1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS06 - ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ
  4. HS06-กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดฟางและปุ๋ยชีวภาพจากฟางข้าว และเปลือกมันสำปะหลัง การติดตามความก้าวหน้าโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า และพัฒนากิจกรรมผลิตปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนตุลาคม 2564

HS06-กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดฟางและปุ๋ยชีวภาพจากฟางข้าว และเปลือกมันสำปะหลัง การติดตามความก้าวหน้าโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า และพัฒนากิจกรรมผลิตปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนตุลาคม 2564

รายงานผลปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้างงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(๑ตำบล๑มหาวิทยาลัย)ประจำเดือนตุลาคม2564

ข้าพเจ้านางสาววรัญญา พิมพ์เชื้อ ผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชน พื้นที่รับผิดชอบบ้านแสลงพัน,บ้านแสลงพันพัฒนา,บ้านหนองตาดตามุ่ง ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร:HS06-การสร้างรายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

บ้านแสลงพัน ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศจังหวัดบุรีรัมย์ส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรม,ทำนา,ปลูกผัก,ทำเกษตรผสมผสาน,มีการจักรสานทำตะกร้า,และทำอาชีพเสริมคือการเลี้ยงสัตว์เช่นการเลี้ยงวัว,เลี้ยงควาย,เลี้ยงหมู,เลี้ยงไก่,เป็นต้นประชากรส่วนใหญ่ว่างงานเพราะได้รับผลกระทบจากโรคโควิด19ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนบ้านแสลงพันโดยตรงจึงได้มีโครงการยกระดับเศรษฐกิจรายตำบลและสังคมแบบบูรณาการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในระดับชุมชนทั้งการสร้างงานการพัฒนาอาชีพในชุมชนเพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ร่วมกับทีมงานU2Tได้เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมอาชีพและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้แก่ชุมชนภายใต้กิจกรรมการสร้างรายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

  • กิจกรรมในเดือนตุลาคมนี้ทางอาจารย์ประจำหลักสูตรหลักสูตรอาจารย์ดร.สุธีกิติ์ ฝอดสูงเนิน ได้นัดประชุมออนไลน์เพื่อวางแผนการทำงานให้กับทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่เก็บรวมรวบข้อมูลบันทึกข้อมูลตามแบบSROI  ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เมื่อวันที่7ตุลาคม2564ที่บ้านแสลงพัน หมู่7ตำบลแสลงพันอำเภอลำปลายมาศจังหวัดบุรีรัมย์. ภารกิจที่รับผิดชอบคือลูกจ้างโครงการเป็นตัวแทนของกลุ่มประเภทประชาชนและชุมชนภายนอก  ร้านค้าวัสดุร่วมกันกับพี่ศุภานัน ริชาร์ดส
  • จัดทำรายงานผลการดำเนินงานHS06บทที่1สภาพทั่วไปของพื้นที่พัฒนา

1.1ประวัติทั่วไป

1.2แผนที่ชุมชน

1.3ข้อมูลสำคัญรายตำบล(หมู่บ้าน)

1)ปราชญ์ชาวบ้านและภูมิปัญญา

2)เกษตกรที่ขึ้นทะเบียน

3)ร้านค้าชุมชน

4)วัด

5)โรงเรียน

6)แหล่งน้ำ

7)ป่า,ชุมชน,ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ

8)อาชีพ

9)กลุ่มวิสาหกิจชุมชน

10)ผลิตภัณฑ์ในชุมชน

11)เส้นทางคมนาคม

1.4ข้อมูลสมาชิกชุมชน

1)ผู้สูงอายุ

2)ทารกแรกเกิด

3)เด็กและเยาวชน(อายุ1ขวบ-19ปี)

4)สตรีมีครรภ์

5)ผู้พิการ

6)สมาชิก อสม.

1.5ข้อมูลทุนทางวัฒนธรรม

1)จารีต(ข้อปฏิบัติของแต่ล่ะชุมชน)

2)ประเพณี

3)ภมูิปัญญา(ใช้ข้อ1.3,ข้อ1)

1.6พืชสมุนไพรในชุมชน

3.พัฒนากิจกรรมผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ ในวันที่16-17ตุลาคา2564ได้ลงพื้นที่เพื่อพัฒนากิจกรรมผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ พร้อมแจกอุปกรณ์ทำน้ำหมักให้กับสมาชิกจิตอาสาที่เข้าร่วมโครงการซึ่งแบ่งเป็น2โซนได้แก่1โซนบ้านแสลงพันและ2โซนบ้านบุขี้เหล็กทีม

