บทความสรุปผลการปฏิบัติงาน

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบรูณาการ

ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564

ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

โดย นางสาวกาญจนาวดี เคหาห้วย กลุ่มนักศึกษา

****************************************************************************

  1. เก็บรวบรวมข้อมูล บันทึกข้อมูล ตามแบบSROI ได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล SROI ที่บ้านหนองตาดตามุ่ง ได้สอบถามเกี่ยวกับข้อมูลในส่วนของกลุ่มเป้าหมาย ลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย คือ ประธานรัฐวิสาหกิจ / ผู้นำชุมชน / เกษตรกร และผู้ให้ข้อมูลในส่วนนี้จะเป็นตัวแทนของสมาชิกชุมชนโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า 1 คน / โรงเรือน หลังจากที่ได้สอบถามข้อมูลเบื้องต้นแล้วพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการที่จะให้ผู้ปฏิบัติงานพาไปศึกษาดูงานที่ศูนย์การเรียนรู้การเพาะเห็ดนางฟ้า เพื่อนำความรู้ข้อมูลที่ได้มาศึกษาและพัฒนาต่อยอดโรงเรือนเห็ดของกลุ่มเอง
  2. จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน HS06 บทที่ 1ได้รับมอบหมายให้เก็บรวบรวมข้อมูลบทที่ 1 ที่บ้านหนองระนามหมู่ที่ 2 ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลในวันที่ 25 กันยายน 2564 เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลเบื้องต้นของชุมชน เช่น ประวัติชุมชน จำนวนผู้สูงอายุ จำนวนผู้พิการ จำนวนนักเรียน และวัฒนธรรมจารีตประเพณีของชุมชน เป็นต้น ข้อมูลเบื้องต้นได้สอบถามกับทางผู้ใหญ่บ้านและสมาชิกภายในชุมชน
  3. พัฒนากิจกรรมผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ วันที่ 16-17 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ณ.บ้านแสลงพันและบ้านบุขี้เหล็กใหม่ โดยได้ลงพื้นที่จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ให้กับชาวบ้าน เพื่อให้ชาวบ้านได้มีความรู้ในการทำน้ำหมักไว้ใช้ในครัวเรือนและยังสามารถลดต้นทุนในการใช้จ่ายจากการซื้อปุ๋ยจากตลาดสูตรที่ 1 การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร

              วัสดุและอุปกรณ์

           1.เศษอาหารแห้ง เช่น เศษข้าว เศษขนมปัง ก้างปลา เปลือกไข่ เปลือกผลไม้ 1 ส่วน

          2.มูลสัตว์ เช่น ขี้วัว ขี้ไก่ ขี้ม้า 1 ส่วน

    1.  ใบไม้ 1 ส่วน

         4.ถังขนาด 20 ลิตร

         5.ตาข่ายกันแมลง

                 วิธีทำ

                   1.นำถังขนาด 20 ลิตร มาเจาะรูไว้รอบถังแล้วใช้ตาข่ายกันแมลงพันให้รอบ เพื่อช่วยระบายอากาศและป้องกันแมลงรบกวน

                  2.ผสมเศษอาหารแห้งที่มีขนาดเล็กและไม่มีน้ำ เช่น เศษข้าว เศษขนมปัง ก้างปลา เปลือกไข่ และเปลือกผลไม้ เข้ากับมูลสัตว์ เช่น ขี้วัว ขี้ไก่ ขี้ม้า และเศษใบไม้ ในอัตรา 1:1:1 ส่วน

                 3.คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วปิดฝาให้สนิท ถ้าหากวันต่อไปมีเศษอาหารเพิ่ม ก็นำมาเติมเข้าไปได้ แต่อย่าลืมผสมในอัตราส่วนเท่าเดิมด้วย

