บทความสรุปผลการปฏิบัติงาน
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมตำบลแบบบูรณาการ
บ้านสี่เหลี่ยมเจริญ หมู่ 10 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
โดย นายอภิสิทธิ์ แสงสุข กลุ่มนักศึกษา
ประจำเดือนตุลาคม
***************************************************
1.เก็บรวบรวมข้อมูล บันทึกข้อมูล ตามแบบSROI โดยได้กรอกข้อมูลลงในระบบ SROI ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายที่ให้ข้อมูลคือ วิสาหกิจชุมชน ผู้นำชุมชน ตัวแทนสมาชิกชุมชนโรงเรือนเพาะเห็ดโรงเรือนละ 1 คน (3 โรงเรือน) ลูกจ้างโครงการ ตัวแทนนักศึกษา ตัวแทนบัณฑิต ตัวแทนประชาชนครอบครัวลูกจ้าง ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ
2.จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน HS06 บทที่ 1 ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลในวันที่ 2 ตุลาคม 2564 โดยสอบถามข้อมูลกับผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านของบ้านสี่เหลี่ยมเจริญ หมู่ 10 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลของชุมชน เช่น ประวัติชุมชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ประเพณีวัฒนธรรม ปราชญ์ชาวบ้าน และข้อมูลอื่น ๆ ในชุมชน
3.กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ ณ ศาลาบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา ในช่วงวันที่ 16-17 ตุลาคม 2564 โดยมีสมาชิกโครงการของบ้านสี่เหลี่ยมเจริญเข้าร่วมอบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในครั้งนี้ด้วย ซึ่งมีการให้ความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ ที่สามารถทำเป็นน้ำหมักไว้ใช้ในครัวเรือนและลดค่าใช้จ่ายจากการซื้อปุ๋ยได้
สูตรปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร
วัสดุและอุปกรณ์
–เศษอาหารแห้ง เช่น เศษอาหาร เปลือกไข่ 1 ส่วน–มูลสัตว์ 1 ส่วน
–ใบไม้ 1 ส่วน–ถังขนาด 20 ลิตร –ตาข่ายกันแมลง
วิธีทำ
1.นำถังขนาด 20 ลิตร มาเจาะรูไว้รอบถังแล้วใช้ตาข่ายกันแมลงพันให้รอบ เพื่อช่วยระบายอากาศและ ป้องกันแมลงรบกวน
2.ผสมเศษอาหารแห้งที่มีขนาดเล็กและไม่มีน้ำ เช่น เศษอาหารเปลือกไข่ เข้ากับมูลสัตว์ และเศษใบไม้ ในอัตรา 1:1:1 ส่วน
3.คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วปิดฝาให้สนิท ถ้าหากวันต่อไปมีเศษอาหารเพิ่ม ก็นำมาเติมเข้าไปได้ แต่อย่าลืมผสมในอัตราส่วนเท่าเดิมด้วย
4.พลิกกลับส่วนผสมวันละ 1-2 ครั้ง เป็นประจำทุกวัน
สูตรปุ๋ยหมักชีวภาพแบบน้ำ
วัสดุอุปกรณ์
–ถุงกระสอบดินสำหรับใส่เศษอาหาร–ถังมีฝาปิด ขนาดที่สามารถใส่น้ำได้ 10 ลิตรขึ้นไป
–น้ำตาล 1 กิโลกรัม–น้ำสะอาด 10 ลิตร ควรพักคลอรีนไว้สัก 1-2 คืน
วิธีทำ
1.นำน้ำสะอาด 10 ลิตร เติมลงในถัง ใส่กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม หรือใส่น้ำตาล 1 ส่วน ใช้ไม้กวนให้เข้ากัน