ผู้ปฏิบัติงานได้ถ่ายทอดความรู้ให้กับสมาชิกสูตรทำน้ำหมักชีวภาพ3สูตรมีดังต่อไปนี้

สูตรที่ 1 การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร

วัสดุและอุปกรณ์

1.เศษอาหารแห้ง เช่น เศษข้าว เศษขนมปัง ก้างปลา เปลือกไข่ เปลือกผลไม้ 1 ส่วน

2.มูลสัตว์ เช่น ขี้วัว ขี้ไก่ ขี้ม้า 1 ส่วน

  1. ใบไม้ 1 ส่วน

4.ถังขนาด 20 ลิตร

5.ตาข่ายกันแมลง

วิธีทำ

1.นำถังขนาด 20 ลิตร มาเจาะรูไว้รอบถังแล้วใช้ตาข่ายกันแมลงพันให้รอบ เพื่อช่วยระบายอากาศและป้องกันแมลงรบกวน

2.ผสมเศษอาหารแห้งที่มีขนาดเล็กและไม่มีน้ำ เช่น เศษข้าว เศษขนมปัง ก้างปลา เปลือกไข่ และเปลือกผลไม้ เข้ากับมูลสัตว์ เช่น ขี้วัว ขี้ไก่ ขี้ม้า และเศษใบไม้ ในอัตรา 1:1:1 ส่วน

3.คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วปิดฝาให้สนิท ถ้าหากวันต่อไปมีเศษอาหารเพิ่ม ก็นำมาเติมเข้าไปได้ แต่อย่าลืมผสมในอัตราส่วนเท่าเดิมด้วย

4.พลิกกลับส่วนผสมวันละ 1-2 ครั้ง เป็นประจำทุกวัน

หมายเหตุ: ในช่วงแรกไม่จำเป็นต้องเติมน้ำ เพราะเศษอาหารมีความชื้นอยู่แล้ว แต่เมื่อเห็นว่าส่วนผสมเริ่มแห้งลง ก็สามารถพรมน้ำเข้าไปได้เล็กน้อย โดยจะใช้เวลาในการหมักประมาณ 1 เดือน ก็จะได้ปุ๋ยหมักสีดำขนาดเล็ก ที่แห้งสนิทและไม่มีกลิ่นเหม็นไว้ใช้บำรุงต้นไม้แล้ว

สูตรทึ่ 2 การทำปุ๋ยหมักชีวภาพแบบน้ำ

วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียม มีดังนี้

1.ถุงกระสอบดินสำหรับใส่เศษอาหาร

2.ถังมีฝาปิด ขนาดที่สามารถใส่น้ำได้ 10 ลิตรขึ้นไป

3.น้ำตาล 1 กิโลกรัม

4.น้ำสะอาด 10 ลิตร ควรพักคลอรีนไว้สัก 1-2 คืน

วิธีทำ

1.นำน้ำสะอาด 10 ลิตร มาเติมลงในถัง ใส่กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม หรือใส่น้ำตาล 1 ส่วน ใช้ไม้กวนให้เข้ากัน

2.นำเศษอาหารใส่ลงในกระสอบ (กระสอบดินถุงที่พอจะมีช่องระบายอากาศ) มัดปากถุงแล้วแช่ลงไป โดยเเนะนำว่าไม่ควรใส่เศษอาหารเกิน 3 ส่วน

3.หมักทิ้งไว้ประมาณ 20-30 วัน โดยควรปิดฝาให้สนิท เพื่อให้แมลงจะได้ไม่มาไข่ เเละทำให้ถังหมักของเราไม่มีหนอน

วิธีนำมาใช้

1.เวลานำมาใช้รดน้ำต้นไม้ ก็ควรจะผสมให้เจือจาง เเนะนำว่าควรใช้ 2 ชัอนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 บัว (ประมาณ 20 ลิตร)

2.ส่วนกากที่เหลือก็สามารถนำไปหมักเป็นปุ๋ยต่อได้  โดยนำมาผสมกับใบไม้แห้ง เเละปุ๋ยคอก  รดน้ำ ปรับความชื้น 60% คือ เมื่อบีบแล้วไม่มีน้ำไหลซึมออกจากง่ามมือ และเมื่อแบมือออก ปุ๋ยยังคงจับตัวกันเป็นก้อน และทิ้งไว้ประมาณ 2 อาทิตย์ หรือสังเกตดูจนปุ๋ยหายร้อน ก็สามารถนำไปใช้ได้

หมายเหตุ: ระหว่างการหมัก ถ้าเป็นไปได้ก็ควรเทเข้าเทออกสักหน่อย คล้ายๆ กับเป็นการกลับกองไปในตัว เเต่ถ้าลองสังเกตหรือจับดูเเล้วปุ๋ยที่หมักไม่ร้อนแสดงว่ากระบวนการหมักไม่เกิด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าเราปรับความชื้นไม่เหมาะสม

สูตรที่ 3 การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารในครัวเรือนแบบฝังดิน

วัสดุอุปกรณ์

1.ถุงผ้าแยงเขียว     1 ใบ

2.เศซอาหารทึ่สะสไว้หลายวัน 1 ถัง

3.น้ำหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วย  1  ขันพลาสติก หรือ จุลินทรีย์น้ำซาว

วิธีทำ

1.ขุดดินเป็นหลุมลึกพอประมาณกับถุงที่ใส่เศษอาหาร

2.หย่อนก้นถุงผ้าแยงลงไปในหลุมแล้วเทดศษอาหารลงไปให้เต็ม

3.เทน้ำหมักที่เตรียมไว้ให้และมัดปากถุงผ้าแยงให้แน่น แล้ววางถุงลงแนวนอน

4.เอาดินกลบให้ทั่วถึง ไม่ต้องกลบแน่น หาป้ายเขียนวันหมักไว้เพือ่กันลืม หมักไว้ประมาณ 30 วันก็ขุดเอามาใช้ประโยชน์ได้

## น้ำหมักน้ำซาวข้าว ##

1.น้ำซาวข้าว      1- 1.5    ลิตร

2.น้ำตาลทราย       2 ช้อนโต๊ะ

3.นมเปรี้ยว             2 ช้อนโต๊ะ

  1. ขวดพลาสติกขนาด 1- 1.5 ลิตร

วิธีทำ

เทน้ำซาวข้าวที่เตรียมไว้ลงขวด ตามด้วยน้ำตาลทราย และนมเปรี้ยว เขย่าให้น้ำตาลละลายปิดฝาหลวมๆหมักไว้ 1 อาทิตย์

ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก

1.ปุ๋ยหมักเป็นการนำขยะอินทรีย์มาใช้ประโยชน์ใหม่ จึงช่วยลดปริมาณขยะอินทรีย์เข้าระบบการจัดการขยะได้

  1. ปุ๋ยหมักบางชนิดมีจุลินทรีย์ที่ช่วยยับยั้งและป้องกันจุลินทรีย์ที่ทำให้พืชเป็นโรคได้
  2. ปุ๋ยหมักมีธาตุอาหารครบถ้วน ทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม
  3. ปุ๋ยหมักเป็นแหล่งอาหารของสิ่งมีชีวิตในดินที่เป็นประโยชน์ จึงช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดีขึ้น
  4. ปุ๋ยหมักมักจะปล่อยธาตุอาหารให้พืชอย่างช้า ๆ ทำให้อยู่ในดินได้ค่อนข้างนาน จึงมีโอกาสเสียน้อยกว่าปุ๋ยเคมี
  5. ปุ๋ยหมักช่วยปรับค่าความเป็นกรด-ด่างของดินให้เหมาะสมได้ ต่างจากปุ๋ยเคมีที่มีแอมโมเนียเป็นส่วนประกอบ จึงอาจจะทำให้ดินแปรสภาพเป็นกรด
  6. ปุ๋ยหมักช่วยเพิ่มจุลินทรีย์และอินทรียวัตถุ ทำให้โครงสร้างของดินดีขึ้น เช่น ร่วนซุย ระบายน้ำดี ถ่ายเทอากาศสะดวก และรากแผ่กระจายหาอาหารง่ายขึ้น ในขณะที่ปุ๋ยเคมีไม่มีคุณสมบัติในการปรับปรุงดินใด ๆ
  7. ปุ๋ยหมักช่วยลดค่าใช้จ่ายและทำให้ประหยัดเงิน เพราะสามารถใช้แทนปุ๋ยเคมีได้ สามารถลดปริมาณการซื้อปุ๋ยเคมีลงได้ แถมยังไม่ต้องเสียเงินซื้อสารเคมีหรือยาป้องกันแมลงศัตรูพืชด้วย

4)ติดต่อประสานงานให้คำแนะนำสมาชิกกลุ่มเป้าหมายหมู่บ้านแสลงพันหมู่7จำนวน5คนดังนี้

1.นางสำราญ เลิศล้ำ

2.นางทองยุทธ ทูลไธสง

3.นางหัด สมานมิตร

4.นางสมพาน คำบาง

5.นางอมร แก้วกัลยา

โดยให้คำแนะอาสาสมัครทั้ง 5 คน เพื่อให้สมาชิกมีส่วนร่วมไปช่วยเคลียร์หน้าก้อนเห็ดที่เกิดเชื้อราเขียวที่โรงเรือนเพาะเห็ดบ้านหนองตาดตามุ่ง หมู่5 และช่วยกันดูแลโรงเรือน อาทิเช่นเรื่องราเขียว แมลงหวี่รบกวน หน้าเห็ดแห้งและแข็ง เพื่อจะได้หาทางแก้ไขเวลาเกิดปัญหาขึ้นมา และร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้นไป

