บทความสรุปผลการปฏิบัติงาน

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมตำบลแบบบูรณาการ

กิจกรรมพัฒนาประจำเดือนพฤษภาคม

บ้านสี่เหลี่ยมน้อย หมู่ที่ 9 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

โดย นายหัสวัฒน์ งอยไธสง กลุ่มนักศึกษา

************************************************************

 

1.ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลบ้านสี่เหลี่ยมน้อย หมู่ที่ 9 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามแบบ 01, 02 และ 06 ในภาพรวมพบว่า จากการลงพื้นที่ในการสำรวจข้อมูลโดยดูพื้นที่ของภาพรวมทั้งหมดแล้วสภาพของชุมชนนั้นน่าอยู่ เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทำการเกษตร ทำไร่ ทำสวน เป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้รู้สึกว่าได้อยู่กับธรรมชาติอย่างแท้จริง หมู่บ้านสี่เหลี่ยมมีความสะอาดเรียบร้อย น่าอยู่ ไม่ค่อยจะมีขยะตามหมู่บ้าน สภาพชุมชนเป็นสภาพที่ไม่มีความแออัด มีอากาศที่ถ่ายเทบริสุทธิ มีร้านค้าพอเพียงต่อความต้องการของประชาชนครัวเรือนและชุมชน และอีกทั้งยังขาดองค์ความรู้ในด้านการทำเกษตรอินทรีย์อีกด้วย และความต้องการของหมู่บ้านอยากให้มหาวิทยาลัยมาอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเรื่องการเกษตรและการทำเกษตรอินทรีย์และกลุ่มอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนครอบครัวอีกด้วย

  1. ปฏิบัติหน้าที่ในโครงการฝึกอบรมการส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดฟางและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลังและเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โดยทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานร่วมกับทางผู้นำหมู่บ้านและ ได้ปฏิบัติหน้าที่ดังนี้

          เชิญชวนสมาชิกในชุมชนบ้านสี่เหลี่ยมน้อย ม.9 เพื่อร่วมเป็นจิตอาสาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นโดย มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 7 คน ได้แก่

          1.)นางบัวเรียน วงค์แก้ว บ้านสี่เหลี่ยมน้อย หมู่ที่ 9

          2.)นางหนูแดง ภูสมศรี   บ้านสี่เหลี่ยมน้อย หมู่ที่ 9

          3.)นางบัวแดง  พิมพ์โคตร บ้านสี่เหลี่ยมน้อย หมู่ที่ 9

          4.)นายสมศักดิ์  พิมพ์โคตร บ้านสี่เหลี่ยมน้อย หมู่ที่ 9

          5.)นางสาวไพบูลย์  พรมพิลา บ้านสี่เหลี่ยมน้อย หมู่ที่ 9

          6.)นายพรพินิจ  เหลาศรี บ้านสี่เหลี่ยมน้อย หมู่ที่ 9

          7.)นางบัวผัน  ชอบรัมย์ บ้านสี่เหลี่ยมน้อย หมู่ที่ 9

3.ได้เข้ารับการอบรม เรื่อง การส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดฟางและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลัง: เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ณ เทศบาลตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 3-4 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 โดยมีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

          3.1 กิจกรรมเปิดโครงการและแนะนำโครงการการเพาะเห็ดฟางและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลังเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โดย ผศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ

          3.2 การฝึกอบรมการผลิตปุ่ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ ดังนี้

การทำน้ำหมักจากสูตรฮอร์โมนไข่

วัสดุอุปกรณ์

1.ไข่ไก่ทั้งฟอง 6 กิโลกรัม

2.กากน้ำตาล 6 กิโลกรัม

3.แป้งข้าวหมาก 1 ก้อน

4.ยาคูลท์หรือนมเปรี้ยว 1 ขวด

5.ถังน้ำ 1 ถัง

6.ไม้คน 1 อัน

7.เครื่องปั่น 1 เครื่อง

วิธีทำ

1.นำไข่ไก่ไปปั่นให้ละเอียด เทใส่ถังที่เตรียมไว้

2.นำกากน้ำตาลเทลงไป

3.นำแป้งข้าวหมากมาบดให้ละเอียดแล้วเทลงไป

4.นำยาคูลท์เทลง คนให้เข้ากัน ต้องคนไปในทางเดียวกัน ห้ามสลับทาง

หมักไว้ 14 วัน  เก็บไว้ในที่ร่ม 

ประโยชน์ฮอร์โมนไข่

1).บำรุงใบเขียว เร่งดอก ผลผลิต

วิธีใช้

 1.)ใช้ 2-5 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร

 2.)ฉีดพ่นตอนเช้าหรือตอนเย็นหรือทุกสัปดาห์

3.3) การเพาะเห็ดจากฟางข้าวมีขั้นตอนหรือวธีการทำดังนี้

1.)นำฟางแห้งมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ ขนาด 5-10 เซนติเมตร

2.) นาไม้แบบวางเอาฟางสับใส่ลงไป ขึ้นเหยียบพร้อมโรยปุ๋ยยูเรีย และรดน้ำจนเต็มไม้แบบ

3.) ยกไม้แบบออก เอาพลาสติกคลุมให้มิด

4.)ทิ้งไว้ 3 วัน ทาการกลับกองพร้อมโรยปูนขาว และดีเกลือ ทากองเป็นรูปภูเขา คลุมกองไว้เหมือนเดิม

5.) ทิ้งไว้อีก 2 วัน นำมาผสมกับราให้ทั่วกอง

6.) บรรจุลงในถุง

4.ได้ทำการบันทึกข้อมูลสถานที่สำคัญในตำบลแสลงพัน โดยรับผิดชอบบ้านสี่เหลี่ยมน้อยหมู่ 9 มีสถานที่สำคัญต่าง ๆ ดังนี้

       

       ภาพที่ 1.1.พิธีเปิดโครงการ                                               ภาพที่ 1.2.ฝึกปฏิบัติการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

                                     

                                                                                  

5.ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่

1.มีการลงพื้นที่ค่อนข้างที่จะยากต่อการลงพื้นที่พบปะพี่น้องในหมู่บ้านเนื่องด้วยจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ลงพื้นที่ไปพบปะพูดคุยเป็นไปได้ยาก

อื่นๆ

เมนู