2.นำเศษอาหารใส่ลงในกระสอบ (กระสอบดินถุงที่พอจะมีช่องระบายอากาศ) มัดปากถุงแล้วแช่ลงไป โดยเเนะนำว่าไม่ควรใส่เศษอาหารเกิน 3 ส่วน
3.หมักทิ้งไว้ประมาณ 20-30 วัน โดยควรปิดฝาให้สนิท เพื่อให้แมลงจะได้ไม่มาไข่ เเละทำให้ถังหมักของเราไม่มีหนอน
วิธีนำมาใช้
1.เวลานำมาใช้รดน้ำต้นไม้ ก็ควรจะผสมให้เจือจาง เเนะนำว่าควรใช้ 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 บัว (ประมาณ 20 ลิตร)
2.ส่วนกากที่เหลือก็สามารถนำไปหมักเป็นปุ๋ยต่อได้ โดยนำมาผสมกับใบไม้แห้ง เเละปุ๋ยคอก รดน้ำ ปรับความชื้น 60% คือ เมื่อบีบแล้วไม่มีน้ำไหลซึมออกจากง่ามมือ และเมื่อแบมือออก ปุ๋ยยังคงจับตัวกันเป็นก้อน และทิ้งไว้ประมาณ 2 อาทิตย์ หรือสังเกตดูจนปุ๋ยหายร้อน ก็สามารถนำไปใช้ได้
4. ติดต่อประสานงาน ให้คำแนะนำ โดยได้ติดต่อประสานงานกับผู้นำชุมชนและสมาชิกเป้าหมายหมู่บ้านสี่เหลี่ยมเจริญ หมู่ 10 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 2 คน เพื่อเป็นแกนนำในการพัฒนาชุมชน ซึ่งได้รับความร่วมมือจากนายหนูนา ศรีทัพไทย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 10 ด้วยดีเสมอมา เพื่อให้สมาชิกในชุมชนมีความรู้และทักษะต่างๆ ในการประกอบอาชีพ
5. งานมอบหมายอื่น ๆ เช่น งานประชุม งานเลขา งานตัดต่อภาพ/วีดีโอ ประสานงาน โดยได้เข้าร่วมการประชุมกับทีมงานเพื่อปรึกษาหาแนวทางในการลงพื้นที่พัฒนาชุมชน ให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง และในเดือนตุลาคมเราได้ประชุมเกี่ยวกับเรื่อง
–ประชุมวันที่ 3 ตุลาคม 2564
1.มอบหมายประธานและสมาชิกจัดระบบพี่เลี้ยงให้กับสมาชิกใหม่
2.การจัดกิจกรรม การออกแบบบรรจุภัณฑ์และการทำสื่อประชาสัมพันธ์การตลาด (จัดกิจกรรมวันที่ 9 ต.ค. 2564)
3.การจัดทำรายงานบทที่ 1
–ประชุมวันที่ 5 ตุลาคม 2564
1.สรุปงานการลงสำรวจแบบสอบถาม SROI
2.กิจกรรมในเดือนต.ค.-ธ.ค. 2564
–การแปรรูปเห็ด
–น้ำหมักชีวภาพ การบรรจุภัณฑ์
–การทำสื่อออนไลน์ การทำตลาดออนไลน์ ศูนย์การเรียนรู้แบบออนไลน์
–ประชุม วันที่ 12 ตุลาคม 2564
1.กิจกรรมกลุ่มแปรรูปเห็ด จัดทำการออกแบบบรรจุภัณฑ์
2.ลงพื้นที่ที่ 16 ตุลาคม 2564 อบรมการนำเศษวัสดุเหลือใช้มาประยุกต์ทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ สารชีวภาพ
3.โซนการอบรมแบ่งเป็น 2 โซน
–โซนบ้านแสลงพัน อบรมที่ศาลาประชาคมหมู่ 7 09.00-11.00 น.
–โซนบ้านบุขี้เหล็ก อบรมที่ศาลาหมู่ 17 บ่าย 13.00-14.30 น.
–มอบหมายประสานสมาชิกชุมชนให้เข้าร่วมอบรม อย่างน้อยชุมชนละ 2คน
6. ติดตามและให้คำแนะนำการเพาะเห็ดโรงเรือน บ้านหนองตาดตามุ่ง บ้านบุก้านตง และบ้านบุขี้เหล็กใหม่ ให้คำแนะนำในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ดนางฟ้า เช่น ไส้กรอกเห็ดนางฟ้า แหนมเห็ดนางฟ้า และน้ำพริกเห็ดนางฟ้า