ข้าพเจ้าได้ติดต่อประสานงาน ให้คำเเนะนำ สมาชิกเป้าหมายหมู่บ้านหแสลงพันจำนวน  5 คน เพื่อให้ไปช่วยแคะหน้าก้อนราเขียวช่วยอาสาสมัครบ้านหนองตาดตามุ่ง พร้อมทั้งให้คำปรึกษาเรื่องการแก้ไขปัญหาตรางๆทร่เกิดในก้อนเห็ดนางฟ้า  การต่ออาทิเช่นราเขียว หน้าเห็ดแห้งและแข็ง เป็นต้น และการต่อยอดการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ดและของดีในชุมชนเพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประจำชุมชนต่อไป

5) ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายงานอื่นๆเช่นเข้าประชุมออนไลน์ติดต่อประสานงานกับผู้นำชุมชนช่วยน้องๆจัดเตรียมสถานที่เพื่อทำกิจกรรมต่างๆคอยซัพพอร์ตในทีมผู้ปฏิบัติงานได้ประชุมกับประธานและเลขาเพื่อมอบหมายงานจากอาจารย์ประจำหลักสูตรและหารือกับทีมผู้ปฏิบัติงานในภาระงานที่ได้รับมอบหมายเพื่อแบ่งงานและช่วยกันทำงานให้เสร็จตามเป้าหมาย

6)ติดตามและให้คำแนะนำการเพาะเห็ดโรงเรือนบ้านบุก้านตง,บ้านหนองตาดตามุ่งและบ้านบุขี้เหล็กใหม่  ช่วงนี้หน้าฝนเห็ดอาจพบปัญหาเชื้อราขึ้นตามก้อนเชื้อเห็ดให้สมาชิกคอยดูและสังเกตุอย่างสม่ำเสมอเห็ดอาจจะชะงักการงอกได้คอยระวังไม่ให้โรงเรือนเพาะเห็ดเปียกจนเกินไปบัญชีรายรับ-รายจ่ายกลุ่มโรงเรือนบ้านบุก้านตงเก็บเห็ดขายได้4พันกว่าบาทกลุ่มโรงเรือนบ้านหนองตาดตามุ่งเก็บเห็ดขายได้8พันกว่าบาทกลุ่มโรงเรือนบ้านบุขี้เหล็กใหม่เก็บเห็ดขายได้เกือบห้าพันบาทซึ่งเป็นที่หน้ายินดีและภูมิใจที่สามารถช่วยให้ชาวบ้านมีรายได้เข้ามาจุนเจือครอบครัวและทำให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

กิจกรรมที่จะดำเนินการต่อคือ

1.มอบวัสดุพัฒนากิจกรรมและบรรจุภัณฑ์เพิ่ม

2.ติดตามความก้าวหน้าการปฏิบัติงาน และให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ

3.จัดทำบัญชีครัวเรือนเกี่ยวกับการลดรายจ่ายของครัวเรือน

4.การประกวด มอบรางวัล  ชุมชน และครอบครัวต้นแบบ

5.ขยายเครือข่าย ส่งมอบความรู้สู่ชุมชนโดยสมาชิกชุมชนต้นแบบ

6.พัฒนาและส่งเสริมแหล่งเรียนรู้การเพี่งพาตนเองด้วยหลักปรัซญาเศรษฐกิจพอเพียงบนฐานกิจกรรมการประยุกต์ใช้เศษวัสดุเหลือใช้ 13-19 และประชุมหารือกับทีมผู้ปฏิบัติงานในภาระวานที่ได้รับมอบหมายเพื่อแบ่งงานและช่วยกันทำงานให้เสร็จตามเป้าหมาย ประสานงานติดต่อการใช้สถานที่กับผู้นำชุมชนเพื่อใช้อบรม เป็นต้น

แผนปฏิบัติงานในเดือนพฤศจิกายน 2564

1.จัดทำสื่อและตลาดออนไลน์

2 พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ต้นแบบ

3.จัดประกวดเพื่อส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์

4 จัดทำเล่มรายงานการปฏิบัติงานในโครงการ U2T ให้แล้วเสร็จ

ประชุมออนไลน์กับอาจารย์ประจำหลักสูตร

 

ภาพกิจกรรมเก็บรวบรวมข้อมูลSROIที่บ้านแสลงพัน

ภาพกิจกรรมติดตามโรงเรือนเพาะเห็ดบ้านหนองตาดตามุ่ง และบ้านบุขี้เหล็กใหม่ ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ

ภาพกิจกรรมแจกอุปกรณ์การทำน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์ ที่บ้านแสลงพันและบ้านบุขี้เหล็กตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ

 

คลิปวีดีโอปฏิบัติงานประจำดือนตุลาคม2564

อื่นๆ

เมนู