1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS06 - ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ
  4. HS-06 เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ติดตามความก้าวหน้าโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า เก็บข้อมูลแบบสอบถามSROI และร่วมกิจกรรมพัฒนาพื้นที่ ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

HS-06 เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ติดตามความก้าวหน้าโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า เก็บข้อมูลแบบสอบถามSROI และร่วมกิจกรรมพัฒนาพื้นที่ ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้างงาน

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)

ประจำเดือนตุลาคม 2564

ข้าพเจ้า นายเจษฎา กุลสุนทรรัตน์  ประเภทบัณฑิตจบใหม่  เจ้าหน้าที่ประจำพื้นที่ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ  จังหวัดบุรีรัมย์

พื้นที่รับผิดชอบ หมู่ 17 บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา  ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร : HS06 – สร้างรายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

การปฏิบัติงานในเดือนตุลาคมนี้เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และ สภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการปฎิบัติงาน  จึงจำเป็นต้องแบ่งกลุ่มผู้ปฎิบัติงานออกเป็นกลุ่มเล็กๆ โดยใช้กลุ่มผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อให้สะดวกต่อการทำงานและหลักวิถี NEW NORMAL

1.เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2564 ทีมผู้ปฏิบัติงานได้มีการลงพื้นที่โรงเพาะเห็ดบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา เพื่อแก้ไขปัญหาผลผลิตออกในปริมาณที่น้อยกว่าปกติ พบว่ามีราดำเกิดขึ้นภายในก้อนเชื้อเห็ด โดยสาเหตุเกิดจากแมลงหวี่และแมลงต่างๆและความชื้นจากการรดน้ำที่เข้าไปขังในก้อนเห็ด วิธีแก้ปัญหาคือ ทำการรื้อก้อนเชื้อเห็ดออกจากชั้นวางทั้งหมดและจัดเรียงขึ้นใหม่เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เชื้อเห็ดเกิดผลผลิตที่มากขึ้น จากนั้นได้ทำการเปิดหน้าใหม่เพื่อนำราดำที่อยู่ภายในก้อนเห็ดออก และทำความสะอาดโรงเพาะเห็ด และงดน้ำเป็นเวลา 7 วันเพื่อให้ก้อนเห็ดได้พักและแห้ง เพื่อผลิตผลผลิตต่อไป

2.วันที่ 7 ตุลาคม 2564 ได้มีการประชุมทีมผู้ปฏิบัติงานของกลุ่มตำบลแสลงพันที่ ศาลากลางหมู่ที่ 7 บ้านแสลงพัน เพื่อชี้แจ้งการเก็บรวบรวมแบบสอบถาม SROI โดยข้าพเจ้าได้รับผิดชอบในส่วนการเก็บข้อมูลของตำบลเป้าหมาย ผู้ให้ข้อมูลคือ ตัวแทนสมาชิกชุมชนโรงเรือนเพาะเห็ดบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา หมู่ที่ 17 และ ตัวแทน อปท. ที่มีส่วนร่วมดำเนินงานกับโครงการ คือ กำนันตำบลแสลงพัน พร้อมทั้งได้มีการติดตามการแก้ไขปัญหาของโรงเพาะเห็ดบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา

3.จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน HS06 ตำบลแลงพัน อำเภอลำปลายมาศ  บทที่ 1 โดยเป็นการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของตำบลแสลงพันเพื่อข้อมูลหมู่บ้านที่รับผิดชอบโดยข้าพเจ้าได้มีหน้าที่รับผิดชอบ หมู่ที่ 17 บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนาโดยประวัติโดยย่อคือ  บ้านบุขี้เหล็ก เดิมมีบรรพบุรุษผู้เข้ามาตั้งหลักปักฐานราว 10 ครัวเรือนมาตั้งบ้านอยู่อาศัย ทั้งหมดย้ายมาจากบ้านทะเมนชัย ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นชนเผ่าลาวโซ่ง เดิมบ้านบุขี้เหล็ก หมู่ที่ 6 ต.ทะเมนชัย ต่อมามีการแยกพื้นที่การปกครองออกมาจากตำบลทะเมนชัย มาเป็นตำบลแสลงพัน ได้แยกหมู่บ้านออกจากหมู่ 6 เพิ่มมาเป็นหมู่ที่ 11 บ้านบุขี้เหล็กใหม่ เมื่อปี พ.ศ.2526 ต่อมาได้แยกหมู่บ้านออกจากหมู่ที่ 11 เพิ่มมาเป็นหมู่ที่ 17 ชื่อบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา ปี 2549 มีประชากรจำนวน 96 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 485 คน เป็นชาย 239 คน เป็นหญิง 256 คน ส่วนใหญ่(ประกอบอาชีพเกษตรกรขึ้นทะเบียนทั้งหมด มีโรงเรียนและวัดตั้งอยู่ในหมู่ที่ 11 บ้านบุขี้เหล็กใหม่ ซึ่งทั้ง 3 หมู่บ้านมีวัดและโรงเรียนร่วมกัน มีกลุ่มวิสาหกิจ จำนวน 3 กลุ่ม คือ