                4.พลิกกลับส่วนผสมวันละ 1-2 ครั้ง เป็นประจำทุกวัน

                หมายเหตุ: ในช่วงแรกไม่จำเป็นต้องเติมน้ำ เพราะเศษอาหารมีความชื้นอยู่แล้ว แต่เมื่อเห็นว่าส่วนผสมเริ่มแห้งลง ก็สามารถพรมน้ำเข้าไปได้เล็กน้อย โดยจะใช้เวลาในการหมักประมาณ 1 เดือน ก็จะได้ปุ๋ยหมักสีดำขนาดเล็ก ที่แห้งสนิทและไม่มีกลิ่นเหม็นไว้ใช้บำรุงต้นไม้แล้ว

    สูตรที่ 2 การทำปุ๋ยหมักชีวภาพแบบน้ำ

                  วัสดุอุปกรณ์       

                     1.ถุงกระสอบดินสำหรับใส่เศษอาหาร

                     2.ถังมีฝาปิด ขนาดที่สามารถใส่น้ำได้ 10 ลิตรขึ้นไป

                    3.น้ำตาล 1 กิโลกรัม

                    4.น้ำสะอาด 10 ลิตร ควรพักคลอรีนไว้สัก 1-2 คืน

               วิธีทำ      

                 1.นำน้ำสะอาด 10 ลิตร มาเติมลงในถัง ใส่กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม หรือใส่น้ำตาล 1 ส่วน ใช้ไม้กวนให้เข้ากัน

                 2.นำเศษอาหารใส่ลงในกระสอบ (กระสอบดินถุงที่พอจะมีช่องระบายอากาศ) มัดปากถุงแล้วแช่ลงไป โดยเเนะนำว่าไม่ควรใส่เศษอาหารเกิน 3 ส่วน

                3.หมักทิ้งไว้ประมาณ 20-30 วัน โดยควรปิดฝาให้สนิท เพื่อให้แมลงจะได้ไม่มาไข่ เเละทำให้ถังหมักของเราไม่มีหนอน

            วิธีนำมาใช้

             1.เวลานำมาใช้รดน้ำต้นไม้ ก็ควรจะผสมให้เจือจาง เเนะนำว่าควรใช้ 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 บัว (ประมาณ 20 ลิตร)

             2.ส่วนกากที่เหลือก็สามารถนำไปหมักเป็นปุ๋ยต่อได้  โดยนำมาผสมกับใบไม้แห้ง เเละปุ๋ยคอก  รดน้ำ ปรับความชื้น 60% คือ เมื่อบีบแล้วไม่มีน้ำไหลซึมออกจากง่ามมือ และเมื่อแบมือออก ปุ๋ยยังคงจับตัวกันเป็นก้อน และทิ้งไว้ประมาณ 2 อาทิตย์ หรือสังเกตดูจนปุ๋ยหายร้อน ก็สามารถนำไปใช้ได้

            หมายเหตุ: ระหว่างการหมัก ถ้าเป็นไปได้ก็ควรเทเข้าเทออกสักหน่อย คล้ายๆ กับเป็นการกลับกองไปในตัว เเต่ถ้าลองสังเกตหรือจับดูเเล้วปุ๋ยที่หมักไม่ร้อนแสดงว่ากระบวนการหมักไม่เกิด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าเราปรับความชื้นไม่เหมาะสม

    สูตรที่ 3 การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารในครัวเรือนแบบฝังดิน

            วัสดุอุปกรณ์

               1.ถุงผ้าแยงเขียว     1 ใบ

               2.เศษอาหารที่สะสมไว้หลายวัน 1 ถัง

              3.น้ำหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วย  1  ขันพลาสติก หรือ จุลินทรีย์น้ำซาว

            วิธีทำ

              1.ขุดดินเป็นหลุมลึกพอประมาณกับถุงที่ใส่เศษอาหาร

              2.หย่อนก้นถุงผ้าแยงลงไปในหลุมแล้วเทเศษอาหารลงไปให้เต็ม

              3.เทน้ำหมักที่เตรียมไว้ให้และมัดปากถุงผ้าแยงให้แน่น แล้ววางถุงลงแนวนอน

             4.เอาดินกลบให้ทั่วถึง ไม่ต้องกลบแน่น หาป้ายเขียนวันหมักไว้เพื่อกันลืม หมักไว้ประมาณ 30 วันก็ขุดเอามาใช้ประโยชน์ได้

