ข้าพเจ้า นางสาวอุมาพร โสภาค ผู้ปฏิบัตรงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร : HS06 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณนาการ 1ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ)
ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายงานประจำเดือนตุลาคม 2564 ได้มีการประชุมออนไลน์ ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการและผู้ปฏิบัติงาน U2T ในตำบลแสลงพัน เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมพัฒนาตำบลแสลงพัน โดยมีประชุมผ่าน Google Meet สมาชิกทีมงาน U2T ได้เข้าประชุมเพื่อวางแผนการปฏิบัติงานในงาน ดังนี้
1.การเก็บข้อมูลแบบสอบถาม U2T-SROI โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของการดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (U2T) ในการเก็บข้อมูลแบบสอบถาม U2T-SROI มีทั้งหมด 11 กลุ่มเป้าหมาย ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบ กลุ่มเป้าหมายที่ 9 ซึ่งเป็นหน่วยงานของภาครัฐ ลักษณะของกลุ่มเป้าหมายที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ เช่น โรงพยาบาล พัฒนาชุมชน รพ.สต. เป็นต้น ในวันที่ 7 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถาม U2T-SROI ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลแสลงพัน
ภาพ : การลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถาม U2T-SROI
2.การลงพื้นที่ติดตาม ให้คำแนะนำและศึกษาดูงานที่ศูนย์การเรียนรู้ โรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้าทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้บ้านหนองตาดตามุ่ง ศูนย์การเรียนรู้บ้านบุก้านตง ศูนย์การเรียนรู้บ้านบุขี้เหล็กใหม่ เพื่อนำความรู้และข้อมูลที่ได้มาพัฒนาต่อยอดโรงเรือนเห็ดของกลุ่มและแก้ปัญหาก้อนเชื้อเห็ดขึ้นรา โดยในการไปศึกษาดูงานนั้นชาวบ้านมีความต้องการที่จะนำความรู้มาพัฒนาทางด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ดนางฟ้าเพื่อเพิ่มยอดขายให้แก่ชุมชนกลุ่มตัวอย่างและสามารถพัฒนาส่งออกสู่ตลาดออนไลน์ได้
ภาพ : การลงพื้นที่โรงเพาะเห็ด ทั้ง 3 แห่ง
ต่อมาในวันที่วันที่ 12 ตุลาคม 2564 ได้มีการประชุมออนไลน์อีกครั้งเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมพัฒนาตำบลแสลงพัน ระยะที่ 2 เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร (ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ) เพื่อวางแผนและชี้แจงการปฏิบัติงานการกิจกรรม ในวันเสาร์ ที่ 16 ตุลาคม 2564 เป็นการอบรมการนำเศษวัสดุเหลือใช้มาประยุกต์ทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ โดยแบ่งพื้นที่ในการจัดอบรมเป็น 2 โซน ได้แก่ โซนบ้านแสลงพัน 8 หมู่บ้าน หมู่ 5,7,14,1,15,12,16,3 อบรมที่ศาลาประชาคมหมู่ 7 และโซนบ้านบุขี้เหล็ก จำนวน 9 หมู่บ้านได้แก่หมู่ 6,11,17,2,8,13,4,10,9 อบรมที่ศาลาหมู่ 17 จำนวนผู้อบรม หมู่บ้านละ 2 คน การจัดกิจกรรมเป็นการประชุมชี้แจงและให้ความรู้วิธีการทำปุ๋ยหมักให้กับสมาชิกกลุ่มจิตอาสาโดยมีการมอบหมายและขอความร่วมมือสมาชิกกลุ่มเป้าหมาย(กลุ่มจิตอาสา) เน้นการใช้น้ำหมักชีวภาพแทนกการใช้สารเคมี ปลูกผักปลอดสารพิษทานเองเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน ให้สามารถพึ่งตนเองได้ และยังเป็นการช่วยลดขยะภายในครัวเรือน ซึ่งกลุ่มผู้ปฏิบัติงานได้แจกเมล็ดพันธุ์พืชผักสวนครัว และมอบวัสดุเป็นถังสำหรับใส่เศษอาหารให้กลุ่มเป้าหมาย (กลุ่มจิตอาสา) ที่มาเข้ารับการอบรม และได้มีการติดตามการปฏิบัติงานครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 16 – 22 เดือนตุลาคม 2564
ภาพ : การลงพื้นที่ประชุมชี้แจงกิจกรรมระยะที่ 2 การจัดทำน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
ในส่วนของงานที่ได้รับมอบหมายอื่น ๆ อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มอบหมายให้สมาชิกใหม่ทำการออกแบบการจัดทำตลาดออนไลน์ ทำ VTR วิถีชีวิตชาวบ้านและปุ๋ยหมักชีวภาพ ทำเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชน ในการจัดกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร(ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ) ในครั้งนี้ต้องขอบพระคุณอาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้ปฏิบัติงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่ได้ประสานงานและให้ความร่วมมือจนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
วิดิโอประจำเดือนตุลาคม 2564