1        วิสาหกิจชุมชนนาข้าวแปลงใหญ่ หมู่ที่ 6 บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

2        วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงบ้านบุขี้เหล็ก

3        กลุ่มทอผ้าไหม

4. พัฒนากิจกรรมผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ วันที่ 16-17 ต.ค.64 ณ.บ้านแสลงพัน ช่วงเช้า และ ช่วงบ่าย ณ.บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา โดยช่วงเช้าประกอบด้วยหมู่ที่1 บ้านโคกใหม่ หมู่ที่ 3 บ้านหนองสรวง หมู่ที่ 5 บ้านหนองตาดตามุ่ง  หมู่ที่ 7 บ้านแสลงพัน หมู่ที่ 12 บ้านบุก้านตง หมู่ที่ 14 บ้านแสลงพันพัฒนา หมู่ที่ 15 บ้านโคกใหม่พัฒนา และหมู่ที่ 16 บ้านบุก้านตงพัฒนา  และช่วงบ่ายประกอบด้วย หมู่ที่ 2 บ้านหนองระนาม หมู่ที่ 4 บ้านหนองผักโพด หมู่ที่ 6 บ้านบุขี้เหล็ก หมู่ที่ 8 บ้านหนองตาหล่า หมู่ที่ 9 บ้านสี่เหลี่ยมน้อย หมู่ที่ 10 บ้านสี่เหลี่ยมเจริญ หมู่ที่ 11 บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา หมู่ที่ 13 บ้านสามเขยและหมู่ที่ 17 บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา  เพื่อเป็นการชี้แจ้งรายละเอียดของโครงการและมอบอุปกรณ์ในการทำน้ำหมักชีวภาพ โดยวัตถุประสงค์ของกิจกรรมดังนี้

กิจกรรมพัฒนาตำบลแสลงพันระยะที่ 2 การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร(ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ)

  1. ชี้แจงกิจกรรมระยะที่ 1 การเพาะเห็ด และกิจกรรมระยะที่ 2 (การผลิตปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ)
  2. การมอบหมายและขอความร่วมมือสมาชิกกลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มจิตอาสา

– ทำน้ำหมักชีวภาพใช้เองในครัวเรือน

– แจกเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัว และเน้นการใช้น้ำหมักชีวภาพ ปลอดสารพิษ ปลูกทานเอง เพื่อลดรายจ่าย และนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้

– ชี้แจงปฏิทินติดตามงานทุกสัปดาห์ พร้อมทีมงานผู้รับผิดชอบ กประกวดครอบครัวและชุมชนต้นแบบการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมา

  1. จัดทำสูตรน้ำหมักชีวภาพชนิดต่าง ๆโดยมีวิธีการทำดังนี้

สูตรที่ 1 การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร

วัสดุและอุปกรณ์

1.เศษอาหารแห้ง เช่น เศษข้าว เศษขนมปัง ก้างปลา เปลือกไข่ เปลือกผลไม้ 1 ส่วน

2.มูลสัตว์ เช่น ขี้วัว ขี้ไก่ ขี้ม้า 1 ส่วน

  1. ใบไม้ 1 ส่วน

4.ถังขนาด 20 ลิตร

5.ตาข่ายกันแมลง

วิธีทำ

1.นำถังขนาด 20 ลิตร มาเจาะรูไว้รอบถังแล้วใช้ตาข่ายกันแมลงพันให้รอบ เพื่อช่วยระบายอากาศและป้องกันแมลงรบกวน

2.ผสมเศษอาหารแห้งที่มีขนาดเล็กและไม่มีน้ำ เช่น เศษข้าว เศษขนมปัง ก้างปลา เปลือกไข่ และเปลือกผลไม้ เข้ากับมูลสัตว์ เช่น ขี้วัว ขี้ไก่ ขี้ม้า และเศษใบไม้ ในอัตรา 1:1:1 ส่วน

3.คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วปิดฝาให้สนิท ถ้าหากวันต่อไปมีเศษอาหารเพิ่ม ก็นำมาเติมเข้าไปได้ แต่อย่าลืมผสมในอัตราส่วนเท่าเดิมด้วย

4.พลิกกลับส่วนผสมวันละ 1-2 ครั้ง เป็นประจำทุกวัน

หมายเหตุ: ในช่วงแรกไม่จำเป็นต้องเติมน้ำ เพราะเศษอาหารมีความชื้นอยู่แล้ว แต่เมื่อเห็นว่าส่วนผสมเริ่มแห้งลง ก็สามารถพรมน้ำเข้าไปได้เล็กน้อย โดยจะใช้เวลาในการหมักประมาณ 1 เดือน ก็จะได้ปุ๋ยหมักสีดำขนาดเล็ก ที่แห้งสนิทและไม่มีกลิ่นเหม็นไว้ใช้บำรุงต้นไม้แล้ว

สูตรที่ 2 การทำปุ๋ยหมักชีวภาพแบบน้ำ

วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียม มีดังนี้

1.ถุงกระสอบดินสำหรับใส่เศษอาหาร

2.ถังมีฝาปิด ขนาดที่สามารถใส่น้ำได้ 10 ลิตรขึ้นไป

3.น้ำตาล 1 กิโลกรัม

4.น้ำสะอาด 10 ลิตร ควรพักคลอรีนไว้สัก 1-2 คืน

วิธีทำ

1.นำน้ำสะอาด 10 ลิตร มาเติมลงในถัง ใส่กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม หรือใส่น้ำตาล 1 ส่วน ใช้ไม้กวนให้เข้ากัน

2.นำเศษอาหารใส่ลงในกระสอบ (กระสอบดินถุงที่พอจะมีช่องระบายอากาศ) มัดปากถุงแล้วแช่ลงไป โดยเเนะนำว่าไม่ควรใส่เศษอาหารเกิน 3 ส่วน

3.หมักทิ้งไว้ประมาณ 20-30 วัน โดยควรปิดฝาให้สนิท เพื่อให้แมลงจะได้ไม่มาไข่ เเละทำให้ถังหมักของเราไม่มีหนอน

วิธีนำมาใช้

1.เวลานำมาใช้รดน้ำต้นไม้ ก็ควรจะผสมให้เจือจาง เเนะนำว่าควรใช้ 2 ชัอนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 บัว (ประมาณ 20 ลิตร)

2.ส่วนกากที่เหลือก็สามารถนำไปหมักเป็นปุ๋ยต่อได้  โดยนำมาผสมกับใบไม้แห้ง เเละปุ๋ยคอก  รดน้ำ ปรับความชื้น 60% คือ เมื่อบีบแล้วไม่มีน้ำไหลซึมออกจากง่ามมือ และเมื่อแบมือออก ปุ๋ยยังคงจับตัวกันเป็นก้อน และทิ้งไว้ประมาณ 2 อาทิตย์ หรือสังเกตดูจนปุ๋ยหายร้อน ก็สามารถนำไปใช้ได้

หมายเหตุ: ระหว่างการหมัก ถ้าเป็นไปได้ก็ควรกรองไปในตัว เเต่ถ้าลองสังเกตหรือจับดูเเล้วปุ๋ยที่หมักไม่ร้อนแสดงว่ากระบวนการหมักไม่เกิด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าเราปรับความชื้นไม่เหมาะสม

สูตรที่ 3 การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารในครัวเรือนแบบฝังดิน

วัสดุอุปกรณ์

1.ถุงผ้าแยงเขียว     1 ใบ

2.เศษอาหารที่สะสมไว้หลายวัน 1 ถัง

3.น้ำหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วย  1  ขันพลาสติก หรือ จุลินทรีย์น้ำซาว

วิธีทำ

1.ขุดดินเป็นหลุมลึกพอประมาณกับถุงที่ใส่เศษอาหาร

2.หย่อนก้นถุงผ้าแยงลงไปในหลุมแล้วเทดศษอาหารลงไปให้เต็ม

3.เทน้ำหมักที่เตรียมไว้ให้และมัดปากถุงผ้าแยงให้แน่น แล้ววางถุงลงแนวนอน

4.เอาดินกลบให้ทั่วถึง ไม่ต้องกลบแน่น หาป้ายเขียนวันหมักไว้เพื่อกันลืม หมักไว้ประมาณ 30 วันก็ขุดเอามาใช้ประโยชน์ได้

## น้ำหมักน้ำซาวข้าว ##

1.น้ำซาวข้าว      1- 1.5    ลิตร

2.น้ำตาลทราย       2 ช้อนโต๊ะ

3.นมเปรี้ยว             2 ช้อนโต๊ะ

  1. ขวดพลาสติกขนาด 1- 1.5 ลิตร

วิธีทำ

เทน้ำซาวข้าวที่เตรียมไว้ลงขวด ตามด้วยน้ำตาลทราย และนมเปรี้ยว เขย่าให้น้ำตาลละลายปิดฝาหลวมๆหมักไว้ 1 อาทิตย์

ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก

1.ปุ๋ยหมักเป็นการนำขยะอินทรีย์มาใช้ประโยชน์ใหม่ จึงช่วยลดปริมาณขยะอินทรีย์เข้าระบบการจัดการขยะได้

  1. ปุ๋ยหมักบางชนิดมีจุลินทรีย์ที่ช่วยยับยั้งและป้องกันจุลินทรีย์ที่ทำให้พืชเป็นโรคได้
  2. ปุ๋ยหมักมีธาตุอาหารครบถ้วน ทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม
  3. ปุ๋ยหมักเป็นแหล่งอาหารของสิ่งมีชีวิตในดินที่เป็นประโยชน์ จึงช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดีขึ้น
  4. ปุ๋ยหมักมักจะปล่อยธาตุอาหารให้พืชอย่างช้า ๆ ทำให้อยู่ในดินได้ค่อนข้างนาน จึงมีโอกาสเสียน้อยกว่าปุ๋ยเคมี
  5. ปุ๋ยหมักช่วยปรับค่าความเป็นกรด-ด่างของดินให้เหมาะสมได้ ต่างจากปุ๋ยเคมีที่มีแอมโมเนียเป็นส่วนประกอบ จึงอาจจะทำให้ดินแปรสภาพเป็นกรด
  6. ปุ๋ยหมักช่วยเพิ่มจุลินทรีย์และอินทรียวัตถุ ทำให้โครงสร้างของดินดีขึ้น เช่น ร่วนซุย ระบายน้ำดี ถ่ายเทอากาศสะดวก และรากแผ่กระจายหาอาหารง่ายขึ้น ในขณะที่ปุ๋ยเคมีไม่มีคุณสมบัติในการปรับปรุงดินใด ๆ
  7. ปุ๋ยหมักช่วยลดค่าใช้จ่ายและทำให้ประหยัดเงิน เพราะสามารถใช้แทนปุ๋ยเคมีได้ สามารถลดปริมาณการซื้อปุ๋ยเคมีลงได้ แถมยังไม่ต้องเสียเงินซื้อสารเคมีหรือยาป้องกันแมลงศัตรูพืชด้วย

– มอบวัสดุสำหรับจัดทำน้ำหมักชีวภาพ ดังนี้

1) ถังหมัก

2) น้ำตาลทรายแดง

3) EM

4) ถุงปลูก เมล็ดพันธุ์ผักสวนครัว บรรจุภัณฑ์

  1. อื่น ๆ เช่น ผงชูรส เครื่องดื่มชูกำลัง ไข่ไก่

ปัญหา อุปสรรค และข้อเสเนอแนะ

-สถานการณ์โรคโควิด19ที่แพร่ระบาดในปัจจุบัน ทำให้การลงพื้นที่ต้องแบ่งกลุ่มกันลงปฏิบัติการ

-การฝึกอบรมยังไม่ครอบคลุมหมู่บ้านในตำบลแสลงพัน จึงต้องเร่งจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในระยะเวลาที่เหลือ

แนวทางแก้ไข

-ควรแบ่งภาระหน้าที่ในการทำงานให้ครอบคลุมและชัดเจนในการปฏิบัติงาน

-ควรพัฒนาต่อยอดโครงการนี้ให้มีต่อไปในรูปแบบของครัวเรือนเมื่อสิ้นโครงการU2T

 

อื่นๆ

เมนู