    น้ำหมักน้ำซาวข้าว

                  1.น้ำซาวข้าว      1- 1.5    ลิตร

                   2.น้ำตาลทราย       2 ช้อนโต๊ะ

                   3.นมเปรี้ยว             2 ช้อนโต๊ะ

    1.    ขวดพลาสติกขนาด 1- 1.5 ลิตร

              วิธีทำ

                  เทน้ำซาวข้าวที่เตรียมไว้ลงขวด ตามด้วยน้ำตาลทราย และนมเปรี้ยว เขย่าให้น้ำตาลละลายปิดฝาหลวมๆหมักไว้ 1 อาทิตย์

        ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก

          1.ปุ๋ยหมักเป็นการนำขยะอินทรีย์มาใช้ประโยชน์ใหม่ จึงช่วยลดปริมาณขยะอินทรีย์เข้าระบบการจัดการขยะได้

    1. ปุ๋ยหมักบางชนิดมีจุลินทรีย์ที่ช่วยยับยั้งและป้องกันจุลินทรีย์ที่ทำให้พืชเป็นโรคได้
    2. ปุ๋ยหมักมีธาตุอาหารครบถ้วน ทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม
    3. ปุ๋ยหมักเป็นแหล่งอาหารของสิ่งมีชีวิตในดินที่เป็นประโยชน์ จึงช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดีขึ้น
    4. ปุ๋ยหมักมักจะปล่อยธาตุอาหารให้พืชอย่างช้า ๆ ทำให้อยู่ในดินได้ค่อนข้างนาน จึงมีโอกาสเสียน้อยกว่าปุ๋ยเคมี
    5. ปุ๋ยหมักช่วยปรับค่าความเป็นกรด-ด่างของดินให้เหมาะสมได้ ต่างจากปุ๋ยเคมีที่มีแอมโมเนียเป็นส่วนประกอบ จึงอาจจะทำให้ดินแปรสภาพเป็นกรด
    6. ปุ๋ยหมักช่วยเพิ่มจุลินทรีย์และอินทรียวัตถุ ทำให้โครงสร้างของดินดีขึ้น เช่น ร่วนซุย ระบายน้ำดี ถ่ายเทอากาศสะดวก และรากแผ่กระจายหาอาหารง่ายขึ้น ในขณะที่ปุ๋ยเคมีไม่มีคุณสมบัติในการปรับปรุงดินใด ๆ
    7. ปุ๋ยหมักช่วยลดค่าใช้จ่ายและทำให้ประหยัดเงิน เพราะสามารถใช้แทนปุ๋ยเคมีได้ สามารถลดปริมาณการซื้อปุ๋ยเคมีลงได้ แถมยังไม่ต้องเสียเงินซื้อสารเคมีหรือยาป้องกันแมลงศัตรูพืชด้วย
  4. ติดต่อประสานงาน ให้คำเเนะนำ สมาชิกเป้าหมายหมู่บ้านหนองระนาม จำนวน 2 คน ดังนี้เพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาชุมชน โดยได้ลงพื้นที่สอบถามสมาชิกในชุมชนผ่านกระบวนการประชาสัมพันธ์ และสรรหาบุคคลที่มีความสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการเพื่อมาเป็นบุคคลต้นแบบของชุมชน เพื่อให้สมาชิกในชุมชนมีความรู้และทักษะต่างๆเพิ่มมากขึ้น และยังสามารถนำความรู้ไปพัฒนาและต่อยอดเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวและชุมชนในพื้นที่ของตนเอง
  5. งานมอบหมายอื่นๆ เช่น งานประชุม งานเลขา งานตัดต่อภาพ/วีดีโอ ประสานงาน โดยได้เข้าร่วมการประชุมกับทีมงานเพื่อปรึกษาหาแนวทางในการลงพื้นที่พัฒนาชุมชน ให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง และในเดือนตุลาคมเราได้ประชุมเกี่ยวกับเรื่อง                สรุป​วาระการประชุม​วันที่​ 3​ ตุลาคม​ 2564         1.งบประมาณรอบที่ 2 มาแล้ว​ กิจกรรม​ภายในเดือนมี​ 2​ ครั้ง​ ต้นเดือนและปลายเดือน

             2.มอบหมายประธานและสมาชิก​จัดระบบพี่เลี้ยงให้กับสมาชิกใหม่

            3.การจัดกิจกรรม​เป็นวันศุกร์และเสาร์​ ลงจัดกิจกรรม การออกแบบบรรจุภัณฑ์​และการทำสื่อประชาสัมพันธ์การตลาด (สถานที่จะจัดกิจกรรมจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง ลงพื้นที่จัดกิจกรรมวันที่ 9 ต.ค.64)

          4.การจัดทำรายงานบทที่​ 1​ กำหนด ส่งวันที่ 7 ต.ค 64 ส่งให้กับอาจารย์และประธานตรวจสอบ

       สรุป​วาระการประชุม​วันที่​ 5​ ตุลาคม​ 2564

         1.ให้สรุปงานการลงสำรวจแบบสอบถาม​ SROI​  ในตำบล​ ให้ลงพื้นที่ 3​ วัน​

         2.จัดทำไซต์เสื้อ​ให้กับทีมสมาชิกใหม่ พร้อมรายชื่อ

        3.สิ่งที่จะจัดกิจกรรมในเดือนต.ค.-ธ.ค. 64

           – เห็ด​ การแปรรูป​เห็ด​ แพคเกจจิ้ง

          – น้ำหมักชีวภาพ​ การบรรจุภัณฑ์

    – การทำชุมชนต้นแบบ​ 5​ หลังคาต่อ 1​ หมู่บ้าน​ เอาที่อาสาสมัคร​จริงๆ​

    – การทำสื่อออนไลน์​ การทำตลาดออนไลน์​ ศูนย์​การเรียนรู้​แบบออนไลน์

       สรุปวาระการประชุม วันที่ 12 ตุลาคม 2564

          1.กิจกรรมกลุ่มแปรรูปเห็ด จัดทำการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ,จัดทำตลาดออนไลน์

         2.จัดกิจกรรมลงพื้นที่วันเสาร์ ที่ 16 ตุลาคม 2564 อบรมการนำเศษวัสดุเหลือใช้มาประยุกต์ทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ สารชีวภาพ **สิ่งที่จะมอบให้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม EM,กากน้ำตาล,ถัง,เมล็ดพันธุ์พืช**  เช้า 09.00-11.00 น. บ่าย 13.00-14.30 น.

        3.โซนการอบรมแบ่งเป็น 2 โซน

             -โซนบ้านแสลงพัน อบรมที่ศาลาประชาคมหมู่ 7 และโซนบ้านบุขี้เหล็ก อบรมที่ศาลาหมู่ 17  (จัดสถานที่วันศุกร์ ที่ 15ตุลาคม 2564)

        4.มอบหมายให้สมาชิกใหม่ คิดออกแบบการจัดทำการตลาดออนไลน์เสนออาจารย์ประจำหลักสูตร

    6. ติดตามและให้คำแนะนำการเพาะเห็ดโรงเรือนบ้านบุก้านตง หนองตาดตามุ่ง และบุขี้เหล็กใหม่ โดยได้ลงพื้นที่ติดตามการเจริญเติบโตของเห็ดนางฟ้าและให้คำแนะนำในการดูแลรักษาเห็ด การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ดนางฟ้า เช่น ไส้กรอกเห็ดนางฟ้า แหนมเห็ดนางฟ้า และน้ำพริกเห็ดนางฟ้า เป็นต้น เพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มยอดขาดให้แก่ชุมชนและยังสามรถนำไปต่อยอดพัฒนาสู่ตลาดออนไลน์

               

 

                 

 

               

 

                 

          หมายเหตุ : รวมรูปภาพกิจกรรมการลงพื้นที่จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ชาวบ้านเรื่องการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ 

 

 

อื่นๆ

เมนู