านมีความสะอาด ไม่ค่อยมีขยะตามข้างถนน ชุมชนไม่แออัด มีอากาศบริสุทธิ์อย่างมาก ถนนมีสภาพทรุดโทรมทำให้การสัญจรค่อนข้างลำบาก ขาดแคลนน้ำใช้ในหน้าแล้ง อีกทั้งประชาชนในหมู่บ้านต้องการสานต่อตลาดชุมชนบริเวณหน้าหมู่บ้าน เพื่อให้ชาวบ้านมีโอกาสนำสินค้าหรือผลิตภัณฑ์มาจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ นำไปจุนเจือครอบครัว และชาวบ้านมีความประสงค์ให้มหาวิทยาลัยเข้าไปดำเนินการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าทางการเกษตรและสร้างรายได้เพิ่มแก่ชุมชน

สภาพปัญหาของชุมชน

  1. ปัญหาถนนทรุดโทรม ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ
  2. ปัญหาขาดแคลนน้ำใช้ทางการเกษตร อุปโภคและบริโภค
  3. ปัญหาไฟฟ้าส่องสว่างไม่เพียงพอตามถนนในหมู่บ้าน
  4. ปัญหาวัยรุ่นส่งเสียงดังในเวลากลางคืน
  5. ปัญหายาเสพติด

แนวทางการพัฒนาหรือข้อเสนอแนะในการพัฒนา

1.พัฒนาถนนให้มีคุณภาพเพื่อสะดวกต่อการเดินทาง

2.พัฒนาเรื่องของการขาดแคลนแหล่งน้ำ

3.พัฒนาแสงสว่างให้เพียงพอเพื่อสะดวกและปลอดภัยในการเดินทางในเวลากลางคืน

ผลิตภัณฑ์/ผลผลิตที่สามารถต่อยอดพัฒนา    

  1. อาหาร เครื่องดื่ม เห็ดฟาง
  2.   เครื่องใช้จากวัสดุเหลือใช้ เช่น เศษผ้า
  3.   เครื่องประดับ ของฝาก ผ้าไหม
  4. ปุ๋ย ส่วนผสมสารบำรุงดิน บำรุงพืชฯลฯ                                                                                                                                                            .

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู